หากเริ่มต้นด้วยความมีตัวตน ก็ยากที่จะละความเห็นผิด

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  25 ก.ย. 2549
หมายเลข  2180
อ่าน  1,157

เมื่อยังมีความความเห็นว่าเป็นตัวตนที่จะไปปฏิบัติอยู่ ก็ควรจะสอบทานความเข้าใจให้ถูกตรงก่อน หากเริ่มต้นด้วยความมีตัวตน ก็ยากที่จะละความเห็นผิดที่เป็นมิจฉามรรคเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราเป็นสาวกคือผู้ฟัง ควรฟังก่อนที่จะไปทำสิ่งใดๆ ขออนุโมทนาในความเห็นถูก เข้าใจถูก อันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ถูกตรงต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
namarupa
วันที่ 26 ก.ย. 2549

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saowanee.n
วันที่ 11 ธ.ค. 2549


ตัวตนในที่นี้ หมายถึง ความเห็นผิด ที่เป็นอัตตสัญญาที่สะสมมาเนิ่นนาน ถ้าเริ่มต้นด้วย
ความเห็นผิด ก็จะผิดต่อไปอีกเรื่อยๆ ก็แล้วแต่ว่า อยากจะสะสมความเห็นผิดหรือความเห็นถูก ตัวตนทำอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตนที่สามารถจะทำอะไร มีแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว กระทำกิจของสภาพธรรมนั้นๆ .... แล้วเอาตัวตนมาจากไหนค่ะ? ถ้าไม่ใช่ความเห็นผิดที่คิดว่ามี " ตัวตน "

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kchat
วันที่ 12 ธ.ค. 2549

หากเริ่มต้นด้วยความมีตัวตน ก็ยากที่จะละความเห็นผิดที่เป็นมิจฉามรรค เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก เราเป็นสาวก คือ ผู้ฟัง ควรฟังก่อนที่จะไปทำสิ่งใดๆ ขออนุโมทนาในความเห็นถูก เข้าใจถูก อันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ถูกตรงต่อไป
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kchat
วันที่ 12 ธ.ค. 2549


การที่จะดับกิเลส ได้เป็นลำดับขั้นนั้น ในขั้นแรก จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะเป็นเพียง สภาพธรรมแต่ละอย่างเท่านั้นเอง เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ปรากฏจริงตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าผู้ใดไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระธรรมโดยละเอียด แม้ว่าจะมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ไม่รู้ความจริงของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเลย การศึกษาพระธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงศึกษาตามตัวหนังสือในคัมภีร์ต่างๆ ในตำราต่างๆ แต่จะต้องพิจารณา สภาพลักษณะของ สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้ประกอบด้วยว่า พระธรรมที่ทรงแสดงไว้นั้น เป็นความจริงอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kchat
วันที่ 12 ธ.ค. 2549


ถ้าศึกษาเรื่องราวของธรรม โดยไม่รู้ว่าธรรมอยู่ที่ไหน ก็จะไม่เจอ
ธรรมเลย เพราะว่าเป็นการรู้เรื่องราวเท่านั้น เช่น ถ้าเปิดพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็นพระสุตตันตปิฎก หรือพระอภิธรรมปิฎก หรือแม้พระวินัยปิฎก เป็นเรื่องราวทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าสภาพธรรมอยู่ตรงไหน แต่ถ้าเข้าใจว่าสภาพธรรมมีอยู่ เกิดปรากฏทุกขณะ ในชีวิตไม่ขาดธรรมเลย ขณะที่เกิดก็เป็นธรรมที่เกิด ขณะเห็น ก็เป็นธรรมที่เห็น ขณะคิด ก็เป็นธรรมที่คิด ก็จะเข้าใจได้ว่า การศึกษาธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงศึกษาเรื่องราวที่มีปรากฏในหนังสือ ในตำรา แต่เป็นการศึกษา เพื่อเข้าใจ ในลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นธรรม แต่อวิชชา ไม่สามารถที่จะรู้ได้ อวิชชา ไม่สามารถจะเข้าใจได้เลย เพราะว่า อวิชชา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศล เมื่อเกิดขึ้น ก็ทำให้ไม่เห็นความจริงของสิ่งที่ปรากฏ ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเ พราะฉะนั้น เวลาที่ศึกษาธรรม ต้องเข้าใจด้วยว่า ศึกษาเพื่ออะไร เพื่อเข้าใจธรรมตัวจริงๆ ซึ่งเป็นชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายทุกขณะๆ สามารถที่จะเข้าใจได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kchat
วันที่ 12 ธ.ค. 2549


พระอภิธรรมไม่ใช่อยู่ในตำรา


ที่สำคัญ คือ เราต้องรู้ว่า พระอภิธรรม ไม่ใช่อยู่ในตำรา พระอภิธรรม ไม่ใช่แผนฝังจิตวงกลมเป็นดวงๆ ความจริงพระอภิธรรม คือ ทุกๆ ขณะในชีวิตของเรา เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน จิตคิดนึก โลภะ โทสะ โมหะ ความสุข ความทุกข์ ความริษยา ความเมตตากรุณา รูปเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันของเราทุกคน เป็นอภิธรรม

ในพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธองค์แสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และ
นิพพาน โดยนัยต่างๆ แต่เราจะรู้ลักษณะของจิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นที่ตัวเรา ว่าเป็นเพียง จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นทำกิจ ไม่ใช่ตัวตนของเรา นี่คือการศึกษาตัวจิต เจตสิก และ รูป หรือ อภิธรรมจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
medulla
วันที่ 13 ธ.ค. 2549

โทษทีนะคะ พอดีดิฉันงงๆ ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรมากนัก รบกวนช่วยอธิบายตัวตนที่กำลังพูดถึงกันนี่มันเป็นยังไงคะ แล้วเริ่มตามลำดับ โดยพิจารณา รูป นาม อันนี้เป็นการเริ่มแบบต้องใช้ตัวตนด้วยหรือคะ งงจริงๆ นะคะเนี่ย เอาเป็นว่า ตัวตนนี่มันเป็นไงก่อนละกันค่ะ งงภาษาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
medulla
วันที่ 15 ธ.ค. 2549

พอเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ถ้าเริ่มผิดทางว่ามีตัวตน ก็ผิดทางแล้วล่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 14 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ