ความหมายของอนัตตา - ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย ตอนที่ 6-11 [สนทนาธรรมกับชาวต่างชาติ]

 
wittawat
วันที่  23 เม.ย. 2562
หมายเลข  30790
อ่าน  574

มีหนทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าใครรู้ความจริงหรือไม่รู้ความจริง เมื่อนามหรือรูปปรากฏผ่านทางทวารทั้ง 6 (ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และปัญญาสามารถที่จะรู้ความต่างกันระหว่างลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมตามความเป็นจริง ปัญญาสามารถที่จะจำแนกลักษณะที่ต่างกันของนามและรูปเมื่อกำลังมีเห็น กำลังได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย หรือคิดนึก โดยหนทางนี้สามารถที่จะแทงตลอดลักษณะของอนัตตา นามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏสามารถที่จะรู้ได้โดยความเป็นอนัตตา

เมื่อท่านพระอานนท์ถามท่านพระอุทายีว่า "จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปหรือ" ท่านพระอุทายีไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับจักขุปสาทรูป และรูปที่ปรากฏทางตา ขณะที่กำลังเห็น ณ ขณะนั้น เราได้อ่านต่อไปในพระสูตรว่า

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า "เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้นหาส่วนเหลือมิได้ จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ"

อุ "ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ"

อา "แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ฯฯ"

ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าขณะที่ได้ยิน ขณะนั้นไม่เห็น บุคคลนั้นสามารถที่จะรู้ลักษณะของธรรมตามความเป็นจริง เมื่อมีการคิดนึกเรื่องต่างๆ ก็ไม่มีเห็น ไม่ได้ยิน มีเพียงแต่นามธรรมที่คิดเพียงขณะหนึ่งในเรื่องต่างๆ ด้วยหนทางนี้ลักษณะของธรรมสามารถที่จะเข้าใจได้ตามความเป็นจริง จากที่ท่านพระอานนท์กล่าวกับท่านพระอุทายี เห็นเกิดขึ้นได้โดยจักขุปสาทรูปและสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เมื่อจักขุปสาทรูป และสิ่งที่ปรากฏทางตาดับไปไม่เหลือ เห็นจะเกิดได้อย่างไร เห็นก็ต้องดับไปด้วย

ข้อความนี้ถูกแปลจาก...The Meaning of Anatta - Subject to cause and condition

คลิกเพื่ออ่านตอนอื่นๆ ... (หรือสามารถกดที่ tag ได้)

ตอนที่ 1 - ประตูทั้ง 4

ตอนที่ 2 - วิปัสสนาญาน

ตอนที่ 3 - เป็นรูปหรือที่เดิน

ตอนที่ 4 - เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)

ตอนที่ 5 - พิจารณาสภาพธรรมที่มีจริงขณะนี้

ตอนที่ 6 - ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย

ตอนที่ 7 - ลำดับขั้นของวิปัสสนาญาน

ตอนที่ 8 - การดับวิจิกิจฉาและทิฏฐิ

ตอนที่ 9 - เข้าใจผิดว่าเป็น กลุ่มก้อน

ตอนที่ 10 - แต่ละคนก็อยู่ในโลกของความคิดตนเอง

ตอนท่ี่ 11 - เป็นเพียงเรื่องราวของความคิดนึก


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ