พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปุนัพพนุสูตร นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36441
อ่าน  396

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

๗. ปุนัพพนุสูตร

นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

๗. ปุนัพพนุสูตร

นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม

[๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน.

ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับพระธรรม.

[๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า

นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 406

ร้อยรัดทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้นจะล่วงเลยแม่ไปเสีย ของลูกตนเป็นที่รักในโลก ผัวของตนเป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รักของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและมรณะ จงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ.

[๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า

แม่จ๋า ฉันจักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความสุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรมจึงได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทำความสว่างไสวแก่เทวดาและมนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 407

[๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า

น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริญ ปุนัพพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตรก็จงฟังแม่.

อรรถกถาปุนัพพสุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุนัพพสุสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้.

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ได้แก่ สมัยไหน. สมัยดวงอาทิตย์ตก. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่มหาชนภายหลังเสวยพระกระยาหาร ทรงส่งมหาชนแล้ว สรงสนานในซุ้มลงสรง ประทับนั่ง. ตรวจดูโลกธาตุทางทิศตะวันออก บนบวรพุทธาสนะที่เขาจัดไว้ในบริเวณพระคันธกุฏี. ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลและบิณฑบาตเป็นวัตร จาริกไปรูปเดียว หรือสองรูปเป็นต้น ออกจากที่พักกลางวันและที่อยู่ของตนๆ แล้วมาถวายบังคมพระทศพล นั่งประหนึ่งวงอยู่ด้วยม่านแดง. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสธรรมีกถา ประกอบด้วยนิพพาน.

บทว่า เอวํ โตเสสิ ความว่า ได้ยินว่า นางยักษิณีมารดาปุนัพพสุนั้น อุ้มธิดา จูงบุตร กำลังแสวงหาอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายและน้ำมูก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 408

เป็นต้นที่ริมกำแพงและริมคู. หลังพระเชตวัน ไปถึงซุ้มประตูพระเชตวันโดยลำดับ. ก็พระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอยู่ว่า อานนท์ เธอนำบาตรมาเถิด นำจีวรมาเถิด จงให้ทานแก่คนกินเดนเถิดดังนี้ แผ่ไปโดยรอบได้ประมาณ ๑๒ ศอกเท่านั้น. ถ้าบริษัท นั่งอยู่ถึงที่สุดจักรวาล พระสุรเสียงของพระองค์ ผู้ทรงแสดงธรรมอยู่ ย่อมไปถึงบริษัท ย่อมไม่เลยออกไปภายนอกบริษัท แม้เพียงองคุลีหนึ่งด้วยพระดำริว่า พระสุรเสียงอันไพเราะ อย่าเสียไปโดยไม่ใช่เหตุเลย. นางยักษิณีนี้ ยืนอยู่ภายนอกบริษัท จึงไม่ได้ยินเสียงในที่นั้น. เมื่อนางยืนที่ซุ้มพระทวาร ยืนเฉพาะพระพักตร์โดยพุทธวิถีอันใหญ่พระคันธกุฏีย่อมปรากฏ. นางเห็นบริษัทไม่ไหวติง เว้นการคะนองมือเป็นต้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีป ในที่ไม่มีลมแล้วคิดว่าก็ในที่นี้ จักมีสิ่งของบางสิ่ง แจกแน่ เราจักได้ซึ่งเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแน่ ที่ไหลออกอยู่จากบาตรบ้าง จากมือบ้าง ก็หรือที่ตกแล้วบนพื้น ดังนี้ จึงเข้าไปภายในวิหาร. อารักขเทวดาสิงอยู่ที่ซุ้มประตูเพื่อห้ามอวรุทธกยักษ์ เห็นอุปนิสัยของนางยักษิณีแล้วจึงไม่ห้าม. พระสุรเสียงอันไพเราะตัดผิวเป็นต้นไปจดเยื่อในกระดูกของนางพร้อมกับการไปโดยความเป็นอันเดียวของบริษัทตั้งอยู่. บุตรน้อยทั้งหลาย เตือนนางยักษิณีนั้น ผู้ยืนไม่ไหวติงเพื่อฟังธรรม โดยนัยก่อนนั่นแล. นางยักษิณีนั้นคิดว่าบุตรน้อยทั้งหลายจะทำอันตรายแก่การฟังธรรมของเรา ดังนี้ จึงปลอบบุตรน้อยทั้งหลายอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิด ลูกอุตรา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ความว่า ขอลูกจงนิ่งตลอดเวลา ที่แม่ฟังธรรมเถิด. บทว่า สพฺพคนฺถปฺปโมจนํ ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ย่อมพ้นไป เพราะถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้น ท่านกล่าวว่าเป็นที่พ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง. บทว่า อติเวลา ความว่า ล่วงเวลา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 409

คือเกินประมาณ. บทว่า ปิยายนา ได้แก่ ความแสวงหาคือปรารถนา. บทว่า ตโต ปิยตรํ ความว่า ความแสวงหา ความปรารถนาธรรมนี้ใด ข้อนี้เป็นที่รักของเรากว่าลูกและผัวนั้น. อนึ่งพระบาลีว่า ปิยตรา ดังนี้ก็มี. บทว่า ปาณินํ ความว่า เหมือนการฟังพระสัทธรรม ย่อมเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้. ย่อมเปลื้องเหล่าสัตว์อะไระ ควรนำบทว่า ปาณินํ มากล่าว. บทว่า ยํ ธมฺมํ อภิสมฺพุธํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด. บทว่า ตุณฺหีภูตายมุตฺตรา ความว่า ปุนัพพสุกล่าวว่า ฉันจักไม่พูดเลย แม้อุตตราน้องสาวนี้ของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง. บทว่า สทฺธมฺมสฺส อนญฺาย ความว่า แม่ เราไม่รู้พระสัทธรรมนี้แล แม้ในกาลก่อน บัดนี้ จึงเสวยทุกข์ มีความหิวกระหายเป็นต้นนี้ เที่ยวไปลำบาก คืออยู่ลำบาก.

บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ มีพระจักษุ ด้วยพระจักษุ ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงกำหนดบริษัท ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของนางยักษิณีนั้น และยักขทารก เปลี่ยนเทศนาแล้ว จึงมาแสดงเรื่องสัจจะ ๔. นางยักษิณีนั้น ยืนฟังธรรมอยู่ในประเทศนั้นแล กับบุตรตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนธิดาของนางยักษิณีนั้น ก็มีอุปนิสัย. แต่ไม่อาจจะรับเทศนาได้ เพราะเป็นเด็กเกินไป.

บัดนี้ นางยักษิณีนั้น เมื่อจะทำอนุโมทนาแก่บุตร จึงกล่าวคำว่าดีหนอ ลูกชื่อว่าเป็นบัณฑิตดังนี้เป็นต้น. บทว่า อชฺชาหมฺหิ สมุคฺคตา ความว่า แม่เป็นผู้ขึ้นพร้อมแล้ว แต่วันนี้ อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ย่างพร้อมแล้วในพระศาสนา แม้เจ้าจงมีความสุขเถิด. บทว่า ทิฏฺานิ ความว่า แม่และเจ้าเห็นอริยสัจ ๔. บทว่า อุตฺตราปิ สุณาตุ เม นางยักษิณีกล่าวว่า ขอแม่อุตตราจงยืนฟังสัจจะ ๔ ที่แม่แทงตลอดเถิด. นางยักษีณีนั้น ละภาวะมีฝีและหิดเป็นต้นทั้งหมด เหมือนสูจิโลมยักษ์ พร้อมด้วยการแทงตลอดสัจจะนั่นแล จึงกลับได้ทิพยสมบัติพร้อมด้วยบุตร. เมื่อมารดาและบิดาได้ความเป็นใหญ่ในโลก ความ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 410

เป็นใหญ่นั้น ก็มีแก่บุตรทั้งหลายด้วยชื่อฉันใด ส่วนธิดาของนางได้สมบัติแล้วด้วยอานุภาพของมารดาฉันนั้น. จำเดินแต่นั้น นางกับด้วยบุตรน้อยทั้งหลายได้ต้นไม้เป็นที่อยู่ ณ ต้นไม้ใกล้พระคันธกุฏีแล้ว ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมทั้งเช้าเย็น อยู่จำเพาะในที่นั้นแล ตลอดกาลนาน.

จบอรรถกถาปุนัพพสุสูตรที่ ๗