อุคคนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต

 
ผู้มีกิเลส
วันที่  27 ส.ค. 2556
หมายเลข  23447
อ่าน  25,136

อุคคนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ คือผมอ่านดูแล้ว มีลักษณะคล้ายกัน จึงอยากได้ความกระจ่างจากผู้รู้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุคคนิมิต กับ ปฏิภาคนิมิต เป็นนิมิตที่เกิดจกาการเจริญสมถภาวนา ซึ่ง อุคคนิมิตเป็นนิมิตที่เกิด นึกขึ้นทางใจ ดั่งเช่นการเห็น รูปทางตา เป็น นิมิต ที่แสดงว่า จิตสงบขึ้นอีกระดับหนึ่ง ที่เป็นการสงบจากกิเลส
ส่วน ปฏิภาคนิมิตเป็นนิมิตที่เสมอเหมือนกับของจริง หมายถึง อารมณ์ของสมถภาวนาขณะที่เป็นอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เช่น อารมณ์ ที่เป็นกสิณนิมิตหรืออสุภนิมิต เป็นต้น เป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางใจ ซึ่งมีอาการที่บริสุทธิ์ผ่องใสกว่าอุคคนิมิต อุคคนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต เหมือนกัน ตรงที่ เป็นนิมิตของการเจริญสมถภาวนาเหมือนกัน และ ที่เหมือนกันอีกประการหนึ่ง คือ เป็นนิมิต ที่เกิดทางใจ

ส่วนที่แตกต่างกัน คือ ระดับความสงบของจิต ขณะที่เป็นปฏิภาคนิมิต มีความสงบของจิตที่สงบจากกิเลส มากกว่า ที่ถึง อุปจารสมาธิ ส่วน อุคคนิมิต ปรากฎขึ้นมีระดับความสงบของจิตน้อยกว่า ปฏิภาคนิมิต ครับ และ ที่แตกต่างกันอีกประการหนึ่ง ของนิมิตทั้งสอง คือ ความผ่องใสของนิมิต ปฏิภาคนิมิต มีความผ่องใสมากกว่าอุคคนิมิต ครับ ขออนุโมทนา

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 98

[ความต่างกันแห่งอุคคหนิมิตกับปฏิภาคนิมิต]

(ต่อไป) นี้ เป็นความต่างแห่งอุคคหนิมิตที่กล่าวมาก่อนและปฏิภาคนิมิตนี้ ในคำที่กล่าวมานั้น ในอุคคหนิมิต กสิณโทษยังปรากฏอยู่ ๔ (ส่วน) ปฏิภาคนิมิตเป็นราวกะว่าทำลายอุคคหนิมิตออกมาปรากฏเป็นนิมิตที่บริสุทธิ์ดีกว่าอุคคหนิมิตนั้น ๑๐๐ เท่า ๑,๐๐๐ เท่า ดุจแผ่นแว่นที่นำออกจากถุง ๕ ดุจเปลือกสังข์ที่ขัดอย่างดีแล้ว ดุจดวงจันทร์ออกจากกลุ่มพลาหก ........ก็แลตั้งแต่เวลาที่ปฏิภาคนิมิตนั้นเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ทั้งหลายก็เป็นอันถูกข่มราบไป กิเลสทั้งหลายก็ระงับเรียบไป จิตเป็นอันตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิแท้แล

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผู้มีกิเลส
วันที่ 27 ส.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ คุณ paderm อย่างสูงที่ให้ความกระจ่างในธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 27 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ ไม่ใช่เรื่องการไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจ เพราะการอบรมเจริญสมถภาวนา จะต้องมีปัญญา ที่รู้ถึงความต่างระหว่างกุศลกับอกุศลและรู้ด้วยว่าทางใดที่จะเป็นไปเพื่อให้จิตสงบจากอกุศล ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 ส.ค. 2556

ปกติแล้ว อกุศลเกิดง่ายกว่ากุศล เพราะฉะนั้น การอบรมสมถภาวนาก็ยาก เพราะเป็นกุศลที่ยิ่งกว่ากุศลทั่วไป เพราะต้องมีปัญญาประกอบด้วย จิตขณะนั้นจึงจะเห็นนิมิตของความสงบได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 28 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nongnooch
วันที่ 30 ส.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Apickana
วันที่ 19 เม.ย. 2562

ขออนุโมทนาค่ะ

อุคคนิมิตรกับอุคคหนิมิตร อ่านออกเสียงอย่างไร. มีความหมายแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

ขอความรู้เป็นวิทยาทานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สิริพรรณ
วันที่ 23 เม.ย. 2562

การได้ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เป็นโอกาสที่ประเสริฐยิ่งแล้ว ผู้ศึกษาด้วยความเคารพ จึงเห็นพระคุณของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงหนทางที่จะเข้าใจความจริง และน้อมศึกษาด้วยความระมัดระวัง เพราะรู้ว่า กำลังศึกษาพระปัญญาธิคุณของบุคคลที่เลิศที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด ในจักรวาล ความจริงที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้นเป็นความละเอียด ลุ่มลึก ผู้ยังมีกิเลสจึงเห็นความจริงนั้นได้ยากแสนยาก พระพุทธองค์ ทรงมีพระมหากรุณธิคุณอย่างที่สุด จึงทรงแสดงหนทางที่ถูกต้อง คือทางสายกลางที่เป็นสัมมามรรค คืออริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เริ่มต้นด้วยความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง คือสัมมาทิฎฐิ คือ ปัญญาเจตสิก การเริ่มต้นด้วยความเห็นที่ถูกต้อง ด้วยการฟังพระธรรมที่จะนำไปสู่กุศลประการอื่นๆ โดยไม่ข้ามขั้น ไม่เร่งร้อน ด้วยความอยาก ความต้องการที่จะทำสิ่งใดที่ไม่ใช่หนทาง มีแต่จะเนิ่นช้า และเป็นหนทางที่ไม่สามารถดับกิเลสให้หมดสิ้นได้ อีกทั้งจะนำไปสู่ความอันตรายคือไม่สามารถพ้นจากกองทุกข์ในสังสารวัฎฎ์ได้เลย การดับกิเลสเป็นเรื่องละเอียด และต้องเป็นไปตามลำดับขั้น

กราบขอบพระคุณท่านวิทยากร และอนุโมทนากุศลผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทุกท่านค่ะ
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิ๊กลิ๊งค์

การตัดกิเลส ๓ ระดับ

นอกจากปัญญาแล้ว ไม่มีธรรมะใดดับกิเลสได้

กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา

กิเลสกับอนุสัยต่างกันอย่างไร

มิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ