ลักษณะของทุกข์ - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน ตอนที่ 8-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  2 พ.ค. 2562
หมายเลข  30822
อ่าน  668

ถาม: คำว่า อนัตตา ยากที่จะเข้าใจ คำแปลภาษาบาลีของ อัตตา คือ ตัวตน และคำแปลของ อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน แต่เราก็ไม่ได้เข้าใจอย่างแท้จริงถึงศัพท์เหล่านี้ เราอาจกล่าวว่าไม่มีตัวตน แต่เราก็ยังติดกับความคิดว่าเป็นตัวตน

อ.สุจินต์: อะไรเป็นตัวตน

ถาม: เราอาจจะสมมติว่า เรา เป็น ตัวตน แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า มีเพียงขันธ์ทั้ง 5 ที่เกิดพร้อมกัน

อ.สุจินต์: ขันธ์ไม่ใช่บุคคล เรา หรือตัวตน แต่ถ้าเราไม่รู้ว่ามีเพียงขันธ์ เราก็สมมติว่ามีเรา มีตัวตน

ถาม: แม้ว่าเราจะรู้อย่างนี้ เราก็ยังคิด เมื่อเราเห็น ว่าเรากำลังเห็น

อ.สุจินต์: นั่นก็เพราะว่าเราไม่ได้มีความเข้าใจถูกในลักษณะแท้จริงของขันธ์ ว่าเป็นความจริงซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งขันธ์สามารถที่จะจำแนกในหลายทาง กล่าวคือ เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เป็นหยาบ และละเอียด เป็นภายใน และภายนอก เป็นไกล และใกล้ เป็นต้น

ถ้าใครสามารถรู้ชัดความต่างของลักษณะของขันธ์ คนนั้นก็จะรู้ว่าความจริงเหล่านี้ที่เกิดขึ้นและดับไปว่าเป็นเพียง รูปขันธ์ (สภาพที่ไม่รู้อะไรเลย) เวทนาขันธ์ (ความรู้สึก) สัญญาขันธ์ (ความจำ หรือการหมายรู้) สังขารขันธ์ (เจตสิกที่ปรุงแต่งจิต และหมายถึง เจตสิกทั้งหมดที่ไม่ใช่ เวทนา และสัญญา) วิญญานขันธ์ (สภาพที่รู้อารมณ์)

แปลจาก...The Characteristic of Dukkha - We cling to the concept of self

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ...

ตอนที่ 1 - พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร

ตอนที่ 2 - การอบรมเจริญวิปัสสนาเริ่มต้นได้อย่างไร

ตอนที่ 3 - นั่งทำสมาธิด้วยโยนิโสมนสิการได้อย่างไร

ตอนที่ 4 - ความต่างกันของรูป

ตอนที่ 5 - ความหมายของการศึกษาลักษณะ

ตอนที่ 6 - ปัญญาเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น

ตอนที่ 7 - การยึดถือในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ตอนที่ 8 - เราติดกับความคิดที่เป็นตัวตน

ตอนที่ 9 - ความหมายของอิริยาบถปิดบังทุกข์

ตอนที่ 10 - ไปสู่ป่า และ สำนักปฏิบัติ

ตอนที่ 11 - ความเข้าใจเจริญขึ้นตามปรกติ


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ