พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สัลเลขสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36007
อ่าน  826

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 469

๘. สัลเลขสูตร

การละทิฏฐิ หน้า 469

ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 470

ทุติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 470

ตติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 470

จตุตถฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 471

อากาสานัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 471

วิญญาณัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 472

อากิญจัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 472

เนวสัญญานาสัญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม หน้า 473

สัลเลขธรรม หน้า 473

อรรถกถาสัลเลขสูตร หน้า 488

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า หน้า 488

มิจฉาทิฏฐิ ๘ หน้า 489

หน้าที่ของทิฏฐิ หน้า 490

เรื่องพระธรรมของทินนเถระตักเตือนศิษย์ หน้า 493

สัลเลขธรรมคือฌาน-วิปัสสนา หน้า 496

บาทของวิปัสสนา หน้า 499

กรรมบถ-มิจฉัตตะ หน้า 501

อวิหิงสาเหมือนท่าน้ำที่ราบรื่น หน้า 511

อโธภาวังคมนียะอุปริภาวังคมนียะ หน้า 512

เบญจกามคุณคือปลัก หน้า 513

บรรยาย (เหตุ) แห่งสัลเลขธรรม หน้า 517


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 469

๘. สัลเลขสูตร

[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตา (อัตตวาทะ) บ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลก (โลกวาทะ) บ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้น การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น จะมีได้ด้วยอุบายเหล่านี้ พระเจ้าข้า.

การละทิฏฐิ

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วยอัตตวาทะบ้าง ประกอบด้วยโลกวาทะบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ย่อมนอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และฟุ้งขึ้นในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 470

ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่. ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส (สัลเลขธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ.

ทุติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌาน เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในพระวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร ในวินัยของพระอริยะ

ตติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 471

สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข อยู่. ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.

จตุตถฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสเก่าก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่.ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส.ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารในวินัยของพระอริยะ.

อากาสานัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

[๑๐๓] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงเลยรูปสัญญาไป ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่. ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลข-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 472

ธรรมในวินัยของพระอริยะ. แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ (สันตวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ.

วิญญาณัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะพึงมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงเลยอากาสานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่.ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่าเป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.

อากิญจัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงเลยวิญาณัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน อยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส.ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่าเป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 473

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่. ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.

สัลเลขธรรม

[๑๐๔] ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลาย พึงทําความขัดเกลากิเลสในพุทธศาสนานี้แล คือเธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ใน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 474

ข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคําเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.

เธอทั้งหลายพิงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดําริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดําริถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 475

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความพยายามผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก.

เธอทั้งหลายพิงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติถูก.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 476

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมายา (เจ้าเล่ห์) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 477

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย (ด้อยการศึกษา) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (คงแก่เรียน).

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

เธอทั้งหลายพึงทําความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลํา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 478

ทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้ยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคงและสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย.

[๑๐๕] ดูก่อนจุนทะ แม้จิตตุปบาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เราตถาคตยังกล่าวว่า มีอุปการะมาก จะกล่าวไปไยในการจัดแจงด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ เธอทั้งหลายควรให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ.

ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคงและสลัดทิ้งไปได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยง่าย.

[๑๐๖] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมีทางอื่นที่ราบเรียบ ไว้สําหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบเหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมีท่าที่ราบเรียบ ไว้สําหรับหลีกท่าที่ไม่ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นแล มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน.

การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 479

การเว้นจากอทินนาทาน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลักทรัพย์.

การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพเมถุน.

การเว้นจากมุสาวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.

การเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดส่อเสียด.

การเว้นจากผรุสวาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดคําหยาบ.

การเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.

ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง.

ความไม่พยาบาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.

ความเห็นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.

ความดําริถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดําริผิด.

การกล่าววาจาถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงผู้มีวาจาผิด.

การงานถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.

การเลี้ยงชีพถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด.

ความพยายามถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความพยายามผิด.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 480

ความระลึกถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.

ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นผิด.

ความรู้ถูก มีไว้สําหรับหลีกเลียงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.

ความหลุดพ้นถูก มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความหลุดพ้นผิด.

ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงํา.

ความไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.

ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความสงสัย.

ความไม่โกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.

ความไม่เข้าไปผูกโกรธ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักเข้าไปผูกโกรธ.

ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักลบหลู่คุณท่าน.

การไม่ตีเสมอเขา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.

ความไม่ริษยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.

ความไม่ตระหนี่ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.

ความไม่โอ้อวด มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 481

ความไม่มีมารยา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.

ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อดึง.

ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.

ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.

ความเป็นผู้มีมิตรดี มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรเลว.

ความไม่ประมาท มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.

ความเชื่อ มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.

ความละอายต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่ละอายต่อบาป (ไม่มีหิริ).

ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป (ไม่มีโอตตัปปะ).

ความเป็นพหูสูต มีไว้สําหรับหลีเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับ (ศึกษา) น้อย.

การปรารภความเพียร มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.

ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติหลงลืม.

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้สําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ความเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และความสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสําหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลํา

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 482

ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก.

[๑๐๗] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงภาวะเบื้องต่ํา (ส่วน) กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงภาวะเบื้องสูงฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้เบียดเบียน.

การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.

การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้ลักทรัพย์ ฯลฯ.

ความเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และให้สลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสําหรับภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และที่สลัดคืนได้โดยยาก.

[๑๐๘] ดูก่อนจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในปลักอันลึกแล้วจักยกขั้นซึ่งบุคคลอื่น ที่จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.

ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในปลักอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่น ที่ไม่จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกตน ยังไม่ได้แนะนําตน ยังดับกิเลสไม่ได้ด้วยตน จักฝึกสอน จักแนะนําผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 483

ผู้ที่ฝึกตนเองแล้ว แนะนําตนเองแล้ว ดับกิเลสได้ด้วยตนเอง แล้วจักฝึกสอน จักแนะนําผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ฉันใด.

ดูก่อนจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมมีไว้สําหรับดับกิเลสของผู้เบียดเบียน.

การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.

การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ลักทรัพย์.

การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เสพเมถุนธรรม.

การงดเว้นจากมุสาวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดเท็จ.

การงดเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดส่อเสียด.

การงดเว้นจากผรุสวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดคําหยาบ.

การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ.

ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง

ความไม่พยาบาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.

ความเห็นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 484

ความดําริถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความดําริผิด.

การเจรจาถูก มีความเพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวาจาผิด

การงานถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีการงานผิด

การเลี้ยงชีวิตถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เลี้ยงชีวิตผิด.

ความพยายามถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความพยายามผิด.

ความระลึกถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติผิด.

ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่นผิด.

ความรู้ถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีญาณผิด.

ความหลุดพ้นลูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวิมุติผิด.

ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ถูกถีนมิทธะครอบงํา.

ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.

ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความสงสัย.

ความไม่โกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักโกรธ.

ความไม่ผูกโกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักผูกโกรธ.

ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักลบหลู่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 485

คุณท่าน.

ความไม่ตีเสมอ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.

ความไม่ริษยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความริษยา.

ความไม่โอ้อวด มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้โอ้อวด.

ความไม่มีมารยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีมารยา.

ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สําหรับกิเลสของบุคคลผู้ดื้อดึง.

ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สําหรับดับกิเลสของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.

ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ว่ายาก.

ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีบาปมิตร.

ความไม่ประมาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความประมาท.

ความเชื่อ มีไว้เพื่อดับกิเลสของผู้ไม่มีศรัทธา.

ความละอาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มีหิริ.

ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มีโอตตัปปะ.

ความเป็นพหูสูต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสุตะ (การศึกษา) น้อย.

การปรารภความเพียร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เกียจคร้าน.

ความเป็นผู้มีสติมั่น มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 486

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ความเป็นผู้ไม่ลูบคลําทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และการสลัดทิ้งได้โดยง่ายดาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งได้โดยยาก.

[๑๐๙] ดูก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้วเหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์ เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้เอ็นดูอนุเคราะห์เหล่าสาวกควรทํากิจนั้น เราตถาคตได้ทําแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูก่อนจุนทะ นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด อย่าประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคําสอนสําหรับเธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะ ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรม ๔๔ บท ทรงแสดงสนธิ ๕ อย่างไว้ พระสูตรนี้มีนามว่า สัลเลขสูตร เป็นพระสูตรที่ลึกซึ้งเทียบด้วยสาครก็ปานกันฉะนี้.

จบ สัลเลขสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 487

อรรถกถาสัลเลขสูตร

[๑๐๐] สัลเลขสูตรมีคําเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ (พระสูตรนี้ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้) ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาจุนทะ เป็นนามของพระเถระรูปนั้น.

บทว่า สายณฺหสมยํ (ในสายัณหสมัย) คือในเพลาเย็น.

ที่หลบหลีกคือแอบหลบออกจากสัตว์และสังขารทั้งหลายเหล่านั้นๆ ชื่อว่า ที่ซ่อนเร้น ในคําว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต (ออกจากที่ซ่อนเร้น) นี้ มีคําอธิบายไว้ว่า ได้แก่ความโดดเดี่ยว คือ ความสงัด. ผู้ที่ออกจากที่นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ออกจากที่เร้น. แต่ท่านจุนทเถระนี้ เพราะออกจากผลสมาบัติที่สูงสุด กว่าการหลีกเร้น (ธรรมดา) เพราะฉะนั้นท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวว่า ออกจากที่เร้นแล้ว.

บทว่า ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา (ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว) ความว่า ครั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยเศียรเกล้าประกอบกับการยกมือครบทั้ง ๑๐ นิ้วขึ้นประณมแล้ว หรือครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระดํารัสอย่างนี้ว่า จงเป็นสุขๆ เถิด จุนทะ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 488

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า

ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีผู้ถวายบังคม จะทรงชูพระศอซึ่งคล้ายกับกลองทองขึ้นแล้ว ทรงเปล่งพระสุระเสียง ดุจเสียงพระพรหม ที่เสนาะโสต เป็นที่จับใจ คล้ายกับโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤตตรัสระบุชื่อของผู้นั้นๆ ว่า จงเป็นสุขๆ เถิด ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ในเรื่องนั้นมีพระสูตรที่ยกมาเป็นข้ออ้างอิงได้ ดังต่อไปนี้ (คือสักกปัญหสูตร) ว่า เมื่อปัญจสิขเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทพอํามาตย์ เทพบริวาร ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตร ขอให้ท้าวสักกะจอมทวยเทพพร้อมด้วยเทพอํามาตย์พร้อมด้วยเทพบริวาร จงทรงพระเกษมสําราญ เพราะว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อสูร นาค คนธรรพ์และสัตว์เหล่าอื่น ที่มีกายหยาบ ปรารถนาความสุขกัน เพราะฉะนั้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะทรงถวายพระพรเทพเจ้าประเภทนั้น ผู้มีศักดามาก ผู้ควรบูชาดังที่กล่าวมาแล้วนั้น.

บทว่า ยา อิมา ความว่า ท่านพระจุนทะ ได้กล่าวถึงทิฏฐิที่ต้องพูดถึง ในบัดนี้ เหมือนทําให้อยู่เฉพาะหน้า.

บทว่า อเนกวิหิตา (มีมากอย่าง) ได้แก่มีนานาประการ.

บทว่า ทิฏฺิโย (ทิฏฐิทั้งหลาย) ได้แก่มิจฉาทิฏฐิ.

บทว่า โลเก อุปฺปชฺชนฺติ (เกิดขึ้นในโลก) ความว่า ปรากฏอยู่ในหมู่สัตวโลก.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 489

บทว่า อตฺตวาทปฏิสํยุตฺตา (ประกอบด้วยอัตตวาทะ) ความว่ามิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ที่ประกอบด้วยอัตตวาทะ. (ปรารภตน) เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา มี ๒๐ อย่าง (๑).

บทว่า โลกวาทปฏิสํยุตฺตา (ประกอบด้วยโลกวาทะ พูดปรารภโลก) ความว่า เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง.

มิจฉาทิฏฐิ ๘

มิจฉาทิฏฐิปรารภอัตตาและโลกนั้นมี ๘ ประการ ที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า

๑. อัตตาและโลกเที่ยง

๒. อัตตาและโลกไม่เที่ยง

๓. อัตตาและโลกเที่ยงก็ ไม่เที่ยงก็มี

๔. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่

๕. อัตตาและโลกมีที่สุด

๖. อัตตาและโลกไม่มีที่สุด

๗. อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี (๒)

๘. อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

ในคํามีอาทิว่า อาทิเมว (เบื้องต้นนี้เท่านั้น) มีอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า (พระจุนทเถระทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นอย่างเดียว คือถึงจะยังไม่บรรลุโสดา


(๑) ปาฐะ เป็น พาวีสติ แต่ฉบับพม่าเป็น ตา วีสติ จึงแปลตามฉบับพม่า เพราะตรงตามความจริง.

(๒) ฉบับของไทยขาดหายไป ๑ ข้อ แต่ฉบับพม่ามีครบ จึงได้เติมตามนั้น.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 490

ปัตติมรรค มนสิการเฉพาะมนสิการเบื้องต้นเท่านั้น ที่เจือด้วยวิปัสสนาจะมีการละและการสลัดทิ้ง ทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้ คือ ทิฏฐิเหล่านี้ ด้วยอุบายเพียงเท่านี้เท่านั้นได้อย่างไร? ก็พระเถระถึงแม้ตัวท่านจะไม่มีมานะยิ่ง (สําคัญว่า ตัวได้บรรลุมรรคผล) แต่ก็พึงทราบว่า เป็นเสมือนผู้มีมานะยิ่ง ถามปัญหานี้เพื่อละมานะยิ่ง สําหรับภิกษุทั้งหลายผู้มีมานะยิ่ง.

ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า อันเตวาสิกทั้งหลายของพระเถระที่มีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การละทิฏฐิทั้งหลายได้เด็ดขาด มีได้ด้วยมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นก็มี ที่มีความเข้าใจว่ามีได้เพราะมีสมาบัติเป็นวิหารธรรม คือมีธรรมะเครื่องขัดเกลา เป็นวิหารธรรมก็มี ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น.

หน้าที่ของทิฏฐิ

[๑๐๑] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุบายสําหรับละทิฏฐิเหล่านั้นแก่ท่าน จึงได้ตรัสคํามีอาทิว่า ยา อิมา (ทิฏฐิ) เหล่านี้ใดไว้. ในคําเหล่านั้นมีความพิสดารว่า คํามีอาทิว่า ยตฺถเจตา ทิฏฺิโย อุปฺปชฺชนฺติ (ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในที่ใด) ดังนี้พระองค์ตรัสหมายเอาเบญจขันธ์. อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในเบญจขันธ์เหล่านั้น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะยึดมั่นรูป เกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เราคืออัตตา และโลก ละโลกนี้ไปแล้วจักยังมี (เพราะว่า) อัตตานั้น โลกนั้น เป็นของเที่ยง ยั่งยืนติดต่อกันไป มีความไม่แปรไปเป็นธรรมดา. แต่พระองค์ตรัสไว้เป็นเอกพจน์ว่า ยตฺถ จ (แปลว่า ในอารมณ์ใด) ด้วยอํานาจแห่งอารมณ์

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 491

มีอธิบายไว้ว่า ทิฏฐิทั้งหลายเกิดขึ้นในอารมณ์ใด. อนึ่ง ในคําว่า ยตฺถ จ เป็นต้นนี้ ควรทราบถึงทิฏฐิเหล่านี้ ทํา (หน้าที่) ต่างๆ กัน อย่างนี้คือ เกิดขึ้น ๑ นอนเนื่องอยู่ ๑ ฟุ้งขึ้น ๑ อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านี้มีการทํา (หน้าที่) ต่างกันดังนี้ คือ ทิฏฐิทั้งหลายโดยชาติ (ของมัน) ที่ยังไม่เกิดขึ้น.

เมื่อเกิดขึ้นพระองค์ตรัสเรียกว่า กําลังเกิดขึ้น, ที่เสพจนคุ้นบ่อยๆ มีกําลัง ขจัดยังไม่ได้ พระองค์ตรัสเรียกว่า นอนเนื่องอยู่, ส่วนที่ประจวบ (ล่วงออกมาทาง) กายทวาร และวจีทวาร พระองค์ตรัสเรียกว่า ฟุ้งขึ้น.

ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ตํ เนตํ มม (สิ่งนี้นั้นไม่ใช่ของเรา) ควรทราบอรรถาธิบายของบทอย่างนี้ก่อนว่า อารมณ์ที่แยกประเภทเป็นเบญจขันธ์นี้นั้น ไม่ใช่ของๆ เรา ถึงเราก็ไม่ใช่สิ่งนั้น แม้สิ่งนั้นก็ไม่ใช่อัตตาของเรา ภิกษุเห็นเบญจขันธ์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ (มีการละการสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้).

แต่เพราะในการยึดถือ ๓ อย่างนี้ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอํานาจตัณหาว่านั่นของเรา ก็ชื่อว่า ยึดถือตัณหาเป็นเครื่องเนิ่นช้าแยกประเภทออกเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอํานาจมานะว่า เราเป็นนั่น ชื่อว่ายึดถือมานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภทออกเป็นนานะ ๙ ประการ และเมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอํานาจทิฏฐิว่า นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ชื่อว่า ยึดถือทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภทออกเป็นทิฏฐิ ๖๒ ประการ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธตัณหาเครื่องเนิ่นช้า แยก

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 492

ประเภทตามที่กล่าวแล้ว เมื่อตรัสว่า เราไม่ใช่นั่น ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธมานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า และเมื่อตรัสว่า นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า. อนึ่ง ในเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิทั้ง ๓ อย่างนี้ ตัณหา และมานะ พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในหมวดเดียวกันกับทิฏฐินั่นเอง.

บทว่า เอวเมตํ (เห็นสิ่งนั้นอย่างนี้) คือ เห็นเบญจขันธ์นั่นโดยอาการมีอาทิว่า นั่นไม่ใช่ของเราอย่างนี้.

บทว่า ยถาภูตํ (ตามความเป็นจริง) คือ ตามสภาวะ มีคําอธิบายไว้ว่า ตามที่มีอยู่. อธิบายว่า ความจริง ขันธปัญจก (หมวด ๕ ของขันธ์) มีอยู่โดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง แต่ขันธปัญจกที่ยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า ของเรา ย่อมไม่มีโดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง.

บทว่า สมฺมปฺปฺาย (เห็นด้วยปัญญาอันชอบ) ความว่า เห็นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาปัญญา อันมีโสดาปัตติมรรคปัญญา เป็นปริโยสาน (๑)

บทว่า เอวเมตาสํ (ละทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้) ได้แก่ (ละ) ทิฏฐิเหล่านี้ ด้วยอุบายนี้. คําว่า การละการสลัดทิ้งทั้งคู่นี้ เป็นชื่อของการละกิเลสได้โดยเด็ดขาดทีเดียว.

[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระมหาจุนเถระถามปัญหาด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีมานะยิ่งว่า การละทิฏฐิทั้งหลาย มีได้ด้วยการมนสิการธรรม เบื้องต้นเท่านั้น หรือมีไม่ได้? ครั้นทรงแสดงการละทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรคแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจําแนกฌานของผู้มีมานะยิ่งด้วยพระองค์เอง จึงได้ตรัสคํามีอาทิว่า ก็เหตุที่ตั้งแล. ผู้มีมานะยิ่ง


(๑) ฉบับพม่าเป็น โสตาปตฺติมคฺคปฺาปริโยสานาย จึงได้แปลตามนั้น.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 493

เกิดขึ้น ด้วยสําคัญว่า ได้บรรลุแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่าผู้มีมานะยิ่ง ในคําว่า อธิมานิกานํ นั้น. ก็แต่ว่า อธิมานะ (มานะยิ่ง) นี้ เมื่อจะเกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พาลปุถุชนผู้รําลึกถึงโลกานุวัตรเนืองๆ (๑) เลย และจะไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกทั้งหลาย. อธิบายว่า อธิมานะ ว่าเราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน อธิมานะ ว่า เราเป็นพระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี อธิมานะ ว่า เราเป็นพระอรหันต์จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลสไว้ได้ด้วยอํานาจสมถะ หรือด้วยอํานาจวิปัสสนา ผู้ปรารภวิปัสสนาแล้วขะมักเขม้นเป็นนิจ. อันที่จริงการกบุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา อธิมานะว่า เราเป็นพระโสดาบันบ้าง เราเป็นพระสกทาคามีบ้าง เราเป็นพระอนาคามีบ้าง เราเป็นพระอรหันต์บ้าง จะเกิดขึ้น เหมือนกับพระเถระทั้งหลาย ที่ท่านธรรมทินนเถระผู้อาศัยอยู่ที่ตลังครติสสบรรพต ได้ตักเตือนแล้ว.

เรื่องพระธรรมทินนเถระตักเตือนศิษย์

ได้ทราบว่า ภิกษุหลายรูป ได้ตั้งตนอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้อุปสมบทแล้วไม่นานเลย ก็พากันบรรลุคุณวิเศษ. ภิกษุสงฆ์ชาวติสสมหาวิหาร ได้ทราบพฤติกรรมนั้นแล้ว ลงความเห็นว่าพระเถระประกอบในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ท่านทั้งหลายจงนําเอาพระเถระมา แล้วได้ส่งภิกษุหลายรูปไป. ภิกษุเหล่านั้นไปถึงแล้ว ได้เรียนว่า ท่านธรรมทินนะครับ ภิกษุสงฆ์เรียกหาท่าน. ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน


(๑) ฉบับพม่าเป็น โลกานุวฏฺฏานุสารีนํ ผู้คล้อยตามและระลึกถึงเรื่องโลกบ่อยๆ.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 494

ทั้งหลายจะแสวงหาตนหรือคนอื่น. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่านสัตบุรุษ เราทั้งหลายแสวงหาตน. พระเถระนั้นได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตกันหมดทุกรูป. ภิกษุสงฆ์จึงได้ส่งภิกษุจําพวกอื่นไปอีก. ภิกษุที่สงฆ์ส่งไปอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ได้บรรลุอรหัตเหมือนกันทั้งหมดแล้ว อยู่ (กับพระเถระนั้น). ต่อจากนั้นมาพระสงฆ์เห็นว่า พระที่ไปๆ แล้ว ไม่กลับมา จึงได้ส่งภิกษุหลวงตาอีกรูปหนึ่งไป.

หลวงตานั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้พูดว่า ข้าแต่ท่านธรรมทินนะภิกษุสงฆ์สํานักติสสมหาวิหาร ส่งพระมาที่สํานักท่านถึง ๓ ครั้ง แต่ท่านเองไม่ทําความเคารพอาณัติสงฆ์ ไม่มา (ไปตามคําสั่ง) พระเถระตอบว่า นี่อะไรกัน? แล้วให้หลวงตานั้นรับเอาบาตร และจีวรโดยไม่ต้องเข้าบรรณศาลาแล้วออกไปในทันทีทันใดนั่นแหละ. ท่านได้แวะไปยังหังกนวิหาร (๑) ในระหว่างทาง. และในหังกนวิหารนั้น มีมหาเถระรูปหนึ่งมีพรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว ปฏิญาณตนเป็นพระอรหันต์ ด้วยมานะยิ่ง พระเถระเข้าไปหาท่านไหว้ กระทําปฏิสันถาร แล้วได้เรียนถามถึงคุณธรรมที่ได้บรรลุ. พระเถระกล่าวว่า เออ ท่านธรรมทินนะ กิจที่บรรพชิตพึงทํา ผมได้ทําเสร็จนานแล้ว บัดนี้ ผมก็พรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว. ท่านธรรมทินนะ เรียนถามว่า ใต้เท้าครับ ใต้เท้ายังใช้ฤทธิ์อยู่บ้างหรือไม่? ท่านตอบว่าใช้อยู่ ท่านธรรมทินนะ. ท่านธรรมทินนะ เรียนว่า ดีแล้วครับ ใต้เท้า ขอนิมนต์ใต้เท้าเนรมิตช้างกําลังเดินมาประจันหน้าใต้เท้า (ให้ดู) เถิด. พระเถระรับคํานิมนต์แล้ว ได้เนรมิตช้างเชือกใหญ่


(๑) ฉบับพม่าเป็น ตงฺขณวิหารํ ที่อยู่ชั่วคราว.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 495

เผือกผ่อง เป็นที่สถิตแห่งคชลักษณ์ ๗ ประการ ตกมันกล้า แกว่งหางสอดงวงเข้าปาก รี่มาประจันหน้าคล้ายกับจะเอางาทั้ง ๒ แทง ท่านเห็นช้างเชือกนั้นที่ตนเนรมิตขึ้นเอง กลัวเริ่มจะวิ่งหนี ในเวลานั้นเอง ท่านก็รู้ตัวว่า เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จึงนั่งกระโหย่งลงแทบบาทมูลของท่านธรรมทินนะ แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งแก่ผมเถิด ท่านขอรับ.ท่านธรรมทินนะได้พูดเอาใจพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้เศร้าโศก อย่าได้เสียใจ มานะยิ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะการกบุคคลทั้งหลายเท่านั้น แล้วได้ให้กรรมฐาน (แก่พระเถระ). พระเถระดํารงอยู่ในโอวาทของท่านแล้วได้บรรลุพระอรหัต.

ถึงพระเถระ (อีกรูปหนึ่ง) ก็เช่นกัน อยู่ที่จิตตลดาบรรพต.ท่านธรรมทินนะเข้าไปหาท่าน แล้วถามอย่างนั้นเหมือนกัน (๑) ทั้งท่านก็ได้พยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน. ถัดจากนั้นท่านธรรมทินนะ ก็ได้กล่าวกะท่านว่า ท่านได้ใช้ฤทธิ์บ้างหรือไม่? พระเถระตอบรับคํา. ท่านธรรมทินนะ เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้วขอรับ ขอให้ท่านเนรมิตสระโบกขรณีขึ้น ๑ สระเถิด. พระเถระได้เนรมิต (ตามที่ขอร้อง) ท่านธรรมทินนะเรียนว่า ท่านขอรับ ขอให้ท่านเนรมิตกอบัวขึ้นในสระนี้ด้วยเถิด. พระเถระก็เนรมิตกอบัวขึ้น (ตามที่ขอร้อง). ท่านธรรมทินนะขอร้องว่า ขอให้ท่านเนรมิตร่างหญิงคนหนึ่ง ยืนร้อง ร่ายรําด้วยเสียงไพเราะอยู่บนกอบัวนั้นเถิด. พระเถระก็เนรมิตหญิงนั้น (ตามที่ขอร้อง).ท่านธรรมทินนะจึงเรียนว่า ขอให้ท่านเพ่งพินิจหญิงนั้นบ่อยๆ แล้วตัวท่านเองก็เข้าปราสาทไป. เมื่อพระเถระเพ่งหญิงที่เนรมิตขึ้นนั้น กิเลส


(๑) ฉบับพม่าเป็น ตเถว จึงได้แปลเช่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 496

ที่ข่มไว้เป็นเวลา ๖๐ ปีก็หวั่นไหว. ในครั้งนั้นท่านรู้ตัว จึงขอเรียนกรรมฐานในสํานักของท่านธรรมทินนเถระ และได้บรรลุพระอรหัตเหมือนกับพระเถระรูปก่อน.

ส่วนท่านธรรมทินนะ ก็ได้ไปยังติสสมหาวิหารตามลําดับ. และในเวลานั้น พระเถระทั้งหลายกวาดลานพระเจดีย์แล้วนั่งกรรมฐาน ยังปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น. นัยว่า การทําอย่างนี้เป็นกิจวัตรของท่านเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีพระเถระแม้แต่รูปเดียว บรรดาพระเถระเหล่านั้นจะบอกจะถามท่านธรรมทินนะว่า ท่านจงวางบาตรและจีวรไว้ตรงนี้. แต่ก็รู้กันว่า นั่นคงจะเป็นท่านธรรมทินนะ จึงได้พากันถามปัญหาท่าน. ท่านตอบโต้ตัดปัญหาที่ถามๆ มา เหมือนกับใช้ดาบที่คมตัดมัดก้านดอกโกมุท ให้ขาดสะบั้นฉันนั้น แล้วเอานิ้วเท้ากดมหาปฐพีและพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มหาปฐพีนี้แม้จะไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่าของธรรมทินนะ แต่ท่านทั้งหลายไม่รู้จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แผ่นดินนี้ ไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่าน้อยใหญ่ ส่วนท่านทั้งหลายมีจิตใจ แต่ไม่รู้คุณค่าน้อยใหญ่.

สัลเลขธรรมคือฌาน - วิปัสสนา

และในทันใดนั่นเอง ท่านก็ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ ไปยังตลังคติสสบรรพตนั่นเอง.

[๑๐๒] อธิมานะ ย่อมเกิดขึ้นแก่การกบุคคลเท่านั้น ดังที่กล่าวมานะแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจําแนกฌาน

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 497

ด้วยสามารถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนั้น จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า "านํโข ปน."

บทว่า านํ โข ปน นั้นมีอรรถาธิบายว่า เหตุนี้มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี คือภิกษุลางรูปในศาสนานี้ สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐมฌานอันเป็นสาธารณะแก่ปริพาชกนอกศาสนาทั้งหลายอยู่.

แต่คําใดว่า ข้อว่า ตสฺส เอวมสฺส สลฺเลเขน วิหรามิ (เธอพึงมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า เราอยู่ด้วยสัลเลขธรรม ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส) ความว่า วิธีปฏิบัติใด ย่อมขัดเกลากิเลสได้ เราอยู่ด้วยวิธีปฏิบัตินั้นคํานั้นไม่ถูก. เพราะว่า ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรมหรือสัลเลขปฏิปทา (๑)

เพราะเหตุไร? เพราะไม่เป็นเบื้องบาทของวิปัสสนา. อธิบายว่า เธอเข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว ก็ไม่พิจารณาสังขารทั้งหลาย. ส่วนฌานก็ทําเพียงแต่ให้จิตของเธอเป็นเอกัคคตาเท่านั้น. เธอก็เป็นผู้อยู่สบายในปัจจุบัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นจึงได้ตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าเลยแต่ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตเรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) ในวินัยของพระอริยเจ้า.

คําว่า เอเต (เหล่านั้น) ในพระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า


(๑) ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌานํ สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ แปลตามนี้

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 498

เป็นพหุพจน์ด้วยอํานาจแห่งฌาน. มีคําอธิบายว่า เอเต โยค ปมชฺฌานธมฺมา (แปลว่า ธรรมคือปฐมฌานเหล่านั้น) อีกอย่างหนึ่ง (เป็นพหุพจน์) ด้วยอํานาจแห่งสมาบัติ. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียวแต่เป็นไปโดยการเข้าบ่อยๆ ก็ถึงความเป็นของมากได้. อีกอย่างหนึ่งเป็นพหุพจน์ด้วยอํานาจแห่งอารมณ์. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียวก็ถึงความเป็นของมากได้โดยการเป็นไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีปฐวีกสิณเป็นต้น. ในทุติยฌาน, ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็นัยนี้.

แต่ในอรูปฌานทั้งหลาย (คําว่าเหล่านั้น) พึงทราบว่าเป็นพหุพจน์ด้วยอํานาจแห่งเหตุทั้ง ๒ ในฌานก่อน (จตุตถฌาน) นั่นเอง เพราะไม่มีความต่างกันแห่งอารมณ์. ก็เพราะเหตุที่ทั้งองค์ทั้งอารมณ์ของอรูปฌานเหล่านั้น สงบ อธิบายว่า ทั้งดับสนิททั้งละเอียด เพราะฉะนั้น ทั้งองค์ทั้งอารมณ์เหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ฌานธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันสงบ เป็นธรรมเครื่องอยู่ (สันตวิหารธรรม).นี้เป็นการขยายความทั่วไปของอรูปฌานทั้ง ๔ เหล่านั้นก่อน. ส่วนการขยายความพิเศษควรกล่าว (อธิบาย) ตามทํานองบทเป็นต้นว่า เพราะล่วงเลยรูปสัญญาไปโดยประการทั้งปวง. การขยายความนั้นได้กล่าว (อธิบาย) ไว้ทุกอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วแล.

[๑๐๓] เพราะเหตุที่วิหารธรรมคือฌาน ของภิกษุผู้มีอธิมานะไม่เป็นสัลเลขวิหารธรรม เพราะไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ด้วยว่า เธอเข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว หาได้พิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ แต่ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของเธอเป็น (เพียง) ทําให้จิตเป็นอกัคคตาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 499

จึงทรงจําแนกรูปฌานและอรูปฌานไว้ และต่อไปนี้ เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้น และสัลเลขธรรมนั้นด้วยอาการ ๔๔ อย่าง จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า อิธ โข ปน โว ดังนี้.

บาทของวิปัสสนา

[๑๐๔] ก็เหตุไฉนธรรมทั้งหลาย มีอวิหิงสาเป็นต้นเท่านั้นนอกจากสมาบัติทั้ง ๘ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นสัลเลขธรรม?

เพราะธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนาที่เป็นโลกุตระได้.

อันที่จริง สมาบัติทั้ง ๘ ของคนภายนอก (พุทธศาสนา) ทั้งหลายเป็นบาทของวัฏฏะ เท่านั้น. แต่ในศาสนา (พุทธ) แม้สรณคมน์ก็พึงทราบว่า เป็นบาทของโลกุตตรธรรมได้ ตามพระสูตรนี้โดยเฉพาะจะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมทั้งหลาย มีอวิหิงสาเป็นต้นเล่า (ที่จะเป็นไปไม่ได้).

อนึ่ง ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในศาสนา (พุทธ) มีผลมากกว่าทาน ที่ให้แก่คนนอกศาสนา ที่ได้สมาบัติ ๘ แม้มีอภิญญา ๕ ก็ตาม. เพราะว่าในทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ทักขิณามีผลคูณด้วยแสนโกฏิทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนา ผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย. แต่ทักขิณามีผลนับไม่ถ้วน คํานวณไม่ถูก ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อทําให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.จะกล่าวถึงทําไมสําหรับพระโสดาบัน.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 500

ความจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น พระองค์ทรงประสงค์เอา ตั้งแต่การถึงสรณะเป็นต้นไป.นี้เป็นการประกอบความตามพระบาลีในพระสูตรนี้ก่อน.

ส่วนในการพรรณนาความตามลําดับบท พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อิธ นี้เป็นคําแสดงเรื่องมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น.

คําว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต.

คําว่า โว เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.

ก็ในคําว่า อิธ เป็นต้นนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังต่อไปนี้. ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลายควรทําการขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ) ในเรื่องการเบียดเบียนเป็นต้นนี้นั้น ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงขยายความให้พิสดาร จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน แต่เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรบําเพ็ญสัลเลขธรรมดังที่ว่ามานี้.

ในจํานวนคําเหล่านั้น คําว่า ปเร (คนเหล่าอื่น) ได้แก่ผู้ใดใครก็ตาม ที่ประกอบสัลเลขธรรมนี้เนืองๆ.

ข้อว่า วิหิํสกา ภวิสฺสนฺติ (จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน) ความว่าจักเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องเบียดเบียนทั้งหลาย เช่นด้วยฝ่ามือหรือด้วยก้อนดินเป็นต้น.

ข้อว่า มยเมตฺถ อวิหิํสกา ภวิสฺสาม (เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้) ความว่า ส่วนเราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 501

เบียดเบียนกัน ในเพราะเรื่องที่เป็นเหตุให้คนอื่นเขาเบียดเบียนกันอย่างนี้เท่านั้น คือเราทั้งหลายจักอยู่กัน โดยไม่ให้เกิดความเบียดเบียนกันขึ้น.

บทว่า อิติ สลฺเลโข กรณีโย (เพราะเหตุอย่างนี้ การขัดเกลากิเลสเป็นสิ่งที่ควรทํา) ความว่า เธอทั้งหลายควรทําสัลเลขธรรมอย่างนี้.และการไม่เบียดเบียนกันนั่นเอง พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรมในที่นี้.เพราะว่าการไม่เบียดเบียนกัน จะขัดเกลาคือตัดการเบียดเบียนกันได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า สัลเลขะ. ในทุกข้อก็มีนัยนี้. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้ (คือ) ทิฏฐิในคําว่า ปเร มิจฺฉาทิฏฺี (คนอื่นจักเป็นผู้มีความเห็นผิด) นี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสทิฏฐิไว้ โดยทรงรวมมิจฉาทิฏฐิข้อสุดท้ายของกรรมบถ (อกุศลกรรมบถ ๑๐) กับมิจฉาทิฏฐิข้อต้น ของมิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) เข้าด้วยกัน. อนึ่ง สัมมาทิฏฐิในฐานะที่ตรัสไว้ว่าเราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีความเห็นถูกในเพราะเรื่องนี้ กับกรรมบถ ในคําว่าเราทั้งหลายจักเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตในเพราะเรื่องนี้ เป็นต้น นี้จักมีชัดแจ้งในสัมมาทิฏฐิสูตรโดยพิสดาร ส่วนมิจฉาทิฏฐิในมิจฉัตตะเป็นต้นจักแจ้งชัดใน เทฺวธาวิตักกสูตร (ข้างหน้า).

กรรมบถ - มิจฉัตตะ

แต่เนื้อความ (ที่จะกล่าวต่อไป) นี้ เป็นความสังเขปใน กรรมบถและมิจฉัตตะนี้.

ชนเหล่าใดยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปาณาติปาตี อธิบายว่า เป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 502

ชนเหล่าใด ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า อทินนาทายี อธิบายว่า ผู้ลักของผู้อื่น.

ชนเหล่าใดประพฤติธรรมไม่ประเสริฐ (ไม่เหมือนพรหม) คือธรรมต่ําได้แก่ธรรมเลว เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า อพรหมจารี อธิบายว่า เป็นผู้เสพเมถุนธรรม.

ส่วนชนเหล่าใดประพฤติธรรมประเสริฐ คือปฏิปทาประเสริฐสุดเ พราะว่าเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า พรหมจารี อธิบายว่า เป็นผู้เว้นเมถุนธรรม. และพรหมจรรย์พึงทราบว่า (๑) เป็นสัลเลขธรรมในคําว่าเราทั้งหลายจักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ในเพราะเหตุนี้. เพราะว่าพรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมที่ประเสริฐ) ย่อมขจัดขัดเกลาอพรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมที่ไม่ประเสริฐ) ได้.

ชนเหล่าใดพูดเท็จ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มุสาวาที อธิบายว่า ผู้พูดวาจาเปล่า คือ เหลาะแหละ ที่หักรานประโยชน์ของผู้อื่น.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปิสุณวาจา เพราะมีวาจาส่อเสียด.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีผรุสวาจา เพราะมีวาจาหยาบคาย เราะรานสิ่งที่รักของผู้อื่น.

ชนเหล่าใดพูดพล่าม คือไร้ประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า สัมผัปปลาปี (ผู้พูดเพ้อเจ้อ).

ชนเหล่าใดย่อมเพ่งเล็ง เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามี อภิชฌาเป็นปกติ อธิบายว่า เป็นผู้มักได้สิ่งของๆ ผู้อื่น.


(๑) ปาฐะว่า เวทิตพฺโพ เข้าใจว่าคงจะเป็น เวทิตพฺพํ ฉบับพม่าเป็น เวทิตพฺพํ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 503

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีจิตพยาบาท เพราะมีจิตพยาบาท คือเป็นจิตเสีย.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความเห็นผิด เพราะความเห็นพลาด คือลามกได้แก่ที่ผู้รู้ตําหนิ อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วย (นัตถิกทิฏฐิ) มีอาทิว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล อันนับเนื่องใน (อกุศล) กรรมบถ และทิฏฐิที่ไม่นําสัตว์ออกจากวัฏฏะ อันนับเนื่องในมิจฉัตตะ (ความเป็นผิด).

แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความเห็นถูก เพราะมีความเห็นชอบ คืองาม ได้แก่ที่ผู้รู้สรรเสริญ อธิบายว่า ประกอบด้วยความเห็นว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน มีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ที่นับเนื่องใน (กุศล) กรรมบถและความเห็นในมรรคที่นับเนื่องด้วยสัมมัตตะ (ความเป็นถูก).

บทว่า มิจฉาสังกัปปา ได้แก่ความดําริในอกุศลที่ไม่เป็นไปตามความจริง และไม่เป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากวัฏฏะ.

แม้ในมิจฉาวาจาเป็นต้นก็มีนัยนี้. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-

ความจริง ธรรมดามิจฉาสติก็เหมือนกับมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คือไม่มีธรรมอะไรๆ. แต่คําว่า มิจฉาสตินี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศลทั้ง ๔ ขันธ์ ที่เป็นไปแล้วสําหรับผู้คิดถึงอดีต. แม้คําใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า อนุสสตินั้นมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี ซึ่งได้แก่อนุสสติของผู้ตามระลึกถึงการได้บุตร ตามระลึกถึงการได้ลาภ หรือตามระลึกถึงการได้ยศนะภิกษุทั้งหลาย. แม้คํานั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสหมายเอาการเกิดขึ้นด้วยสติเทียม ของผู้คิดถึงเรื่องนั้นๆ.

ก็โมหะที่เกิดขึ้นด้วยอํานาจการคิดถึงอุบาย ในการทําบาปทั้งหลายและโดยอาการแห่งการทําชั่ว และพิจารณาว่า เราทําดีแล้ว พึงทราบว่า

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 504

เป็นมิจฉาญาณในคําว่า มิจฺฉาาณี ผู้มีความรู้ผิด นี้.

บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วยมิจฉาญาณะนั้น ชื่อว่า มิจฺฉาาณี.ส่วนปัจจเวกขณญาณ แยกประเภทเป็น ๗๙ อย่าง พระองค์ตรัสเรียกว่าสัมมาญาณะ ในคําว่า สมฺมาาณี (ผู้มีความรู้ชอบ) นี้. บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณนั้น ชื่อว่า สัมมาญาณี.

คําว่า มิจฺฉาวิมุตฺตี ผู้มีความหลุดพ้นผิด คือผู้ยังไม่หลุดพ้นเลยแต่มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว หรือมีความสําคัญว่าความไม่หลุดพ้นเป็นความหลุดพ้น.

ในมิจฉาวิมุตินั้นมีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มิจฺฉาวิมุตฺตี (ผู้มีความหลุดพ้นผิด) เพราะมีความหลุดพ้นผิด คือชั่วช้า ได้แก่วิปริต. อนึ่ง คําว่า มิจฺฉาวิมุตฺตี นี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศล ซึ่งเป็นไปโดยอาการดังที่กล่าวมาแล้ว. ส่วนธรรมที่เหลือที่สัมปยุตด้วยผลยกเว้น องค์ทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น พึงทราบว่าวิมุติ. และวิมุตินั้น พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลามิจฉาวิมุติแล้วสถิตอยู่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้ภิกษุทั้งหลายประกอบในสัมมาวิมุตินั้น จึงตรัสคํามีอาทิไว้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสัมมาวิมุติในเพราะเรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรบําเพ็ญสัลเลขธรรมอย่างนี้ อกุศลทั้ง ๓ ต่อจากนี้ไป พระองค์ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งนิวรณ์. แต่เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกรรมบถทั้งหลายอย่างนี้ว่า ผู้มักเพ่งเล็ง ผู้มีจิตพยาบาท จึงควรทราบไว้ว่า พระองค์ตรัสนิวรณ์ ๒ ข้อแรกไว้ในคํานี้แล้ว. ในจํานวนนิวรณ์ทั้ง ๓ นั้น เหล่าชนผู้ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 505

คือครอบงําแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ถีนมิทฺธปริยุฏิตา (ผู้ถูกความง่วงเหงาหาวนอนรบกวนแล้ว).

เหล่าชนผู้ชื่อว่า อุทฺธตา (มีความฟุ้งซ่าน) เพราะประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน.

เหล่าชนผู้ชื่อว่ามี วิจิกิจฺฉา เพราะคิดลังเลสงสัยอยู่ คือไม่สามารถทําความตกลงใจได้.

อกุศลทั้ง ๑๐ มีความโกรธเป็นต้น พระองค์ตรัสไว้ด้วยอํานาจแห่งอุปกิเลส. ในจํานวนอุปกิเลสทั้งหลายมีความโกรธเป็นต้นเหล่านั้น คําที่ควรจะกล่าว (อธิบาย) ทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในธรรมทายาทสูตร และวัตถสูตร.

แต่ในสูตรนี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-

คําว่า โกธนา (มักโกรธ) คือมีความเดือดดาลเป็นปกติ.

คําว่า อุปนาหี (มักผูกโกรธ) คือมีความผูกโกรธเป็นปกติ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุปนาหี เพราะคนเหล่านั้นมีความผูกโกรธ. มกฺขี (ผู้มักลบหลู่) ปลาสี (ผู้มักตีเสมอ) ก็เช่นนั้นเหมือนกัน.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า อิสฺกุกี เพราะมักริษยา. เหล่าชนผู้ชื่อว่า มจฺเฉรีเพราะมักตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง เพราะชนเหล่านั้นมีความตระหนี่.

ชนเหล่าใดประพฤติโอ้อวด ชนเหล่านั้นชื่อว่า สา (ผู้โอ้อวด) มีคําอธิบายไว้ว่า ไม่พูดโดยชอบ (ธรรม) คําว่า สา นี้ เป็นชื่อของเหล่าชนผู้ประกอบด้วยเหตุที่ทําให้ต่ําช้า.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 506

มายาของชนเหล่านั้นมีอยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า มายาวี (มีเล่ห์เหลี่ยม).

เหล่าชนผู้ชื่อว่า ถทฺธา (มีความกระด้าง) เพราะประกอบด้วยความหัวดื้อ. เหล่าชนผู้ชื่อว่ามีมานะยิ่ง เพราะประกอบด้วยการดูหมิ่นท่าน. ส่วนธรรมะที่เป็นฝ่ายสุกกธรรม พึงทราบโดยนัยแห่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว.

คําว่า เป็นผู้ว่ายาก ความว่า เป็นผู้ยากที่จะว่ากล่าวได้ คือถูกว่าอะไรเข้าแล้วทนไม่ได้. เหล่าชนผู้ตรงกันข้ามกับคนว่ายากนั้น ชื่อว่าเป็นคนว่าง่าย.

เหล่าชนที่ชื่อว่ามีมิตรชั่ว เพราะมีมิตรเลว เช่นพระเทวทัตเป็นต้น.

เหล่าชนที่ชื่อว่ามีกัลยาณมิตร เพราะมีคนดี คือพระพุทธเจ้าหรือสาวกทั้งหลายเช่นกับพระสารีบุตรเป็นต้น เป็นมิตร.

เหล่าชนผู้ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ประมาทแล้วด้วยอํานาจการปล่อยจิตในกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้ประมาทแล้ว.

ทั้ง ๓ อย่างนี้พระองค์ตรัสไว้โดยเป็นข้อเปิดเตล็ด ส่วน ๗ อย่างมีเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น พระองค์ตรัสไว้โดยเป็นอสัทธรรม. ในจํานวน ๗ อย่างนั้น เหล่าชนที่ชื่อว่า ไม่มีศรัทธา เพราะไม่มีความเชื่อในวัตถุทั้ง ๓ (พระรัตนตรัย). ในธรรมที่เป็นฝ่ายสุกกธรรม พึงทราบอธิบายดังนี้ ชนเหล่าใดเชื่ออยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้เชื่อ หรือชื่อว่ามีศรัทธา เพราะมีความเชื่อ เหล่าชนผู้ชื่อว่า อหิริกะ เพราะไม่มีความละอายแก่ใจ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 507

คําว่า อหิริกะนี้เป็นชื่อของผู้ไม่ขยะแขยงต่อการปฏิบัติอกุศลธรรม.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความละอายแก่ใจ เพราะมีความละอายในใจหรือมีใจประกอบด้วยความละอาย.

ชนเหล่าใดไม่สะดุ้ง (ต่อบาป) อยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่าไม่มีโอตตัปปะ มีคําอธิบายไว้ว่า ไม่กลัวต่อการประพฤติอกุศลธรรม.แต่ผู้ที่ตรงกันข้ามกับเขา ชื่อว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ (เกรงกลัวบาป).

เหล่าชนผู้ชื่อว่า ด้อยการศึกษา เพราะมีการศึกษาน้อย แต่ความน้อย ไม่ควรถือว่าได้แก่ความนิดหน่อย. ต้องถือว่าไม่มีเลย. เพราะว่าผู้ไม่มีการศึกษา (สุตะ). คือไร้การศึกษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผู้ด้อยการศึกษา (สุตะ).

แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะมีการศึกษา (สุตะ) มาก.คําว่าพหุสสุตา นี้ เป็นชื่อของเหล่าชนผู้รู้พระพุทธภาษิต คือกถา แม้เรื่องเดียวโดยถ่องแท้แล้วปฏิบัติพอเหมาะสมแก่ข้อปฏิบัติ.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า เกียจคร้าน เพราะจมลง (สู่ภาวะที่น่าเกลียด) คํานี้เป็นชื่อของผู้เสื่อมความเพียรแล้ว.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า ปรารภความเพียรแล้ว เพราะมีความเพียรที่ปรารภแล้ว คํานี้เป็นชื่อของเหล่าชนผู้ประกอบด้วยความเพียรชอบ.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีสติหลงลืมแล้ว เพราะมีสติฟันเฟือนแล้ว มีคําอธิบายไว้ว่า มีสติเสื่อมแล้ว.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า ผู้ตั้งสติได้แล้ว เพราะมีสติที่ตนตั้งไว้ใกล้ชิดแล้ว.คําว่า อุปฏิตสฺสตี นี้ เป็นชื่อของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ที่มีสติเผชิญหน้ากับอารมณ์อยู่เป็นนิจ.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 508

เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปัญญาทราม เพราะมีปัญญาชั่วร้าย มีคําอธิบายไว้ว่า มีปัญญาเสื่อมแล้ว. เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปัญญาสมบูรณ์ เพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา.

แต่ปัญญาในที่นี้พึงทราบว่า ได้แก่วิปัสสนาปัญญา. เพราะว่าองค์ประกอบวิปัสสนา มีมาครบถ้วนในที่นี้ เพราะฉะนั้น โบราณจึงมีบังคับไว้ว่า ปัญญานี้คือวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น. ต่อไปนี้เมื่อจะทรงแสดงทิฏฐิไม่นําสัตว์ออกจากวัฏฏะอย่างเดียวเท่านั้น ที่ทําอันตรายต่อคุณธรรมที่เป็นโลกุตตระ ด้วยอาการ ๓ อย่าง จึงตรัสคํามีอาทิไว้ว่า สนฺทิฏิปรามาสี ผู้ลูบคลําทิฏฐิของตน.

ในว่า สนฺทิฏฐิปรามาสี เป็นต้นนั้น พึงทราบอธิบายดังนี้ว่า:-

เหล่าชนผู้ชื่อว่า สนฺทิฏิปรามาสี เพราะยึดทิฏฐิของตน.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า อาธานคาหี เพราะยึดไว้มั่น ความยึดมั่น ท่านเรียกว่า อาธานะ อธิบายว่า ผู้ถือมั่น.

เหล่าชนผู้ชื่อว่า เป็นผู้สลัดทิ้ง เพราะเห็นเหตุที่ถูกต้องแล้ว ก็สลัด (ลัทธิเก่า) ทิ้ง. แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี เพราะ (สลัดได้) โดยยาก คือโดยลําบาก ได้แก่ฝืด อธิบายว่า เห็นเหตุตั้งมากมาย ก็ไม่อาจสละได้. คําว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี นี้เป็นชื่อของเหล่าชนผู้ยึดมั่นทิฏฐิที่เกิดขึ้นแก่ตนว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ถึงแม้พระพุทธเจ้าเป็นต้นจะทรงชี้แจงแสดงเหตุให้ฟังก็ไม่สลัดทิ้ง. อธิบายว่า บุคคลประเภทนั้นฟังเรื่องใดๆ มาจะเป็นเรื่องธรรมะหรือไม่ใช่ธรรมะก็ตาม ประมวลเรื่องทั้งหมดนั้นไว้ภายใน (สมอง) นั้นเอง ว่าอาจารย์ของเราทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ เราทั้งหลายได้สดับมาอย่างนี้. เหมือนเต่าเก็บอวัยวะทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 509

ไว้ภายในกระดองของตน คือยึด (ทิฏฐินั้นไว้) ไม่ปล่อย เหมือนการฮุบไว้ของจระเข้. ส่วนธรรมฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมโดยอาการ ๔๔ ประการอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้การเกิดขึ้นแห่งจิตในสัลเลขธรรมนั้น ก็เป็นธรรมมีอุปการะมาก จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า แม้การเกิดขึ้นแห่งจิต เราตถาคต...

คําว่า จิตฺตุปฺปาทมฺปิ โข อหํ เป็นต้นนั้น มีเนื้อความว่า ดูก่อนจุนทะ แม้การเกิดขึ้นแห่งจิตในกุศลธรรมทั้งหลาย เราตถาคตก็กล่าวว่ามีอุปการะมาก จะกล่าวไปไยในเรื่องการจัดแจงทําด้วยกาย และด้วยวาจา คือทําธรรมเหล่านั้น และบังคับด้วยวาจาว่า ท่านทั้งหลายจงพากันทํา หรือการเรียนการสอบถามเป็นต้น เหมือนกับจิตดวงแรกที่เกิดขึ้นเพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า การจัดแจงทํานั้น มีอุปการะมากโดยส่วนเดียวนั่นเอง.

ถามว่า ก็เหตุไฉนแม้การเกิดขึ้นแห่งจิตในกุศลธรรมเหล่านั้น จึงมีอุปการะมาก?

แก้ว่า เพราะนําประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้โดยส่วนเดียวด้วย เพราะเป็นเหตุแห่งการจัดทําตามลําดับด้วย.

จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งจิตว่า เราจักถวายทาน โดยลําพังตัวมันก็เป็นเหตุนําประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้โดยส่วนเดียวอยู่แล้ว ทั้งเป็นเหตุให้จัดทําตามลําดับด้วย. ก็เพราะเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้ (ในวันแรก) นั่นเอง ในวันที่ ๒ จึงปิดถนนใหญ่ สร้างปะรําใหญ่ แล้ว

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 510

ถวายทานแก่ภิกษุ ๑๐๐ รูป หรือ ๑,๐๐๐ รูป ได้บอกเพื่อนใกล้เคียงว่าจงนิมนต์ จงบูชา จงเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์กันเถิดดังนี้ การเกิดขึ้นแห่งจิตว่า เราจักถวายจีวรเสนาสนะ และเภสัชแก่พระสงฆ์อย่างนี้ โดยลําพังตัวมันก็เป็นเหตุนําประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้ได้โดยส่วนเดียวอยู่แล้ว ทั้งเป็นเหตุให้จัดทําตามลําดับ ด้วยประการดังนี้. จริงอยู่ เพราะมีจิตเกิดอย่างนี้นั่นเอง คนจึงจัดเตรียมจีวรเป็นต้นพากันถวาย.

ในการถึงสรณะเป็นต้นก็มีนัยนั้น. อธิบายว่า คนเกิดความคิดขึ้น (ก่อน) ทีเดียวว่า เราจักถึงสรณะ ภายหลังจึงรับสรณะด้วยกายหรือด้วยวาจา อนึ่ง คนเกิดความคิดขึ้น (ก่อน) ทีเดียวว่า เราจักสมาทานศีลมีองค์ ๕ มีองค์ ๘ หรือมีองค์ ๑๐ แล้วจึงสมาทานด้วยกายหรือด้วยวาจา. และผู้บวชแล้วก็เกิดความคิดขึ้น (ก่อน) เหมือนกันว่าเราจักดํารงมั่นอยู่ในศีลทั้ง ๕ แล้ว จึงยังศีลที่ควรให้บริบูรณ์ด้วยกายและวาจาให้บริบูรณ์.

ผู้เกิดความคิดขึ้น (ก่อน) ว่าเราจักเรียนพระพุทธพจน์แล้ว จึงจะเรียนพระพุทธพจน์ได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๓ นิกาย ๔ นิกาย หรือ ๕ นิกาย.

ควรนํา (เรื่องจิตตุปบาทมาแสดง) อย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งการสมาทานธุดงค์การเรียนพระกรรมฐาน การบริกรรมกสิณ การเข้าฌาน (การเจริญ) วิปัสสนา, มรรค, ผล, ปัจเจกโพธิญาณ และสัมมาสัมโพธิญาณ. เพราะว่า การเกิดความคิดขึ้นว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยลําพังตัวมันก็เป็นเหตุนําประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้ได้โดยส่วนเดียวอยู่แล้ว นั้นเป็นเหตุให้จัดทําตามลําดับด้วย. อธิบายว่า เพราะ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 511

เกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แหละ สมัยต่อมา (พระโพธิสัตว์) จึงบําเพ็ญบารมีด้วยกายและวาจา ตลอดเวลา ๔ อสงไขย กําไรแสนกัปแล้ว (ได้ตรัสรู้) เสด็จดําเนินโปรดสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามพ้น (โอฆสงสาร) แม้การเกิดความคิดขึ้นในกุศลธรรมทุกอย่างก็มีอุปการะมาก ดังที่พรรณนามานี้ แต่การจัดทําตามลําดับด้วยกายและวาจา พึงทราบว่า มีอุปการะมากยิ่งทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงจิตตุปบาทเหล่านั้น จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุนั้นแล. คํานั้นโดยเนื้อความปรากฏชัดแล้ว.

อวิหิงสาเหมือนท่าน้ำที่ราบรื่น

[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงจิตตุปบาทในสัลเลขธรรม ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยอาการ ๔๔ อย่าง ว่ามีอุปการะมากอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นเองว่าเป็นทางแห่งการบรรลุประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า เสยฺยถาปิ (แม้ฉันใด).คํานั้นมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนจุนทะ อุปมาเหมือนว่า มีทางที่ขรุขระไปด้วยตอ หนาม และหิน ต้องมีทางอื่นที่ราบเรียบ เหมือนพื้นที่ๆ ปรับไว้ดีแล้ว เพื่อหลีก คือเพื่อต้องการเว้นทางที่ขรุขระนั้นฉันใด อนึ่งมีท่าน้ำที่ไม่ราบเรียบ มีเหง้าไม้ มีหิน และหลุม เกลื่อนกล่นไปด้วยอันตราย มีจระเข้และมังกรเป็นต้น ต้องมีท่าน้ำที่ราบเรียบ ลึกลงไปตามลําดับ เช่นกับขั้นบันได เพื่อหลีก คือเพื่อต้องการเว้นท่าน้ำที่ไม่ราบเรียบนั้น ซึ่งคนเดินไปแล้ว แวะลงแม่น้ำหรือสระ. แล้วอาบน้ำหรือขึ้นมาได้โดยสะดวกฉันใด. ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสาก็เช่นนั้นเหมือนกันนั้น

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 512

แหละ เช่นกับด้วยทางที่ราบเรียบ และท่าที่ราบรื่น มีไว้เพื่อหลีกคนมีวิหิงสา ผู้ประกอบด้วยการเบียดเบียน ซึ่งเป็นเช่นกับท่าที่ไม่ราบรื่น.ความจริง ทางที่ราบเรียบ และท่าน้ำที่ตกแต่งแล้ว มีไว้เพื่อเว้นทางที่ไม่ราบเรียบ และท่าน้ำที่ไม่ราบรื่น ฉันใด ผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการเว้นวิหิงสาและเพื่อปรับปรุง (ตน) ด้วยอวิหิงสา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะยื้อยุดเอาคติมนุษย์หรือคติเทพเจ้า เสวยสมบัติหรือข้ามพ้นโลกได้โดยง่ายดาย.ทุกๆ บทควรประกอบโดยทํานองนี้เหมือนกัน.

อโธภาวังคมนียะอุปริภาวังคมนียะ

[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็นทางแห่งการประสบประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่สัลเลขธรรมให้ถึงความสูงส่ง จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า เสยฺยถาปิ (แม้ฉันใด) ไว้. คํานั้นมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนจุนทะ เหมือนอย่างว่าอกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อให้ปฏิสนธิแล้วจะให้เกิดวิบากหรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดยชาติแล้ว จะมีชื่ออย่างนี้ว่า อโธภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความต่ําทราม) เพราะอกุศลธรรมเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจฉันใด ส่วนกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อให้ปฏิสนธิแล้วจะให้เกิดวิบาก หรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดยชาติแล้ว จะมีชื่ออย่างนี้ว่า อุปริภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่ง) เพราะกุศลธรรนเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่น่าปรารถนาพอใจ ฉันใด. ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อความ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 513

สูงส่งแห่งบุคคลผู้มีวิหิงสา. ในเรื่องนั้น มีการเปรียบเทียบระหว่างอุปมากับอุปไมย ดังต่อไปนี้. อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมให้ถึงความต่ําทรามฉันใด แม้วิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความต่ําทราม สําหรับผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้น. ส่วนกุศลธรรมทั้งหมด เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งฉันใด แม้อวิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งสําหรับผู้ไม่มีวิหิงสาก็ฉันนั้น. ควรเปรียบเทียบอกุศลกับอกุศล และกุศลกับกุศล โดยอุบายนี้นั้นแหละ. ได้ทราบว่า ในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-

เบญจกามคุณคือปลัก

[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า สัลเลขธรรมเป็นธรรมสามารถในการยังกิเลสของเขาให้ดับรอบ (ให้ถึงนิพพาน) จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า โส วต จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ นั้นหนอ).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส (นั้น) แสดงถึงบุคคลชนิดที่กล่าวมาแล้ว.

ควรทราบถึงการนําเอาคําอุทเทศนี้ว่า โย ของบทว่า โส นั้นมาเชื่อมกันในทุกบทอย่างนี้ว่า ผู้ใดตนเองจมอยู่ในปลัก ผู้นั้นละหนอจุนทะ จักถอนผู้อื่นที่จมปลัก ผู้จมอยู่ในโคลนตมลึก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ปลิปปลิปนฺโน (ผู้จมปลัก) แต่ไม่ใช่เรียกในอริยวินัยเลย.ส่วนในอริยวินัย พระองค์ทรงเรียกเบญจกามคุณว่า ปลิป (ปลัก).พาลปุถุชน จมลงในเบญจกามคุณนั้น ชื่อว่า ปลิปันนะ (ผู้จมลงในเบญจกามคุณ).

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 514

เพราะฉะนั้น ควรทราบการประกอบเนื้อความในคํานี้ว่า โส วต จุนฺท เป็นต้นนี้ (ต่อไป) ดูก่อนจุนทะ คนลางคน จมลงในโคลนตม (ปลัก) ลึก จนถึงปลายจมูก จักจับมือหรือศีรษะอีกคนหนึ่งที่จมลงในโคลนตมนั้นด้วยกันแล้วฉุดขึ้นมา ข้อนี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ อธิบายว่า เหตุที่เขาจะช่วยฉุดบุคคลนั้นให้ขึ้นไปยืนอยู่บนบกได้ฉันใด. ผู้ที่จมปลักคือเบญจกามคุณด้วยตนเอง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักยกคนอื่นที่จมปลัก ณ ที่นั้นเหมือนกันขั้นมา เหตุนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้.

ในเรื่องนั้น พึงมีคําทักท้วงว่า พระพุทธดํารัสนั้นคงไม่ถูกต้องเพราะว่าชนทั้งหลาย ได้ฟังธรรมเทศนาของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่แล้วได้บรรลุธรรม มีอยู่ทีเดียว เพราะฉะนั้น ผู้จมปลัก จึงชื่อว่า ยก (ผู้อื่นที่จมปลักด้วยกัน) ขึ้นได้.

ควรวิสัชนาว่า คํานั้น ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ทรงยกขึ้นได้ในเรื่องที่ว่านั้น. ส่วนพระธรรมกถึกทั้งหลายจะได้รับก็เพียงคําสรรเสริญเท่านั้น เหมือนกับผู้อ่านพระราชหัตถเลขาที่พระราชาทรงส่งไปฉะนั้น. จริงอยู่ พระราชหัตถเลขาที่พระราชาทรงส่งไปที่ชนบทชายแดน คนที่นั้นอ่านพระราชหัตถเลขาไม่ออก ก็จะให้คนที่อ่านออกอ่านแล้วพากันฟังเนื้อความพระราชหัตถเลขานั้น น้อมรับโดยเคารพว่า เป็นพระบรมราชโองการ และเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความคิดว่า นี้เป็นคําสั่งของผู้อ่าน ส่วนผู้อ่านพระราชหัตถเลขาก็จะได้รับเพียงคําสรรเสริญเท่านั้นว่า อ่านด้วยถ้อยคําฉาดฉาน ไม่ตะกุกตะกัก ฉันใด.พระธรรมกถึกทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระสารีบุตร แสดงธรรมได้ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเป็นเหมือนกับ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 515

ผู้อ่านพระราชหัตถเลขา ส่วนพระธรรมเทศนานั้นก็เป็นพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง เหมือนกับพระบรมราชโองการ. อนึ่ง ชนเหล่าใดฟังธรรมเทศนาแล้ว ได้บรรลุธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเองพึงทราบว่า ทรงยกคนเหล่านั้นขึ้น (ให้พ้นปลัก). ส่วนพระธรรมกถึกจะได้ก็เพียงคําสรรเสริญเท่านั้นว่า แสดงธรรมด้วยถ้อยคําฉาดฉานไม่ตะกุกตะกัก เพราะฉะนั้น พระพุทธดํารัสนี้ จึงถูกต้องโดยแท้. ส่วนธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคํานี้ว่า อทนฺโต (ผู้ไม่ได้รับฝึก) อวินีโต (ผู้ไม่ได้รับแนะนํา) อปรินิพฺพุโต (ผู้ดับกิเลสยังไม่ได้) ว่าผู้ชื่อว่าไม่ได้รับการฝึก เพราะเป็นผู้ยังไม่หมดพยศ. ผู้ชื่อว่าไม่ได้รับแนะนํา เพราะยังไม่ได้ศึกษาวินัย ผู้ชื่อว่าดับกิเลสยังไม่ได้ เพราะยังมีกิเลสที่ยังดับไม่ได้ คนชนิดนั้นๆ จักฝึกผู้อื่น คือจักทําให้เขาหมดพยศจักแนะนําเขา คือจักให้เขาศึกษาไตรสิกขา หรือจักให้ผู้อื่นดับกิเลส คือจักให้กิเลสทั้งหลายของเขาดับไป ข้อที่ว่ามานี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ แต่ธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

ส่วนอรรถาธิบายในคํานี้ว่า ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อความดับกิเลสของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงทราบอย่างนี้.

เหมือนอย่างว่า ผู้ไม่จมปลัก จักยกผู้อื่นที่ไม่จมปลักขึ้นได้ ผู้ฝึกแล้วจักฝึกผู้อื่นได้ ผู้ได้รับแนะนําแล้ว จักแนะนําผู้อื่นได้ ผู้ดับกิเลสได้แล้ว จักดับกิเลสของผู้อื่นได้ ข้อที่ว่ามานี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้.

ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร?

ตอบว่า คือการไม่จมปลัก การฝึกฝนแล้ว การได้รับคําแนะนํา

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 516

แล้ว และการดับกิเลสได้แล้วฉันใด ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อดับกิเลสของบุรุษบุคคลผู้มีวิหิงสา ฉันนั้นเหมือนกัน.

มีคําอธิบายไว้อย่างไร?

(มีไว้ว่า) อวิหิงสาของผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตน มีไว้เพื่อดับการเบียดเบียนผู้อื่น ของผู้ที่มีวิหิงสา เพราะว่าผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตนเองจักดับเจตนาเครื่องเบียดเบียนของผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้.

ถามว่า เหตุนั้นคืออะไร?

แก้ว่า เหตุนั้น คือความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนนั้นเอง. ด้วยว่าผู้ที่บรรลุความไม่เบียดเบียนด้วยตนเอง จึงจะสามารถชักชวนคนอื่นให้เป็นอย่างนั้นได้.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ไม่จมปลัก ฝึกฝนแล้ว ได้รับแนะนําแล้ว ดับกิเลสได้แล้วด้วยตนเอง จักยกผู้อื่นที่จมปลักขึ้นได้ จักฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึกจักแนะนําคนที่ยังไม่ได้รับแนะนํา และจักยกผู้ดับกิเลสยังไม่ได้ให้ดับกิเลสได้ ฉะนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้ ฉันใด อวิหิงสาที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญมรรค เพื่อละวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อดับ (วิหิงสา) ของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสา อธิบายว่า อวิหิงสาเจตนา (เจตนาที่ไม่เบียดเบียน) จะสามารถดับวิหิงสาเจตนา (เจตนาคิดเบียดเบียน) ได้เหมือนกับผู้ดับกิเลสได้แล้ว สามารถยังผู้ดับกิเลสไม่ได้ให้ดับได้ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงเนื้อความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข จุนฺท (ฉันนั้นเหมือนกันแลจุนทะ) ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นอรรถาธิบายในเรื่องนี้ดังที่พรรณนามา

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 517

นี้เถิด. แต่การประกอบเนื้อความ ตามลําดับบทในทุกๆ บท ไม่ได้ทําไว้เหมือนในบทวิหิงสาและอวิหิงสานี้ เพราะเกรงว่าจะเยิ่นเย้อเกินไป.

บรรยายแห่งสัลเลขธรรม

[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นว่าสามารถในการดับกิเลสได้สนิทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงย้ำพระธรรมเทศนานั้นประกอบ (ผู้ฟัง) ในการปฏิบัติธรรม จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า อิติ โข จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุดังนี้แล).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺเลขปริยาโย (บรรยายแห่งสัลเลขธรรม) ได้แก่เหตุแห่งสัลเลขธรรม. ในทุกบทก็มีนัยนี้. กุศลธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นนั้นแหละ ในสัลเลขสูตรนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าเหตุแห่งสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลาอกุศลธรรมมีวิหิงสา (๑) เป็นต้นชื่อว่า เป็นเหตุแห่งจิตตุปบาท เพราะจิตที่บุคคลพึงให้เกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งอวิหิงสาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการหลีกไป เพราะเป็นเหตุแห่งการหลีกไปจากวิหิงสาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งความเป็นผู้สูงส่ง เพราะยังความสูงส่งให้สําเร็จ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการยังกิเลสให้ดับได้ เพราะยังวิหิงสาเป็นต้นให้ดับได้.

บทว่า หิเตสินา ความว่า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.

บทว่า อนุกมฺปเกน (ผู้ทรงเอ็นดู) คือผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู.

บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย (ทรงอาศัยความเอ็นดู) คือทรงกําหนดความเอ็นดูด้วยพระทัย มีคําอธิบายว่า ทรงอาศัย (ความเอ็นดู)


(๑) ปาฐะว่าอวิหิํสาทีนํ เข้าใจว่าจะเป็น วิหิํสาทีนํ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และฉบับพม่าเป็น.... เอว วิหิํสาทีนํ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 518

ดังนี้บ้าง. ข้อว่า กตํ โว ตํ มยา (กิจนั้นเราตถาคตได้ทําแล้วแก่เธอทั้งหลาย) ความว่า กิจ (๑) นั้น เราตถาคตผู้แสดงเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ ได้ทําแล้วแก่เธอทั้งหลาย. อธิบายว่า กิจมีประมาณเท่านี้ เท่านั้นเอง เป็นหน้าที่ของศาสดาผู้ทรงเอ็นดู ได้แก่การทรงแสดงธรรมที่ไม่ผิดพลาด (พระองค์ได้ทรงทําแล้ว) ส่วนต่อแต่นี้ไป ธรรมดาว่าการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ นั่นโคนต้นไม้ทั้งหลาย ฯลฯ เป็นอนุศาสนีของเราตถาคต. ก็ในจํานวนสถานที่ ๓ แห่งนั้น ด้วยบทว่ารุกขมูลนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงที่นั่ง ที่นอน คือควงต้นไม้ ด้วยคําว่า สุญญาคาร (เรือนร้าง) นี้ ทรงแสดงถึงสถานที่ๆ สงัดจากคน.อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคําทั้ง ๒ นี้ ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะสมกับความเพียรคือทรงมอบความเป็นทายาทให้. คําว่า เธอทั้งหลายจงเพ่ง หมายความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์) และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ) มีคําอธิบายว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา.

ข้อว่า มา ปมาทตฺถ (เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท) ความว่าเธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท คืออย่าได้เดือดร้อนในภายหลัง. อธิบายว่าชนเหล่าใด เมื่อก่อน คือในเวลายังหนุ่ม ในเวลาไม่มีโรค ในเวลาประสบความสบาย ๗ อย่างเป็นต้น และในเวลาที่ยังมีพระศาสดาอยู่พร้อมหน้า


(๑) ปาฐะว่า กตํ มยา อิเม ปฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหากํ กตํ เอตฺตกเมว ห ฯลฯ กิจฺจํ เข้าใจว่า เป็นดังนี้ ตํ มยา อิเม ปฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหากํ กตํฯ เอตฺตกเมวหิ ฯลฯ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และถูกตามหลักความจริง.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 519

เว้นจากโยนิโสมนสิการ เสวยความสุขจากการนอนและความสุขจากการหลับ เป็นเหยื่อของเรือด ประมาทอยู่ ทั้งคืนทั้งวัน ชนเหล่านั้นภายหลังคือในเวลาชรา เวลามีโรค เวลาจะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดาปรินิพพานแล้วระลึกถึงการอยู่อย่างประมาทในกาลก่อนนั้น และพิจารณาเห็นการปฏิสนธิ และการถึงแก่กรรมของตนว่าเป็นภาระ (เรื่องที่จะต้องนําพา) จึงเป็นผู้มีความเดือดร้อน ส่วนเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นเหมือนคนประเภทนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายอย่าได้เดือดร้อนภายหลัง.

บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี (นี้เป็นอนุศาสนี (การพร่ําสอน) ของเราตถาคต สําหรับเธอทั้งหลาย) ความว่า นี้เป็นอนุศาสนี มีคําอธิบายว่า เป็นโอวาทเพื่อเธอทั้งหลาย จากสํานักของเราตถาคตว่า จงเพ่ง (เผากิเลส) จงอย่าประมาท ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสัลเลขสูตร

จบ สูตรที่ ๘