พิจารณากายในกาย

 
แหม่มค่ะ
วันที่  11 เม.ย. 2550
หมายเลข  3403
อ่าน  3,894

สนทนากับญาติธรรม สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ควรพิจารณากายก่อน เพราะเป็นของหยาบ หรือเมื่อมีความคล่องแคล่วแล้ว ก็สามารถพิจารณาเวทนา

จิต ธรรม ได้ ไม่ทราบเป็นการเจริญสติที่ถูกต้องหรือไม่ อีกอย่าง การพิจารณากาย

ในกาย มีทั้งกายที่เป็นอสุภะ และกายที่อ่อนแข็ง ทำให้สับสนว่าควรเจริญอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 เม.ย. 2550

การเจริญสติปัฏฐาน คือ การค่อยๆ ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เมื่อสิ่งใด

ปรากฏ สติย่อมระลึกสิ่งนั้น ไม่สามารถเลือกรู้อะไรก่อนหรือหลังได้ คำว่ากาย ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง รูปธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 11 เม.ย. 2550
พิจารณากายในกาย ขณะนั้นประกอบด้วยสัมปชัญญะระลึกลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติก็สามารถระลึกได้เป็นปกติ นี่คือความหมายของพิจารณากายในกาย
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 11 เม.ย. 2550


สนทนากับญาติธรรม สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ควรพิจารณากายก่อน

เพราะเป็นของหยาบ หรือเมื่อมีความคล่องแคล่วแล้ว ก็สามารถพิจารณา เวทนา จิต

ธรรม ได้ ไม่ทราบเป็นการเจริญสติที่ถูกต้องหรือไม่ อีกอย่าง การพิจารณากายในกาย

มีทั้งกายที่เป็นอสุภะ และกายที่อ่อนแข็ง ทำให้สับสนว่าควรเจริญอย่างไร?

ขณะต่อไป ลองเลือกดูครับ จะเลือกเห็นอะไรก่อน เลือกได้ไหม ขณะต่อไป จะได้ยิน

เสียงอะไร เลือกได้ไหม ทุกอย่างเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา ไม่มีใครบังคับสภาพธัมมะให้เป็น

ดังใจเราได้ เพราะเป็นธัมมะไม่ใช่เรา สติก็เป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา สติจะเกิดรู้สภาพธัมมะ

อะไรก็แล้วแต่สติ มิใช่แล้วแต่เรา ถ้าเลือกได้ ก็เลือกให้เป็นกุศลได้ตลอด คงไม่เลือก

ให้โกรธ แต่ธัมมะเป็นอนัตตา คืออาศัยเหตุปัจจัย เมื่อพร้อมเมื่อไหร่ สติก็เกิดระลึก

สภาพธัมมะอะไรก็แล้วแต่สติครับ ดังนั้น ต้องมั่นคงแม้ คำว่าอนัตตา ในขั้นการฟังว่า

บังคับบัญชาไม่ได้ครับ ดังนั้น จึงไม่มีตัวตนที่จะเจริญสติ แต่เป็นสติที่เจริญเพราะ

อาศัยการอบรมขั้นการฟังให้เข้าใจ

ขณะใดที่เลือกอารมณ์ ขณะนั้นลืมความเป็นอนัตตา


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 11 เม.ย. 2550

ถ้าเลือกพิจารณา แสดงว่ายังไม่เข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เพราะเริ่มด้วยความเห็นผิดว่ามีตัวตนที่จะเลือกได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ฟาง
วันที่ 19 เม.ย. 2550

อนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ