คันธารชาดก และ อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

 
chatchai.k
วันที่  28 พ.ค. 2564
หมายเลข  34303
อ่าน  491

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 319

๒. คันธารวรรค

๑. คันธารชาดก

วาดวยพูดคํามีประโยชนเขาโกรธไมควรกลาว

[๑๐๔๓] ทานทิ้งหมูบานที่บริบูรณ ๑๖,๐๐๐ หมู และคลังที่เดิมดวยทรัพยมาแลว บัดนี้ยังจะทําการสะสมอยูอีก.

[๑๐๔๔] ทานละทิ้งที่อยูคือ คันธารรัฐ หนีจากการปกครองในราชธานีที่มีทรัพยพอเพียงแลว บัดนี้ยังจะปกครองในที่นี้อีก.

[๑๐๔๕] ดูกอนทานวิเทหะ เรากลาวธรรมะ ความจริง เราไมชอบธรรมความไมจริง เมื่อเรากลาวคําเปนธรรมอยู บาปก็ไมเปรอะเปอน เรา.

[๑๐๔๖] คนอื่นไดรับความแคนเคือง เพราะคําพูดอยางใดอยางหนึ่ง ถึงแมวาคําพูดนั้นจะมีประโยชนมาก บัณฑิตก็ไมควรพูด.

[๑๐๔๗] ผูถูกตักเตือนจะแคนเคืองหรือไมแคนเคืองก็ตามเถิด จะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรยแกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเขากลาวคําเปนธรรมอยู ขึ้นชื่อวาบาปยอมไมเปรอะเปอน.

[๑๐๔๘] ถาสัตวเหลานั้น ไมมีปญญาของตนเอง หรือวินัยที่ศึกษาดีแลวไซร คนจํานวนมากก็จะเที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในปา

[๑๐๔๙] แตเพราะเหตุที่ธีรชนบางเหลาศึกษาดี แลว ในสํานักอาจารย ฉะนั้นธีรชนผูมีวินัย ที่ไดแนะนําแลว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู.

จบ คันธารชาดกที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 320

อรรถกถาคันธารวรรคที่ ๒

อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ เภสัชชสันนิธิการสิกขาบท สิกขาบท วาดวยการทําการสะสมเภสัชแลว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคําเริ่มตนวา หิตฺวา คามสหสฺสานิ ดังนี้ ก็เรื่องเกิดขึ้นแลวที่กรุงราชคฤห ความพิสดารวา

เมื่อทาน ปลินทวัจฉะไปพระราชวังเพื่อปลอยคนตระกูลผูรักษาอาราม แลวสรางปราสาททองถวายพระราชาดวยกําลังฤทธิ์ คนทั้งหลายเลื่อมใส พากัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 321

สงเภสัชทั้ง ๕ ไปถวายพระเถระ. ทานแจกจายเภสัชเหลานั้นแดบริษัท แตบริษัทของทานมีมาก พวกเขาเก็บของที่ไดๆ มาไวเต็มกระถางบาง หมอบาง ถลกบาตรบาง. คนทั้งหลายเห็นเขาพากันยกโทษวา สมณะ เหลานี้มักมาก เปนผูรักษาคลังภายใน. พระศาสดาทรงสดับความเปนไปนั้นแลว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทวา ก็แลเภสัชที่เปนของควรลิ้มของภิกษุผูเปนไขเหลานั้นใดดังนี้เปนตน ตรัสวา ดูกอนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตสมัยกอน เมื่อพระพุทธเจายังไมเสด็จอุบัติ บวชเปนนักบวชใน ลัทธิภายนอกแมรักษาเพียงศีล ๕ ก็ไมเก็บกอนเกลือไวเพื่อประโยชนในวันรุงขึ้น สวนเธอทั้งหลายบวชในศาสนา ที่นําออกจากทุกขเห็น ปานนี้ เมื่อพากันทําการสะสมอาหารไว เพื่อประโยชนแกวันที่ ๒ วันที่ ๓ ชื่อวาทําสิ่งที่ไมสมควร แลวทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังตอไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระโพธิสัตวทรงเปนโอรสของพระเจาคันธาระ ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแลว ทรงครองราชยโดยธรรม. แมในมัชฌิมประเทศ พระเจาวิเทหะก็ทรงครองราชยในวิเทหรัฐ. พระราชาทั้ง ๒ พระองคนั้น ทรงเปนพระสหายที่ไมเคยเห็นกัน แตก็ทรงมีความคุนเคยกันอยางมั่นคง. คนสมัยนั้นมีอายุยืนดํารงชีวิตอยูไดถึง ๓ แสนปี ดังนั้น ในวันอุโบสถกลางเดือน พระจาคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเปนครั้งคราว แลวเสด็จไปประทับบน พระบวรบัลลังกภายในชั้นที่โอโถง ทรงตรวจดูโลกธาตุดานทิศตะวันออก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 322

ทางสีหปญชรที่เปดไว ตรัสถอยคําที่ประกอบดวยธรรมแกเหลาอํามาตย ขณะนั้นพระราหูไดบดบังดวงจันทรเต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเตนไปในทองฟา. แสงจันทรอันตรธานหายไป. อํามาตยทั้งหลายไมเห็นแสงพระจันทร จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทรถูกราหูยึดไว พระราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร ทรงพระดําริวา พระจันทรนี้ เศราหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศราหมองที่จรมา. แมขาราชบริพารนี้ก็เปนเครื่องเศราหมองสําหรับเราเหมือนกัน แตการที่เราจะเปนผูหมดสงา ราศรีเหมือนดวงจันทรที่ถูกราหูยึดไวนั้น ไมสมควรแกเราเลย.

เราจักละ ราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทรสัญจรไปในทองฟาที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น. จะมีประโยชนอะไรดวยผูอื่นที่เราตักเตือนแลว เราจักเปนเสมือนผูไมของอยูดวยตระกูลและหมูคณะ ตักเตือนตัวเองเทานั้นเที่ยวไป นี้เปนสิ่งที่เหมาะสําหรับเรา แลวทรงมอบราชสมบัติใหแกเหลาอํามาตย ดวยพระดํารัสวา ทานทั้งหลายจงพากันแตงตั้งผูที่ทานทั้งหลายตองประสงคใหเปนพระราชาเถิด. พระราชาในคันธารรัฐนั้นทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชเปนฤๅษี ยังฌานและอภิญญาใหเกิดขึ้นแลว ทรงเอิบอิ่มดวยความยินดีในฌาน สําเร็จการอยูในทองถิ่นดินแดนหิมพานต. ฝายพระเจาวิเทหะตรัสถามพวกพอคาทั้งหลายวา พระราชา พระสหายของเราสบายดีหรือ? ทรงทราบวาพระองคเสด็จออกทรงผนวชแลวทรงดําริวา เมื่อสหายของเราทรงผนวชแลว เราจักทําอยางไร กับราชสมบัติ แลวจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกวางยาว ๗ โยชน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 323

คลังที่เต็มเพียบอยูในหมูบาน ๑๖,๐๐๐ หมูบาน ในวิเทหรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชนและหญิงฟอน ๑๖,๐๐๐ นางไมทรงคํานึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา เสด็จสูทองถิ่นดินแดนหิมพานตทรงผนวชแลว เสวยผลไมตามที่มี ประทับอยูไมเปนประจําเที่ยวสัญจรไป. ทั้ง ๒ ทานนั้น ประพฤติพรตและอาจาระสม่ําเสมอ ภายหลังไดมาพบกันแตก็ไมรูจักกัน ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ําเสมอกัน

ครั้งนั้นวิเทหะดาบส ทําการอุปฏฐากทานคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อทานทั้ง ๒ นั้น นั่งกลาวกถาที่ประกอบดวยธรรมกัน ณ ควงไมตนใดตนหนึ่ง พระราหูบดบังดวงจันทร ที่ลอยเดนอยูทองฟา. ทานวิเทหดาบสคิดวา แสงพระจันทรหายไปเพราะอะไรหนอจึงมองดูเห็นพระจันทรถูกราหูยึด ไว จึงเรียนถามวา ขาแตทานอาจารยอะไรหนอนั้น ไดบดบังพระจันทรทําใหหมดรัศมี. ทานคันธารดาบสตอบวา ดูกอนอันเตวาสิก นี้ชื่อวา ราหูเปนเครื่องเศราหมองอยางหนึ่งของพระจันทร ไมใหพระจันทรสองแสงสวาง แมเราเห็นดวงจันทรถูกราหูบังแลว คิดวา ดวงจันทรที่บริสุทธิ์นี้ ก็กลายเปนหมดแสงไป เพราะเครื่องเศราหมองที่จรมา ราชสมบัตินี้ก็เปนเครื่องเศราหมองแมสําหรับเรา เราจักบวชอยูจนกระทั้งราชสมบัติจะไมทําใหเราอับแสง เหมือนราหูบังดวงจันทร แลวทําดวงจันทรที่ถูกราหูบังนั่นเองใหเปนอารมณ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญหลวง บวชแลว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 324

วิเทหดาบสถามวา ขาแตทานอาจารย ทานเปนพระเจาคันธาระ หรือคันธารดาบส ถูกแลวผมเปนพระเจาคันธาระ.

วิ. ขาแตทานอาจารย กระผมเองก็ชื่อวาพระเจาวิเทหะ ในมิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเปนสหายที่ยังไมเคยเห็นกันมิใชหรือ

คัน. ก็ทานมีอะไรเปนอารมณ จึงออกบวช

วิ. กระผมไดทราบวาทานบวชแลว คิดวา ทานคงไดเห็นคุณมหันตของการบวชแนนอน จึงทําทานนั่นแหละใหเปนอารมณ แลวสละราชสมบัติออกบวช.

ตั้งแตนั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือเกิน เปนผูมีผลไมเทาที่หาไดเปนโภชนาหาร ทองเที่ยวไป. ก็แหละ ทั้ง ๒ ทานอยูดวยกัน ณ ที่นั้นมาเปนเวลานาน จึงพากันลงมาจากปาหิมพานต เพื่อตองการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตําบลหนึ่ง คนที่ทําลายเลื่อมใสในอิริยาบถของทาน ถวายภิกษารับปฏิญญาแลว พากันสรางที่พักกลางคืนเปนตนใหทานอยูในปา แมในระหวางทางก็พากันสรางบรรณศาลาไวในที่ๆ มีน้ําสะดวกเพื่อตองการใหทานทําภัตกิจ ทานพากันเที่ยวภิกขาจารที่บานชายแดนนั้นแลว นั่งฉันที่บรรณศาลา หลังนั้นแลว จึงไปที่อยูของตน. คนแมเหลานั้นเมื่อถวายอาหารทาน บางครั้งก็ถวายเกลือใสลงในบาตร บางคราวก็หอใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไมเค็มเลย. วันหนึ่งพวกเขาไดถวายเกลือ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 325

จํานวนมาก ในหอใบตองแกทานเหลานั้น. วิเทหดาบสถือเอาเกลือไปดวย เวลาภัตกิจของพระโพธิสัตวก็ถวายจนพอ ฝายตนเองก็หยิบเอาประมาณพอควร ที่เกินตองการก็หอใบตองแลวเก็บไวที่ตนหญา ดวย คิดวา จักใชในวันที่ไมมีเกลือ อยูมาวันหนึ่งเมื่อไดอาหารจืด ทานวิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแกทานคันธาระแลวนําเกลือออกมาจากระหวางตนหญาแลวกลาววา ขาแตทานอาจารย นิมนตทานรับเกลือ.

คันธารดาบสถามวา วันนี้คนทั้งหลายไมไดถวายเกลือ ทานไดมาจาก ไหน?

วิ. ขาแตทานอาจารยในวันกอนคนทั้งหลายไดถวายเกลือมาก กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความตองการไวดวยตั้งใจวา จักใชในวันที่ อาหารมีรสจืด.

พระโพธิสัตวจึงตอวาวิเทหดาบสวา โมฆบุรุษเอย ทานละทิ้ง วิเทหรัฐประมาณ ๓ รอยโยชนมาแลว ถึงความไมมีกังวลอะไร บัดนี้ ยังเกิดความทะยานอยากในกอนเกลืออีกหรือ เมื่อจะตักเตือนทาน จึง ไดกลาวคาถาที่ ๑ วา :-

ทานละทิ้งหมูบานที่บริบูรณ ๑๖,๐๐๐ หมู และคลังที่เต็มดวยทรัพยมาแลว บัดนี้ยังจะทํา การสะสมอยูอีก.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 326

บรรดาบทเหลานั้น บทวา โกฏาคารานิ ไดแก คลังทองคลัง เงินคลังแกวมีแกวมณีและแกวมุกดาเปนตน ทั้งคลังผาและคลังขาว เปลือก.

บทวา ผีตานิ ความวา เต็มแลว.

บทวา สนฺนิธินฺทานิ กุพฺพสิ ความวา บัดนี้ ทานยังจะทําการสะสมเพียงเกลือ ดวยคิดวา จักใชพรุงนี้ จักใชวันที่ ๓

วิเทหดาบส ถูกตําหนิอยูอยางนี้ ทนคําตําหนิไมได กลายเปนปฏิปกษไป เมื่อจะแยงวา ขาแตทานอาจารย ทานไมเห็นโทษของตัวเอง เห็นแตโทษของผมอยางเดียว ทานดําริวา เราจะประโยชนอะไร ดวยคนอื่นที่ตักเตือนเรา เราจักเตือนตัวเราเอง ทอดทิ้งราชสมบัติออกบวชแลว แตวันนี้เหตุไฉนทานจึงตักเตือนผม จึงไดกลาวคาถาที่ ๒ วา:-

ทานละทิ้งอยูคือคันธารรัฐ หนีจากการปกครอง ในราชธานีที่มีทรัพยพอเพียงแลว บัดนี้ ยังจะปกครองในที่นี้อีก.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา ปสาสนิโต ความวา จากการตักเตือนและการพร่ําสอน.

บทวา อิธ ทานิ ความวา เหตุไฉน บัดนี้ ทานจึงตักเตือนในที่นี้ คือในปาอีก.

พระโพธิสัตวไดฟงคํานั้นแลว ไดกลาวคาถาที่ ๓ วา :-

ดูกอนทาน วิเทหะ เรากลาวธรรมความจริง เราไมชอบอธรรมความไมจริง เมื่อ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 327

เรากลาวคําเปนธรรมอยู บาปก็ไมเปรอะเปอน เรา.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา ธมฺม ไดแก สภาวะความเปนเอง คือเหตุที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจาเปนตน ทรงพรรณนาสรรเสริญ แลว.

บทวา อธมฺโม เม น รุจฺจติ ความวา ธรรมดาอธรรมไมใช สภาวะความเปนเอง เราก็ไมชอบใจแตไหนแตไรมา

บทวา น ปาปมุปลิมฺปติ ความวาเมื่อเรากลาวสภาวะนั่นเองหรือเหตุนั่นแหละอยู ขึ้นชื่อวาบาปจะไมติดอยูในใจ. ธรรมดาการใหโอวาทนี้เปนประเพณี ของพระพุทธเจา พระปกเจกพุทธเจาและพระสาวกและโพธิสัตวทั้งหลาย. ถึงคนพาลจะไมรับเอาโอวาทที่ทานเหลานั้นใหแลว แตผูให โอวาทก็ไมมีบาปเลย. เมื่อจะแสดงอีกจึงกลาวคาถาวา :-

ผูมีปญญา คนใดมักชี้โทษมักพูดบําราบ คนควรมองใหเหมือนผูบอกขุมทรัพย ควรคบ บัณฑิตเชนนั้น เพราะวา เมื่อคบบัณฑิตเชนนั้น จะมีแตความดีไมมีความชั่ว คนควรตักเตือน ควรพร่ำสอนและควรหามเขาจากอสัตบุรุษ เพราะและเปนที่รักของเหลาสัตบุรุษ ไมเปนที่รักของเหลาอสัตบุรุษ.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 328

วิเทหดาบสฟงถอยคําของพระโพธิสัตวนั้นแลว กลาววา ขาแต ทานอาจารย บุคคลแมเมื่อกลาวถอยคําที่อิงประโยชน ก็ไมควรกลาว กระทบเสียดแทงผูอื่น ทานกลาวคําหยาบคายมาก เหมือนโกนผม ดวยมีดโกนไมคม แลวจึงกลาวคาถาที่ ๔ วา :-

คนอื่นไดรับความแคนเคือง เพราะคําพูด อยางใดอยางหนึ่งถึงแมวาคํานั้นจะมีประโยชน มาก บัณฑิตก็ไมควรพูด.

บรรดาบทเหลานั้น บทวา เยนเกนจิ ความวา ดวยเหตุ แม ประกอบดวยธรรม.

บทวา ลภติ รุปฺปน ความวา ไดรับความกระทบ กระทั่ง ความแคนเคืองคือความเดือดดาล.

บทวา นต ภาเสยฺย มี เนื้อความวา เพราะฉะนั้น บุคคลไมควรกลาววาจาที่เปนเหตุให ประทุษรายบุคคลอื่นนั้นที่มีประโยชนมาก คือแมที่อิงอาศัยประโยชน ตั้งมากมาย.

ลําดันนั้น พระโพธิสัตวจึงกลาวคาถาที่ ๕ แกวิเทหดาบสนั้น วา :- ผูถูกตักเตือน จะแคนเคืองหรือไมแคน เคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรย แกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากลาวคําเปนธรรมอยู ขึ้นชื่อวาบาป ยอมไมเปรอะเปอนเรา.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 329

บรรดาบทเหลานั้น บทวา กาม ความวา. โดยสวนเดียว. มี คําอธิบายวา บุคคลผูทํากรรมไมสมควรเมื่อถูกตักเตือนวา ทานทํากรรม ไมควรแลว จะโกรธโดยสวนเดียวก็ตาม หรือไมโกรธก็ตาม. อีกอยางหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกําแกลบหวานทิ้งก็ตาม แตวาเมื่อเรากลาว คําเปนธรรมอยู ขึ้นชื่อวาบาปยอมไมมี.

ก็แหละพระโพธิสัตว ครั้นกลาวอยางนี้แลว ไดดํารงอยูในขอปฏิบัติที่สมควรแกโอวาทของพระสุคตนี้วา ดูกอนอานนท เราตถาคต จักไมทะนุถนอมเลย เหมือนชางหมอทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่ ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบําราบเอาบําราบเอา ผูใดหนักแนนเปน สาระ ผูนั้นก็จักดํารงอยูได เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดง ใหเห็นวา ทานตักเตือนบําราบแลว ตักเตือนบําราบอีก จึงรับบุคคล ทั้งหลายผูเชนกับภาชนะดินที่เผาสุกแลวไว เหมือนชางหมอเคาะดูแลว เคาะดูอีก ไมรับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผา สุกแลวเทานั้นไวฉะนั้นดังนี้แลว จึงไดกลาวคาถา ๒ คาถาไววา :-

ถาสัตวเหลานี้ไมมีปญญาของตนเอง หรือวินัยที่ศึกษาดีแลวไซร คนจํานวนมากก็จะ เที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในปา ฉะนั้น แตเพราะเหตุที่ธีรชนบางเหลาศึกษา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 330

แลวในสํานักอาจารยฉะนั้น ธีรชนผูมีวินัยที่ไดแนะนําแลว จึงมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไปอยู.

คาถานี้มีเนื้อความวา ดูกอนสหายวิเทหะ เพราะวาถาหากสัตวเหลานี้ ไมมีปญญาหรือไมมีวินัยคืออาจารบัญญัติ ที่ศึกษาดีแลวเพราะ อาศัยเหลาบัณฑิตผูใหโอวาทไซร เมื่อเปนเชนนี้คนเปนอันมาก ก็จะเปนเชนทานเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอด ไมรูที่ๆ เปนที่โคจรหรือ อโคจร มีสิ่งที่นารังเกียจหรือไมมีสิ่งที่นารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญา และเถาวัลยเปนตน แตเพราะเหตุที่สัตว บางพวกในโลกนี้ ที่ปราศจากปญญาของตนศึกษาดีแลว ดวยอาจารบัญญัติในสํานักอาจารย เพราะฉะนั้น สัตวเหลานั้นชื่อวามีวินัยที่แนะนําแลว เพราะตนเปนผูที่อาจารยแนะนําแลว ดวยวินัยที่เหมาะสม คือเปนผูมีจิตตั้งมั่นแลว ไดแกเปนผูมีจิตเปนสมาธิเที่ยวไปดังนี้. ดวยคาถานี้ทานคันธารดาบส แสดงคํานี้ไววา จริงอยู คนนี้เปนคฤหัสถ ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแกตระกูลของตน เปนบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแกบรรพชิต อธิบาย วา ฝายคฤหัสถเปนผูศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรม เปนตน ที่เหมาะสมแกตระกูลของตนแลวเที่ยว ก็จะเปนผูมีความเปนอยูสมบูรณ มีใจมั่นคงเที่ยวไป. สวนบรรพชิต เปนผูศึกษาดีในอาจาระมีการกาวไปขางหนาและการถอยกลับเปนตน และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขาและอธิปญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแกบรรพชิต ที่นาเลื่อมใสแลวก็เปน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564

พระสุตตันตปฎกขุททกนิกาย ชาดกเลม ๓ ภาค ๕ - หนาที่ 331

ผูปราศจากความฟุงซานมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป. เพราะวาในโลกนี้ :- ความเปนพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแลว ๑ วาจาที่เปนสุภาษิต ๑ สามอยางนี้เปนมงคลอันสูงสุดดังนี้.

วิเทหดาบสไดฟงคํานั้นแลว ไหวขอขมาพระมหาสัตววา ขาแตทานอาจารยตั้งแตบัดนี้เปนตนไป ขอทานจงตักเตือนจงพร่ําสอนเราเถิด เรากลาวกะทานเพราะความเปนผูไมมีความยับยั้งใจโดยกําเนิด ขอทาน จงใหอภัยแกเราเถิด. ทานทั้ง ๒ นั้นอยูสมัครสมานกันแลวไดพากันไปปาหิมพานตอีกนั่นแหละ ณ ที่นั้นพระโพธิสัตวไดบอกกสิณบริกรรมแกวิเทหดาบส. ทานสดับแลวยังอภิญญาและสมาบัติใหเกิดขึ้น. ทั้ง ๒ ทานนั้นเปนผูมีฌานไมเสื่อมแลว ไดเปนผูมีพรหมโลก เปนที่ไปใน เบื้องหนา.

พระศาสดา ครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแลว ทรงประชุม ชาดกไววา วิเทหราชาในครั้งนั้น ไดแก พระอานนทในบัดนี้ สวน คันธารราชา ไดแกเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ค. 2564
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 29 มี.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ