เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว มีปรากฎในพระไตรปิฏกและอรรถกถาหรือไม่

 
ฉีฟ่งจื้อ
วันที่  18 ธ.ค. 2561
หมายเลข  30316
อ่าน  1,471

เรียน ท่านวิทยากร

เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ไฉนถึงได้อยู่ในหมวดธรรมมานุปัสนา ทำไมจึงไม่อยู่ในกายานุปัสนา อริยาบถบรรพ ทั้งๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และกระทบกับทางกาย และมีปรากฎในพระไตรปิฏกและอรรถกถาหรือไม่

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ธ.ค. 2561

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม แม้แต่ที่กล่าวถึง เย็นหรือร้อน (ธาตุไฟ- เตโชธาตุ) อ่อนหรือแข็ง (ธาตุดิน-ปฐวีธาตุ) ,ตึงหรือไหว (ธาตุลม-วาโยธาตุ) นั้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรม และเป็นรูปธรรมที่รู้ได้ทางกาย เรียกรูปทั้ง ๓ นี้ ว่า เป็นโผฏฐัพพะ เมื่อเป็นรูปธรรม ก็ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ปัญญาสามารถเข้าใจถูกเห็นถูกตรงตามความเป็นจริงได้ ครับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๕๗

แม้ในโผฏฐัพพารมณ์ มหาภูตรูป ๓ คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ชื่อว่า โผฏฐัพพารมณ์

ข้อความบางตอนจากคำบรรยายของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

สภาพของรูปที่รู้ได้ทางกาย ไม่ว่าจะเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ตาม ก็คือ เย็น ร้อนอ่อน แข็ง ตึง ไหว ถูกไหมเจ้าคะ.?สภาพของรูปใดๆ ก็ตาม...เรายังไม่พูดถึงชื่อ ว่าเป็น อนุปัสสนา บรรพไหนพูดถึงสภาพธรรมที่รู้ได้ทางกายไม่ว่าจะ ใช้คำว่า กายายุปัสสนาสติปัฏฐานหรือใช้คำว่า รูปขันธ์ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ... ก็ตามแต่จะใช้คำว่า อายตนะ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว คือโผฏฐัพพะอายตนะ ... ก็แล้วแต่เราจะไม่พูดถึงชื่อ ... แต่จะพูดถึงสภาพธรรม ว่าขณะใดที่มีการระลึกที่กาย ... ที่กายประสาท ขณะนั้นสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึงไหว เรียกว่า เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยนัย ... ที่เมื่อยึดถือที่กาย ก็ระลึกที่กาย สภาพธรรมที่กายก็ปรากฏ แต่สิ่งอื่นที่ไม่ใช่กาย ... แต่มีลักษณะที่ เย็น- ร้อน อ่อน -แข็ง ตึง-ไหว ขณะนั้นไม่ต่างจากรูปที่กายเลย คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว นั้นเอง แต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเมื่อระลึกรู้ลักษณะธรรมตรงอื่นซึ่งไม่ใช่ตรงกาย

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
thanrawit
วันที่ 18 ธ.ค. 2561

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Selaruck
วันที่ 23 ธ.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 24 ธ.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ