อกุศลวิบาก และ การแก้กรรม

 
tanaprasith
วันที่  17 ก.ย. 2556
หมายเลข  23626
อ่าน  2,040

หลายต่อหลายครั้งเวลาที่ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะ how to โดยฆราวาส

เป็นผู้เขียนรวมถึงการตอบคำถามกระทู้ธรรมในอินเตอร์เน็ตจากบุคคลที่ผมเข้าใจเอาเอง

ว่าเป็นผู้เรียนรู้ ศึกษาธรรมะ และปฏิบัติตามสมควรและเขียนให้ฆราวาสอ่านด้วยกันรวม

ถึงเคยเจอสมณะบางรูป พูดถึงวิธีทำให้วิบากกรรมด้านไม่ดี ที่เราทำมาในชาติปัจจุบัน

หรือว่าตามมาจากอดีตชาติบ้าง/ บรรเทา เบาบางลงไป บ้างก็พูดเป็นนัยว่าไม่ต้อง

ชดใช้ และสารพัดอย่างอื่นที่จะสื่อเป็นนัยนี้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ เช่น

1. สำนึกผิด บางผู้เขียนก็เสริมเพิ่มขึ้นไปอีกว่า บอกว่าสำนึกผิดแล้วจะต้องตั้งสัจจะ

อธิษฐานว่าจะไม่ประพฤติไม่กระทำอย่างนี้อีกเด็ดขาดถึงแม้ว่าจะเจอสถานการณ์บีบคั้น

2. แผ่เมตตา/และหรือ อุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลแบบเฉพาะเจาะจงให้กับเจ้ากรรมนายเวร

อยู่เนืองๆ อยู่เป็นประจำ/และหรือ ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยอาจแผ่เมตตาตาม

ปรกติ บ้างก็แนะนำว่าแผ่เมตตาหลังจากที่ทำกุศลที่ดีที่มีอานิสงค์แรงบางอย่างมากเช่น

นั่งสมาธิ เจริญสติ หรือว่าทำสังฆทาน ให้เจ้ากรรมนายเวรที่เราเคยล่วงเกินมาให้อภัย

เลิกแล้วต่อกัน/หรือขัดเคือง อาฆาตแค้นน้อยลง เพราะว่าเราแบ่งอานิสงส์ไปให้ในรูป

แบบต่างๆ เช่น ทาน สังฆทาน แผ่เมตตา หรือว่าบุญใหญ่อย่างวิปัสสนา

3. ทำวิปัสสนาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้กรรม (อันนี้ได้ยินบ่อย) บ้างก็พูดว่า "ตัดกรรม"

บ้างก็ว่าเป็นวิธีการที่จะหนีกรรมได้ เพราะว่ารหัสกรรมเก่าด้านไม่ดีที่ฝังอยู่ในสังขารจิต

หรือบางท่านก็เรียกว่าจิตไร้สำนึกจะค่อยๆ หลุดลอกหายไป เมื่อรหัสนี้หายไปก็ไม่มีกรรม

อะไรที่ต้องชดใช้ เจ้ากรรมนายเวรหาเราไม่เจอ

4. บางท่านก็ตอบทำนองว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่ากรรมไม่ดีเหมือนเกลือแค่ให้หมั่นเติม

น้ำคือ กุศลกรรมลงไปเรื่อยๆ

จาก3 - 4 ตัวอย่างนี้ ผมสงสัยว่าข้อเท็จจริงมันควรจะเป็นอย่างไรหรือครับเท่าที่ตัวเอง

สังเกต งานเขียนหรือว่าการเทศน์ การบรรยายข้างต้นนั้น บริบทของผู้รับสารนี้ส่วนมากผู้

ฟังมักจะเป็นผู้ที่ทำกรรมไม่ดีมากแล้วไม่สบายใจในกรรมที่ตนทำลงไป เช่น ไปทำแท้ง

หรือว่าเหตุการณ์อย่างอื่น หรือว่าเป็นพวกที่มีอินทรีย์อ่อน ความเพียรอ่อน ขันติอ่อน

หลายๆ คนมีความละอายชั่ว เกรงกลัวต่อบาปอ่อนเสียเป็นส่วนใหญ่

กลับมาที่ทำคำถามนะครับ

มันชดใช้ มันหักห้าง ได้รับผลแค่เพียงเสี้ยวหรือบ้างของการชดใช้ หรือว่าคู่เวรให้อภัย

อย่างที่เขาพูดๆ กันจริงหรือครับ?

หรือมากสุดมันเป็นแค่กุศโลบายให้อย่างแรกคือ สบายใจ จิตไม่ว้าวุ่น เศร้าหมองอยู่กับ

กรรมไม่ดีของตน สำนึกผิด กลับตัวกลับใจ แล้วค่อยๆ เป็นบุคคลที่ตั้งอยู่ในความดีงามใน

เวลาต่อมา อุปมาเหมือนแค่สงบชั่วคราว หินทับหญ้าและว่าผลที่ควรจะได้รับทั้งหมด

ของการกระทำนั้น ของเจตนานั้นๆ มันยังไม่ระงับ เพียงแค่รอกาล รอเวลาตามเหตุ ปัจจัย

เท่านั้น

หรือว่าช่วยได้บ้างแต่ว่าก็ยังคงต้องทยอยแบ่งไปใช้ในวาระอื่น ในกาลอื่นๆ ข้างหน้าอยู่ดี

(อันนี้ผมสงสัยขึ้นมาต่อหน่ะครับ แฮะๆ ๆ )

ถ้าผมจำไม่ผิดพระพุทธเจ้าสมณะโคดมท่านเองก็เสวยวิบากด้านไม่ดีในอดีตของตน

เท่าที่นึกออกคือ ปวดพระเศียรเพราะว่ามีชาติหนึ่งเป็นหรือว่าอยู่ในครอบครัวชาวประมง

หรืออีกกรณี ท่านเคยปรามาสพระปัจเจกพระพุทธเจ้าไว้ในชาตินึง ผลกรรมทำให้ท่าน

ตรัสรู้ช้า และก่อนนิพพาน ท่านให้พระอานน์ไปหาน้ำดื่มมาให้ แต่หลายๆ ครั้งที่ไปหา

น้ำนั้นก็ขุ่น

หรือ การที่ถูกพระเทวทัต กลิ้งหินลงมาทำให้ห้อพระโลหิต ก็เพราะว่าเคยทำกรรมไม่ดี

บางอย่างกับพระเทวทัตไว้เช่นกัน (จำตัวอย่างไม่ได้)

รวมถึงจะมีตัวอย่างอื่นอีกหรือไม่ ผมนึกไม่ออกครับ

มหาบุรุษอย่างพระพุทธองค์ยังต้องชดใช้กรรมเลย อดสงสัยไม่ได้ครับว่า ปุถุชน ที่อาจ

จะไม่ได้มีความเพียร สัจจะอธิษฐาน ที่ยอมสละ ยอมพลีที่จะไม่ยอมทำความชั่วอีกเด็ด

ขาด ดังที่ปรากฏในพระพุทธเจ้า 10 ชาติหรือว่าในอดีตชาติของพระองค์ อย่างหลายๆ

คนที่เป็นผู้ตอบคำถามให้กับผู้สงสัยนั้น สิ่งที่พวกเขาพูดมันสอดคล้องกับสัจธรรมการให้

ผลของกรรมแค่ไหนเหมือนกันครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 17 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเป็นเบื้องต้น ดังนี้ ครับ

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั้น มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง

เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด เมื่อได้ฟัง ได้ศึกษาก็จะมีความเข้าใจถูก

เห็นถูกไปตามลำดับ เหตุที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้นจริงๆ ขาดไม่ได้เลย ก็คือ

การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

-ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ย่อมจะมีการกระทำในสิ่งที่ผิด เป็นธรรมดา เมื่อเห็นว่า

ผิดแล้ว ตั้งใจที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีแสดงถึงความเป็นผู้จริงใจ

ที่จะเริ่มต้นใหม่ เป็นคนละขณะกันกับขณะที่ทำผิด ไม่ปะปนกัน

-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็น

กำเนิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ ก็จะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น

เพราะฉะนั้น เรา จึงไม่มีผู้อื่นเป็นเจ้ากรรมที่จะบันดาล หรือจะทำให้เรามีความสุขหรือ

มีความทุกข์ได้ แต่สัตว์ทั้งหลายจะมีความสุข ความทุกข์ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ

เสื่อมยศ ได้สรรเสริญ หรือ นินทา ก็เพราะกรรม ของตน บุคคลอื่นไม่สามารถจะบังคับ

บัญชาเป็นผู้ที่เหนือกรรมได้ คำว่าเจ้ากรรมนายเวร ไม่มีในพระไตรปิฎก เพราะว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

ของใคร เพราะฉะนั้น จึงไม่มีใครเป็นเจ้ากรรมของใคร เพราะทั้งหมด มีเหตุมีผล มี

เหตุมีปัจจัย, คนหนึ่งทำกรรมดี แต่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้ได้ดีมีสุข จะได้รับวิบากที่เป็น

กุศลวิบาก หรือ คนหนึ่งทำกรรมชั่ว แต่อีกคนหนึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลของกรรมชั่ว นั้น

ย่อมไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามคำสอน แต่ละบุคคลล้วนแต่มีกรรมเป็นของตนทั้งนั้น

จะทำกรรมแทนกันไม่ได้ จะทำกรรมดีแทนคนอื่นที่เขาไม่สามารถจะทำได้ ก็เป็นไป

ไม่ได้

-เมตตาไม่ใช่เรื่องแผ่ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

ด้วยความเป็นมิตรเป็นเพื่อน มีความหวังดี ไม่หวังร้ายต่อผู้อื่น ไม่มีเครื่องกั้นเลยกับ

การที่จะเจริญเมตตาไม่ว่าจะพบใครก็ตาม

-อุทิศส่วนกุศล คือ อะไร? ผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในทางที่ดีอยู่เสมอ มีการฟัง

พระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา และไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการ

ต่างๆ เมื่อได้เจริญกุศลประการต่างๆ แล้ว ก็มีจิตที่เป็นกุศลเกิดต่อได้อีกด้วยการ

อุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นรับรู้และอนุโมทนา ไม่ใช่เป็นการยกเอาบุญกุศลของตนเองไป

มอบให้คนอื่น ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นด้วย ถ้าผู้อื่นได้รับรู้เกิดกุศลจิต อนุโมทนาก็

เป็นกุศลของผู้นั้น เป็นการสะสมเหตุที่ดีให้กับตนเอง และก็ขึ้นอยู่กับผู้นั้นด้วยว่าอยู่

ในฐานะที่จะรับรู้ได้หรือไม่ บุคคลบางคนแม้ไม่มีคนอุทิศให้ ไม่ได้บอกกล่าวให้รู้

แต่ทราบหรือเห็นความดีประการนั้นๆ เขาก็เกิดกุศลจิตอนุโมทนาได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่

สะสมมาไม่ดี แม้จะรู้ว่าคนอื่นเขากระทำดี ก็ไม่เกิดกุศลจิตอนุโมทนาก็ได้ ขณะที่

ไม่อนุโมทนาไม่ใช่กุศล แต่เป็นอกุศล

-วิปัสสนาเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

ไม่ใช่เรื่องทำ ไม่ใช่เรื่องของความไม่รู้ ถ้าไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ย่อมไม่ใช่

วิปัสสนา

-การเจริญกุศลในทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นไปในเรื่องของการให้ทาน

รักษาศีล เป็นต้น ก็ควรที่จะเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ว่าเพื่อหวังหรือ

ต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด

ทั้งหมดทั้งปวง นั้น ต้องเริ่มต้นที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ พระธรรมแสดง

ถึงความเป็นจริง ความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งที่มีจริง ตามความเป็นจริง ถ้าไม่ได้ฟัง

ไม่ได้ศึกษา ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจถูกเห็นถูกได้เลย

ประเด็นของท่านผู้ถามมุ่งไปที่การได้รับผลของกรรมเป็นหลัก เรื่องกรรมและการ

ให้ผลของกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก จะเห็นได้ว่าวิบาก ซึ่งเป็นผลของกรรมนั้น

เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ไม่มีใครทำให้ ไม่มีใครบันดาลให้เกิดขึ้นได้ และกรรม

ที่ได้กระทำไปแล้ว ไม่มีใครไปตัดกรรมหรือไปแก้กรรมได้ เพราะได้กระทำไปแล้ว

ถ้ามีใครบอกว่าให้มาทำโน่นทำนี่ เพื่อเป็นการตัดกรรมหรือแก้กรรม นั่นไม่ตรงตามพระ

ธรรมคำสอนทางพระพุทธศานา ไม่ใช่ความจริงแต่ประการใด เพราะแท้ที่จริงแล้ว

กรรมได้กระทำไปแล้ว ไม่สูญหายไปไหนสะสมสืบต่ออยู่ในจิต เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย ก็

ย่อมจะทำให้ผลเกิดขึ้นเป็นไป ตราบใดที่มียังขันธ์ คือ สภาพธรรมที่เกิดดับเกิดขึ้นเป็น

ไปอยู่ ก็ยังไม่พ้นจากการได้รับผลของกรรม แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ซึ่งเป็น

ผู้เลิศผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ไม่มีใครเสมอเหมือน พระองค์ยังได้รับผลของอดีตกรรม

ที่พระองค์ได้เคยกระทำแล้ว ยกตัวอย่างช่วงที่พระองค์ถูกสะเก็ดหินกระทบที่พระบาท

ก็เพราะอดีตกรรมของพระองค์ที่ในชาติก่อนๆ พระองค์ได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา

เพราะเหตุแห่งทรัพย์

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่

อดีตกรรมของพระพุทธเจ้า [ขุททกนิกาย อุทาน สุนทรีสูตร]

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่สามารถตัดกรรมได้ พระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลาย

ก็ไม่สามารถตัดกรรมได้ แต่มีหนทางที่จะเป็นไปเพื่อการสิ้นกรรมและสิ้นการรับผล

ของกรรม นั่นก็คือ หนทางแห่งแห่งการอบรมเจริญปัญญา เพราะเมื่อดับกิเลสทั้งปวง

ได้อย่างหมดสิ้นแล้ว ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีการกระทำกรรม และไม่มีการรับผลของ

กรรมอีกต่อไป

เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่นั้น เราไม่สามารถจะรู้ได้

ว่ากรรมใด จะให้ผลเมื่อใด ที่ดีที่สุดแล้ว คือ สะสมกรรมดี ละเว้นจากการกระทำ

อกุศลกรรมโดยประการทั้งปวง ไม่ประมาทในชีวิตประจำวัน ความเข้าใจพระธรรม

จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูล ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นกุศลยิ่งขึ้น กุศลเป็น

ที่พึ่งได้ ส่วนอกุศล พึ่งไม่ได้เลยแม้แต่น้อย มีแต่จะนำความทุกข์ความเดือดร้อนมา

ให้เท่านั้น ครับ

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1.กรรมจะให้ผล หรือ ไม่ให้ผลนั้น ก็ขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัย แต่ตราบใดที่ยังมีขันธ์

ยังมีกาเรกิดขึ้น ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ที่พ้นไปจากกรรม ไม่มีเลย แม้แต่พระพุทธเจ้า

เป็นต้น ก็ไม่สามารถพ้นไปจากรรมได้ เพราะ พระองค์ก็ยังมีขันธ์ 5 ยังมี อกุศลกรรม

ที่ยังเป็นปัจจัยที่จะให้ผลอยู่ ซึ่งในประเด็นของการสำนึกผิดนั้น การสำนึกผิดก็เป็น

กุศลจิตของบุคคลนั้น แต่กรรมใดที่ได้ทำไปแล้ว กรรมนั้น เมื่อยังเกิดอยู่ ก็สามารถ

ให้ผลได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ฆ่าบิดา เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ภายหลังท่านก็สำนึกผิด

ในสิ่งที่ได้ทำ ก็เป็นกุศลจิตทีเกิด ที่เห็นโทษของอกุศล แต่ อกุศลได้ทำไปแล้ว และ

สุดท้าย ท่านก็ต้องไปอบายภูมิ มี นรก เพราะเหตุแห่งการทำอนันตริยกรรม ครับ

ดังนั้น ควรแยกระหว่าง ขณะที่ทำกรรม บาปไปแล้ว กับ ขณะจิตอีกขณะหนึ่ง ที่เป็น

กุศลจิตที่สำนึกผิด ที่ไม่ดี มีผลต่อกรรม และ วิบากที่จะให้ผล ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2. การจะได้รับสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี ก็ต้องเป็นไปตามเหตุ ตามผล คือ เพราะกรรมที่ไม่

ดีที่ตนเองกระทำเท่านั้น ย่อมเป็นปัจจัยให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดี ไม่มีใคร บุคคลใดทำให้

เกิดมา ก็ไม่มีใครทำให้เกิด ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร ทำให้เกิด มีแต่กรรมของตนเองที่

ทำแล้ว ทำให้เกิดมาในที่ดี หรือ ไม่ดี และขณะที่เป็นวิบากจริงๆ คือ ขณะที่เห็น

ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ก็ไม่มีใครเลือกได้ และไม่มีใครจัดการให้เห็นดี

หรือ ไม่ดี กรรมของตนเองที่เคยทำเท่านั้นที่จัดการ ดังนั้น แทนที่จะกลัว พะวงกับ

เจ้ากรรมนายเวร สำคัญ คือ ขณะนี้ ที่จะไม่สร้างกรรมที่ไม่ดี ที่จะทำให้ได้รับสิ่งที่

ไม่ดีในอนาคต ครับ แม้แต่การแผ่เมตตา เมื่อไม่มีเมตตา จะแผ่ได้อย่างไร เพราะ

ขณะที่จะแผ่เมตตา คือ ขณะที่ต้องการ ที่เป็นโลภะ อยากให้พ้นภัย ไม่ได้มี

เมตตากับสัตว์ทั้งหลายจริงๆ และ ก็แผ่ในบุคคลที่ไมรู้จัก คือ เจ้ากรรมนายเวร

ซึ่ง ตนเองเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของกรรม ไม่มีบุคคลอื่น ดังนั้น ขณะที่คิด กล่าว ที่คิดว่า

แผ่เมตตา ก็ไม่ใช่ความเมตตาจริงๆ ที่หวังดี กับ บุคคลอื่น แต่กำลัง หวังดีกับตนเอง

ด้วยโลภะ ด้วยอกุศลจิต เมื่อเป็นอกุศลจิต จะช่วยให้พ้นภัยได้อย่างไร ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.การเจริญวิปัสสนา จุดประสงค์ สูงสุด คือ เกิดปัญญาเพื่อละกิเลส แต่เจริญ

วิปัสสนา เพื่อตัดกรรม ก็เป็นไปเพื่อความติดข้อง เพื่อเจริญขึ้นของกิเลส เพราะเป็น

ไปเพื่อได้ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อละ การเจริญวิปัสสนา คือ รู้ความจริงในขณะที่สภาพ

ธรรมนั้นเกิด แม้แต่ วิบากที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงจิตประเภทหนึ่ง ที่เป็นผลของกรรม

ไม่ใช่เราที่ได้รับผลของกรรม การเข้าใจเช่นนี้ ก็ละคลายความยึดถือว่า มีเรา มีสัตว์

บุคคล มีเจ้ากรรมนายเวรได้ เพราะในความเป็นจริงมีแต่ธรรม ดังนั้นหากเข้าใจความ

จริง พระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านเข้าใจว่า กรรม วิบาก เกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อเหตุ

ปัจจัยพร้อม วิบากก็เกิดขึ้น จึงไม่มีการไปบังคับ ไปจัดการ แต่เจริญวิปัสสนา เพื่อ

เข้าใจความจริงนั้น ปัญญาที่เกิดขึ้น ย่อมข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้ว เมื่อปัญญาเกิด ก็ย่อม

ละอวิชชา ละความต้องการ เป็นปัจจัยให้ละกิเลสได้หมดสิ้น อันเป็นต้นเหตุให้เกิด

วิบาก เกิดผลของกรรมที่ดี และ ไม่ดี ครับ นี่คือ จุดประสงค์ที่ถูกต้องของการเจริญ

วิปัสสนา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4.กุศลกรรม และ อกุศลกรรมแยกกัน จุดประสงค์ของการเจริญกุศล ไม่ใช่เพื่อไปแก้

ไม่ให้กรรมไม่ดีไม่ให้ผล เพราะ อกุศลกรรม ก็ส่วนของอกุศลกรรม แต่จุดประสงค์

ของการเจริญกุศลกรรม คือ เพื่อเป็นปัจจัยปรุงแต่ง เครื่องประดับที่จะทำให้เกิด

กุศลที่มีกำลัง พร้อมๆ กับปัญญาที่รู้ความจริง ที่เรียกว่า บารมี 10 กุศลประการต่างๆ

ที่เกิดพร้อมกับปัญญาความเข้าใจ ย่อมเป็นบารมีอันจะทำให้ละกิเลสได้ประการต่างๆ

ได้ในที่สุด ครับ จึงเป็นไปเพื่อละ ละกิเลส แต่ไม่ใช่เพื่อได้ คือ ได้ไม่ให้เกิดผลของ

กรรม ครับ

ซึ่ง สัตว์โลกก็เป็นไปตามการสะสม ที่สะสมมาไม่เหมือนกัน บุคคลที่ไม่สนใจ

พระธรรมของพระพุทธเจ้า ชีวิตก็เป็นไปกับการจะทำให้ชีวิตอย่างไรมีความสุข โดย

หาวิธีที่ง่าย โดยที่ไม่ต้องศึกษาพระธรรม ซึ่งก็ต่างจิต ต่างใจ และ ก็เป็นไปอย่างนี้

ทุกยุค ทุกสมัย ความเห็นผิด จึงอยู่คู่กับความเห็นถูกอย่างนี้เสมอก็เป็นธรรมดา

ของโลก ดังนั้น สำคัญที่เราเอง ที่จะมั่นคงในกรรม ผลของกรรมและมั่นคงด้วยการ

ศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ อันเป็นธรรมที่เป็นเหตุ และ เป็นผล และ

สอนให้เกิดปัญญา ละกิเลสเป็นสำคัญ ต้นเหตุ ปัญหา ความงมงายที่เกิดขึ้น ไม่

ได้เกิดจาก บุคคลหนึ่ง บุคคลใด โทษใครไม่ได้เลยแต่ เป็นเพราะ กิเลส ที่เป็น

สภาพธรรมที่ไม่ดีเกิดขึ้น เป็นไป ทำกิจหน้าที่

จึงควรเห็นโทษของกิเลสตนเอง และ สนใจพระธรรม ศึกษาพะรธรรมของตนเอง

เป็นสำคัญ ส่วนคนอื่นจะเป็นอย่างไรนั้น ก็เป็นมาแล้ว มาก่อนหน้านี้ ในสมัยอดีตกาล

นานมาแล้ว และ ก็จะเป็นไปต่อไปในอนาคต ครับ ความดี และ ปัญญาของตนเอง

เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งที่สำคัญที่สุด ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nopwong
วันที่ 20 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 21 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 22 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 22 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ