ลักษณะของทุกข์ - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ ตอนที่ 10-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  3 พ.ค. 2562
หมายเลข  30828
อ่าน  541

ถาม: เมื่อมีสติ เหมือนกับว่าทุกข์เท่านั้นปรากฏ แต่ผม (ดิฉัน) ไม่สามารถแยกนาม และรูป เมื่อรู้อารมณ์ผ่านทางปสาทรูป5 และทางใจ ผม (ดิฉัน) แค่มีความรู้ปริยัติเกี่ยวกับธรรมต่างๆ ที่ปรากฏ
แต่ละหนึ่งทีละขณะทางทวารต่างๆ ผม (ดิฉัน) เคยไปสำนักปฏิบัติเพื่อที่จะได้เรียนวิธีการปฏิบัติมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เรียนมาก ได้แต่ฝึก

อ.สุจินต์: ไม่ทราบว่าพอใจกับความรู้นั้นหรือยัง

ถาม: ผม (ดิฉัน) ก็กำลังเรียนอยู่ ก็เลยยังบอกไม่ได้ว่าพอใจหรือยัง

อ.สุจินต์: ท่านบอกว่าท่านไปสำนักปฏิบัติ เพื่อที่จะศึกษาและฝึก แต่เมื่อท่านได้ไปที่นั่น ท่านไม่ได้เข้าใจความจริงมากขึ้น แล้วมีประโยชน์ไหมที่ไปที่นั่น

ถาม: มีประโยชน์ เมื่อเราอยู่ที่บ้าน อกุศลเกิดมากบ่อยๆ ถ้าเราไปสำนักปฏิบัติ เราเจอสหายธรรม เราอยู่ในสถานที่เงียบสงบ เพราะฉะนั้น ก็มีปัจจัยปรุงแต่งให้กุศลจิตมากมายเกิดขึ้น
ผม (ดิฉัน) คิดว่าสำนักปฏิบัติมีประโยชน์

อ.สุจินต์: มี 4 ปัจจัยที่จำเป็นเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงความเป็นพระโสดาบันได้ (โสตาปัตติยังคะ 4 -องค์แห่งการถึงความเป็นพระโสดาบัน) ได้แก่ ๑.การคบสัตบุรุษ ๒.การฟังพระสัทธรรมของท่าน ๓. การพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ๔. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวของกับสถานที่เฉพาะที่บุคคลนั้นควรอยู่ เราสามารถที่จะเปรียบเทียบสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับกับสำนักปฏิบัติในยุคปัจจุบัน เกี่ยวกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับและเหล่าพระภิกษุอยู่ในอดีต ท่านดำเนินชีวิตประจำวัน การออกบิณฑบาต และกระทำกิจวัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระวินัย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ที่ฟังอบรมเจริญกุศลทุกประการ คนในยุคปัจจุบันที่ไปสำนักปฏิบัติ ได้ประพฤติตามหนทางเดียวกับที่สาวกของพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลหรือไม่ ถ้าเหตุ เป็นเช่นนี้ แต่การประพฤติปฏิบัติ แตกต่างกัน ผลจะเป็นเช่นเดียวกันได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี อุบาสกในยุคพุทธกาลผู้สร้างพระมหาวิหารเชตวัน ไม่ได้มีความเห็นผิดว่า ใครจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ที่สถานที่หนึ่งสถานที่ใดเท่านั้น อุบาสก อุบาสิกาในยุคนั้นแต่ละท่านรู้แจ้งอริยสัจธรรมในสถานที่ๆ แตกต่างกัน ขึ้นกับชีวิตของท่าน

เราได้อ่านใน อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อรัญญวรรคที่ ๔ อารัญญกสูตร
๑. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า ๕ จําพวก
[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้ ๕ จําพวกเป็นไฉน? คือ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงํา จึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอดขึ้นจําพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จําพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบอารัญญกสูตรที่ ๑
ทำไมภิกษุผู้ถืออยู่ป่าบางจำพวก เพราะเป็นพวกโง่เขลา เพราะหลงงมงาย บางคนคิดว่าเมื่อเขาได้อยู่ในป่าเขาจะสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมที่ 4 ได้ บุคคลที่คิดเช่นนั้นไม่ใช่จำพวกที่อยู่ป่า เพราะเป็นพวกโง่เขลา เพราะหลงงมงาย หรือไม่ ถ้าบุคคลนั้นมีความเข้าใจถูกถึงเหตุที่นำมาซึ่งผล เขาก็จะเห็นว่าไม่มีหนทางใดในชีวิตที่จะเลิศไปกว่าชีวิตของพระภิกษุ ที่ท่านได้สละชีวิตของคฤหัส เพื่อไปสู่ สำนักที่พระพุทธเจ้าประทับ ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากชีวิตของใครบางคนในสำนักปฏิบัติที่เขาไปเพียงเวลาสั้นๆ ออกไปเพื่ออยากรู้แจ้งความจริง บางคนคิดว่าอยู่ในสำนักปฏิบัติ เพื่อฝึกอบรมวิปัสสนาเพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดการรู้แจ้งอริยสัจธรรม แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ได้เป็นไปตามปรกติชีวิตประจำวันของเขาเลย ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงอุบาสก อุบาสิกาที่ฝึกวิปัสสนาในสำนักปฏิบัติก็ควรที่จะได้รับการยกย่องยิ่งกว่า พระภิกษุในยุคพุทธกาล ผู้ดำเนินชีวิตตามปรกติในชีวิตประจำวันตามพระวินัย เช่น การออกบิณฑบาต การฟังธรรมและสนทนาธรรม และการกระทำกิจต่างๆ ของสงฆ์

ข้อความนี้แปลจาก...The Characteristic of Dukkha - Forest-gone vs meditation centre

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

ตอนที่ 2 - การอบรมเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นได้อย่างไร

ตอนที่ 3 - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร

ตอนที่ 4 - ความต่างกันของรูป

ตอนที่ 5 - ความหมายของการศึกษาลักษณะ

ตอนที่ 6 - ปัญญาเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น

ตอนที่ 7 - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ตอนที่ 8 - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน

ตอนที่ 9 - ความหมายของอิริยาบถปิดบังทุกข์

ตอนที่ 10 - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ

ตอนที่ 11 - ความเข้าใจเจริญขึ้นตามปรกติ


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ