อุปมาว่าชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น มีในพระไตรปิฎกหรือจากคำโบราณ

 
Suth.
วันที่  21 ส.ค. 2557
หมายเลข  25353
อ่าน  8,565

อุปมาว่าผลของการเจริญสติแม้เพียงระยะสั้น แม้เพียงชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น เป็นถ้อยคำในพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา หรือคัมภีร์ใดทางพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าใช่ ขอความกรุณาบอกที่มาว่ามีในพระสูตรใด หรือสามารถเทียบเคียงได้จากหลักฐานใดทางพุทธศาสนา จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ยังไม่พบข้อความโดยตรงตามที่ผู้ถาม ถามมา ครับ อย่างไรก็ดี ขออนุญาตนำพระไตรปิฎก ที่แสดงถึงการเกิดดับอย่างรวดเร็ว และคำบรรยายที่มีประโยชน์ดังนี้ โดยท่านอาจารย์สุจินต์ ครับ

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หนาที่๓๒๓

ขอความบางตอนจากอรรถกถาเผณปณฑสูตรที่๓

อนึ่ง เปรียบเหมือนวา ตอมนํ้ายอมเกิดและสลายตัวในเพราะหยดนํ้านั้นๆ อยูไดไมนาน ฉันใด แมเวทนาก็ฉันนั้น ยอมเกิดและสลายตัวไป อยูไดไมนาน ในขณะชั่วลัดนิ้วมือเดียว เกิดแลวดับไปนับไดแสนโกฏิครั้ง

ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น

สุ. ประโยชน์ของข้อความที่ว่า สติปัฏฐานเกิดแม้เพียงชั่วช้างกระดิกหู หรือไก่ปรบปีก หรืองูแลบลิ้น ที่กล่าวอุปมาไว้เปรียบเทียบแสดงไว้ว่า เร็วแค่ไหน ก็มีประโยชน์มาก เพราะเหตุว่าถ้าไม่เคยเกิดเลย ก็ยังเกิดได้ แม้สั้นมาก เร็วมาก ๑ ขณะ หรือน้ำหยดหนึ่งที่จะลงตุ่มจนกว่าจะเต็ม ทีละ ๑ หยด นานๆ ครั้งหนึ่ง ก็ยังเต็มได้ เพราะฉะนั้นแม้เพียงขณะสั้นๆ ต่อไปเราก็จะคุ้นเคย จะค่อยๆ รู้ว่า นี่คือขณะที่กำลังเริ่มรู้ลักษณะแท้จริงของสภาพธรรมที่เราเรียนมา ฟังมา นานแสนนาน แต่ประโยชน์ก็อยู่ตรงที่ระลึกลักษณะนั้น เพื่อที่จะรู้จริงๆ ว่าความจริงเป็นไปตามที่ได้เรียนมา ประโยชน์สูงสุดอยู่ตรงนี้

พระศุภกร ข้ออุปมาอันนี้จะเอาไปใช้กับการเจริญสมถภาวนาได้ไหม อย่างที่พระพุทธเจ้าอุปมาว่า แม้จะเร็วเหมือนกับงูแลบลิ้น ไก่ปรบปีก ที่เรากล่าวนี้เป็นกุศลเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน แต่อุปมาอันนี้ที่มีคนเอาไปเปรียบกับการเจริญสมาธิ จะสมควรไหม

สุ. จริงๆ แล้ว เรื่องของสมาธิ หรือเรื่องของสมถภาวนา เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะเหตุว่าถ้าไม่เข้าใจจริงๆ แล้วเป็นอกุศล หรือมิจฉาสมาธิ เพราะฉะนั้นอุปมาทั้งหลายก็ต้องทราบว่า มุ่งหมายเพื่ออย่างไร ถ้าการที่เราจะมีความเพียร นานแสนนานจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ปัญญาก็ยังเห็นคุณค่าว่า เพียงครั้งหนึ่งก็มีประโยชน์มาก เพราะเหตุว่าถ้าพูดถึงสมถะ ก็หมายความถึงสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้นกุศลทุกประเภทต้องเป็นสมถะ เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ แม้แต่มรรคมีองค์ ๘ ก็มีทั้งสมถะและวิปัสสนา ส่วนสมถะที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่มีวิปัสสนาด้วย เป็นแต่เพียงความสงบของจิต ซึ่งกุศลทุกชนิดสงบ แต่สงบสั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ว่ากุศลน้อยมาก แค่นิดเดียว แล้วอกุศลก็เยอะแยะ ผู้ที่มีปัญญาก็อบรมโดยการ ที่แม้ขณะนั้นไม่มีวัตถุที่จะให้ทาน หรือที่จะวิรัติทุจริต แต่ก็ยังมีการให้กุศลจิตเกิดบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งสงบขึ้น อันนั้นก็ยังไม่เป็นผู้รู้หนทาง แต่ถ้าเป็นผู้รู้หนทางแล้ว ก็จะเห็นว่าต่างกัน เพราะว่าแม้สติปัฏฐานจะเกิดน้อย แต่ก็ยังเป็นหนทางที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้

พระศุภกร ความสำคัญก็คือ ขอให้เป็นสัมมามรรค จะน้อยจะมากอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับเป็นสัมมามรรคหรือเปล่า

สุ. ถ้ารู้อย่างนี้ จะไปทำอย่างอื่นไหมคะ ต้องไปไหนหรือเปล่า ต้องไปทำอะไรหรือเปล่า แต่ไม่ใช่ไปทำอะไรเพื่อจะรู้สภาพธรรม ใช่ไหมคะ

วรศักดิ์ ครับผม ก็คงต้องเป็นอย่างนั้น เพราะทำอะไรก็ไม่ได้เลย

สุ. ต้องเข้าใจจริงๆ ถึงจะเป็นความเห็นถูก

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 21 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลโดยตลอด คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก แม้แต่ในเรื่องของอุปมาที่เปรียบถึง ช้างกระดิกหู กับ งูแลบลิ้น นั้น แสดงถึงเวลาเพียงเล็กน้อยในการเจริญวิปัสสนาย่อมมีประโยชน์มาก หรือบางนัยกล่าวถึงเมตตาก็มี เพราะเป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมที่ดีงาม แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ก็มีค่า มีประโยชน์มาก แต่ถ้าเป็นอกุศลแล้ว ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ประโยชน์ย่อมไม่มี ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อานิสงส์ของการเจริญเมตตา [เวลามสูตรที่ ๑๐]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 21 ส.ค. 2557

คำอุปมา ท่านมุ่งหมายให้เข้าใจถึงนามธรรม รูปธรรม ที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เรา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 22 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ