เกี่ยวกับสติปัฏฐาน

 
thilda
วันที่  15 พ.ค. 2559
หมายเลข  27790
อ่าน  839

เรียนถามอาจารย์ทั้งสองท่านดังนี้ค่ะ
1. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด จะเกิด 7 ขณะคือที่ชวนจิตตั้งแต่ดวงแรกไปจนถึงดวงสุดท้ายของวิถีจิตนั้นหรือเปล่าคะ
2. ขณะที่สติปัฏฐานเกิดโดยมีสติเป็นอารมณ์ สติที่เป็นอารมณ์นั้นเป็นสติที่เกิดกับจิตก่อนหน้านั้นหรือเปล่าคะ (เป็นปัจจุบันสันตติหรือเปล่าคะ) และถ้าเป็นแบบนั้นและเป็นแบบที่ถามในข้อแรก จิตขณะก่อนที่ว่านั้นเป็นชวนจิตที่อยู่ในวิถีก่อนหน้าชวนจิตที่เกิดสติปัฏฐานนี้ใช่ไหมคะ เนื่องจากสติเป็นตัวระลึกถึงสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น จึงสงสัยว่าสติจะระลึกถึงสติดวงเดียวกับตัวเองได้อย่างไร
3.ขณะที่สติปัฏฐานเกิดโดยมีจิตเป็นอารมณ์ จิตที่เป็นอารมณ์นั้นคือจิตขณะเดียวกับที่เกิดสติปัฏฐานหรือเปล่าคะ หรือเป็นจิตในขณะก่อนหน้านั้น
ขออภัยที่ถามอาจฟังดูวกวนนะคะ พอดีเมื่อวานฟังธรรมเกี่ยวกับเรื่องสติปัฏฐานแล้วเกิดความสงสัยค่ะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 พ.ค. 2559

1. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด จะเกิด 7 ขณะคือที่ชวนจิตตั้งแต่ดวงแรกไปจนถึงดวงสุดท้ายของวิถีจิตนั้นหรือเปล่าคะ

@ ก็คือ ตั้งแต่ ชวนจิตดวงแรก ถึง ชวนจิตดวงสุดท้าย ของวิถีจิตนั้น

2. ขณะที่สติปัฏฐานเกิดโดยมีสติเป็นอารมณ์ สติที่เป็นอารมณ์นั้นเป็นสติที่เกิดกับจิตก่อนหน้านั้นหรือเปล่าคะ (เป็นปัจจุบันสันตติหรือเปล่าคะ) และถ้าเป็นแบบนั้นและเป็นแบบที่ถามในข้อแรก จิตขณะก่อนที่ว่านั้นเป็นชวนจิตที่อยู่ในวิถีก่อนหน้าชวนจิตที่เกิดสติปัฏฐานนี้ใช่ไหมคะ เนื่องจากสติเป็นตัวระลึกถึงสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น จึงสงสัยว่าสติจะระลึกถึงสติดวงเดียวกับตัวเองได้อย่างไร

@ สติเป็นอารมณ์ของสติ โดยปัจจุบันสันตตติ ครับ

3.ขณะที่สติปัฏฐานเกิดโดยมีจิตเป็นอารมณ์ จิตที่เป็นอารมณ์นั้นคือจิตขณะเดียวกับที่เกิดสติปัฏฐานหรือเปล่าคะ หรือเป็นจิตในขณะก่อนหน้านั้น

@ เป็นจิตขณะก่อน โดยเป็นปัจจุบันสันตติ ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 15 พ.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสััมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งสำคัญ คือ การมีโอกาสไดัฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ซึ่งมีจริงๆ แต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม การสะสมความเข้าใจตั้งแต่ต้นจะเป็นรากฐานสำคัญนำไปสู่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องได้ เพราะเรื่องของสติปัฏฐานนั้นเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็นกิจหน้าที่ของธรรมฝ่ายดี มีสติและปัญญาเป็นต้น เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง

สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ นั่นเอง ที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และปัญญารู้ตามความเป็นจริง (สติปัฏฐาน) เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย จริงๆ ไม่ใช่เรื่องหวัง ไม่ใช่เรื่องต้องการ ไม่ใช่เรื่องของความจดจ้อง ไม่ใช่เรื่องของการไปกระทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความเห็นผิด และ ด้วยความไม่รู้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับ

เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ซึ่งขณะนั้นเป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา

การระลึกรู้นามธรรม มีนามธรรมเป็นอารมณ์ สภาพของนามธรรมที่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ต้องไม่ใช่ในขณะเดียวกัน เพราะจิตเกิดดับทีละขณะ การระลึกรู้นามธรรม จึงเป็นการระลึกรู้สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมที่ดับไปแต่ปรากฏความสืบต่อลักษณะที่สติปัญญาสามารถรู้ได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
thilda
วันที่ 15 พ.ค. 2559

เรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมค่ะ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะหนึ่งๆ จะเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกขณะนั้นๆ ไม่ได้ใช่ไหมคะ เช่น ศรัทธา ที่เกิดในขณะหนึ่งๆ จะไม่สามารถเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกอื่นๆ ในขณะนั้น ดังนั้น การที่นามธรรมจะเป็นอารมณ์ได้ จะต้องเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกในขณะถัดๆ ไปเท่านั้นใช่ไหมคะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 15 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 16 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tuijin
วันที่ 16 พ.ค. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 17 พ.ค. 2559
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 3 โดย thilda

เรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมค่ะ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะหนึ่งๆ จะเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกขณะนั้นๆ ไม่ได้ใช่ไหมคะ เช่น ศรัทธา ที่เกิดในขณะหนึ่งๆ จะไม่สามารถเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกอื่นๆ ในขณะนั้น ดังนั้น การที่นามธรรมจะเป็นอารมณ์ได้ จะต้องเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกในขณะถัดๆ ไปเท่านั้นใช่ไหมคะ ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

ใช่ครับ ซึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิดต้องเป็นขณะที่เป็นกุศลจิตมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ระลึกรู้นามธรรม เป็นการรู้นามธรรมแต่ละหนึ่งเป็นตั้งอยู่ปัจจุบันโดยสันตติ หมายถึง นามธรรมที่สืบต่อกันอย่างรวดเร็วเสมือนปรากฏอยู่ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดมีสภาพธรรมให้รู้ ปรากฏเมื่อไหร่ก็รู้ในสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง สภาพธรรมใดยังไม่ปรากฏก็รู้ไม่ได้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
thilda
วันที่ 17 พ.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 18 พ.ค. 2559

ขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมเท่านั้นค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ