พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36008
อ่าน  1,251

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 520

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

อกุศลและรากเหง้าอกุศล หน้า 521

กุศลและรากเหง้ากุศล หน้า 521

อาหารวาระ หน้า 522

สัจจวาระ หน้า 524

ชรามรณวาระ หน้า 526

ชาติวาระ หน้า 527

ภววาระ หน้า 528

อุปาทานวาระ หน้า 529

ตัณหาวาระ หน้า 530

เวทนาวาระ หน้า 531

นามรูปวาระ หน้า 534

วิญญาณวาระ หน้า 535

สังขารวาระ หน้า 536

อวิชชาวาระ หน้า 537

อาสววาระ หน้า 539

อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร หน้า 541

แก้สัมมาทิฏฐิ หน้า 541

แก้ปาณาติปาต หน้า 545

แก้อทินนาทาน หน้า 547

แก้กาเมสุมิจฉาจาร หน้า 548

แก้มุสาวาท หน้า 549

แก้ปิสุณาวาจา หน้า 551

แก้ผรุสวาจา หน้า 552

แก้สัมผัปปลาปะ หน้า 553

แก้อภิชฌา หน้า 553

แก้พยาบาท หน้า 554

แก้มิจฉาทิฏฐิ หน้า 554

วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง หน้า 555

แก้อกุศลมูล หน้า 557

แก้กุศลกรรมบถ หน้า 558

แก้วิรัติ ๓ หน้า 558

นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ หน้า 559

นิทานประกอบสมาทานวิรัติ หน้า 559

แก้สมุจเฉทวิรัติและกุศลกรรมบถ หน้า 560

วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง หน้า 560

อริยสัจในกรรมบถ หน้า 562

พระภิกษุชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร หน้า 565

กถาพรรณนาอาหารวาระ, ภูต-สัมภเวสี หน้า 566

กวฬิงการาหาร หน้า 568

ผัสสาหาร-มโนสัญเจตหาร-วิญญาณาหาร หน้า 570

ภัยในอาหาร ๔ หน้า 574

เปรียบเทียบสามีภรรยากินเนี้อบุตร หน้า 576

เปรียบเทียบแม่โคที่ถูกถลกหนัง หน้า 578

เปรียบเทียบหลุมถ่านเพลิง หน้า 578

เปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกร้อยเล่ม หน้า 579

ตัณหาเกิด-อาหารจึงเกิด หน้า 581

ตัณหาดับ-อาหารจึงดับ หน้า 582

กถาพรรณนาสัจจวาระ หน้า 583

กถาพรรณนาชรามรณวาระ หน้า 583

ชรา ๒ อย่าง หน้า 586

กถาพรรณนาชาติวาระ หน้า 589

กถาพรรณนาภววาระ หน้า 590

กถาพรรณนาอุปาทานวาระ หน้า 591

กถาพรรณนาตัณหาวาระ, ตัณหา ๑๐๘ หน้า 594

กถาพรรณนาเวทนาวาระ หน้า 596

กถาพรรณนาผัสสวาระ หน้า 597

กถาพรรณนาสฬายตนวาระ หน้า 598

กถาพรรณนานามรูปวาระ หน้า 598

กถาพรรณนาวิญญาณวาระ หน้า 600

กถาพรรณนาสังขารวาระ หน้า 600

กถาพรรณนาอวิชชาวาระ หน้า 601

กถาพรรณนาอาสววาระ หน้า 603


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 520

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

(๑๑๐) ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้

ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับที่พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี.

ครานั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า คุณ.ภิกษุเหล่านั้นรับสนองคําของท่านพระสารีบุตรแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคํานี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้. ด้วยเหตุกี่ประการนะ คุณ พระอริยสาวกจึงจะเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนว่า ใต้เท้าครับ กระผมทั้งหลายมาจากที่ไกลมากก็เพื่อจะฟังอรรถาธิบายภาษิตนี้ ในสํานักของใต้เท้า ขอได้โปรดกรุณาเถิดขอรับ ใต้เท้าเท่านั้นแหละ เข้าใจแจ่มแจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ภิกษุทั้งหลายฟังอรรถาธิบายของใต้เท้าแล้ว จักพากันทรงจําไว้.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้คุณทั้งหลายจงพากันตั้งใจฟัง ผมจักกล่าวให้ฟัง. ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับคําเตือนของท่านพระสารีบุตรเถระว่า พร้อมแล้ว ใต้เท้า.

(๑๑๑) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคํานี้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้ชัดกุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศล เพียงเท่านี้แหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 521

เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน บรรลุพระสัทธรรมนี้ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

อกุศลและรากเหง้าอกุศล

อกุศลคืออะไรเล่า คุณ? อกุศล คือ ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๑ อทินนาทาน (การลักของเขา) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๑ มุสาวาท (พูดเท็จ) ๑ ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๑ ผรุสวาจา (พูดคําหยาบ) ๑ สัมผัปปลาปา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑ อภิชฌา (ความเพ่งเล็ง) ๑ พยาบาท (ความปองร้ายเขา) ๑ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดเป็นถูก) ๑ นี้ละคุณ อกุศล.

อกุศลมูลเป็นอย่างไรเล่า คุณ? อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ นี่ละคุณ เรียกว่ารากเหง้า อกุศล.

กุศลและรากเหง้ากุศล

กุศลคืออะไรเล่า คุณ? กุศล คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต ๑ จากอทินนาทาน ๑ จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ จากมุสาวาท ๑ จากปิสุณาวาจา ๑ จากผรุสวาจา ๑ จากสัมผัปปลาป ๑ อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็ง) ๑ อัพยาบาท (ความไม่ปองร้ายเขา) ๑ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูกต้อง) ๑ นี้ละคุณ เรียกว่า กุศล.

รากเหง้ากุศลเป็นอย่างไรเล่า คุณ? รากเหง้ากุศล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ นี้ละคุณ เรียกว่า รากเหง้ากุศล.

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้อกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 522

รู้กุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศลอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเธอจะละกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน คือ ราคะ (ราคานุสัย) บรรเทากิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน คือ ปฏิฆะ (ปฏิฆานุสัย) ถอนกิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือ ทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ได้ (มานานุสัย) ละอวิชชาได้ทุกอย่างยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียวด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.

(๑๑๒) ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันชมเชยอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตร สูงขึ้นไปอีกว่า ใต้เท้าขอรับ ยังมีเหตุ (ปริยาย) อย่างอื่นอีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อาหารวาระ

(๑๑๓) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคํานี้ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดของอาหาร ความดับของอาหาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของอาหารเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกก็ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า อาหารคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับแห่งอาหาร และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหาร คืออะไร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 523

ตอบว่า คุณ อาหารมี ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว ดํารงชีพอยู่ได้ หรือเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่กําลังแสวงหาที่เกิด.

อาหาร ๔ อย่าง คืออะไร? คือ กวฬิงการาหาร (อาหารเป็นคําๆ) หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ) ๑ มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือกรรม) ๑ วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) ๑ เพราะตัณหาเกิด อาหารจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อาหารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร คือ :-

(๑) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง (ชอบ)

(๒) สัมมาสังกัปปะ ความดําริถูกต้อง (ชอบ)

(๓) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง (ชอบ)

(๔) สัมมาวาจา การเจรจาถูกต้อง (ชอบ)

(๕) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง (ชอบ)

(๖) สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง (ชอบ)

(๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง (ชอบ)

(๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง (ชอบ)

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอาหาร, เหตุเกิดแห่งอาหาร, ความดับแห่งอาหาร และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหารอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัยได้ ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามีได้ ละอวิชชาได้ โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 524

ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.

(๑๑๔) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตร ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรสูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ใต้เท้า ฯลฯ

สัจจวาระ

(๑๑๕) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคํานี้ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว

ก็อะไรเล่าคุณ เป็นทุกข์? ความเกิดบ้าง เป็นทุกข์ ความแก่บ้างเป็นทุกข์ ความตายบ้าง เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ําครวญ ความทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง เป็นทุกข์ การประจวบกับคนหรือสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากคนหรือสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง การไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน (ความยึดมั่น) ทั้ง ๕ เป็นทุกข์นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ.

เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่าคุณ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่ไปด้วยกันกับความกําหนัดด้วยอํานาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้นๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) ๑

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 525

ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่) ๑ วิภวตัณหา (ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่) ๑ นี้เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ละ คุณ.

ความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ? คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั่นแหละ. เพราะคลายกําหนัดไม่มีเหลือ ความสลัด ความสละคืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัยไยดีซึ่งตัณหาทั้ง ๓ นั้น นี้เรียกว่า ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธ) ละ คุณ.

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไรเล่าคุณ? คือ อริยาษฎางคิกมรรคนี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.) ละ คุณ.

คุณ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ออกได้ ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดแล้ว เป็นผู้ทําที่สุดแห่งทุกข์ ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ดังนี้.

(๑๑๖) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้าครับ ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหาสูงขึ้นไปกะท่านสารีบุตรว่า ใต้เท้าครับ ยังมีอีกหรือไม่? เหตุ (ปริยาย) แม้อย่างอื่นที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 526

ชรามรณวาระ

(๑๑๗) ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคํานี้ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ แม้เพียงเท่านั้นแหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ชราและมรณะคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะคืออะไร?

ตอบว่า ความแก่แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ความคร่ําคร่า ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายของสัตว์เหล่านั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า ชรา (ความแก่).

การเคลื่อนที่ การย้ายที่ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ การแตกทําลาย การสูญหาย การม้วยมรณ์ (๑) การถึงแก่กรรม การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งซากศพ การขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ (ความตาย).

เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ.


(๑) มจฺจุมรณํ มติของอรรถกถาเห็นว่าเป็นศัพท์ติดกัน จึงแปลโดยไม่แยกกัน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 527

อริยาษฏางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน (ได้มาสู่พระสัทธรรม) นี้แล้ว.

ชาติวาระ

(๑๑๘) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า เพระเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชาติ เหตุให้เกิดชาติ ความดับแห่งชาติ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติเพียงเท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ชาติ คืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งชาติ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ คืออะไรเล่า?

ตอบว่า ความเกิดในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ ความก่อเกิด ความก้าวลง (สู่ครรภ์) ความบังเกิดขึ้น ความถือกําเนิด

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 528

ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การกลับได้อายตนะทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์เหล่านั้นๆ นี้คุณ เรียกว่า ชาติ.

เพราะภพเกิด ชาติจึงเกิด เพราะภพดับ ชาติจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติอย่างนี้เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ภววาระ

(๑๑๙) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดภพ เหตุให้เกิดภพ ความดับแห่งภพ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ภพคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คืออะไรเล่า คุณ?

ตอบว่าคุณ ภพมี ๓ ดังนี้ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 529

เพราะอุปาทานเกิด ภพจึงเกิด เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อุปาทานวาระ

(๑๒๐) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุอย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมีอยู่ คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน แม้เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ก็อุปาทานคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คืออะไร?

ตอบว่า คุณ อุปาทานมี ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ กามุปาทานความยึดมั่นด้วยอํานาจกาม ๑ ทิฏุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอํานาจทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอํานาจศีลและพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 530

ความยึดมั่นด้วยอํานาจวาทะว่าตน ๑. เพราะตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.คุณ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ตัณหาวาระ

(๑๒๑) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวไว้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดตัณหา เหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ตัณหาคืออะไรเล่า คุณ? เหตุให้เกิดตัณหา, ความดับตัณหา,ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา คืออะไร?

ตอบว่า คุณ ตัณหามี ๖ หมู่อย่างนี้คือ รูปตัณหา ความทะยานอยากในรูป ๑ สัททตัณหา ความทะยานอยากในเสียง ๑ คันธตัณหา ความทะยานอยากในกลิ่น ๑ รสตัณหา ความทะยานอยากในรส ๑

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 531

โผฏฐัพพตัณหา ความทะยานอยากในโผฎฐัพพะ ๑ ธรรมตัณหา ความทะยานอยากในธรรม ๑. เพราะเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด. เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดตัณหาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหาอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

เวทนาวาระ

(๑๒๒) ภิกษุเหล่านั้นกราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดเวทนา เหตุเกิดเวทนา ความดับเวทนา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนาเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า เวทนาคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดเวทหา ความดับเวทนา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา คืออะไร?

ตอบว่า คุณ เวทนามี ๖ หมู่ ดังนี้คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก ๑

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 532

เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ ๑. เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรงประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ผัสสวาระ

(๑๒๓) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุให้เกิดผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรงประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า ผัสสะคืออะไรเล่า คุณ? ผัสสะมี ๖ หมู่ อย่างนี้คือจักขุสัมผัส ๑ โสตสัมผัส ๑ ฆานสัมผัส ๑ ชิวหาสัมผัส ๑ กายสัมผัส ๑ มโนสัมผัส ๑ เพราะสฬายตนะเกิด ผัสสะจึงเกิด เพราะสพายตนะดับผัสสะจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความผัสสะ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 533

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดผัสสะอย่างนี้ เหตุเกิดผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลคุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

สฬายตนวาระ

(๑๒๔) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่าด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอายตนะทั้ง ๖ เหตุเกิดอายตนะทั้ง ๖ ความดับอายตนะทั้ง ๖ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยควานเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า อายตนะทั้ง ๖ คืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งอายตนะทั้ง ๖ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอายตนะทั้ง ๖คืออะไร?

ตอบว่า คุณ อายตนะทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะคือตา อายตนะคือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย อายตนะคือใจ.เพราะนามรูปเกิด สฬายตนะจึงเกิด เพราะนามรูปดับไป สฬายตนะจึงดับ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 534

อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสฬายตนะคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอายตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เหตุเกิดแห่งอายตนะทั้ง ๖ ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ รู้ชัดข้อฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

นามรูปวาระ

(๑๒๕) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งนามรูป เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

ถามว่า นามรูปคืออะไรเล่าคุณ? เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูป คืออะไร?

ตอบว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ ทั้ง ๕อย่างนี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทาย-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 535

รูป) นี้เรียกว่า รูป. รวมทั้งนามทั้งรูปนี้ละคุณ เรียกว่านามรูป. เพราะวิญญาณเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูป คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูปอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูปอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

วิญญาณวาระ

(๑๒๖) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับไปแห่งวิญญาณ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งวิญญาณ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า วิญญาณคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งวิญญาณ. ความดับแห่งวิญญาณ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งวิญญาณ คืออะไร

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 536

ตอบว่า คุณ วิญญาณ มี ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา ๑ วิญญาณทางหู ๑ วิญญาณทางจมูก ๑ วิญญาณทางลิ้น ๑ วิญญาณทางกาย ๑ วิญญาณทางใจ ๑. เพราะสังขารเกิด วิญญาณจึงเกิด เพราะสังขารดับไป วิญญาณจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับไปแห่งวิญญาณ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

สังขารวาระ

(๑๒๗) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่าคุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดสังขาร รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสังขาร และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขาร เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า สังขารคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขาร คืออะไร?

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 537

ตอบว่า คุณ สังขารมี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑. เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขารอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิมานานุสัยว่าเรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้ทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

อวิชชาวาระ

(๑๒๘) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่ายังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอวิชชา เหตุเกิดอวิชชา ความดับแห่งอวิชชา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชา เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า อวิชชาคืออะไรเล่าคุณ? เหตุเกิดอวิชชา ความดับไป

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 538

แห่งอวิชชา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชา คืออะไร.

ตอบว่าคุณ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในความดับไปแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งทุกข์ นี้แลคุณ เรียกว่าอวิชชา.

เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด เพราะอาสวะดับ อวิชชาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

เมื่อใดแล คุณ อริยสาวก รู้ชัดอวิชชาอย่างนี้ เหตุเกิดอวิชชา ความดับไปแห่งอวิชชา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชาอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลคุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

(๑๒๙) ภิกษุเหล่านั้นได้พากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหาสูงขึ้นไปกะท่านพระสารบุตรว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่นยังคงมีอีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 539

อาสววาระ

(๑๓๐) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ความดับแห่งอาสวะและรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ถามว่า อาสวะคืออะไรเล่า คุณ? เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะคืออะไร?

ตอบว่า คุณ อาสวะมี ๓ อย่าง เหล่านี้คือ กามาสวะ เครื่องดองสันดานคือกาม ๑ ภวาสวะ เครื่องดองสันดานคือภพ ๑ อวิชชาสวะ เครื่องดองสันดานคืออวิชชา ๑. เพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ เหตุเกิดอาสวะ ความดับไปแห่งอาสวะ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยคือทิฏฐิมานะว่า เรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้การทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 540

เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคํานี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นพอใจ พากันชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร.

จบ สัมมาทิฏฐิสูตร

สูตรที่ ๙ จบ

สรุป

ทุกข์ ๑ ชรามรณะ ๑ อุปาทาน ๑ สฬายตนะ ๑ นามรูป ๑ วิญญาณ ๑ รวมเป็น ๖ บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ?

ชาติ ๑ ตัณหา ๑ เวทนา ๑ อวิชชา ๔ อย่าง ๑ รวมเป็น ๔ บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ?

อาหาร ๑ ภพ ๑ ผัสสะ ๑ สังขาร ๑ ที่ ๕ คือ อาสวะ ๑ รวมเป็น ๕ ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ?

๖ อย่าง คืออะไร ได้กล่าวไว้แล้ว ๔ อย่างคืออะไร ได้กล่าวไว้แล้ว ๕ อย่างคืออะไร ก็ได้กล่าวไว้แล้ว จึงรวมเป็น ๑๕ บท สําหรับสังขารทั้งมวล ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 541

อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร

(๑๑๐) สัมมาทิฏฐิสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-

คําถามที่พระเถระ (สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรนะคุณ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็นอย่างไรเล่าคุณ? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามเพื่อตอบเอง) เท่านั้นเอง.

เพราะว่าในคําถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มีฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวหมายเอาคําถามของคนส่วนมากนั้นย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณ ที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ... อันที่จริงในเรื่องนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

ท่านพระสารีบุตร นี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุเท่าไรนะคุณ อริยสาวกจึงชื่อว่า มีความเห็นถูกต้องดังนี้ หมายถึงความหมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฎฐิ).

แก้สัมมาทิฏฐิ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 542

ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึงทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.

ในจํานวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่า สัตว์มีกรรม เป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกําหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่าโลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่า โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มีสัมมาทิฏฐิ มี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑ อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.

ในจํานวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑ ในจํานวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลําความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).

เสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.

แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 543

เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.

อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.

(๑๑๑) คําว่า ยโต โข นี้เป็นคํากําหนดกาลเวลา มีอธิบายว่าในกาลใด.

ข้อว่า อกุสลมูลฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็นอารมณ์.

ข้อว่า อกุสลฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง (ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล).

ถึงแม้ในคํานี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 544

ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบการรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.

บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการรู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้.

บทว่า สมฺมาทิฏิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.

ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯลฯ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตร จบการแสดงโดยย่นย่อลงแล้ว. การแสดง (ของท่าน) นี้ ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการแทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเองสําหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควรทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไปแล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ําไว้ทั้ง ๒ อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง.

ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคํา มีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่ามรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มีด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.

อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 545

ได้กระทําการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุกๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักทําเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยาก ที่ยังไม่ได้ (อธิบาย) เท่านั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดาร ซึ่งปฐมวารในจํานวนวาระเหล่านั้นก่อน.

ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละคุณ เป็นอกุศล. อกุศลพึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย (เป็นธรรม) ตรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะพึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง.นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.

แก้ปาณาติบาต

ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัยว่า การยังสัตว์ ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ได้แก่การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต อธิบายว่า การทําลายสัตว์ที่มีชีวิต. ก็คําว่า ปาณะ ในคําว่า ปาณาติปาโตนี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์

ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสําคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์มีชีวิต อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็นไปทางกายทวาร หรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า ปาณาติบาต.

ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่า มีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิต

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 546

ตัวเล็ก ในจํานวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย มีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณแต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.

เพราะเหตุไร?

เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก).

แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมากเพราะวัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจําพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะสัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีคุณมาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกันปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.

ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต ๑ ความรู้ว่าสัตว์มีชีวิต ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ ความพยายาม (ฆ่า) ๑ สัตว์ตายเพราะความพยายามนั้น ๑.

ประโยคแห่งการฆ่า มี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของตนเอง) ๑ อาณัตติกประโยค (ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) ๑ นิสสัคคิยประโยค (ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) ๑ ถาวรประโยค (ฆ่าด้วยเครื่องมือดักอยู่กับที่) ๑ วิชชามยประโยค (ฆ่าด้วยอํานาจวิชา) ๑ อิทธิมยประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) ๑.

แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไปมาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปสาทิกาอรรถกถาพระวินัยเอาเถิด.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 547

แก้อทินนาทาน

การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของๆ ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.

บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ) เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตําหนิ.

ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสําคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่าเป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.

อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.

เพราะเหตุไร?

เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.

เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ํากว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.

อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือของที่คนอื่นหวงแหน ๑ ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ความพยายาม (จะลัก) ๑ ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น ๑.

ก็ประโยค (การประกอบอทินนาทาน) มี ๖ อย่าง มีสาหัตถิกประโยค เป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งอวหาร (การลัก) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร (ลักโดยการขโมย) ๑

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 548

ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) ๑ ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการปิดช่องสิ่งของ) ๑ ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกําหนดสิ่งของหรือเวลา) ๑ กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) ๑ ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.

แก้กาเมสุมิจฉาจาร

ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุนสมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตําหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร.

แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.

ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม) สําหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง ๒๐ จําพวก คือ หญิงที่มีมารดารักษาเป็นต้น.

หญิง ๑๐ จําพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ทั้งมารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน (อยู่ในกฎมณเฑียรบาล) ๑.

และหญิงอีก ๑๐ จําพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ (ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 549

พอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยก้นเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑ ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.

ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของคน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชายต้องห้าม) สําหรับหญิง ๑๒ จําพวก คือ ๒ จําพวกสําหรับหญิงมีอารักขาและหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จําพวกสําหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ในจํานวนหญิงทั้งหลาย (๑๐ จําพวก) สําหรับภรรยา.

อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน (ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีศีลธรรมเป็นต้น.

กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ เป็นบุคคลต้องห้าม ๑ จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑ การประกอบการเสพ ๑ การยังมรรคให้ดําเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑ ประโยคมีอย่างเดียว คือ สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

แก้มุสาวาท

กายประโยคหรือวจีประโยค ที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา (เรื่องเท็จ). การ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 550

ให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้น ว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว) อย่างนั้น ชื่อว่า มุสาวาท (การพูดเท็จ).

มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่คนหักรานมีจํานวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจํานวนมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สําหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อยที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก, สําหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสํานวน) ว่าวันนี้ น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อย แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลย ว่าได้เห็น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือเรื่องไม่จริง ๑ ตั้งใจพูดให้ผิด ๑ พยายามพูด ๑ ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑. ประโยคมีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่าเนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 551

แก้ปิสุณาวาจา

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น. วาจาที่เป็นเหตุให้หัวใจของบุคคลผู้ที่ตนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา.

ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทําให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจาที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่าผรุสวาจา.

วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาป ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคําหยาบและคําเพ้อเจ้อเหล่านั้น ก็ได้นามว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์เอาเจตนานั้นแล.

เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค เพื่อทําลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทําตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น. ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ถูกทําให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมากเพราะมีคุณธรรมมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ผู้ต้องถูกทําลายเป็นคนอื่น ๑ ความมุ่งหน้าจะทําลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รักเป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑ ความพยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑ การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 552

แก้ผรุสวาจา

เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจาเพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.

ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคําของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป.มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ. เด็กจึงทําสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปากขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.

วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคํารัก (คําที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย และบางครั้งอาจารย์ และอุปัชฌาย์ต่อว่าอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลาย จงไล่เขาไปเสีย. แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้นอยู่.

อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 553

จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคําพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่าคําพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย.

ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึงเป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ผู้ที่จะต้องถูกด่าเป็นคนอื่น ๑ จิตขุ่นเคือง ๑ การด่า ๑.

แก้สัมผัปปลาปะ

ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคําพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).

สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคําไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงความภารตะ และเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑ การกล่าวถ้อยคําชนิดนั้น ๑.

แก้อภิชฌา

เจตนาชื่อว่า อภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 554

อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับอทินนาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ของของผู้อื่น ๑ น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน ๑.

อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้นกรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อตนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา.

แก้พยาบาท

บาปธรรมชื่อว่า พยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับผรุสวาจา.

พยาบาทนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ สัตว์อื่น ๑ ความคิดที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ ๑.

อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอสัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.

แก้มิจฉาทิฏฐิ

เจตนาชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตาม

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 555

ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมากเหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษน้อย ที่แน่นอน (ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษมาก.

มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือการที่เรื่องผิดไปจากอาการที่ยึดถือ ๑ การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ ๑.

วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่าง คือโดยธรรมะ (ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) ๑ โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล (มูลโต) ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงในจํานวนกรรมบถ ๑๐ อย่างเหล่านี้ กรรมบถ ๗ ข้อ ตามลําดับ (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ ๓ อย่างมีอภิชฌา เป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.

บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า กรรมบถ ๗ ข้อตามลําดับ และมิจฉาทิฏฐิอีก ๑ รวมเป็น ๘ ข้อนี้ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล (รากเหง้าของอกุศล) ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (๒ ข้อนี้) เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็น

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 556

รากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์เพราะมีชีตินทรีย์เป็นอารมณ์ อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งโผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอํานาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือนกัน (แต่) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอํานาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต มีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่งว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์อยู่นั้น.

อทินนาทาน มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ ด้วยอํานาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓. ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยอํานาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาท มีเวทนาเป็นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 557

แก้อกุศลมูล

บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูลด้วยอํานาจแห่งโทสะและโมหะ. อทินนาทาน (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอํานาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอํานาจแห่งโลภะและโมหะ มิจฉาจาร (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอํานาจแห่งโลภะและโมหะ. มุสาวาท ด้วยอํานาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจาและสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท). ผรุสวาจา ด้วยอํานาจแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌา มีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอํานาจแห่งโมหะ (๑). พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). (แต่) มิจฉาทิฏฐิ มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล ด้วยอํานาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัย ในคําว่า โลโภ อกุสลมูลํ เป็นต้น (ดังต่อไปนี้)

อกุศลธรรม ชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.

ในจํานวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะ ชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้ มีปาณาติบาตเป็นต้นเพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลลางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมลางอย่าง. สมจริงตามคําที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณ ผู้กําหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงําแล้ว มีจิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น แม้ในการที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.


(๑) น่าจะเป็นโลภะ (ผู้แปล)

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 558

แก้กุศลกรรมบถ

พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้น ดังต่อไปนี้ อกุศลกรรมบถทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ํายีเวร อธิบายว่า ละเวรได้ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้นเจตนานั้น จึงชื่อว่า เวรมณีโดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป.นี้เป็นการขยายความในคําว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน ส่วนการขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิตชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงดการเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต.

แก้วิรัติ ๓

วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑ สมุจเฉทวิรัติ ๑. ในจํานวนวิรัติทั้ง ๓ นั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย (มาก่อน) แต่ได้พิจารณาถึงชาติ วัยและการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว เห็นว่า ไม่เหมาะแก่เรา การทําอย่างนี้ แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติเหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 559

นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ

ได้ทราบว่า ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ มารดาของเขาเกิดโรคและหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสดๆ (มาประกอบยา). ลําดับนั้นพี่ชายของจักกนะสั่งว่า ไปเถอะเจ้าจงไปนา แล้วส่งจักกนะไป. เขาก็ได้ไปที่นานั้น. และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่. มันเห็นเขาแล้วรีบวิ่งหนีไป แต่ไปข้องเถาวัลย์ จึงส่งเสียงร้อง แกร่ก แกร่ก (กริ กริ) ขึ้น. จักกนะตามเสียงนั้นไป จับกระต่ายไว้ได้ ตั้งใจว่าจะเอามาทํายาให้แม่ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสําหรับเขาที่จะทําลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา. จึงพูดว่า ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้ากินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป และเมื่อกลับถึงบ้าน เขาถูกพี่ชายถามว่า เป็นอย่างไรน้อง ได้กระต่ายไหม? จึงได้บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ. บัดนั้น พี่ชายก็ได้บริภาษเขา. เขาเข้าไปหาแม่แล้ว ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจําความได้ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย. ทันใดนั้น แม่ของเขาได้หายจากโรค.

แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว ถึงจะสละชีพของตน ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป ก็ไม่ล่วงเกินวัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชาวเขาอุตรวัฑฒมานะ.

นิทานประกอบสมาทานวิรัติ

ได้ทราบว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสํานักของท่านปิงคลพุทธรักขิตเถระชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา. ต่อมา โคของเขาหายไป.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 560

เขาเมื่อตามหามัน ได้ขึ้นภูเขาอุตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่ได้รัดเขาอยู่บนภูเขานั้น. เขาคิดว่า จะเอามีดที่คมนี้ตัดหัวมัน แต่ก็ยังคิดอีกว่า การที่สมาทานสิกขาบทในสํานักของครูผู้น่านับถือแล้ว ทําลายเสียไม่สมควรเลย. ครั้นคิดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแล้วก็ตัดสินใจว่า เราจะสละชีวิต ไม่ยอมสละสิกขาบท (ศีล) แล้ว ได้ขว้างมีดโต้เล่มที่แบกมาอยู่บนบ่าเข้าป่าไป. ทันใดนั้นงูใหญ่ก็ได้คลายตัวออกแล้วเลื้อยไป.

แก้สมุจเฉทวิรัติ และกุศลกรรมบถ

ส่วนวิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคพึงทราบว่า เป็นสมุจเฉทวิรัติ ซึ่งจําเดิมแต่เกิดแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่าเราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้. แต่วิรัตินี้นั้นท่านเรียกว่า กุศล เพราะเป็นไปแล้วด้วยความฉลาด. อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า กุศล เพราะตัดซึ่งความทุศีล ที่ได้โวหารว่า กุศะ เพราะเป็นที่หมักหมมความชั่วร้ายบ้าง (๑) แต่ไม่ได้เรียกว่ากุศล เพราะไม่เหมาะสมกับปัญหานี้ว่า คุณ กุศลเป็นอย่างไร?

วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง

อนึ่ง กุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ ก็ควรทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง คือ โดยธรรม (ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) ๑ โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล (มูลโต) ๑ เหมือนกับอกุศลกรรมบถทั้งหลาย.


(๑) ปาฐะว่า กุจฺฉิตสฺส สลนโต วา กุสลนฺติ.. ฉบับพม่าเป็น กุจฺฉิตสยโต วา กุสนฺติ.. จึงได้แปลตามฉบับพม่า เพราะเห็นว่าได้ความดีว่า

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 561

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า ในจํานวนกุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ กรรมบถ ๗ ประการตามลําดับเป็นตัวเจตนา ก็ถูกแต่วิรัติทั้ง ๓ ตอนสุดท้าย (มโนกรรม ๓) เป็นธรรมสัมปยุตด้วยเจตนา.

บทว่า โกฏาสโต ความว่า กุศลธรรม ๗ ประการตามลําดับเป็นกรรมบถอย่างเดียวไม่เป็นรากเหง้า (กุศล). (แต่) กุศลธรรม ๓ ประการตอนท้าย เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งรากเหง้า (กุศล). อธิบายว่าอนภิชฌา ถึงกรรมบถแล้ว จึงชื่อว่าเป็น อโลภะ กุศลมูล. แต่อัพยาบาทชื่อว่าเป็น อโทสะ กุศลมูล. ส่วนสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าเป็น อโมหะกุศลมูล.

บทว่า อารมฺมณโต ความว่าอารมณ์ทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น นั่นแหละ เป็นอารมณ์ของเวรมณี (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น) เหล่านั้น เพราะว่า เวรมณีจะมีได้ก็โดยได้เผชิญกับวัตถุที่จะต้องก้าวล่วงเท่านั้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า อริยมรรค (ต้อง) มีนิพพานเป็นอารมณ์จึงจะละกิเลสได้ ฉันใด กรรมบถเหล่านี้ ก็พึงทราบว่า เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน (ต้อง) มีชีวิตินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์ จึงจะละทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้นได้.

บทว่า เวทนาโต ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมด เป็นสุขเวทนาบ้าง เป็นอุเบกขาเวทนาบ้าง เพราะว่าถึงกุศลแล้ว จะไม่มีทุกขเวทนา (กรรมบถฝ่ายกุศลไม่มีให้ผลเป็นทุกข์).

บทว่า มูลโต ความว่า กรรมบถ ๗ จะมีมูล ๓ ตามอํานาจของอโลภะ อโทสะ และอโมหะ สําหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณแต่มีมูล ๒ สําหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ. อนภิชฌามีมูล ๒

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 562

สําหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ มีมูลเดียวสําหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ แต่อโลภะ ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.แม้ในอัพยาบาท ก็ทํานองเดียวกันนี้แหละ.

สัมมาทิฏฐิมีมูล ๒ เหมือนกันตามอํานาจของอโลภะและอโทสะดังนี้.

กุศลธรรมชื่อว่า อโลภะ ในคําว่า อโลโภ กุสลมูลํ เป็นต้นเพราะไม่โลภ. คําว่า อโลโภ นี้ เป็นชื่อของธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับโลภะ. ถึงในอโทสะและอโมหะ ก็ทํานองเดียวกันนี้แหละ.

ในจํานวนกุศลมูลทั้ง ๓ อย่างนั้น อโลภะชื่อว่าเป็นกุศลมูลเพราะตัวเองก็เป็นกุศล และชื่อว่าเป็นมูลของกุศลธรรมทั้งหลาย มีการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น เหล่านี้ด้วย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของกุศลลางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของกุศลธรรมลางเหล่า. ในความที่อโทสะและอโมหะเป็นกุศลมูล ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.

อริยสัจในกรรมบถ

บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะย้ำเนื้อความนั้นทั้งหมด ที่ท่านได้แสดงไว้แล้วทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จึงได้กล่าวอัปปนาวาระไว้มีอาทิว่า ยโต โข อาวุโส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ อกุสลํ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล ด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตามที่ได้แสดงไว้แล้วอย่างนี้.ถึงในบทมีอาทิว่า เอวํ อกุสลมูล ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 563

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือด้วยนัยอย่างเดียวกัน เป็นอันท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงกรรมฐานเป็นเหตุนําสัตว์ออกไป (จากภพ) จนถึงพระอรหัต สําหรับผู้บําเพ็ญกรรมฐาน มีจตุราริยสัจเป็นอารมณ์.

กล่าวไว้อย่างไร?

กล่าวไว้ว่า ความจริง อกุศลกรรมบถ ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐ เว้นอภิชฌา (ท่านกล่าวว่า) เป็นทุกขสัจในกรรมบถวาระนี้ ส่วนธรรมทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ อภิชฌา ๑ โลภะที่เป็นอกุศลมูล ๑ (ท่านกล่าวว่า) เป็นสมุทยสัจโดยตรง. แต่กรรมบถทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า) เป็นทุกขสัจโดยอ้อม. กุศลมูลและอกุศลมูลทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า) เป็นสมุทยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งกุศลมูลและอกุศลมูลทั้ง ๒ (ท่านกล่าวว่า) เป็นนิโรธสัจ. เมื่อกําหนดรู้ทุกข์ เมื่อละสมุทัย เมื่อรู้แจ้งนิโรธ อริยมรรค (ท่านกล่าวว่า) เป็นมรรคสัจ สัจจะทั้ง ๒ ท่านได้กล่าวไว้แล้วโดยสรุป ดังที่พรรณนามานี้. ส่วนสัจจะ ๒ อย่าง (นิโรธ มรรค) พึงทราบด้วยสามารถแห่งการไม่หมุนกลับ.

บทว่า โส สพฺพโส ราคานุสยํ ปหาย (เธอละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง) ความว่า เธอรู้ชัดอกุศลเป็นต้นอยู่อย่างนี้ จะละราคานุสัยได้โดยอาการทุกอย่าง.

บทว่า ปฏิฆานุสยํ ปฏิวิโนเทตฺวา (บรรเทาปฎิฆานุสัย) มีคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า นําปฏิฆานุสัยออกได้โดยประการทั้งปวงทีเดียว ด้วยคําเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวถึงอนาคามิมรรค.

บทว่า อสฺมีติ ทิฏิมานานุสยํ สมูหนิตฺวา (ถอนทิฏฐิมานา-

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 564

นุสัยว่า เรามี ออกไป) ความว่า เพิกถอนทิฏฐิมานานุสัยที่เป็นไปโดยอาการถือรวมกันนี้ว่า เรามี โดยกระทําธรรมบางประการในขันธ์ ๕ ไม่ให้ตกต่ํา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏิมานานุสยํ ท่านอธิบายไว้ว่าได้แก่มานานุสัยที่เช่นกับทิฏฐิ. เพราะว่ามานานุสัยนี้ เป็นเช่นเดียวกับทิฏฐิ เพราะมีลักษณะเป็นไปแล้วว่า เรามี เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้อย่างนี้. อนึ่ง ผู้ประสงค์จะเข้าใจอัสมิมานะนี้โดยพิสดาร ควรตรวจดูเขมกสูตร ในขันธกวรรคเทอญ.

บทว่า อวิชฺชํ ปหาย ความว่า ละอวิชชาที่เป็นรากเหง้าของวัฏฏะ.

บทว่า วิชฺชํ อุปฺปาเทตฺวา ความว่า ให้วิชชาคืออรหัตตมรรคซึ่งห้ำหั่นอวิชชานั้นเกิดขึ้น. ด้วยคําเพียงเท่านี้ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงอรหัตตมรรค.

ข้อว่า ทิฏเว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ (เป็นผู้การทําที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ทีเดียว) ความว่า เป็นผู้กระทําการตัดขาดวัฏฏทุกข์ในอัตภาพนี้ทีเดียว.

ท่านพระสารีบุตร ยังเทศนาให้จบลงด้วยคําว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้. คําที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 565

ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค และอรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.

จบ กถาว่าด้วยกรรมบถ

พระภิกษุชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร

[๑๑๒] ในคําว่า สาธาวุโส โข ฯลฯ อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ มีคําอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ของท่านพระสารีบุตร โดยมุขคือกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว จึงพากันชมเชยภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยถ้อยคํานี้ว่า ดีแล้วครับใต้เท้า และอนุโมทนาด้วยจิตที่เป็นสมุฏฐานของถ้อยคํานี้นั้นเอง รับเอาด้วยวาจาเอิบอิ่มด้วยใจทีเดียว.

บัดนี้ เพราะเหตุที่พระเถระเป็นผู้สามารถที่จะแสดงธรรมเทศนาว่าด้วยจตุราริยสัจได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรสามารถจะบอกจะแสดงอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร.หรือเพราะเหตุที่ท่านพระสารีบุตรต้องการจะแสดงธรรมให้สูงยิ่งขึ้นไปอยู่แล้ว จึงได้กล่าวว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส (เพียงเท่านี้เท่านั้นแลคุณ) เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายนั้น ผู้ประสงค์จะฟังสัจจเทศนาโดยนัยแม้อย่างอื่น จึงได้ถามปัญหาสูงขึ้นไป กะท่านพระสารีบุตร.ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ถามปัญหาอื่นที่สูงขึ้นไป โดยนัยนี้ว่า ใต้เท้าขอรับยังมีอยู่อีกหรือ บรรยายแม้อย่างอื่น คือเหตุแม้อย่างอื่น ที่เหนือกว่าปัญหาที่ใต้เท้าได้ถามเองตอบเองมาแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง มีคําอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้นได้พากันถามปัญหา

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 566

ในส่วนที่เหนือปัญหาก่อนขึ้นไป. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ภิกษุทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อแรกให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง.

ถัดนั้น พระเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหาให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง จึงได้กล่าวคํามีอาทิว่า สิยา อาวุโส (ยังมีอยู่คุณ) ดังนี้.

กถาพรรณนาอาหารวาระ

ภูต - สัมภเวสี

[๑๑๓] ในจํานวนบทเหล่านั้น คําขยายต่อไปนี้ จะเป็นคําขยายความเฉพาะบทที่ยาก.

คําว่า อาหาร ได้แก่ปัจจัย. เพราะปัจจัยนําผลมาให้ตน ฉะนั้นปัจจัยจึงเรียกว่า อาหาร.

เหล่าสัตว์ที่ถือกําเนิดเกิดแล้ว ชื่อว่า ภูต ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ภูตานํ วา สตฺตานํ.

เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือแสวงหาการสมภพ คือการเกิด ได้แก่การบังเกิดขึ้น ชื่อว่า สัมภเวสี.

บรรดากําเนิดทั้ง ๔ ชนิดเหล่านั้น. เหล่าสัตว์ที่เกิดในฟองและที่เกิดในหยดน้ำ ตราบใดที่ยังไม่ทําลายกระเปาะฟองและรังมดลูก (ออกมา) ตราบนั้นก็ยังชื่อว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อทําลายกระเปาะฟองและรังมดลูกออกมาภายนอกแล้ว จึงชื่อว่า ภูต.

ส่วนสัตว์ที่เกิดแต่เถ้าไคลและผุดเกิด ในขณะแห่งจิตดวงแรกชื่อว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะแห่งจิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า ภูต.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายจะเกิดโดยอิริยาบถใดก็ตาม ตราบใด

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 567

ยังไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้น ตราบนั้น ชื่อว่าสัมภเวสี ต่อจากอิริยาบถนั้นไปจึงชื่อว่า ภูต.

อีกอย่างหนึ่ง เหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว (สําเร็จแล้ว) ชื่อว่า ภูต. พระขีณาสพเหล่าใด ผู้เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั่นแหละ นับว่าจักไม่เกิดอีก คําว่า ภูต นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.

สัตว์เหล่าใดกําลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี คําว่า สัมภเวสี นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กําลังแสวงหาการเกิดต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้.

เมื่อเป็นเช่นนี้ ด้วย ๒ บทนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง (เนื้อความ) จึงคลุมถึงสัตว์ทุกชนิด. และวา ศัพท์ ในคําว่า ภูตานํ วา สตฺตานํ นี้เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีเนื้อความรวม ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ). เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบ (ว่าเท่ากับ) เนื้อความนี้ว่า ภูตานํ จ สมฺภเวสีนฺจ (ทั้งภูตทั้งสัมภเวสี).

บทว่า ิติยา ได้แก่เพื่อดํารงอยู่.

บทว่า อนุคฺคหาย ได้แก่เพื่ออนุเคราะห์ คือเพื่ออุปการะ.

ทั้ง ๒ บท คือ ภูตานํ วา สมฺภเวสีนํ นั้น มีความแตกต่างกันเพียงคําพูดเท่านั้น แต่ความหมายของทั้ง ๒ บทนั้น เป็นอย่างเดียวกันทีเดียว.

บทว่า ิติยา (เพื่อดํารงอยู่) คือเพื่อไม่ให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์นั้นๆ ขาดตอนไป โดยไม่สามารถติดต่อกันได้.

บทว่า อนุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์ ได้แก่เพื่อให้ธรรมที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 568

และทั้ง ๒ บทนี้ ควรใช้ในข้อความทั้งคู่อย่างนี้ว่า เพื่อการดํารงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลายด้วย เพื่อการดํารงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์สัมภเวสีทั้งหลายด้วย.

กวฬิงการาหาร

อาหารที่จะต้องทําให้เป็นคําๆ ไปแล้วกลืนกิน ชื่อว่า กวฬิงการาหาร. คําว่า กวฬิงการาหาร นี้ เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุกและขนมสด (กุมมาส) เป็นต้น เป็นที่ตั้ง.

สองบทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ความว่า (อาหาร) ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็นสิ่งที่หยาบ โดยวัตถุ. ชื่อว่า สุขุม เพราะเป็นสิ่งที่ละเอียด โดยวัตถุ.

แต่โดยสภาวะ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า เป็นของละเอียดทีเดียวเพราะเป็นของนับเนื่องในสุขุมรูป. ถึงแม้ว่าการที่อาหารนั้นจะเป็นของหยาบและเป็นของละเอียดโดยวัตถุ ก็ต้องรู้ได้เพราะอุปาทายรูป. ความจริงอาหารของนกยูงที่ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารจระเข้. ได้ทราบว่า พวกจระเข้ฮุบก้อนหินเข้าไป และก้อนหินเหล่านั้นพอตกถึงท้องของจระเข้เท่านั้นก็ย่อยหมด (ละลายไป). พวกนกยูงจิกกินสัตว์มีชีวิต เช่นงูและแมลงป่องเป็นต้น. แต่อาหารของพวกหมาในชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารของนกยูง. ได้ทราบว่าหมาในเหล่านั้นแทะเขาและกระดูก (สัตว์) ที่ทิ้งไว้ตั้ง ๓ ปีได้ ก็เขาและกระดูกสัตว์เหล่านั้น พอแต่เปียกน้ำลายของมันเท่านั้น ก็ยุ่ยเหมือนกันกับเหง้ามัน.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 569

อาหารของพวกช้าง ชื่อว่า เป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบอาหารของหมาใน พวกมันกินกิ่งไม้นานาชนิด. อาหารของสัตว์ทั้งหลายเช่นโคลาน ระมาดและมฤค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นของละเอียดกว่าอาหารช้าง. ได้ทราบว่า พวกมันพากันกินใบไม้นานาชนิดเป็นต้น ที่ไม่แข็ง (ไม่มีแก่น). อาหารของพวกโค ชื่อว่า เป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารของโคลานเป็นต้น เหล่านั้น. พวกมันกินหญ้าสดและหญ้าแห้งกัน. อาหารของกระต่ายเป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารโคเหล่านั้น. อาหารของพวกนกละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย. อาหารของชาวชายแดนละเอียดกว่าอาหารของพวกนก. อาหารของนายอําเภอ (เจ้าเมือง) ละเอียดกว่าอาหารของชาวชายแดน. อาหารของพระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาละเอียดกว่าอาหารของนายอําเภอ (เจ้าเมือง). พระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิละเอียดกว่าอาหารของคนแม้เหล่านั้น. อาหารของเหล่าภุมมเทวดาละเอียดกว่าพระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ. อาหารของเหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของเหล่าภุมมเทวดา.อาหาร (ของเหล่าเทวดาชั้นต่างๆ) ก็ควรขยายให้พิสดารอย่างนี้ไปจนถึงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. อาหารของเทวดาชั้นเหล่านั้นตกลงว่าเป็นอาหารละเอียดทั้งนั้น. อนึ่ง ในวัตถุหยาบนี้ โอชาก็น้อย มีพลังต่ํา.ในวัตถุละเอียด โอชามีพลังสูง. จริงอย่างนั้น ผู้ดื่มข้าวยาคูตั้งเต็มบาตรครู่เดียวเท่านั้นก็หิว อยากจะเคี้ยวกินของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั่นเอง (๑) ส่วนผู้ดื่มเนยใส แม้เพียงฟายมือเดียว ก็ไม่อยากกิน (ไม่หิว) ตลอดทั้งวัน.ในจํานวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย


(๑) เปยยาลเล็ก วางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่าผิดที่ ควรจะอยู่หลัง ขาทิตุกาโม จึงแปลเช่นนั้น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 570

(หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต) ไว้ได้. (ส่วน) โอชา รักษาชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้. แต่ทั้ง ๒ อย่างนั้น รวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ด้วยรักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.

ผัสสาหาร - มโนสัญเจตนาหาร - วิญญาณาหาร

บทว่า ผสฺโส ทุติโย ความว่า ผัสสะทั้ง ๖ อย่างมีจักขุสัมผัสเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาหารอย่างที่ ๒ ในจํานวนอาหาร ๔ อย่างนั้น.

ก็นัยนี้ เป็นนัยแห่งเทศนาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุชื่อนี้จึงไม่ควรแสวงหาคํานี้ว่า อาหารที่ ๒ และที่ ๓ ในอาหารวาระนี้.

เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา.

จิตดวงใดดวงหนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณ.

ในเรื่องนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีคําถามว่า สัตว์ดํารง (ชีพ) อยู่ได้เพราะปัจจัย ดํารงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร เมื่อเป็นเช่นนั้นเหตุไฉน เมื่อปัจจัยของสัตว์ทั้งหลายแม้อย่างอื่นมีอยู่ พระองค์จึงตรัสอาหารไว้ ๔ อย่างเหล่านี้เท่านั้น (๑).

ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบว่า พระองค์ตรัสไว้ เพราะเป็นปัจจัยพิเศษแห่งสันตติที่เป็นภายใน.

อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนาในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่าดูก่อน


(๑) เปยยาลเล็กในปาฐะวางไว้หลัง วุจฺจเต เข้าใจว่าคงวางผิด จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 571

ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดํารง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหารดํารง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.

ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นําอะไรมาให้?

ตอบว่า กวฬิงการาหาร นํารูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ (อวินิพโภครูป ๘) ผัสสาหาร นําเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นําภพทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นํานามรูปในปฏิสนธิมาให้.

นํามาให้อย่างไร?

(นํามาให้อย่างนี้) คือก่อนอื่น กวฬิงการาหาร เพียงแต่วางไว้ในปากเท่านั้น ก็ก่อตั้งรูปทั้ง ๘ ขึ้น (สร้างรูปทั้ง ๘ ขึ้น). ส่วนคําข้าวแต่ละคําที่ฟันเคี้ยวให้ละเอียดกลืนลงไป จะก่อตั้งรูปขึ้นคําละ ๘ รูปทั้งนั้น. กวฬิงการาหาร นํารูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้อย่างนี้. ส่วนผัสสาหาร คือผัสสะที่จะให้เกิดสุขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นจะนําสุขเวทนามาให้.ผัสสะที่จะให้เกิดทุกขเวทนาก็เช่นนั้น คือจะนําทุกข์มาให้ ที่จะให้เกิดอทุกขมสุขเวทนาก็จะนําอทุกขมสุขมาให้. ผัสสาหารจะนําเวทนาทั้ง ๓ มาให้โดยประการทั้งปวง ดังที่พรรณนามานี้.

มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนํากามภพมาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนํารูปภพและอรูปภพมาให้. มโนสัญเจตนาหาร จะนําภพทั้ง ๓ นาให้อย่างนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.

แต่วิญญาณาหารท่านกล่าวว่า จะนําขันธ์ทั้ง ๓ ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 572

นั้น และรูป ๓๐ อย่างที่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ มาให้โดยนัยแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น ในปฏิสนธิขณะ. วิญญาณาหารนํานามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้อย่างนี้ ดังนี้.

อนึ่ง ในอาหารวาระนี้ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่ยังมีอาสวะอยู่นั้นแหละ ท่านกล่าวไว้ว่า มโนสัญเจตนาหาร จะนําภพทั้ง ๓ มาให้ ปฏิสนธิวิญญาณนั้นเองท่านกล่าวไว้ว่า วิญญาณจะนํานามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้. แต่อาหาร ๓ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นอาหารโดยไม่แปลกกัน เพราะนํามาซึ่งธรรมที่สัมปยุตกับด้วยวิญญาณนั้น และธรรมที่เป็นสมุฏฐานแห่งวิญญาณนั้น.

ในจํานวนอาหาร ๔ อย่างนั้น กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต) ไว้ย่อมให้สําเร็จกิจคือการนํา (รูป) มา. ผัสสะเมื่อถูกต้องอยู่นั้นแหละ (ย่อมให้สําเร็จกิจคือการนําเวทนามา). มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลมาอยู่นั่นแหละ (ย่อมให้สําเร็จกิจคือการนําภพมา). วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ (ย่อมให้สําเร็จกิจคือการนํานามรูปในปฏิสนธิขณะมา)

อย่างไร?

(อย่างนี้คือ) ความจริง กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต) อยู่นั้นเอง จะมีการดํารงสัตว์ทั้งหลายไว้ โดยการดํารงกายไว้ เพราะว่าร่างกายนี้ ถึงกรรมจะแต่งให้เกิด กวฬิงการาหารก็ค้ำชูไว้ จึงดํารงอยู่ได้จนถึงกําหนดอายุ ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง เหมือนทารกที่มารดาให้เกิดแล้วแม่นมให้ดื่มนมเป็นต้นเลี้ยงดูอยู่ จึงดํารงอยู่ได้นานแล. เหมือนเรือนที่ใช้ไม้ค้ำค้ำไว้.

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 573

สมจริงตามพระพุทธพจน์ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร เมื่อเรือนจะล้ม คนทั้งหลายจะเอาไม้อื่นมาค้ำไว้ เรือนนั้น ที่ถูกไม้อื่นค้ำไว้ทรงตัวอยู่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรือนนั้น จะไม่ล้ม ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ร่างกายนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกันนั้นแล ดํารงอยู่ได้เพราะอาหารอาศัยอาหาร จึงดํารงอยู่ได้. กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำจุนร่างกายอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า ให้สําเร็จหน้าที่ของอาหาร (การนํารูปมา) และแม้เมื่อให้สําเร็จอาหารกิจอยู่อย่างนี้ กวฬิงการาหารก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยของรูปสันตติ ๒ อย่างคือ เป็นปัจจัยของรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วย รูปที่ตัณหาและทิฏฐิถือเอาแล้วด้วย (๑). กวฬิงการาหารเป็นสิ่งที่ตามรักษากัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) และเป็นผู้ให้กําเนิดแก่รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานดํารงอยู่ได้.

ส่วนผัสสะ เมื่อถูกต้องอารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความสุขเป็นต้นอยู่นั้นแหละ. ชื่อว่ามีอยู่ เพื่อการดํารงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการหมุนเวียนไปแห่งสุขเวทนาเป็นต้น.

มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลไว้ ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมอยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดํารงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย โดยการยังรากเหง้าของภพให้สําเร็จ.

วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดํารงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายโดยการเป็นไปแห่งนามรูป.


(๑) เปยยาลเล็กวางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่าเป็นหลัง จ ซึ่งใช้ควบพากย์จึงแปลตามที่เข้าใจ.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 574

ภัยในอาหาร ๔

ในอาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ที่ให้สําเร็จอาหารกิจอยู่ ด้วยสามารถแห่งการอุปถัมภ์เป็นต้น ควรเห็นภัย ๔ ประการอย่างนี้ คือ ในกวฬิงการาหาร ได้แก่ภัยคือความใคร่ (อยาก) ในผัสสาหาร ได้แก่ภัยคือการข้องแวะ. (ติด) นั้นเอง ในมโนสัญเจตนาหาร ได้แก่ภัยคือการประมวลมา (สั่งสม) นั้นแหละ. ในวิญญาณาหาร ได้แก่ภัยคือการตกลงจําเพาะ (การถือกําเนิด) ทีเดียว.

เพราะเหตุไร?

เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายสร้างภัย คือ ความใคร่ในกวฬิงการาหารมุ่งหน้าต่อความหนาวเป็นต้น ทํางานมีการนับด้วยหัวแม่มือเป็นต้นเพื่อต้องการอาหาร ย่อมเข้าถึงทุกข์มิใช่น้อย. และคนลางจําพวก ถึงจะบวชในพระศาสนานี้ ก็แสวงหาอาหารโดยการแสวงหาที่ไม่สมควร มีเวชชกรรมเป็นต้น จะเป็นผู้ถูกครหาในปัจจุบันนี้. ถึงในสัมปรายภพ ก็จะเป็นสมณเปรตโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในลักษณะสังยุตมีอาทิว่า แม้สังฆาฏิของเธอ ถูกไฟไหม้ลุกโชนแล้ว และความใคร่ในกวฬิงการาหารนั้นเองพึงทราบว่าเป็นภัย เพราะเหตุนี้ก่อน.

ชนทั้งหลายผู้มีอัสสาทะในผัสสะ แม้เมื่อเผชิญผัสสะ ก็จะเบียดเบียนสิ่งของทั้งหลายมีเมียเป็นต้นของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้. เจ้าของสิ่งของจะจับเขาพร้อมด้วยสิ่งของ ฟันให้แหลกเป็นท่อนๆ โยนทิ้งที่กองขยะ หรือมอบตัวแก่พระราชา. ต่อจากนั้น พระราชาก็จะตรัสสั่งให้พวกเขาทํางานชนิดต่างๆ (ลงโทษ). และเพราะกายแตกทําลายไปพวกเขาเป็นหวังได้รับภัย คือ ทุคติ. กรรมที่มีอสัสาทะในผัสสะเป็น

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 575

รากฐาน เป็นเหตุให้ประสบภัยทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพทีเดียว ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนี้ การข้องแวะในผัสสาหารนั้นเอง พึงทราบว่าเป็นภัย. แต่ภัยในภพทั้ง ๓ ที่มีกุศลและอกุศลกรรมนั้นเป็นมูลฐานจะมาทั้งหมดเลย เพราะการประมวลมาซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้นเอง. เพราะเหตุนี้ การประมวลมาในมโนสัญเจตนาหารนั้นเอง พึงทราบว่าเป็นภัย.

ส่วนปฏิสนธิวิญญาณ ก็จะรับเอาปฏิสนธินามรูปนั้นแหละ เกิดขึ้นในที่เป็นที่ถือกําเนิด และเมื่อปฏิสนธิวิญญาณนั้นเกิดขึ้นแล้ว ภัยทุกอย่างก็เป็นอันเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะมีปฏิสนธินั้นเป็นมูลราก เพราะเหตุดังที่พรรณนามาแล้วนี้แล การถือกําเนิด (ตกลงเฉพาะ) พึงทราบว่าเป็นภัยในวิญญาณาหารดังนี้แล.

แต่ในจําพวกอาหารทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ที่เป็นภัยอย่างนี้ เพื่อจะให้ครอบงําความใคร่ในกวฬิงการาหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงการเปรียบเทียบด้วยเนื้อบุตร โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผัวเมียทั้ง ๒ แม้ฉันใด.

เพื่อให้ครอบงําความใคร่ในผัสสาหารจึงทรงแสดงการเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่ถูกถลกหนัง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เขาถลกหนังแล้ว... แม้ฉันใด.

เพื่อให้ครอบงําความใคร่ในมโนสัญเจตนาหาร จึงทรงแสดงการเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหลุมถ่านเพลิง... แม้ฉันใด.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 576

เพื่อให้ครอบงําความใคร่ในวิญญาณาหาร จึงทรงแสดงการเปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุในทั้งหลาย... ซึ่งโจรผู้ประพฤติชั่วช้า แม้ฉันใด.

นี้เป็นการประกอบเนื้อความโดยสังเขป โดยอธิบายความให้แจ่มชัดในอาหารวาระนั้น.

เปรียบเทียบสามีภรรยากินเนื้อบุตร

ได้ทราบว่า สองผัวเมีย พากันอุ้มบุตรเดินทางกันดาร ๑๐๐ โยชน์โดยเสบียงเล็กน้อย. เมื่อเขาเดินไปได้ ๕๐ โยชน์ เสบียงหมดลง.

เขาทั้ง ๒ กระสับกระส่ายเพราะความหิวกระหายพากันนั่งใต้ร่มเงาโปร่ง (ของต้นไม้) ถัดนั้นฝ่ายชายได้พูดกับภรรยาว่า น้องนางเอยระยะ ๕๐ โยชน์รอบๆ นี้ ไม่มีบ้านหรือนิคมเลย เพราะฉะนั้น บัดนี้พี่ไม่สามารถจะทํางานตั้งมากมายที่ผู้ชายจะพึงทําได้ มีการทํานาและเลี้ยงโคเป็นต้นได้ มาเถิดน้อง จงฆ่าพี่แล้ว กินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเอาเป็นเสบียงเดินข้ามทางกันดารไปกับลูกเถิด.

ฝ่ายนางได้พูดกับสามีว่า พี่ขา บัดนี้ น้องไม่สามารถจะทํางานที่หญิงจะต้องทํา มีการปันด้ายเป็นต้นตั้งมากมายได้ มาเถิดพี่ จงฆ่าน้องแล้วกินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเอาเป็นเสบียงเดินทางข้ามทางกันดารไปกับลูกเถิด.

ฝ่ายชายจึงพูดกับภรรยาอีกว่า น้องเอย เพราะแม่บ้านตาย ความตายจะปรากฏแก่เราทั้ง ๒ พ่อลูก เพราะเด็กน้อย เว้นมารดาแล้ว จะไม่

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 577

สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะได้ลูกอีก อย่ากระนั้นเลย บัดนี้เราจะฆ่าลูกเอาเนื้อกิน ข้ามทางกันดาร.

ลําดับนั้น แม่ได้พูดกับลูกว่าลูกเอย จงไปหาพ่อเถอะ. ลูกก็ได้ไป (หาพ่อ). ถัดนั้นพ่อของลูกพูดว่า พี่ได้เสวยทุกข์มาไม่น้อย เพราะการทํานาเลี้ยงโคด้วยหวังว่าจะเลี้ยงลูก พี่จึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ เธอนั้นแหละจงฆ่าลูกของเธอ ดังนี้แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอย จงไปหาแม่เถิด. ลูกก็ได้ไป (หาแม่) ถึงแม่ของลูกนั้นก็ได้พูดว่า ฉันเมื่ออยากได้ลูก ได้เสวยทุกข์ทรมานมิใช่น้อย ด้วยการประพฤติตนเยี่ยงโค ประพฤติตนเยี่ยงลูกสุนัข และอ้อนวอนขอต่อเทวดาเป็นต้นก่อน ไม่ต้องพูดถึงการประคับประคองท้อง ฉันจึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอย เจ้าจงไปหาพ่อเถิด. ลูกนั้นเมื่อเดินไปมาในระหว่างพ่อแม่ทั้ง ๒ อยู่อย่างนี้ก็ได้ตายลง.

สองผัวเมียนั้นเห็นลูกเข้าพากันคร่ําครวญ เอาเนื้อ (ลูก) มากินแล้วหลีกไป ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้น. เขาทั้ง ๒ นั้นไม่ได้เอาเนื้อบุตรกินเป็นอาหารเพื่อเล่นเลย ไม่ใช่เพื่อเมามาย ไม่ใช่เพื่อประดับประดา ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพื่อต้องการข้ามให้พันทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้นเอง เพราะเป็นของปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ.

หากจะถามว่า ปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการอะไรบ้าง?

แก้ว่า คือเพราะเป็นเนื้อที่เกิดจากตน ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของลูก ๑ เพราะเป็นเนื้อของลูกรัก ๑ เพราะเป็นเนื้อของเด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะเป็นเนื้อที่ไม่ใช้กิน ๑ เพราะไม่ได้ใส่เกลือ ๑ เพราะไม่ได้ย่าง ๑.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 578

เพราะฉะนั้น ภิกษุใด เห็นกวฬิงการาหาร เป็นเสมือนเนื้อลูกอย่างนี้ เธอจะครอบงํา (คลาย) ความใคร่ ในกวฬิงการาหารนั้นได้.นี้เป็นการประกอบความในข้ออุปมาด้วยเนื้อบุตรก่อน.

เปรียบเทียบแม่โคที่ถูกถลกหนัง

ส่วนในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง พึงทราบอรรถาอธิบาย ดังต่อไปนี้ แม่โคนั้นเขาถลกหนังแต่คอจนถึงเล็บออกไปแล้วปล่อยทิ้งไว้ มันจะถูกสัตว์มีชีวิตกัดกินอยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์เท่านั้นฉันใด. ถึงผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยวัตถุหรืออารมณ์ใดๆ สถิตอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์ที่ได้เสวยแล้วเท่านั้น อันเกิดจากวัตถุและอารมณ์นั้นๆ.

เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นผัสสาหารเป็นเสมือนกับแม่โคที่เขาถลกหนึ่งอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงําความใคร่ในผัสสาหารนั้นได้. นี้เป็นการประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง.

เปรียบเทียบหลุมถ่านเพลิง

แต่ในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง พึงทราบอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ภพทั้ง ๓ เหมือนกับหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ร้อนระอุมาก มโนสัญเจตนา เหมือนกับชายสองคน ต่างพากันจับแขน กระชากลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เพราะอรรถว่า ฉุดกระชากเข้าไปในภพทั้งหลาย.

เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นมโนสัญเจตนาหาร ว่าเป็นเช่นกับหลุมถ่านเพลิงอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงําความใคร่ในมโนสัญเจตนาหารได้. นี้เป็นการประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 579

เปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกร้อยเล่ม

ส่วนในข้อเปรียบเทียบ การถูกแทงด้วยหอก ๓ ร้อยเล่ม พึงทราบอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ ในเวลาเช้า ชายคนหนึ่งเดือดร้อนเพราะหอก ๑๐๐ เล่มจํานวนใด. หอกจํานวนนั้นแทงร่างของเขาให้เป็นบาดแผลถึง ๑๐๐ แห่ง ทะลุไปไม่หยุดอยู่ในระหว่างแล้ว ในกาลต่อมา ก็หล่นออกไป หอก ๒๐๐ เล่ม อีกต่างหาก ก็อย่างนั้น เมื่อเช่นนั้น ทั่วร่างจึงพรุนไปหมด เพราะหอกหลายด้ามที่พุ่งไปไม่หล่นในโอกาสที่หอก ๑๐๐ ด้าม (รุ่นก่อน) นั้น หล่นไปแล้ว. ทุกข์ของชายคนนั้นที่เกิดขึ้น เพราะปากบาดแผล แม้บาดแผลเดียว ก็หาประมาณไม่ได้อยู่แล้ว. จะป่วยกล่าวไปไยถึงทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะปากบาดแผล ๓๐๐ แผล.

บรรดาเหตุการณ์เหล่านั้น ปฏิสนธิเหมือนกับเวลาที่หอกตกถูก.การเกิดแห่งขันธ์เหมือนกับการเกิดในเพราะปากบาดแผล การเกิดขึ้นแห่งทุกข์นานาชนิดที่มีวัฏฏะเป็นมูลมีได้ในเพราะขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วเหมือนการเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาในเพราะปากบาดแผลทั้งหลาย.

อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิวิญญาณ เหมือนชายผู้ประพฤติชั่วช้า.นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เหมือนปากบาดแผลที่เกิดขึ้นแก่ชายคนนั้น เพราะถูกหอกทั้งหลายแทงแล้ว. พึงเห็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์มีประการต่างๆ สําหรับวิญญาณ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย ด้วยสามารถของกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ และโรค ๙๘ ชนิด เป็นต้น เหมือนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์หนักแก่ชายคนนั้น เพราะมีปากบาดแผลเป็นปัจจัย.

เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นวิญญาณาหารว่า เป็นเช่นกับด้วยถูกแทง.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 580

ด้วยหอก ๓๐๐ เล่มอย่างนั้น ภิกษุนั้นจะครอบงําความใคร่ในวิญญาณาหารได้. นี้เป็นการประกอบความในการเปรียบเทียบด้วยการถูกแทงด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม.

เธอเมื่อครอบงําความใคร่ในอาหารเหล่านี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ย่อมกําหนดรู้อาหารทั้ง ๔ อย่าง. เมื่อกําหนดรู้อาหารเหล่านั้นแล้ว วัตถุที่กําหนดรู้แม้ทั้งหมด ก็เป็นอันกําหนดรู้แล้วเหมือนกัน.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายกําหนดรู้กวฬิงการาหารแล้ว ราคะที่อาศัยเบญจกามคุณ ก็เป็นอันกําหนดรู้แล้ว. เมื่อกําหนดรู้ราคะที่อาศัยเบญจกามคุณแล้ว จะไม่มีสังโยชน์นั้น (กามราคสังโยชน์) ซึ่งเป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว มาสู่โลกนี้อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกําหนดรู้ผัสสาหารแล้ว เวทนาทั้ง ๓ ก็เป็นอันเธอทั้งหลายกําหนดรู้แล้ว. เมื่อกําหนดรู้เวทนาทั้ง ๓ แล้ว เราตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทําให้ยิ่งขึ้นไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกําหนดรู้มโนสัญเจตนาหารแล้ว ตัณหา ๓ ก็เป็นอันกําหนดรู้แล้ว. เมื่อกําหนดรู้ตัณหา ๓ แล้ว เราตถาคตกล่าวว่าอริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทําให้ยิ่งขึ้นไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกําหนดรู้วิญญาณาหารแล้ว นามรูปก็เป็นอันกําหนดรู้แล้ว เมื่อกําหนดรู้นามรูปแล้ว เราตถาคตก็กล่าวว่าอริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทําให้ยิ่งขึ้นไป.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 581

ตัณหาเกิด - อาหารจึงเกิด

บทว่า ตณฺหาสมุทยา อาหารสมุทโย มีเนื้อความว่า เพราะตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น สมุทัย (เหตุเกิด) คือการเกิดขึ้นแห่งอาหารทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ ย่อมมีขึ้น.

มีอย่างไร?

(มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้วในภายในรูป ๓๐ ถ้วน ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ นี้ คือกวฬิงการาหาร ที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว เพราะตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหารที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิตและวิญญาณคือตัวจิตเอง เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งอาหารทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ เพราะตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.

แต่เพราะเหตุที่ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวถึงอาหารคละกันไปทั้งอาหารที่เป็นอุปาทินนกะ. (มีใจครอง) และที่เป็นอนุปาทินนกะ (ที่ไม่มีใจครอง) ฉะนั้น จึงควรทราบการเกิดขึ้นแห่งอาหาร เพราะตัณหาเกิดอย่างนี้ สําหรับอาหารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะ (ดังต่อไปนี้) :-

อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย ส่วนผัสสะ ๑ เจตนาที่สัมปยุตด้วย

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 582

จิตที่สหคตด้วยโลภะ ๑ วิญาณคือตัวจิตเอง ๑ รวมทั้ง (๓ อย่าง) เหล่านี้ ได้แก่ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ที่เป็นอนุปาทินนกะ เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

ตัณหาดับ อาหารจึงดับ

สองบทว่า ตณฺหานิโรธา อาหารนิโรโธ ความว่า ความดับแห่งอาหารย่อมปรากฏ เพราะความดับแห่งตัณหา ที่เป็นปัจจัยของอาหารทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะ และที่เป็นอนุปาทินนกะนี้.

คําที่เหลือ (จากที่อธิบายนี้) มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้นแหละ.

ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๔ ไว้โดยสรุปแล้ว. และในทุกวาระนอกเหนือจากนี้ ท่านก็ได้กล่าวไว้เหมือนในอาหารวาระนี้ เพราะเหตุนั้นแล ผู้ศึกษาที่ไม่หลงลืมควรยกสัจจะทั้งหลายขึ้นในทุกวาระ และการประมวลเทศนาในทุกวาระว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส นี้ ควรประกอบด้วยสามารถแห่งธรรมที่แสดงแล้วในวาระนั้นๆ.นี้เป็นการประกอบเนื้อความนั้น ในวาระนี้ก่อน.

บทว่า เอตฺตาวตาปิ นี้ ความว่า ด้วยเทศนาเรื่องอาหารนี้ มีอธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการที่กล่าวมาแล้ว.แม้ในทุกบทก็ทํานอง (นัย) นี้.

จบ กถาพรรณนาอาหารวาระ

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 583

กถาพรรณนาสัจจวาระ

[๑๑๔] บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระเถระนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนว่า สาธาวุโส แล้วได้ถามปัญหาสูงขึ้นไปอีก และพระเถระก็ได้แก้ปัญหา โดยทํานองแม้อย่างอื่น แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในทุกวาระแม้นอกจากวาระนี้ ก็มีนัยนี้.

[๑๑๕] เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปข้าพเจ้าจักขยายความของบรรยายที่พระเถระได้กล่าวแก้ไว้แล้ว ไม่พาดพิงถึงคําแบบนี้. แต่ด้วยการแสดงโดยย่อซึ่งวาระนี้ พระเถระได้แสดงทุกขสัจว่า ทุกข์ ในคําว่า ทุกฺขฺจ ปชานาติ. ส่วนในการแสดงโดยพิสดาร คําที่จะต้องกล่าวทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้วในสัจจนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.

จบ กถาพรรณนาสัจจวาระ

กถาพรรณนาชรามรณวาระ

[๑๑๗] ต่อจากนี้ไป เป็นเทศนาว่าด้วยปฎิจจสมุปบาท.

ในจํานวนวาระเหล่านั้น ก่อนอื่นพึงทราบวินิจฉัยในชรามรณวาระว่า

บทว่า เตสํ เตสํ นี้ เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จํานวนมากมายไว้โดยสังเขป. เพราะว่า เมื่อพูดอยู่ตลอดทั้งวันอย่างนี้ว่า ความแก่ของพระเทวทัตอันใด ความแก่ของท่านโสมทัตอันใด... ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายจะไม่ถึงการครอบคลุมไว้ (จะไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์ทั้งหมด). แต่ด้วยบททั้ง ๒ นี้ (เตสํ เตสํ) สัตว์ตัวไหนจะไม่ถูกครอบคลุมเป็นไม่มี

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 584

(คลุมไปหมดทุกตัวสัตว์). เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า บทนี้เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จํานวนมากไว้โดยสังเขป.

บททั้ง ๒ ว่า ตมฺหิ ตมฺหิ นี้. เป็นการแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์จํานวนมากมายด้วยสามารถแห่งการเกิดในคติ.

บทว่า สตฺตนิกาเย เป็นการแสดงสรุปถึงสัตว์ที่ได้แสดงไว้แล้วโดยสาธารณนิเทศ.

ก็บทว่า ชรา ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ชรา ชีรณตา เป็นการแสดงถึงสภาวธรรม.

บทว่า ชีรณตา เป็นการแสดงถึงอาการ.

บททั้งหลายมี ขณฺฑิจฺจํ เป็นต้น เป็นการแสดงถึงหน้าที่ (ของชรา) ในเพราะผ่านกาลเวลาไป.

สองบทหลังเป็นการแสดงถึง (หน้าที่) ตามปกติ. เพราะว่าชรานี้ ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้โดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา เพราะฉะนั้นบทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงสภาวะของชรานั้น.

ด้วยบทว่า ชีรณตา นี้ พระเถระได้แสดงไว้โดยอาการ. เพราะฉะนั้น บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงอาการของชรานั้น

ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการกระทําภาวะแห่งฟันและเล็บที่หักเป็นชิ้นๆ ในเพราะล่วงกาลเวลาไป.

ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการทําภาวะที่ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตตจตา นี้ พระเถระได้แสดงแม้โดยกิจคือการกระทําให้เนื้อเหี่ยวหนังย่น. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มี ขณฺฑิจฺจํ เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงถึงกิจของชรานั้น ในเพราะล่วงกาล

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 585

เวลาไป ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ เหล่านั้น พระเถระได้แสดงถึงชราที่ปรากฏคือเป็นสิ่งที่ปรากฏ ด้วยสามารถเห็นความพิการเหล่านี้ได้.

อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ทางเดินของน้ำปรากฏ (ให้เห็นได้) เพราะพัดหญ้าและต้นไม้เป็นต้นให้ล้มราบ หรือทางเดินของไฟปรากฏ (ให้เห็นได้) เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้นไหม้. และทางเดิน (ของน้ำเป็นต้น) นั้น ก็ไม่ใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย (เป็นคนละอย่าง) ฉันใด.ทางเดินของชรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชาติปรากฏ (ให้เห็น) ในอวัยวะทั้งหลายมีฟันเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มีความหักเป็นต้น คนแม้ลืมตาดูแล้ว ก็จับต้องได้. และทางเดินของชรานั้น ด้วยความสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มีความหักเป็นต้น ก็ไม่ใช่ชรา. เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย. (ต้องรู้ได้ด้วยปัญญา).

แต่ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก พระเถระได้แสดงชราตามปกติ เพราะความสิ้นไปแห่งอายุเป็นสิ่งที่รู้ได้จากความหง่อมของอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ในเพราะการก้าวล่วงกาลเวลาเท่านั้น เหตุที่ท่านเป็นผู้ฉลาดยิ่ง.

เพราะฉะนั้น ๒ อาการหลังนี้พึงทราบว่า เป็นการแสดง (อาการ) ตามปกติของชรานั้น.

บรรดาอายุและอินทรีย์ทั้ง ๒ อย่างนั้น เพราะเหตุที่อายุของผู้ถึงความแก่ ย่อมเสื่อมไป (มากขึ้น) ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวชราไว้โดยใกล้ต่อผล (ใกล้ต่อความตาย) ว่า ได้แก่ความเสื่อมแห่งอายุ อายุมาก.

แต่เพราะเหตุที่เวลายังหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลายมีตาเป็นต้น ยังสดใส

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 586

สามารถรับเอาอารมณ์ (มีรูปเป็นต้น) ของตน แม้ที่ละเอียดได้ โดยง่ายดาย เมื่อเข้าถึงชราแล้วจะหง่อม ขุ่นมัว ไม่สดใส อารมณ์ของตนถึงจะหยาบก็ไม่สามารถจะรับได้ ฉะนั้น ชราพระเถระจึงกล่าวไว้ โดยความใกล้ต่อผลว่า ความหง่อมของอินทรีย์ทั้งหลายบ้าง

ชรา ๒ อย่าง

อนึ่ง ชรานี้นั้น คือชราทั้งหมดที่แสดงมาแล้วอย่างนี้ มี ๒ อย่างคือ ปากฏชรา (ความแก่ที่ปรากฏ) ๑. ปฏิจฉันนชรา (ความแก่ที่ปกปิด) ๑. ในจํานวนชราทั้ง ๒ อย่างนั้น ความแก่ในรูปธรรมทั้งหลายชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความวิการ มีความหักเป็นต้น ในอวัยวะทั้งหลาย มีฟันเป็นต้นให้เห็น ส่วนในอรูปธรรมชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา เพราะไม่แสดงความวิการเช่นนั้นให้เห็น.

มีชรา ๒ อย่างอีก อย่างนี้ คือ อวีจิชรา (แก่ไม่มีร่องรอยให้เห็น) ๑ สวีจิชรา (แก่มีร่องรอยให้เห็น) ๑. ในจํานวนชรา ๒ อย่างนั้น ชราของแก้วมณี. ทอง เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อวีจิชรา อธิบายว่า ชื่อว่าชราไม่มีระหว่างขั้น (ไม่มีขั้นตอนให้เห็น) เพราะความแตกต่างของสีเป็นต้นในระหว่างๆ รู้ได้ยาก เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่างๆ ของสัตว์มีปราณ ในวัยมันททสกะ (วัย ๑๐ ปีที่เยาว์) เป็นต้น และเหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่างๆ ของสิ่งที่ไม่มีลมปราณในดอกไม้ผลไม้และใบไม้เป็นต้น. แต่ชราในสิ่งอื่นนอกจากนั้น ตาม

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 587

ที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่างๆ เป็นสิ่งที่พึงรู้ได้ง่าย.

ต่อแต่นี้ไป บทว่า เตสํ เตสํ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

ก็บทว่า จุติ ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า จุติ จวนตา เป็นต้น พระเถระกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เคลื่อนไป.

คําว่า จุติ นี้ เป็นคําทั่วไปสําหรับขันธ์๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕.

คําว่า จวนตา เป็นคําแสดงถึงลักษณะ (ของขันธ์) โดยการเคลื่อนจากภาวะ.

คําว่า เภโท เป็นคําแสดงถึงการแตกดับและการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ทั้งหลายที่จุติ.

คําว่า อนฺตรธานํ เป็นคําแสดงถึงภาวะของการเคลื่อนที่จากฐานโดยปริยายใดปริยายหนึ่ง แห่งจุติขันธ์ทั้งหลายที่แตกไป เหมือนกระออมที่แตกแล้วฉะนั้น. ความตายกล่าวคือมฤตยู ชื่อว่า มัจจุมรณะ.

ด้วยศัพท์ว่า มจฺจุมรณํ นั้น พระเถระปฏิเสธสมุจเฉทมรณะเป็นต้น. (การตายโดยการตัดขาดซึ่งชาติเป็นต้น). มัจจุราชผู้ทําซึ่งที่สุด (จุดจบ) ชื่อว่า กาละ การทํากาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (การถึงแก่กรรม) ด้วยคําว่า กาลกิริยา นี้ พระเถระแสดงถึงความตายตามสมมติของชาวโลก.ต่อไปนี้ เพื่อจะแสดงถึงความตายโดยปรมัตถ์ พระเถระจึงได้กล่าวคํามีอาทิว่า ขนฺธานํ เภโท ไว้.

อันที่จริง โดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น แตกดับ ไม่ใช่สัตว์อะไรๆ เลยตาย เมื่อขันธ์ทั้งหลายกําลังแตกดับอยู่ สัตว์ก็ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 588

กําลังตาย เมื่อแตกดับแล้ว ก็มีโวหารว่า ตายแล้ว.

ในชรามรณวาระนี้ การแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีได้โดยจตุโวการภพ (นามขันธ์๔) การทอดทิ้งซากศพมีได้โดยเอกโวการภพ (รูปขันธ์ ๑) หรือการแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบโดยจตุโวการภพ (ส่วน) การทอดทิ้งซากศพ พึงทราบด้วยสามารถแห่งภพทั้ง ๒ ที่เหลือ (เอกโวการภพและปัญจโวการภพ).

เพราะเหตุไร?

เพราะซากศพกล่าวคือรูปกายเกิดขึ้นเฉพาะใน ๒ ภพ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ขันธ์ทั้งหลายในเทวโลกและพรหมโลกมีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นแตกดับไปอย่างเดียว ไม่ทิ้งอะไรไว้ฉะนั้นการแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบด้วยสามารถแห่งขันธ์ทั้งหลายในเทวโลกและพรหมโลก มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น. (ส่วน) การทอดทิ้งซากศพไว้มีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายมีมนุษย์เป็นต้น. ความตายโดยเหตุที่ทอดทิ้งซากศพไว้พระเถระกล่าวว่า การทอดทิ้งซากศพ. พึงทราบอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า ทั้งชรา ทั้งมรณะนี้ พึงทราบดังที่พรรณนามานี้. ข้อว่า อิทํ วุจฺจตาวุโส ความว่า ชราและมรณะทั้ง ๒ อย่างนี้พระเถระกล่าวรวมกันว่า ชรามรณะ. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ ฉะนี้แล.

จบ กถาพรรณนาชรามรณวาระ

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 589

กถาพรรณนาชาติวาระ

[๑๑๘] พึงทราบวินิจฉัย ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ชาติ สฺชาติ ในชาติวาระ (ดังต่อไปนี้) :-

ชื่อว่า ชาติ เพราะอรรถว่า. (เริ่ม) เกิด. ชาตินั้น ประกอบแล้วด้วยสามารถแห่งอายตนะยังไม่บริบูรณ์.

ชื่อว่า สฺชาติ เพราะอรรถว่า เกิดครบแล้ว. สัญชาตินั้นประกอบแล้ว ด้วยสามารถแห่งอายตนะบริบูรณ์แล้ว.

ชื่อว่า โอกฺกนฺติ เพราะอรรถว่า ก้าวลง (สู่ครรภ์). โอกกันตินั้นประกอบด้วยอัณฑชกําเนิด (เกิดในฟอง) และชลาพุชกําเนิด (เกิดเป็นตัว). อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้นก้าวลง คือถือปฏิสนธิ เหมือนก้าวย่างเข้าไปสู่กะเปาะไข่และรังมดลูก.

ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เพราะอรรถว่า ผุดเกิด. อภินิพพัตตินั้นประกอบด้วยสังเสทชกําเนิด (เกิดในเถ้าไคล) และโอปปาติกกําเนิด (ผุดเกิด) อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น เกิดปรากฏขึ้นทีเดียว. นี้เป็นเทศนาตามโวหารก่อน. ต่อไปนี้จึงเป็นเทศนาโดยปรมัตถ์ อธิบายว่า โดยปรมมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นแหละ ปรากฏขึ้น ไม่ใช่สัตว์ปรากฏ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธานํ พึงทราบว่า หมายเอาขันธ์ ๑ ในเอกโวการภพ ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพ และขันธ์ ๕ บ้าง ในปัญจโวการภพ.

การอุบัติ ชื่อว่า ปาตุภาโว. พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอายตนะที่กําลังเกิดขึ้นในภพนั้นๆ เข้าในคําว่า อายตนานํ นี้.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 590

การปรากฏขึ้นในสันตตินั่นเอง ชื่อว่า ปฏิลาโภ อธิบายว่าอายตนะเหล่านั้นที่ปรากฏอยู่นั่นแหละ ย่อมชื่อว่าเป็นอันสัตว์ทั้งหลายกลับได้แล้ว.

ด้วยบทนี้ว่า อยํ วุจฺจตาวุโส ชาติ พระเถระกล่าวย้ำชาติที่ได้แสดงมาแล้ว ทั้งโดยโวหาร ทั้งโดยปรมัตถ์ ดังนี้แล.

ก็ผู้ศึกษาพึงทราบกรรมภพที่เป็นปัจจัยแห่งชาติ ในคําว่า ภวสมุทยา นี้. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

จบ กถาพรรณนาชาติวาระ

กถาพรรณนาภววาระ

[๑๑๙] พึงทราบวินิจฉัยในภววาระดังต่อไปนี้ :-

กรรมภพและอุปปัตติภพ ชื่อว่า กามภพ. บรรดาภพทั้ง ๒ อย่างนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงกามภพนั่นเอง ชื่อว่า กรรมภพ.

อธิบายว่า กรรมนั้นเองท่านกล่าวว่า ภพ โดยการกล่าวถึงผลเหมือนคําทั้งหลายมีอาทิว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุนํามาซึ่งความสุข การสะสมบาปเป็นเหตุนํามาซึ่งทุกข์ดังนี้ เพราะกรรมภพนั้นเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ. ขันธปัญจกที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครองแล้วเกิดขึ้นแล้วด้วยกรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. เพราะว่าขันธปัญจกนั้นท่านกล่าวว่า ภพ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า เป็นที่เกิด (แห่งปฏิสนธิจิต).

เมื่อเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๒ อย่างนี้ คือ กรรมภพนี้ ๑ อุปปัตติภพ ๑ ท่านกล่าวว่า เป็นกามภพแม้โดยประการทั้งปวง. ในรูปภพและอรูปภพ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 591

ก็ทํานองนี้. แต่อุปาทานในคํานี้ว่า อุปาทานสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของกรรมภพที่เป็นกุศล. โดยอุปนิสสยปัจจัยนั้นเอง. อุปาทานเป็นปัจจัยของกรรมภพที่เป็นอกุศล โดยอุปนิสสยปัจจัยบ้างโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง แต่เป็นปัจจัยของอุปปัตติภพ ของกรรมภพทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลทั้งหมดโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละดังนี้.

จบ กถาพรรณนาชาติวาระ

กถาพรรณนาอุปาทานวาระ

[๑๒๐] พึงทราบวินิจฉัย ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า กามุปาทานํ ในอุปาทานวาระ.

กิเลสชาต ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุยึดมั่นวัตถุกาม หรือเพราะยึดวัตถุกามนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง กามนั้นด้วยเป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

การยึดมั่นท่านเรียกว่า อุปาทาน. เพราะว่า อุปศัพท์ ในคําว่าอุปาทานํ นี้ มีเนื้อความว่ามั่น เหมือนอุปศัพท์ ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า อุปายาส และ อุปกัฏฐะ.

คําว่า กามุปาทาน นี้ เป็นชื่อของราคะที่เป็นไปในกามคุณ. นี้เป็นข้อความสังเขปในกามุปาทานนี้.

แต่โดยพิสดาร กามุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วว่าบรรดาอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานเป็นไฉน? ได้แก่ความพอใจด้วยอํานาจความใคร่ในกามทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 592

ทิฏุปาทาน ก็อย่างนั้น คือ ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง กิเลสขาด ชื่อว่าทิฏุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ. หรือชื่อว่า ทิฏุปาทาน เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุให้ยึดมั่นทิฏฐิ. อธิบายว่า กิเลสชาตใดย่อมยึดมั่นทิฏฐิเดิมในคําทั้งหลายมีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง เพราะฉะนั้น กิเลสชาตินั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (ทิฏุปาทาน).อย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน) ทั้งโลก เป็นของเที่ยงสิ่งนี้เท่านั้น เป็นสัตยะ (ของจริง) สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. (ไร้ประโยชน์).คําว่า ทิฏุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิทั้งหมดเว้นไว้แต่สีลัพพัตตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน. นี้เป็นข้อความสังเขปในทิฏุปาทานนี้. แต่โดยพิสดารทิฏุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วนั่นแหละว่าบรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏุปาทานเป็นอย่างไร? (ทิฏุปาทานคือ) ทานที่บุคคลให้แล้ว ไม่มีผล.

บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่นศีลและพรตบ้าง เพราะศีลและพรตนั้นยึดมั่นเองบ้าง เพราะศีลและพรตนั้นด้วยเป็นอุปทานด้วยบ้าง.

อธิบายว่า การยึดมั่นด้วยตนเองนั่นแหละโดยความเชื่อมั่นว่า ศีลและพรตทั้งหลายมีศีลของโคและวัตรของโคเป็นต้น เป็นของบริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (สีลัพพัตตุปาทาน). นี้เป็นข้อความสังเขปในสีลัพพัตตุปาทานนี้.

แต่โดยพิสดารสีลัพพัตตุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้แล้วว่าบรรดาอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพัตตุปาทานเป็นไฉน คือความบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 593

ด้วยศีลของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอกศาสนานี้.

ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าวในบัดนี้. ชื่อว่า อุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่น.

ถามว่า กล่าวหรือยึดมั่นอะไร?

แก้ว่า กล่าวหรือยึดมั่นอัตตา (อาตมัน).

การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าอัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่น เพียงแต่วาทะของตนเท่านั้นว่าเป็นอัตตา (อาตมัน). คําว่า อัตตวาทุปาทาน นี้เป็นชื่อของสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. นี้เป็นข้อความสังเขปในอัตตวาทุปาทานนี้.

ส่วนโดยพิสดารอัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้แล้วว่าบรรดาอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน? อัตตวาทุปาทานคือ ปุถุชนในพระศาสนานี้ ไม่ได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายดังนี้.

ตัณหาในคําว่า ตณฺหาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของกามุปาทานโดยอุปนิสสยปัจจัย หรือโดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัยและอาเสวนปัจจัย แต่เป็นปัจจัยของอุปาทานที่เหลือ คือแม้โดยเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้.

จบ กถาพรรณนาอุปทานวาระ

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 594

กถาพรรณนาตัณหาวาระ

ตัณหา ๑๐๘

[๑๒๑] พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาวาระ (ต่อไป) :-

ตัณหาที่เป็นไปแล้วโดยชวนวิถี มีชื่อตามอารมณ์ที่คล้ายกับบิดา (ผู้ให้เกิด) ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา เหมือนกับ (คน) มีชื่อตามบิดาในคําทั้งหลาย มีอาทิว่า เศรษฐีบุตร พราหมณบุตรเป็นต้น.

ก็ในตัณหาวาระนี้ ตัณหามี ๓ ประการอย่างนี้ คือตัณหาที่มีรูปเป็นอารมณ์คือตัณหาในรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูปตัณหา รูปตัณหานั้น เมื่อยินดี เป็นไปโดยความเป็นกามราคะ ชื่อว่า กามตัณหา.

เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง คือยั่งยืนได้แก่ติดต่อกันไป โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา.

เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ คือหายไป ได้แก่ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่มี โดยความเป็นราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิชื่อว่า วิภวตัณหา.

และสัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนกับรูปตัณหา ฉะนั้น จึงรวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ. ตัณหาวิปริตเหล่านั้น แจกออกเป็น ๑๘ ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายในเป็นต้น (และ) แจกออกเป็น ๑๘ ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายนอกเป็นต้น จึงรวมเป็น ๓๖ ประการ. แจกเป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ ด้วยประการอย่างนี้ จึงเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ.

อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ อาศัยรูปที่เป็นไปภายใน

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 595

เป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะอาศัยรูปเป็นภายใน มีตัณหาว่าเรามีเพราะรูปนี้ (และ) ว่า เมื่อเรามี เราก็เป็นที่ปรารถนา ฉะนั้น จึงรวมเป็นตัณหา ๓๖ แบ่งเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ โดยประการอย่างนี้ รวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ดังที่พรรณนามานี้แล.

เมื่อทําการสงเคราะห์เข้ากันอีก ตัณหาก็มี ๖ หมวดเท่านั้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยอรรถที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า ตัณหามี ๓ อย่างเท่านั้น มีกามตัณหาเป็นต้น นักปราชญ์พึงทราบ ตัณหาโดยการสงเคราะห์ข้อความที่พิสดารเข้าด้วยกันอีก จากข้อความพิสดารที่แสดงไว้แล้ว ดังนี้.

ก็เวทนาที่เป็นวิบากพระเถระประสงค์เอาแล้วว่า เวทนา ในคําว่าเวทนาสมุทยา นี้.

ถ้าจะมีคําถามว่า เวทนานั้นเป็นปัจจัยแห่งตัณหาในทวาร ๖ อย่างไร?

ตอบว่า เป็นปัจจัยเพราะเวทนาเป็นสิ่งที่น่ายินดี. อธิบายว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายยึดมั่นเวทนาว่าเป็นของเราอยู่. ด้วยความชอบใจสุขเวทนาเขาจะเป็นผู้ยังความทะยานอยากเวทนาให้เกิดขึ้นแล้ว ยินดีแล้วด้วยความกําหนัดยินดีเวทนา ปรารถนารูปที่ได้เห็นแล้วนั่นแหละ และครั้นได้รูปนั้นแล้ว ก็ชอบใจทั้งทําสักการะแก่ช่างเขียนเป็นต้น ผู้ให้อารมณ์.

ในโสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายย่อมปรารถนาเสียงเป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนาทีเดียว และครั้นได้แล้ว ก็ชอบใจเสียงเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งทําการสักการะ นักดีดพิณ ช่างปรุงน้ำหอม ช่างทอ และผู้แสดงศิลปนานาชนิดเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 596

เหมือนอะไร?

เหมือนแม่ผู้รักลูก ทําสักการะแม่นมคือให้เขาดื่มและบริโภคเนยใสและนมที่อร่อยเป็นต้น. เพราะความเสน่หาในลูก. ถ้อยคําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่น แหละ.

จบ กถาพรรณนาตัณหาวาระ

กถาพรรณนาเวทนาวาระ

[๑๒๒] พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาวาระ (ต่อไป) :-

หมวดเวทนาชื่อว่า เวทนากายะ.

คําว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ฯลฯ มโนสมฺผสฺสชา เวทนา นี้เป็นชื่อของเวทนาทั้งที่เป็นกุศลทั้งที่เป็นอกุศล และอัพยากฤตที่เป็นไปแล้วในจักษุทวารเป็นต้น ตามวัตถุ (ที่ตั้ง) ที่คล้ายแม่ เหมือนกับชื่อ (ของลูก) ตามแม่ในคําทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สารีบุตร (ลูกนางสารี) มันตานีบุตร (ลูกนางมันตานี) เพราะมาแล้วในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี ในคํามีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา นี้ มีอรรถพจน์ว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นเหตุ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา.ในทุกทวารมีโสตะเป็นต้น ก็ทํานองนี้. นี้เป็นกถาที่ว่าด้วยการสงเคราะห์เข้ากันทุกอย่าง ในเวทนาวาระนี้ก่อน.

แต่ว่า เวทนาพึงทราบโดยเวทนาที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น คือในจักขุทวารโดยวิบาก มีจักขุวิญญาณ ๒ ดวง มโนธาตุ ๒ ดวง มโน-

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 597

วิญญาณธาตุ ๓ ดวง. ในโสตทวารเป็นต้น ก็ทํานองนี้. ส่วนมโนทวารพึงเข้าใจว่า เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุ.

ก็ในคําว่า ผสฺสสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ในทวารทั้ง ๕ -ปำเวทนาอาศัยวัตถุทั้ง ๕ มีการเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกันเป็นต้นเกิดขึ้น. จักขุสัมผัสเป็นต้น จึงเป็นปัจจัยของเวทนาที่เหลือทั้งหลายโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเป็นต้น เวทนาโนตทาลัมพณขณะ. ในมโนทวารและเวทนาในปฏิสนธิขณะ ภวังคขณะและจุติขณะที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖มีการเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

จบ กถาพรรณนาเวทนาวาระ

กถาพรรณนาผัสสวาระ

[๑๒๓] พึงทราบวินิจฉัยในผัสสวาระ (ต่อไป) :-

สัมผัสในเพราะจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส. ในทุกทวารก็ทํานองนี้.และด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ฯลฯ กายสมฺผสฺโส เป็นอันพระเถระได้กล่าวถึงสัมผัสทั้ง ๑๐ มีวัตถุ๕ ทั้งที่เป็นกุศลวิบากและอกุศลวิบาก.

ด้วยคําว่า มโนสมฺผสฺโส นี้ เป็นอันพระเถระได้กล่าวถึงผัสสะที่สัมปยุตด้วยโลกิยวิบากที่เหลือ ๒๒ อย่าง.

บทว่า สฬายตนสมุทยา ความว่า เพราะอายตนะ ๖ อย่าง มีจักษุเป็นต้นเกิดขึ้น ผัสสะแม้ทั้ง ๖ อย่างนี้ ก็มีการเกิดขึ้น. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

จบ กถาพรรณนาผัสสวาระ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 598

กถาพรรณนาสฬายตนวาระ

[๑๒๔] พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่าอายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคําทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตนํ มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นเอง.

แต่ว่า ในคําว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป (อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.คําที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ

กถาพรรณนานามรูปวาระ

[๑๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในนามรูปวาระ (ต่อไป) :-

นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ.แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการ ได้แก่สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์ก็จริงอยู่ แต่ธรรม ๓ อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ําทุกดวง เพราะฉะนั้นในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ด้วยอํานาจแห่งธรรม ๓ อย่างเหล่านี้นั่นเอง

คําว่า จตฺตาริ ในคําว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกําหนด

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 599

การนับ (เป็นจํานวนนับ).

คําว่า มหาภูตานิ นี้ เป็นชื่อของดิน น้ำ ไฟ ลม แต่เหตุที่เรียกสิ่งทั้ง ๔ นั้นว่ามหาภูตและนัยแห่งการวินิจฉัยอย่างอื่นในนามรูปนี้ทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งรูปขันธ์ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ส่วนคําว่า จตุนฺนํ คําว่า จตุนฺนฺจ มหาภูตานํ อุปาทายเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ มีอธิบายว่า อาศัยซึ่งมหาภูตทั้ง ๔.

บทว่า อุปาทาย ความว่า เข้าไปยึดไว้ คือจับไว้. อาจารย์บางพวกว่า นิสฺสาย (อาศัย) ก็มี.

ก็ศัพท์ว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นปาฐะเหลือ (เกิน). อีกอย่างหนึ่งคําว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า ชุมนุม เพราะเหตุนั้น พึงทราบอรรถาธิบายนี้ว่า รูปที่อาศัยการชุมนุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นไปอยู่.

เมื่อเป็นอย่างนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง มหาภูตรูป ๔ มีปฐวีเป็นต้นและรูป ๒๓ อย่าง ที่อาศัยมหาภูต ๔ อย่างเป็นไป ที่ตรัสไว้ในพระบาลีนั่นเองในคัมภีร์อภิธรรม โดยแยกประเภทเป็นจักขายตนะเป็นต้น แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่ารูป.

ก็ในคําว่า วิฺาณสมุทยา นี้ วิญญาณใดเป็นปัจจัยของนาม (อย่างเดียว) ด้วย ของรูป (อย่างเดียว) ด้วย ทั้งของนามของรูปด้วย เพราะฉะนั้น ด้วยสามารถแห่งนาม แห่งรูป และทั้งนามทั้งรูปที่มีวิญญาณเป็นปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งนามรูปเพราะวิญญาณเกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 600

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละดังนี้แล.

จบ กถาพรรณนานามรูปวาระ

กถาพรรณนาวิญญาณวาระ

[๑๒๖] พึงทราบวินิจฉัย ในวิญญาณวาระ (ต่อไป) :-

วิญญาณในเพราะจักษุ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณที่เกิดขึ้นแล้วจากจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็อย่างนี้เหมือนกัน.แต่วิญญาณนี้ ได้แก่มโนนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนวิญญาณ.คําว่า มโนวิญญาณ นี้ เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทวิปัญจวิญญาณ.

แต่ในคําว่า สงฺขารสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เพราะสังขารเกิด ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นเอง โดยวิญญาณที่มีสังขารเป็นปัจจัย. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบ กถาพรรณนาวิญญาณวาระ

กถาพรรณนาสังขารวาระ

[๑๒๗] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารวาระ (ต่อไป) :-

สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ. แต่ว่า ในวาระแห่งวิตถารนัย

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 601

ของสังขารนั้น สังขารที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายสังขาร.

คําว่า กายสังขาร นี้ เป็นชื่อของสัญเจตนา ๒๐ ดวง คือ ๘ ดวง จากกามาวจรกุศล และ ๑๒ ดวงจาก (กามาวจร) อกุศลที่เป็นไปแล้วโดยการไหวในกายทวาร.

คําว่า วจีสังขาร นี้ เป็นชื่อของวจีสัญเจตนา ๒๐ ดวงเหมือนกันที่เป็นไปแล้วโดยการเปล่งถ้อยคําในวจีทวาร.

สังขารที่เป็นไปแล้วทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร คําว่า จิตตสังขารนี้ เป็นชื่อของมโนสัญเจตนา ๑ ดวง โดยโลกิยกุศลและโลกิยอกุศลที่เป็นไปแล้ว (เกิดขึ้น) แก่ผู้นั่งคิดอยู่ในที่ลับโดยไม่ได้ทําการไหวกายและวาจา. ก็ในคําว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า อวิชชาของสังขารที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง ของสังขารที่เป็นอกุศล โดยสหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ดังนี้แล

จบ กถาพรรณนาสังขารวาระ

กถาพรรณนาอวิชชาวาระ

[๑๒๘] พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาวาระ. (ต่อไป) :-

ความไม่รู้ในทุกขสัจ ชื่อว่าความไม่รู้ในทุกข์. คําว่า ทุกฺเขอฺาณํ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. ในคําทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทเยอฺาณํ ก็มีนัยนี้.

ในจํานวนสัจจะทั้ง ๔ นั้น การไม่รู้ในทุกข์ พึงทราบได้โดยเหตุ ๔ ประการ คือ โดยการหยั่งลงภายใน ๑ โดยฐาน (ที่ตั้ง) ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยการปกปิดไว้ ๑. จริงอย่างนั้น การไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าหยั่งลง

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 602

ภายในทุกข์ เพราะนับเนื่องในทุกขสัจ ทุกขสัจ ชื่อว่าเป็นฐาน (ที่ตั้ง) เพราะเป็นนิสสยปัจจัยของการไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะความเป็นอารัมณปัจจัย (ของการไม่รู้ทุกข์นั้น) และทุกขสัจ ย่อมปกปิดการไม่รู้ทุกข์นั้นไว้.

ในอธิการแห่งอวิชชาวาระ ความไม่รู้ในสมุทัย พึงรู้ได้โดยเหตุ ๓ ประการ คือ โดยฐาน ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยการปิดบังไว้ ๑ เพราะสมุทัยนั้นห้ามกันการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริง และเพราะไม่มอบให้ซึ่งความเป็นไปแห่งญาณ. ความไม่รู้ในนิโรธและปฏิปทาพึงทราบได้โดยเหตุเดียวเท่านั้น คือ โดยการปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้ที่ปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้ที่ปิดบังนิโรธและปฏิปทาไว้นั่นเอง พึงทราบได้เพราะห้ามไว้ซึ่งการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริงแห่งนิโรธสัจและปฏิปทาเหล่านั้น และเพราะการไม่มอบให้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งญาณในสัจจะทั้ง ๒ นั้น. แต่ความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น ไม่เป็นการหยั่งลงสู่ภายในในสัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่นับเนื่องในสัจจะทั้ง ๒ นั้น สัจจะทั้ง ๒ นั้น ก็ไม่เป็นที่ตั้งของความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่เป็นธรรมเกิดร่วมกัน (และ) ไม่เป็นอารมณ์ เพราะไม่ปรารภสัจจะทั้ง ๒ เป็นไป.

อธิบายว่า สัจจะ ๒ ข้อหลัง เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง แต่ในเรื่องนี้ ความไม่รู้ไม่ใช่มืดบอด จึงเป็นไป. ส่วนสัจจะ ๒ ข้อต้นลึกซึ้ง เพราะลักษณะของสภาวะเห็นได้ยาก โดยความหมายว่าเป็นข้าศึกกัน จึงเป็นไปด้วยการถึงวิปลาสในสัจจะทั้ง ๒ นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺเข พระเถระได้แสดงอวิชชาไว้ โดยการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน ทั้งโดยฐาน (ที่ตั้ง) โดยอารมณ์ และ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 603

โดยกิจ.

ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขสมุทเย ท่านแสดงไว้โดยฐาน (ที่ตั้ง) โดยอารมณ์ และโดยกิจ.

ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขนิโรเธ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ท่านแสดงไว้โดยกิจ. แต่โดยไม่แตกต่างกันแล้ว อวิชชา พึงทราบว่า ท่านแสดงไว้โดยสภาวะ. ด้วยคําว่า อฺาณํ นี้

ก็กามาสวะ ภวาสวะ ในคําว่า อาสฺวสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยแห่งอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. อวิชชาสวะ พึงทราบว่า ก็อวิชชาที่เกิดขึ้นก่อนโดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่าอวิชชาสวะในคําว่า อาสฺวสมุทยา นี้. อวิชชาสวะนั้นจะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ของอวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละดังนี้แล.

จบ กถาพรรณนาอวิชชาวาระ

กถาพรรณนาอาสววาระ

[๑๓๐] พึงทราบวินิจฉัยในอาสววาระ (ต่อไป) :-

อวิชชาในคําว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจยเป็นต้น ของกามาสวะและภวาสวะ และเป็นปัจจัยแห่งอวิชชาสวะ โดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นแหละ แต่ในคําว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ อวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อๆ มา พึงทราบว่า เป็นอวิชชาสวะ. อวิชชานั่นเองที่เกิดขึ้นในกาลก่อน จะเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอวิชชาสวะที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คําที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 604

วาระนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยการแสดงปัจจัยของอวิชชานี้ ที่เป็นประธานในบทปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย. ด้วยวาระที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ เป็นอันสําเร็จความที่สงสารมีที่สุดเบื้องต้น (เงื่อนต้น) อันใครตามไปไม่รู้แล้ว.

ถามว่า ไม่รู้อย่างไร? แก้ว่า (ไม่รู้อย่างนี้คือ) เพราะว่า การเกิดขึ้นแห่งอวิชชา มีเพราะการเกิดขึ้นแห่งอาสวะ การเกิดขึ้นแห่งอาสวะก็มี แม้เพราะการเกิดขึ้นแห่งอวิชชา อาสวะเป็นปัจจัยของอวิชชา ถึงอวิชชาก็เป็นปัจจัยของอาสวะ เพราะอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ที่สุดเบื้องต้น (เงื่อนต้น) (๑) จึงไม่ปรากฏ ภาวะที่สงสารมีเงื่อนต้นที่ใครตามไปไม่รู้แล้ว เป็นอันสําเร็จแล้ว เพราะเงื่อนต้นของอวิชชานั้นไม่ปรากฏ.

วาระเหล่านั้นทั้งหมดคือ กัมมปถวาระ ๑ อาหารวาระ ๑ ทุกขวาระ ๑ ชรามรณวาระ ๑ ชาติวาระ ๑ ภววาระ ๑ อุปาทานวาระ ๑ ตัณหาวาระ ๑ เวทนาวาระ ๑ ผัสสวาระ ๑ สฬายตนวาระ ๑ นามรูปวาระ ๑ วิญญาณวาระ ๑ สังขารวาระ ๑ อวิชชาวาระ ๑ อาสววาระ ๑ รวม ๑๖ วาระ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วในพระสูตรนี้ ดังที่พรรณนามานี้.

เพราะในจํานวนวาระทั้ง ๑๖ วาระนั้น แต่ละวาระท่านวางไว้ ๒ อย่าง โดยอย่างย่อและอย่างพิสดาร จึงเป็น ๓๒ สถาน. ด้วยเหตุดังนี้ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันพระเถระได้กล่าวสัจจะไว้ ๔ อย่าง ใน ๒๒ สถานเหล่านี้.


(๑) ปาฐะ ปุพฺพา โกฏิ แยกกัน แต่ฉบับพม่าติดกันเป็น ปุพฺพโกฏิ จึงแปลตามที่ไม่แยก.ถ้าแยก ก็ต้องแปลว่า เบื้องต้น เบื้องปลาย...

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 605

พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ ๑๖ สถาน ที่กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง. แต่ตามมติของพระเถระท่านได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๕ และมรรคทั้ง ๔ ไว้ใน ๓๒ สถานเท่านั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕ นิกาย หมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตรที่ประกาศสัจจะ ๔ อย่างไว้ถึง ๓๒ ครั้ง และประกาศอรหัตไว้ถึง ๓๒ ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.

คําว่า อิทมโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ ๖๔ อย่างคือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ ๔ ไว้ ๓๒ อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้ ๓๒ อย่าง.

ภิกษุเหล่านั้น พอใจ ได้พากันชมเชยภาษิตของท่านพระสารีบุตรดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร

จบ สูตรที่ ๙