พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. นิททาตันทิสูตร ว่าด้วยมรรคปรากฏและไม่ปรากฏ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36177
อ่าน  393

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89

๖. นิททาตันทิสูตร

ว่าด้วยมรรคปรากฏและไม่ปรากฏ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 24]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 89

๖. นิททาตันทิสูตร

ว่าด้วยมรรคปรากฏและไม่ปรากฏ

[๓๔] เทวดากล่าวว่า

อริยมรรคไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เพราะความหลับ เกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต.

[๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต ด้วยความเพียร อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 90

อรรถกถานิททาตันทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิททาตันทิสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า นิทฺทา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสนะ เราย่อมทราบ ในเดือนท้าย ฤดูคิมหันต์ (ฤดูร้อน) เราก้าวลงสู่ความหลับ ดังนี้ เพราะความหลับอันเป็นอัพยากตะเห็นปานนี้ ถีนมิทธะจึงเกิดขึ้นในอกุศลจิตอันเป็นสสังขาริกของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ทั้งในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความโงกง่วงอันจรมาเกิดขึ้นในเวลาหิวจัดและเย็นจัด เป็นต้น.

คำนี้ สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กตมา ตนฺทิ...

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺที เป็นไฉน ความง่วงงุน กิริยาที่ง่วงงุน สภาพจิตที่ง่วงงุน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน สภาพจิตที่เกียจคร้าน อันใด นี้เรากล่าวว่า ตันที ดังนี้.

บทว่า วิชิมฺหิตา แปลว่า ความบิดกาย.

บทว่า อรติ ได้แก่ ความไม่พอใจในธรรมฝ่ายกุศล.

บทว่า ภตฺตสมฺมโท แปลว่า ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร.

ก็ความพิสดารแห่งคำเหล่านี้มาแล้วในพระอภิธรรมโดยนัย เป็นต้นว่า ตตฺถ กตมา วิชิมฺหิกา ยา กายสฺส วิชิมฺหนา แปลว่า บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความบิดกายเป็นไฉน ความเหยียดแห่งกาย... อันใด.

บทว่า เอเตน ความว่า ความเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสมีความหลับ เป็นต้นนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามได้.

บทว่า นปฺปกาสติ ได้แก่ ไม่ส่องแสง คือ ไม่ปรากฏ.

บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกุตรมรรค.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 91

อิธ แปลว่า ในโลกนี้.

บทว่า ปาณินํ แปลว่า แก่สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า วิริเยน ได้แก่ ความเพียรซึ่งเกิดพร้อมกับมรรค.

บทว่า นํ ปณาเมตฺวา นี้ได้แก่ นำกิเลสออกแล้ว.

บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกิยะและโลกุตรมรรค.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่ามรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะนำอุปกิเลสออกแล้วด้วยมรรคนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบอรรถกถานิททาตันทิสูตรที่ ๖