พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อากังเขยยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36005
อ่าน  892

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 398

๖. อากังเขยยสูตร

ความหวังที่ ๑ หน้า 398

ความหวังที่ ๒ หน้า 398

ความหวังที่ ๓ หน้า 399

ความหวังที่ ๔ หน้า 399

ความหวังที่ ๕ หน้า 399

ความหวังที่ ๖ หน้า 400

ความหวังที่ ๗ หน้า 400

ความหวังที่ ๘ หน้า 400

ความหวังที่ ๙ หน้า 401

ความหวังที่ ๑๐ หน้า 401

ความหวังที่ ๑๑ หน้า 401

ความหวังที่ ๑๒ หน้า 402

ความหวังที่ ๑๓ หน้า 402

ความหวังที่ ๑๔ หน้า 403

ความหวังที่ ๑๕ หน้า 403

ความหวังที่ ๑๖ หน้า 404

ความหวังที่ ๑๗ หน้า 405

อรรถกถาอากังเขยยสูตร หน้า 407

ความถึงพร้อม ๓ อย่าง หน้า 407

ความหมายของศีล หน้า 408

โทษของนา ๔ หน้า 408

ศีลสมบูรณ์ด้วยเหตุ ๒ ประการ หน้า 409

ความหวังที่ ๑ หน้า 412

ความหวังที่ ๒ หน้า 417

ความหวังที่ ๓ หน้า 419

ความหวังที่ ๔ หน้า 420

ความหวังที่ ๕ หน้า 421

ความหวังที่ ๖ หน้า 421

เทวดาไล่พระ หน้า 422

ความหวังที่ ๗ หน้า 423

ความหวังที่ ๘ หน้า 424

ความหวังที่ ๙ หน้า 426

ความหวังที่ ๑๐ หน้า 427

ความหวังที่ ๑๑ หน้า 429

ความหวังที่ ๑๒ หน้า 430

ความหวังที่ ๑๓ หน้า 431


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 17]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 398

๖. อากังเขยยสูตร

[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาฏิโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ ๑

[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรกระทําให้บริบูรณ์ในศีลประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาเพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๒

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 399

ภิกษุนั้นควรกระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๓

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาและมนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลานิสงส์มากดังนี้ ภิกษุนั้นควรกระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๔

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทํากาละไปแล้ว มีจิตใจเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้นพึงมีผลานิสงส์มากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรกระทําให้บริบูรณ์ในศีลประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่างประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๕

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงํา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 400

เราได้เลย เราพึงครอบงํา ย่ํายี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๖

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราจะพึงเป็นผู้ข่มความกลัว และความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงําเราได้เลย เราพึงครอบงํา ย่ํายี ความกลัว และความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีลประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๗

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นกับจิตที่ผ่องใสยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา พึงได้ไม่ยาก ไม่ลําบากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาเพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๘

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้อง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 401

ด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๙

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง (ที่จะตรัสรู้) มีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๐

[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ (และ) เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึงทําที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๑

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 402

อุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิดดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๒

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธิหลายประการ คือคนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทําให้ปรากฏก็ได้ ทําให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากําแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดําลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำ ไม่แตกแยก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของคน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๓

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 403

เป็นผู้การทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๔

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจึงพึงหวังว่า เราพึงกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะจิตมีจิตอันยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๕

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 404

สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๖

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาจะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 405

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

ความหวังที่ ๑๗

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทําให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทําฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.

คําใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาฏิโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สํารวมด้วยความสํารวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คํานั้น อันเราอาศัยอํานาจประโยชน์

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 406

จึงได้กล่าวแล้วฉะนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ อากังเขยยสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 407

อรรถกถาอากังเขยยสูตร

[๗๓] อากังเขยยสูตร มีคําขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า ความถึงพร้อม มี ๓ อย่าง คือ ความบริบูรณ์ ความพรั่งพร้อม และความหวาน.

ความถึงพร้อม ๓ อย่าง

บรรดาความถึงพร้อมทั้ง ๓ อย่างนั้น ความถึงพร้อมที่มาแล้วว่า

ดูก่อนโกสิยะ นกแขกเต้าทั้งหลาย ย่อมบริโภครวงข้าวสาลีที่สมบูรณ์แล้ว ดูก่อนพราหมณ์ เราขอบอกท่านว่า เราไม่สามารถห้ามนกแขกเต้านั้นได้ ดังนี้

นี้ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์.

ความถึงพร้อมนี้ว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปใกล้แล้ว เข้าไปใกล้พร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว สมบูรณ์แล้ว ประกอบแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ดังนี้ ชื่อว่าความถึงพร้อมคือการพรั่งพร้อม.

ความถึงพร้อมนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นต่ําสุดแห่งมหาปฐพีนี้มีรสหวาน น่าชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีโทษ (ขี้ง้วน) เจือปนฉะนั้น ดังนี้ ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความหวาน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 408

แต่ในสูตรนี้ควรได้แก่ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์บ้าง ความถึงพร้อมคือความพรั่งพร้อมบ้าง เพราะฉะนั้น ในบทว่า สมฺปนฺนสีลาพึงทราบความอย่างนี้ว่า

บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ดังนี้บ้าง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีล ดังนี้บ้าง.

ความหมายของศีล

บทว่า สีลํ ความว่า ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร. ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ.

ข้อความโดยพิสดารของบทว่าศีลนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรค. แม้ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยอรรถนี้ว่า ปริปุณฺณสีลา นี้เป็นอันได้กล่าวความบริบูรณ์ของศีลไว้แล้ว เพราะปราศจากโทษของศีล เหมือนท่านกล่าวความบริบูรณ์ของนาไว้ เพราะปราศจากโทษของนาฉะนั้น.

โทษของนา ๔

เหมือนอย่างว่า นาที่ประกอบด้วยโทษ ๔ อย่าง คือพืชเสีย ๑ การหว่านไม่ดี ๑ น้ำไม่ดี ๑ ที่ดินไม่ดี ๑ ย่อมเป็นนาที่บริบูรณ์ไม่ได้.

บรรดาโทษ ๔ อย่างนั้น พืชที่หัก หรือเน่าในระหว่างๆ มีอยู่ในนาใด นานั้นชื่อว่านามีพืชเสีย.

ชนทั้งหลายหว่านพืชเหล่านั้นลงในนาใด ข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้นในนานั้น นาก็จัดว่าเป็นนาที่เสีย.

ชาวนาผู้ไม่ฉลาด เมื่อหว่านพืช ย่อมหว่านให้ตกไปเป็นหย่อมๆ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 409

ในนาใด นานั้นชื่อว่ามีการหว่านเสีย. เพราะเมื่อหว่านอย่างนี้ ข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้นทั่วทุกแห่ง ที่นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย.

ในนาลางแห่งมีน้ำมากเกินไป หรือไม่มีเลย นานั้นชื่อว่าขาดน้ำเพราะว่ากล้าจะไม่งอกขึ้น แม้ในนานั้น นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย. ในบางท้องถิ่น ชาวนาเอาไถไถพื้นที่ถึง ๔ - ๕ ครั้ง ให้พื้นที่ลึกเกินไป ต่อแต่นั้นดินจะเกิดเค็ม นานั้นชื่อว่านามีดินเสีย. เพราะว่า ในนาที่เสียนั้นข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้น นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย. และนาเช่นนั้น จะไม่มีผลิตผลมาก เพราะว่า แม้ในนานั้น ถึงจะหว่านพืชลงไปมากก็ได้รับผลน้อย.

แต่ว่า นาที่จัดว่าเป็นนาบริบูรณ์ เพราะปราศจากโทษ ๔ อย่างเหล่านี้. และนาเช่นนั้น จัดเป็นนาที่มีผลิตผลมาก ฉันใด ศีลซึ่งประกอบด้วยโทษ ๔ อย่าง คือ ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย จะจัดเป็นศีลที่บริบูรณ์ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน. และศีลเช่นนั้น เป็นศีลหามีผลานิสงส์มากไม่. แต่ศีลจะจัดว่าเป็นศีลที่บริบูรณ์ได้ ก็เพราะปราศจากโทษ ๔ อย่างเหล่านี้. ก็ศีลเช่นนั้นจัดว่าเป็นศีลที่มีผลานิสงส์มาก.

ศีลสมบูรณ์ด้วยเหตุ ๒ ประการ

ก็ด้วยอรรถนี้ว่า สีลสมงฺคิโน เป็นอันท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้พร้อมเพรียง คือเป็นผู้ถึงความพรั่งพร้อม ได้แก่ประกอบด้วยศีลอยู่เถิด ดังนี้.

ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา นั้น ความเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมย่อมมีได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะการเห็นโทษในการวิบัติแห่งศีล ๑

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 410

เพราะเห็นอานิสงส์ในการถึงพร้อมแห่งศีล ๑.

คุณชาติทั้ง ๒ อย่างนี้ ท่านได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค.

พระสุมนเถระชาวทีปวิหาร กล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกจตุปาริสุทธิศีลขึ้นแสดง ด้วยพระดํารัสมีประมาณเท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลา ในบรรดาบทเหล่านั้น แล้วทรงแสดงศีลที่เป็นประธานในบรรดาศีลเหล่านั้น อย่างพิสดาร ด้วยบทนี้ว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา ดังนี้.

ส่วนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพระสุมนเถระนั้น กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลไว้ในบาลีประเทศถึง ๒ แห่ง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้น ชื่อว่าศีล (แต่อาคต) สถานที่กล่าวรับรองไว้ว่า ศีล ๓ อย่างนอกนี้ที่เป็นศีลก็มีอยู่ ท่านเมื่อไม่เห็นด้วยจึงกล่าวแย้งไว้แล้ว กล่าว (ต่อไป) ว่า คุณ เพียงแต่การรักษาทวารทั้ง ๖ ก็ชื่อว่า อินทรียสังวร คุณ เพียงแต่การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยโดยธรรมโดยสม่ําเสมอ ก็ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิ คุณ เพียงแต่การพิจารณาปัจจัยที่ตนได้แล้วว่า สิ่งนี้มีอยู่ ดังนี้แล้ว จึงบริโภค ก็ชื่อว่าปัจจัยสันนิสสิตศีล.

แต่ว่าโดยตรง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นของผู้ใดขาดแล้ว ผู้นั้นใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า ผู้นี้จักรักษาศีลที่เหลือไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะขาดแล้วก็ไม่อาจที่จะรักษามือและเท้าไว้ได้ฉะนั้น. แต่ว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ของผู้ใด ไม่ด่างพร้อย ผู้นี้นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีลที่เหลือให้ดํารงอยู่ตามปกติได้ เปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 411

บุรุษผู้มีศีรษะไม่ขาดก็อาจรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยกปาฏิโมกขสังวรศีลขึ้นแสดงด้วยบทว่า สมฺปนฺนสีลาดังนี้แล้ว ตรัสคําที่เป็นไวพจน์ของคําว่า สมฺปนฺนสีลา นั้นว่าสมฺปนฺนปาฏิโมกฺขา ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงคําที่เป็นไวพจน์กันนั้นให้พิสดาร จึงตรัสคําเป็นต้นว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา ความว่าประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล.

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร.

บทว่า อณุมตฺเตสุ แปลว่า มีประมาณนิดหน่อย.

บทว่า วชฺเชสุ คือ ในธรรมฝ่ายอกุศลทั้งหลาย.

บทว่า ภยทสฺสาวี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นภัย.

บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอาด้วยดี.

บทว่า สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า พวกเธอจงยึดถือเอาสิกขาบทนั้นด้วยดีแล้วศึกษาเถิด.

อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สมาทาย สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ นี้ มีความย่อว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไปทางกายหรือทางวาจาก็ตามที ควรศึกษาในสิกขาบท คือในส่วนของสิกขาบทพวกเธอจงถือเอาสิ่งนั้นทั้งหมดด้วยดีแล้วศึกษาเถิด.

ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรา เป็นต้น ทั้งหมดเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรคอย่างพิสดาร.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 412

ความหวังที่ ๑

[๗๔] ถามว่า คําว่า อากงฺเขยฺย เจ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มไว้เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ของศีล.

ก็แม้ถ้าคนผู้บวชไม่นาน หรือคนผู้มีปัญญาทราม พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงบําเพ็ญศีล พวกเธอจงบําเพ็ญศีล ดังนี้ อะไรหนอแล เป็นอานิสงส์ อะไรเป็นข้อแตกต่าง อะไรเป็นความเจริญในการบําเพ็ญศีล ดังนี้. เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ ๑๗ ประการ แก่ภิกษุผู้บวชไม่นานเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ชื่อแม้ไฉน ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังอานิสงส์ซึ่งมีความเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเป็นเบื้องต้น มีการสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุดนั้นแล้ว จักบําเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ เหมือนพ่อค้าขายน้ำอ้อยงบฉะนั้น. ธรรมดาพ่อค้าขายน้ำอ้อยงบท่านเรียกว่า พ่อค้าน้ำอ้อย.

เล่ากันมาว่า พ่อค้านั้นเอาเกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ไปแถบชายแดน แล้วโฆษณาว่า พวกท่านจงซื้อยาพิษและหนาม พวกท่านจงซื้อยาพิษและหนาม ดังนี้. พวกชาวบ้านได้ฟังคํานั้นก็คิดว่า ธรรมดาว่า ยาพิษเป็นของร้ายแรง ผู้ใดกินมันเข้าไป เขาผู้นั้นก็ต้องตาย แม้หนามทิ่มแทงแล้วย่อมทําคนเราให้ตายได้ สิ่งของทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นของร้ายแรง จะมีอานิสงส์อะไรในการซื้อนี้ ดังนี้แล้ว ก็ปิดประตูเรือนและไล่เด็กให้หนีไป. พ่อค้าเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่า ชาวบ้าน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 413

เหล่านี้เป็นผู้ไม่ฉลาดในการค้าขาย เอาเถิด เราจะใช้อุบายให้ชาวบ้านเหล่านั้นซื้อ ดังนี้. จึงร้องขายไปว่า ท่านจงซื้อของหวาน ท่านจงซื้อเอาของดี ท่านจะได้น้ำอ้อยงบ น้ำตาลกรวด ที่มีราคาดี พวกท่านจะซื้อได้ด้วยมาสกปลอมและกหาปณะปลอมราคาเยา ดังนี้. พวกชาวบ้านได้ฟ้งคํานั้นเข้า ต่างร่าเริงยินดีพากันไปให้ราคาแม้แพงแล้วรับเอาของนั้นไป.

พระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าในคํานั้นว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว วิหรถ ฯลฯ สมาทาย สิกฺขาปเทสุ นั้น ก็เหมือนกับคําโฆษณาของพ่อค้าที่ว่า วิสกณฺฏกํ คณฺหถ สิกฺขถ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์อยู่เถิดดังนี้ พวกภิกษุย่อมคิดว่า ธรรมดาว่า ศีลนี้ เป็นของกระด้าง เป็นข้าศึกต่อการหัวเราะ และการเล่นเป็นต้น จะมีอานิสงส์อะไรบ้างหนอแก่เหล่าภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ดังนี้ ก็เหมือนกับพวกชาวบ้านมีความคิดว่ายาพิษและหนาม เป็นของหยาบ จะมีอานิสงส์อะไรในการชื่อยาพิษเป็นต้นฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงทราบพระดํารัสเบื้องต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อากงฺเขยฺย เจ ดังนี้ เป็นประโยชน์แก่การประกาศอานิสงส์ ๑๗ ประการ ซึ่งมีความเป็นที่รักที่ชอบใจเป็นต้น มีความสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด เหมือนคําขึ้นต้นของพ่อค้านั้นว่า ท่านจงซื้อเอาของอร่อย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากงฺเขยฺย เจ ความว่า ถ้าเธอพึงหวัง คือถ้าเธอพึงปรารถนา.

บทว่า ปิโย จ อสฺสํ ความว่า เราพึงเป็นผู้อันบุคคลอื่นพึงมองดูด้วยจักษุอันเป็นที่รัก อธิบายว่า เราพึงเป็นผู้เป็นปทัฏฐานแห่งการ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 414

บังเกิดขึ้นแห่งความรัก ดังนี้.

บทว่า มนาโป ความว่า เราพึงเป็นผู้เจริญใจของชนเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เราพึงเป็นผู้ต้องใจของชนเหล่านั้น คือพึงใช้ชนเหล่านั้นแผ่เมตตาจิตไป.

บทว่า ครุ ความว่า เราพึงเป็นที่ตระหนักของชนเหล่านั้นเช่นเดียวกับฉัตร.

บทว่า ภาวนีโย ความว่า เราพึงเป็นผู้อันชนเหล่านั้นพึงยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านรูปนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริง เมื่อเห็นก็เห็นจริงแน่แท้ ดังนี้.

บทว่า สีเลเสฺวสฺส ปริปูริการี ความว่า พึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล อธิบายว่า พึงประกอบด้วยอาการที่ทําให้บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง.

บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต ความว่า เป็นผู้ประกอบในการฝึกจิตของตน.

เพราะคําว่า อชฺฌตฺตํ หรือ อตฺตโน ในคําว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต นี้ เป็นอย่างเดียว (๑) กัน คือมีอรรถอย่างเดียวกัน. ต่างกันที่พยัญชนะเท่านั้น.

บทว่า สมถํ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ด้วยบทอุปสัคนี้ว่า อนุ ก็เป็นอันสําเร็จในการประกอบความได้.

บทว่า อนิรากตซฺฌาโน ความว่า ผู้มีฌานอันอะไรๆ นําออกไปภายนอกไม่ได้ หรือมีฌานอันอะไรๆ ทําให้เสื่อมมิได้แล้ว. ความจริงชื่อว่า นิรากรณะนี้ ใช้ในความหมายว่า นําออกไป และทําให้พินาศ. ก็พึงเห็นการประกอบความของนิรากรณะนั้น ดังในประโยคเป็นต้นว่า


(๑) ปาฐะ เป็น เอตํ แต่ฉบับพม่าเป็น เอกํ จึงแปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 415

บุคคลควรขจัดความกระด้างเสียแล้ว พึงเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตนดังนี้.

บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง. ธรรมดาอนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา. อนุปัสสนาเหล่านั้น ได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเศษชื่อ วิสุทธิมรรค.

บทว่า พฺรูเหตา สุฺาคารานํ ความว่า เป็นผู้ยังสุญญาคารให้เจริญ.

ก็ในบทว่า พฺรูเหตา สุฺาคารานํ นี้ ภิกษุเรียนเอากัมมัฏฐานด้วยอํานาจสมถะ และวิปัสสนา แล้วเข้าไปนั่งยังเรือนว่างตลอดวันและคืน พึงทราบว่า เป็นผู้เจริญสุญญาคาร ส่วนภิกษุแม้กระทําความเพียรในปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น ไม่พึงเห็นว่าเป็นผู้เจริญสุญญาคารเลย.

ก็ด้วยคําเพียงเท่านี้ เทศนานี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วยสามารถการยกอธิศีลสิกขานั้นแสดงก่อนก็ตาม ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่นับเนื่องในไตรสิกขาโดยลําดับ เพราะรวมสมถะและวิปัสสนาเข้าด้วยกัน เหตุที่สมถะและวิปัสสนามีศีลเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับการเทศนาธรรมที่เป็นข้าศึกของตัณหา แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วยสามารถการยกตัณหาขึ้นแสดงก่อน ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่นับเข้าในหมวด ๓ แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าโดยลําดับ เพราะรวมมานะและทิฏฐิเข้าด้วยกัน เหตุที่มานะและทิฏฐิมีตัณหาเป็นปทัฏฐาน.

ก็ในบรรดาคําเหล่านั้น ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า สีเลเสฺววสฺส ปริปูริการี เป็นอันตรัสอธิศีลสิกขาไว้.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 416

ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า อชฺณตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต อนิรากตชฺฌาโน เป็นอันตรัสอธิจิตตสิกขาไว้.

ด้วยคําเพียงเท่านี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต เป็นอันตรัสอธิปัญญาสิกขาไว้.

ก็ด้วยบทว่า พฺรูเหตา สุฺาคารานํ นี้ เป็นอันตรัสรวมสิกขาแม้ทั้ง ๒ อย่าง อย่างนี้คือ อธิจิตตสิกขา ในการเจริญสุญญาคาร ด้วยอํานาจสมถะ อธิปัญญาสิกขา ด้วยอํานาจวิปัสสนา.

ก็ในที่นี้ ด้วยบทเหล่านี้ว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต อนิรากตชฺฌาโน พระองค์ตรัสถึงความที่จิตเป็นเอกัคคตาว่า อนุรักษ์ศีลไว้ได้ทีเดียว.

ด้วยบทว่า วิปสฺสนาย นี้ พระองค์ตรัสการกําหนดสังขารว่าอนุรักษ์ศีลไว้ได้.

ถามว่า ความที่จิตเป็นเอกัคคตาจะอนุรักษ์ศีลไว้ได้อย่างไร?

ตอบว่า ก็ผู้ใดไม่มีจิตเป็นเอกัคคตา ผู้นั้นเมื่อพยาธิเกิดขึ้น ย่อมเดือดร้อน. เขาถูกพยาธิรบกวนกระวนกระวายถึงต้องให้ศีลขาด จึงจะกระทําพยาธินั้นให้สงบไปได้ ส่วนผู้ใดมีจิตเป็นเอกัคคตา ผู้นั้นข่มพยาธิทุกข์ไว้ได้ เข้าสมาบัติ ในขณะที่เขาเข้าสมาบัติ ทุกข์ย่อมปราศไป ความสุขซึ่งมีกําลังมากกว่าจะเกิดขึ้น. ความที่จิตเป็นเอกัคคตา ย่อมอนุรักษ์ศีลได้ ด้วยประการอย่างนี้.

ถามว่า การกําหนดสังขาร ย่อมตามอนุรักษ์ศีลได้อย่างไร?

ตอบว่า ก็ผู้ใดไม่มีการกําหนดสังขาร ผู้นั้นย่อมมีความรักอย่างรุนแรงในอัตภาพว่า รูปของเรา วิญญาณของเรา ดังนี้. ผู้นั้น เมื่อเผชิญ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 417

ทุพภิกขภัย และพยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ย่อมทําลายศีลแล้วถนอมอัตภาพไว้. ส่วนผู้ใด มีการกําหนดสังขาร ผู้นั้น ย่อมไม่มีความรักอย่างรุนแรง หรือความเสน่หาในอัตภาพ ก็เมื่อเขาเผชิญทุพภิกขภัย และพยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ถึงแม้ว่าไส้ใหญ่ของเขาจะไหลออกมาข้างนอก ถ้าหากว่าเขาจะซูบผอม ซูบซีด หรือขาดออกเป็นท่อนๆ ตั้งร้อยท่อน พันท่อน เขาก็จะไม่ทําลายศีลแล้วถนอมอัตภาพไว้เลย. การกําหนดสังขาร ย่อมอนุรักษ์ศีลได้อย่างนี้. ก็ด้วยบทว่า พฺรูเหตา สูฺาคารานํนี้พระองค์ทรงแสดงการเพิ่มพูนการเจริญและการทําโดยติดต่อ ซึ่งเหตุทั้ง ๒ อย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะภิกษุผู้หวังคุณธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ไม่มีกิจที่จะต้องทําอะไรอื่น (แต่) พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นโดยแท้ เพราะว่าภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ชนย่อมทําบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวคําจริง ผู้ทําการงานของตน ให้เป็นที่รัก ดังนี้.

ความหวังที่ ๒

[๗๕] เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 418

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นที่ชอบใจของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ เธอพึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เธอพึงเพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุปรารถนาปัจจัยมีลาภเป็นต้น พึงทํากิจนี้อย่างเดียว ไม่พึงทํากิจอะไรๆ อื่นจากนี้ฉะนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีลาภ ดังนี้เป็นต้น.

ก็ในที่นี้ อย่าพึงเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบําเพ็ญศีลเป็นต้น ซึ่งมีลาภเป็นนิมิตไว้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสปฏิเสธการแสวงหาลาภ ไม่ตรัสพระวาจาที่พาดพิงถึง (ลาภ) ทรงโอวาทแก่เหล่าพระสาวกอย่างนี้. พระองค์จักตรัสการบําเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ซึ่งมีลาภเป็นนิมิตได้อย่างไร.

แต่ว่าคํานั้นพระองค์ตรัสไว้ด้วยอํานาจอัธยาศัยของบุคคล. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดพึงมีอัธยาศัยอย่างนี้ว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องลําบากด้วยปัจจัย ๔ ไซร้ เราอาจเพื่อจะบําเพ็ญศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยสามารถอัธยาศัยของชนทั้งหลายเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปัจจัย ๔ นี้นั้น เป็นอานิสงส์ที่แท้จริงของศีล.จริงอย่างนั้น มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายนําสิ่งของที่คนเก็บไว้ในฉางเป็นต้นออกมา ทั้งบุตรเป็นต้นก็ไม่ให้ ทั้งตนเองก็มิได้ใช้สอย แต่มอบถวายแก่ท่านผู้มีศีล คําดังกล่าวมานี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงอานิสงส์ที่แท้จริงของศีล.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 419

ความหวังที่ ๓

[๗๖] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๓ ต่อไป

บทว่า เยสาหํ ตัดบทเป็น เยสํ อหํ

บทว่า เตสนฺเต การา ความว่า สักการะคือการถวายปัจจัยเหล่านั้น เทวดาหรือมนุษย์ได้ทําแล้วในตัวเรา ความจริง เทวดาทั้งหลายย่อมถวายปัจจัยแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น จะมีเฉพาะมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้, ดังที่ท้าวสักกเทวราชได้ถวายแก่ท่านมหากัสสปะ.

คําทั้ง ๒ นี้ว่า มหปฺผลา มหานิสํสา โดยเนื้อความแล้วมีความหมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น. สักการะที่ชื่อว่ามีผลมาก เพราะผลิตโลกิยสุขอย่างมากมายให้. ชื่อว่ามีอานิสงส์มาก เพราะเป็นปัจจัยของโลกุตตรสุขอย่างใหญ่หลวง. ความจริง ภิกษาทัพพีเดียวก็ดี บรรณศาลาที่พื้นดินยาวประมาณ ๕ ศอกก็ดี ที่บุคคลทําถวายแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมรักษาเขาไว้ได้จากทุคติ วินิบาต เป็นเวลาหลายแสนกัลป. และในบั้นปลายยังเป็นปัจจัยแห่งการดับรอบด้วยอมตธาตุ. ก็ในเรื่องนี้มีเรื่องเป็นต้นว่า เราได้ถวายน้ำนมและข้าวสุกเป็นต้น หรือมีเปตวัตถุและวิมานวัตถุทั้งมวล เป็นเครื่องสาธก. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ภิกษุแม้ปรารถนาที่จะให้ความที่สักการะที่ผู้ถวายปัจจัยในตนนั้นมีผลมาก พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นนั้นแล.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 420

ความหวังที่ ๔

[๗๗] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๔ ต่อไป

หมู่ชนผู้เกี่ยวข้องข้างฝ่ายพ่อผัวแม่ผัว ชื่อว่า ญาติ. บิดาและปู่เป็นต้น ผู้เกี่ยวเนื่องโดยสายโลหิตเดียวกัน ชื่อว่า ญาติสาโลหิต.

ผู้ถึงความเป็นผู้ละไปแล้ว ชื่อว่า เปตะ.

บทว่า กาลกตา แปลว่า ตายแล้ว.

บทว่า เตสนฺตํ ความว่า ความที่ชนเหล่านั้นมีจิตเลื่อมใสในเราหรือการระลึกถึงเราด้วยจิตเลื่อมใสนั้น ของชนเหล่านั้น. ความจริงบิดาหรือมารดาของภิกษุรูปใดตายไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสย่อมระลึกถึงภิกษุนั้นว่า พระเถระผู้มีศีล มีธรรมอันงามนี้เป็นญาติของพวกเรา ดังนี้ ความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น ของเขานั้นก็ดี เหตุสักว่าการระลึกถึงนั้นก็ดี มีผลมีอานิสงส์มาก.

เหตุสักว่าการระลึกถึงนั้นเป็นธรรมชาติที่สามารถเพื่อจะยังหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นจากทุคคติ ตลอดหลายแสนกัป และให้ถึงอมตมหานิพพานในที่สุดนั้นแล. สมจริงดังพระดํารัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นใด สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วยปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวการเห็น การฟัง การระลึกถึง การบวชตาม การเข้าไปหา การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น ว่ามีอุปการะมาก ดังนี้ เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงแสดงว่า ภิกษุแม้ปรารถนาซึ่งความเลื่อมใสแห่งจิตในตนและการระลึกถึง (ตน) ญาติ และสายโลหิตทั้งหลาย จะให้มีผลมาก

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 421

พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นนั้นแล.

ความหวังที่ ๕

[๗๘] พึงทรงวินิจฉัยในวาระที่ ๕ ต่อไป

บทว่า อรติรติสโห อสฺสํ ความว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อความยินร้ายและความยินดี คือพึงเป็นผู้ถูกความยินร้ายเป็นต้น ครอบงําท่วมทับ.

ก็ในคําว่า อรติรติสโห นี้ ความเบื่อหน่ายในธรรมที่เป็นกุศลอันยิ่ง (และ) ในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่า อรติ ความยินดีในกามคุณ ๕ ชื่อว่า รติ.

บทว่า น จ มํ อรติ สเหยฺย ความว่า ก็ความยินร้าย พึงครอบงํา คือย่ํายี ได้แก่ท่วมทับเราไม่ได้.

บทว่า อุปฺปนฺนํ ความว่าเกิดแล้วคือ บังเกิดขึ้นแล้ว.

เพราะว่าภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมอดกลั้น คือครอบงํา ได้แก่ย่ํายีซึ่งความยินร้ายและความยินดีได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ว่า ภิกษุแม้ปรารถนาจะให้ตนเป็นเช่นนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

ความหวังที่ ๖

[๗๙] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๖ ต่อไป

ความสะดุ้งของจิตก็ดี อารมณ์ก็ดี ชื่อว่าภัย (ความกลัว) อารมณ์นั้นเอง ชื่อว่า เภรวะ (ความขลาด). คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 422

วาระที่ ๕.

ความจริง ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมอดกลั้น คือย่อมครอบงํา ได้แก่ย่อมย่ํายีความกลัวและความขลาดนั้นตั้งอยู่ เหมือนพระมหาทัตตเถระชาวอริยโกฏิยวิหาร.

เทวดาไล่พระ

ได้ยินว่า พระเถระดําเนินไปในหนทาง ได้พบราวป่าอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแห่งใดแห่งหนึ่ง จึงคิดว่า วันนี้ เราจักบําเพ็ญสมณธรรมในที่นี้แล้วจึงจะไป ดังนี้แล้ว จึงออกไปจากทางปูลาดผ้าสังฆาฏิแล้วนั่งขัดสมาธิใกล้โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง.

เด็กๆ ของรุกขเทวดา ไม่สามารถที่จะดํารงอยู่ตามสภาวะของตนได้ ด้วยเดชแห่งศีลของพระเถระ จึงร้องจ้าขึ้น. แม้เทวดาเองก็เขย่าต้นไม้ทุกต้น พระเถระนั่งไม่ไหวติง เทวดานั้นจึงบังหวนควันให้ไฟลุกโพลงขึ้น (แม้ถึงอย่างนั้น) ก็ไม่สามารถที่จะทําให้พระเถระไหวติงได้.

ต่อแต่นั้นเทวดาจึงแปลงเพศเป็นอุบาสก เดินมาไหว้พระเถระแล้วได้ยืนอยู่ ถูกพระเถระถามว่าใครนั่น จึงได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นเทวดาที่สถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ พระเถระถามว่า ท่านได้ทําสิ่งประหลาดนั้นหรือ? เทวดาตอบว่า ใช่ครับ. ก็เทวดานั้น พอถูกพระเถระถามว่าเพราะเหตุไรท่านจึงทํา? จึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ด้วยเดชแห่งศีลของท่านนั้นแล พวกเด็กๆ ไม่สามารถที่จะดํารงอยู่ตามภาวะของตนได้ จึงได้พากันส่งเสียงร้องจ้า กระผมนั้นได้ทําอย่างนี้เพื่อ (ประสงค์) จะให้ท่านหนีไปเสีย. พระเถระถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึง

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 423

(ประสงค์) จะให้เราหนีไป? เทวดาตอบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าอยู่ในที่นี้เลย. กระผมไม่มีความสุขเลยดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ท่านทําไมไม่บอกเราก่อน แต่บัดนี้ท่านอย่าพูดอะไรเลย เรารู้สึกละอายต่อถ้อยคําที่คนจะพูดว่า พระอริยโกฏิยมหาทัตตะ หลีกหนีไป เพราะกลัวต่ออมนุษย์ ฉะนั้น เราจะอยู่ในที่นี้แหละ แต่ในวันนี้เพียงวันเดียว ท่านจงอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง (ก่อน) เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ ฉะนั้น ภิกษุแม้ปรารถนาให้ตนเป็นเช่นนี้ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ดังนี้.

ความหวังที่ ๗

[๘๐] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๗ ต่อไป

จิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิต ในคําว่า อาภิเจตสิกานํ. อีกอย่างหนึ่ง จิตอันยิ่ง พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิต,ฌานทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นในอภิจิต ชื่ออาภิเจตสิก อีกอย่างหนึ่ง ฌานทั้งหลาย อันอาศัยอภิจิต ฉะนั้น ฌานทั้งหลายเหล่านั้นจึงชื่อว่า อาภิเจตสิก.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารานํ ความว่า ซึ่งการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. อัตภาพที่เห็นได้ โดยประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม อธิบายว่าเป็นการอยู่อย่างเป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น.

คําว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารานํ เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน. ความจริง

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 424

ชนทั้งหลายนั่งเพ่งฌานนั้นอย่างแน่วแน่ ย่อมประสบเนกขัมมสุขอันไม่เศร้าหมองในอัตภาพนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีปกติอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.

บทว่า นิกามลาภี ความว่า เป็นผู้ได้ตามความประสงค์ คือเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาของตน อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจะเข้าฌานได้ในขณะที่ตนปรารถนาๆ.

บทว่า อกิจฺฉลาภี มีอธิบายว่า เป็นผู้สามารถเพื่อจะข่มธรรมที่เป็นข้าศึกแล้วเข้าฌานได้โดยสะดวก.

บทว่า อกสิรลาภี ความว่า เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก คืออย่างสะดวกสบาย อธิบายว่า เป็นผู้สามารถเพื่อจะออกได้ในเวลาตามที่กําหนดไว้นั้นเอง. เป็นความจริง ภิกษุลางรูปเป็นผู้ได้ฌาน แต่ไม่อาจจะเข้าฌานได้ในขณะที่ตนต้องการได้. ลางรูปสามารถที่จะเข้าในขณะที่ตนปรารถนาได้แต่ข่มธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวสีได้ยาก. ลางรูปย่อมเข้าได้ในขณะที่ตนต้องการ และข่มธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวสีได้โดยไม่ยาก แต่ไม่สามารถเพื่อจะออกในขณะที่ตนกําหนดไว้ได้ เหมือนนาฬิกาเครื่องจักร. ก็ผู้ใดปรารถนาความพร้อมมูลทั้ง ๓ อย่างนี้ ผู้นั้นพึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายแท้.

ความหวังที่ ๘

[๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ซึ่งเป็นบาทของอภิญญาอย่างนี้แล้ว ก็มาถึงวาระของอภิญญาแม้โดยแท้ แต่ถึงกระนั้นพระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 425

พระภาคเจ้าก็มิได้ทรงถือเอาอภิญญานั้น เพื่อจะทรงรวมแสดงธรรมทั้งหมดนั้น เพราะว่าไม่เพียงแต่ฌานซึ่งเป็นบาทของอภิญญา และอภิญญาอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นอานิสงส์ของศีล ที่แท้ อรูปฌานทั้ง ๔ และอริยมรรคทั้ง ๓ ข้างต้น ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน ฉะนั้น จึงตรัสคํามีอาทิว่า อากงฺเขยฺย เจ ฯลฯ เย เต สนฺตา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตา ความว่า วิโมกข์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นธรรมชาติสงบ เพราะมีองค์สงบ และเพราะมีอารมณ์สงบ.

บทว่า วิโมกฺขา ความว่า วิโมกข์ทั้งหลาย ชื่อว่าสงบ เพราะหลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก และเพราะน้อมไปในอารมณ์.

บทว่า อติกฺกมฺม รูเป ความว่า ก้าวล่วงเสียซึ่งรูปาวจรฌาน เชื่อมบทว่า วิโมกข์จะชื่อว่าสงบได้ เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌาน ดังนี้.

ความจริง เมื่อจะกล่าวโดยประการอื่น วิโมกข์ทั้งหลาย ก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว ก็ไม่พึงปรากฏว่ากระทําอะไร.

บทว่า อารุปฺปา ความว่า เว้นขาดจากรูปทั้งโดยอารมณ์ และโดยวิบาก.

บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า ถูกต้องนามกาย อธิบายว่าบรรลุ ได้แก่ถึงทับแล้ว.

คําที่เหลือ มีเนื้อความชัดแล้ว มีคําอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุรูปใดประสงค์จะถูกต้องวิโมกข์แล้วอยู่ แม้ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายแท้ ฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 426

ความหวังที่ ๙

[๘๒] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๙ ต่อไป

บทว่า ติณฺณํ สํโยชนานํ ความว่า แห่งเครื่องผูก ๓ อย่าง คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส. ความจริง เครื่องผูกเหล่านั้นย่อมประกอบขันธ์ คติ และภพ เป็นต้น เข้ากับขันธ์ คติ และภพเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมประกอบกรรมเข้ากับผล ฉะนั้น เครื่องผูกเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า สังโยชน์ อธิบายว่า เครื่องผูก

บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า เพราะการสิ้นไปรอบ.

บทว่า โสตาปนฺโน ได้แก่ผู้ถึงกระแส. ก็คําว่า โสตา นั้นเป็นชื่อของมรรค. คําว่า โสตาปนฺโน เป็นชื่อของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สารีบุตร ที่เรากล่าวคําว่า โสโต โสโต ดังนี้ สารีบุตร กระแสได้แก่อะไร?

พระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กระแสนั้นแล ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

สารีบุตรก็ที่เรากล่าวว่า โสตาปนฺโน โสตาปนฺโน ดังนี้ สารีบุตร พระโสดาบันได้แก่บุคคลเช่นไร?

พระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ พระองค์ตรัสเรียกว่า เป็นพระโสดาบันนั้น มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ฉะนี้แล. แต่ในที่นี้ ผลได้ชื่อตามมรรค ฉะนั้นบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล พึงทราบว่าเป็นพระโสดาบัน.

บทว่า อวินิปาตธมฺโม มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า วินิบาต

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 427

เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว ที่ชื่อว่า อวินิปาตธรรมเพราะเป็นธรรมที่ไม่ยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว อธิบายว่า เป็นธรรมที่ไม่ยังตนให้ตกไปในอบายทั้งหลายเป็นสภาพ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะธรรมซึ่งมีการยังสัตว์ให้ตกไปในอบายเหล่านั้น ท่านละได้แล้ว.

ปัญญาเครื่องตรัสรู้. เป็นที่ไปข้างหน้า คือเป็นคติของพระโสดาบันนั้น ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่ามีปัญญาเครื่องตรัสรู้ เป็นที่ไปข้างหน้า อธิบายว่า เป็นผู้บรรลุมรรค ๓ เบื้องสูงแน่นอน.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะท่านได้โสดาปัตติมรรคแล้ว.

บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ผู้ประสงค์จะให้ตนเป็นเช่นนี้พึงเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ ๑๐

[๘๓] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๐ ต่อไป

สังโยชน์ ๓ ที่พระโยคาวจรละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็กล่าวไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนาสกทาคามิมรรค.

บทว่า ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา ความว่า เพราะภาวะที่ราคะ โทสะ โมหะ เหล่านั้นเป็นสภาพเบาบาง อธิบายว่า เพราะกระทํา ราคะ โทสะ โมหะ เหล่านั้นให้เบาบางลง.

ในคํานั้นพึงทราบความที่ราคะเป็นต้นนั้น เป็นธรรมชาติเบาบางก็

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 428

ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ เพราะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและเพราะปริยุฏฐานกิเลสมีกําลังอ่อน. ความจริงกิเลสทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามีเนืองๆ เหมือนบังเกิดแก่มหาชนผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ. ย่อมเกิดขึ้นเป็นช่วงห่างๆ ในกาลบางคราวเหมือนหน่อพืชในนาที่ปลูกไว้ห่างๆ และแม้เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เกิดขึ้นย่ํายี แผ่ซ่าน ปกปิด กระทําความมืดมนอนธการ เหมือนเกิดแก่มหาชนผู้เวียนว่ายในวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นเบาบางคือเป็นธรรมชาติเบาบางเกิดขึ้น เหมือนชั้นแห่งเมฆหมอก (ที่บางขึ้นตามลําดับ) และเหมือนแมลงเคล้าคลึงกลีบดอกไม้ (ไม่ย่ํายีให้ช้ำ) ฉะนั้น.

ในเรื่องนั้น พระเถระบางพวกได้กล่าวไว้ว่า กิเลสทั้งหลาย ต่อกาลนานจึงเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามีก็จริง ถึงกระนั้นก็เกิดขึ้นอย่างหนาแน่น เพราะท่านยังมีบุตรธิดาอยู่. แต่คํานั้นไม่เป็นประมาณ เพราะบุตรธิดา บางครั้งก็เกิดมีแก่บิดามารดาด้วยเหตุเพียงการลูบคลําอวัยวะ ฉะนั้น พึงทราบความที่กิเลสของพระสกทาคามีนั้นเป็นธรรมชาติเบาบางก็ด้วยเหตุ ๒ อย่างเท่านั้น คือเพราะการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเพราะปฏิยุฏฐานกิเลสของท่านเบาบางลง.

บทว่า สกทาคามี ความว่า ผู้มีการกลับมาสู่มนุษย์โลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยอํานาจปฏิสนธิ.

ก็แม้ผู้ใดเจริญสกทาคามิมรรคในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในโลกนี้แม้ผู้นั้นท่านก็ไม่จัดไว้ในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้น ผู้นั้นก็ไม่จัดเข้าในที่นี้. ผู้ใดเจริญมรรค ในเทวโลกแล้วกลับมาเกิดแล้วปรินิพพานในมนุษยโลกนี้ ผู้นั้นก็ไม่จัดเข้าในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 429

ดํารงอยู่ในเทวโลกนั้นจนสิ้นอายุแล้ว บังเกิดในเทวโลกนั้นอีกแล้วปรินิพพาน ผู้นี้แหละพึงทราบว่าท่านถือเอาในคํานี้.

บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กเรยฺยํ ความว่า เราพึงทําการกําหนดวัฏฏทุกข์.

บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะให้ตนเป็นเช่นนี้ พึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ ๑๑

[๘๔] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๑ ต่อไป

บทว่า ปฺจนฺนํ เป็นการกําหนดด้วยการนับ.

บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ความว่า ภายใต้ ท่านเรียกว่า โอระ.ได้แก่ส่วนเบื้องล่าง อธิบายว่า มีการบังเกิดขึ้นในโลกฝ่ายกามาวจรเป็นปัจจัย.

บทว่า สํ โยชนานํ ได้แก่กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องผูกเหล่านั้นพึงทราบว่า ได้แก่สังโยชน์ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกาลก่อน (คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) พร้อมด้วยสังโยชน์ คือกามราคะ. และพยาบาท. ความจริง สังโยชน์เหล่านั้นผู้ใดยังละไม่ได้ แม้ผู้นั้นจะบังเกิดขึ้นในภวัคคพรหมก็จริง ถึงกระนั้นเขาก็ย่อมบังเกิดในกามาวจรอีก เพราะสิ้นอายุ บุคคลนี้พึงทราบว่ามีอุปมาเสมอด้วยปลาติดเบ็ด และมีอุปมาเหมือนนกตัวถูกด้ายยางผูกติดไว้ที่ขา. ฉะนั้น ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวคํานี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนาพระอริยบุคคลซึ่งท่านกล่าวไว้แต่แรกๆ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 430

คําว่า โอปปาติโก เป็นคํากล่าวคัดค้านกําเนิดที่เหลือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพายิ ความว่า ปรินิพพานในพรหมโลกนั้นนั่นเอง.

บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ความว่า มีการไม่กลับมาจากพรหมโลกนั้นด้วยอํานาจปฏิสนธิอีกเป็นสภาพ.

บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะเป็นเช่นนี้พึงเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ ๑๒

[๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคามิมรรคอย่างนี้แล้ว แม้จะมาถึงวาระแห่งมรรคที่ ๔ ก็จริง ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงถือเอาอรหัตตมรรคนั้น เพราะไม่เพียงแต่อภิญญา คือการสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นอานิสงส์ของศีลอย่างเดียว ที่แท้อภิญญา ๕ ประการ ซึ่งเป็นโลกิยะ (ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน) ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงอภิญญาเหล่านั้น และเพราะเมื่อพระองค์ตรัสถึงการสิ้นไปแห่งอาสวะเทศนาก็เป็นอันจบ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ การกล่าวนี้พึงชื่อว่ากล่าวถึงอภิญญาล้วน เพราะยังมิได้กล่าวถึงคุณของอภิญญาเหล่านั้น ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงอภิญญาอย่างบริบูรณ์ และเพราะการทําฤทธิ์ ย่อมสําเร็จแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรคโดยง่าย และพระอนาคามีย่อมเป็นผู้กระทําให้บริบูรณ์ในศีลและในสมาธิ เพราะท่านถอนกามราคะและพยาบาทซึ่งเป็นข้าศึกของสมาธิได้แล้ว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงโลกิยอภิญญาทั้งหลาย ในฐานะอันควร พระองค์จึงตรัสคํามีอาทิอย่างนี้ว่า อากงฺเขยฺย เจ ฯเปฯ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 431

อเนกวิหิตํ ดังนี้ นี้แลเป็นอนุสนธิ. การพรรณนาบาลีแห่งโลกิยอภิญญาแม้ทั้ง ๕ อันมาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธิํ ในบาลีนั้นท่านกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพร้อมทั้งวิธีทําให้อภิญญาเกิด.

ความหวังที่ ๑๓

[๘๖] พึงทราบวินิจฉัยในอภิญยาที่ ๖ ต่อไป

บทว่า อาสวานํ ขยา ความว่า เพราะการสิ้นไปแห่งกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรค.

บทว่า อนาสวํ ความว่า เว้นจากอาสวะ. ก็ในคําว่า เจโตวิมุตฺติปฺาวิมุตฺติ นี้ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ท่านกล่าวด้วยบทว่า เจโต ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตมรรคนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยคําว่าปัญญา.

ก็ในสมาธิและปัญญานั้น สมาธิ พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากอวิชชา. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันใดพึงมี สมาธินั้นพึงเป็นสมาธินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาใดพึงมี ปัญญานั้นพึงเป็นปัญญินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะสํารอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสํารอกอวิชชา อย่างนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้ ผลของสมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโตวิมุตติ ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็นปัญญาวิมุตติ.

บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ในอัตภาพนี้เอง.

บทว่า สยํ อภิฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า การทําให้ประจักษ์

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 6 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 432

ด้วยปัญญาด้วยตนเอง อธิบายว่า รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย.

บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺยํ ความว่า เราพึงบรรลุ คือให้ถึงพร้อมอยู่.

บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ประสงค์จะให้อาสวะเหล่านั้นถึงความดับอย่างนี้ บรรลุเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ พึงเป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถ้อยคําพรรณนาอานิสงส์ของศีล จนถึงพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงรวมแสดงอานิสงส์ของศีลนั้น แม้ทั้งหมด จึงตรัสคําลงท้ายว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว ฯปฯ อิทเมตํ ปฏิจฺจ วุตฺตํ ดังนี้ คําลงท้ายนั้นมีเนื้อความสังเขป ดังต่อไปนี้ว่า:-

บทว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว วิหรถ ฯเปฯ สิกฺขาปเทสูติ อิติ ยนฺตํ วุตฺตํ ความว่า คํานั้นใดเราตถาคตกล่าวไว้แล้วอย่างนี้ในกาลก่อน คํานั้นทั้งหมดเราตถาคตกล่าวหมายคือเจาะจง (การที่) ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ ยกย่องของเพื่อนพรหมจารี เป็นผู้ได้ปัจจัย ผู้ทําทายกผู้ถวายปัจจัยให้มีผลมาก เป็นผู้กระทําเจตนาคือการระลึกถึงบุรพญาติให้มีผลมาก เป็นผู้อดทนต่อภัยและความหวาดกลัว เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน และอรูปาวจรฌาน เป็นผู้กระทําให้แจ้งซึ่งคุณเหล่านี้ คือ สามัญญผล ๓ เบื้องต่ํา โลกิยอภิญญา ๕ อาสวักขยญาณ ด้วยอภิญญา ด้วยตนเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็มีใจดี ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอากังเขยยสูตรที่ ๖