เพิ่งเริ่มฟังบรรยาย มีข้อสงสัยครับ

 
Van01
วันที่  2 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18471
อ่าน  1,464

ผมเพิ่งได้มีโอกาสมาฟังเทปการบรรยายของท่านอาจารย์ รู้สึกว่าเป็นแนวที่ปูพื้นฐานให้

กับผู้ที่ศึกษาธรรมะ จากเดิมฝึกนั่งสมาธิ แต่ไม่ได้เข้าใจว่าจะละเลิกกิเลสได้อย่างไร คิด

เพียงว่า ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ได้ฟังการบรรยายเกี่ยวกับ นามรูป ก็พอเข้าใจเพิ่มขึ้น

ในระดับการฟังบ้าง แต่ยังไม่รู้โดยเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นรูป และก็ยังมี “ตัว

เรา” อยู่ตลอดเวลา คิดว่าต้องฟังไปเรื่อยๆ และต้องใช้เวลานาน แต่ก็จะทำไปเรื่อยๆ

แต่กระบวนการคิดมีปัญหาที่ยังไม่เข้าใจอยู่ครับ พอติดเรื่องนี้ก็ทำให้ไม่สามารถไปต่อ

ได้ครับ คือเกี่ยวกับเรื่อง “ไม่มีตัวเรา” ขอรบกวนถามอาจารย์เป็นดังนี้ครับ - คำที่ว่า ตัว

เราไม่มี ไม่สามารถบังคับจิตได้ จิตเกิดตามเหตุปัจจัย และ สิ่งที่มากระทบทวารเป็น

วิบากกรรม ที่ได้เกิดจาก กุศลและอกุศล แล้วการกระทำดีทำชั่วเกิดจากอะไรครับ ถ้าเรา

บังคับอะไรไม่ได้ เกิดจากกรรม จากหมายว่าชะตาถูกลิขิตไว้แล้ว (แต่ผมคิดว่าคำตอบ

คงไม่ใช่) การทำดีหรือชั่วก็ถูกกำหนดไว้ เนื่องจากเราบังคับจิตไม่ได้ คิดอย่างนี้ก็พาล

ให้คิดว่า ไม่ต้องทำอะไร เพราะบังคับไม่ได้ เกิดแต่กรรมทั้งหมด อยู่เฉยๆ ก็ได้ แล้ว

ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ก็จะเกิดเพราะถูกกำหนดไว้แล้ว แก้ไขไม่ได้ การอบรมตนจะมี

อย่างไร เพราะเกิดแต่กรรมครับ ขอรบกวนอาจารย์ช่วยแก้ข้อสงสัยด้วยครับ ที่เขียนมา

ด้วยความไม่รู้ ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย คำว่าไม่มีตัวเรา ไม่ได้หมายถึงไม่มีอะไร แต่มีธรรมครับ มีธรรม คือ จิต เจตสิก รูป

ธรรมทั้หลายเป็นอนัตตา คือบังคับบัญชาไมได้ คือ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การเห็น การเห็นจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เราจะทำให้เห็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดได้

แต่ต้องอาศัย ตา (จักขุปสาท) อาศัย สี คือ สิ่งที่ปรากฎทางตา และอาศัยแสงสว่าง

จากที่กลาวมาก็คือ ธรรมทั้งนั้น สี ไม่ใช่เรา ตา ก็ไม่ใช่เรา แสงสว่างก็ไม่ใช่เรา จึงเป็น

หน้าที่ของธรรมที่ทำหน้าที่ ไม่มีเราตัวเราเลย มีแต่ธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อ

เหตุปัจจัยพร้อม คือ มีตา มีการกระทบกันของสี มีแสงสว่าง มีจิตที่รำพึงถึง การเห็นก็

เกิดขึ้นครับ ไม่มีเราที่เห็น ไม่มีเราที่ทำให้เห็นครับ ธรรมที่ไม่ใช่เรา ทำหน้าที่นั่นเองนี่

คือความหมายของการไม่มีเรา มีแต่ธรรม ความหมายของอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นครับ ดังนั้นในเรื่องของวิบากที่เป็นผลของกรรม ก็มีทั้ง

ขณะที่เกิด ปฏิสนธิจิต เลือกเกิดไม่ได้แล้วแต่กรรมใดให้ผล ขณะที่เห็น ได้ยิน ก็เป็น

ผลของกรรม เป็นวิบากก็เลือก จะเห็นอะไรไมได้ เลือกได้ยินอะไรไมได้ ก็แล้วแต่กรรม

ใดให้ผล ตามที่ทำกรรมนั้นมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ส่วนการกระทำดี กรรมชั่ว คือ กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม เกิดจากเพราะมีความไม่รู้

มี อวิชชา มีกิเลส และมีสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป จึงทำให้มีการทำกรรมดี หรือ

ไม่ดีครับ เมื่อเหตุมี ปัจจัยพร้อม ผลก็ย่อมมีที่เป็นวิบากที่เป็นผลของกรรมครับ

และที่ถามว่า ถูกลิขิตไว้ อะไรลิขิตครับ

ไม่ใช่เรา ธรรมทำหน้าที่ให้เป็นอย่างนั้น คือ จิตและเจตสิก รวมทั้งกรรมที่ทำมา แต่

ไม่ได้หมายความว่าเมื่อทำกรรมนี้ก็จะตายตัวให้ผลแบบนี้ ในเวลานี้ครับ ขึ้นอยู่กับการ

กระทำในปัจจุบันด้วย เช่น คติที่เกิด ปโยคะความเพียร เป็นต้น ถ้ามีการทำดีใน

ปัจจุบัน กรรมชั่วแทนที่จะให้ผล ก็ถูกกรรมดีตัดรอนได้ แต่กรรมดีนั้นต้องมีกำลัง จะเห็น

ไหมครับว่าเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย ไม่มีเราเลยเพราะมีแต่ธรรมทำหน้าที่

ส่วนที่กล่าวว่าไม่ต้องทำอะไรเลยก็ปล่อยไป เพราะบังคับบัญชาไมได้

เข้าใจความจริงครับว่า เหมือนจะไม่ทำอะไรเลย แต่จริงๆ อะไรทำอยู่ ธรรมทำหน้าที่

อยู่ ธรรมมีหน้าที่ของเขาครับ เช่น ขณะนี้เห็น กำลังเห็น กำลังทำอยู่แล้วครับ คือกำลัง

เห็นอยู่ ขณะนี้กำลังอ่าน คิดนึก การคิดนึกทำหน้าที่แล้วครับ ซึ่งขณะนี้ก็ไม่คิดว่าจะทำ

หรือไม่ทำอะไรเลย ธรรมแต่ละอย่างก็ทำหน้าที่แล้ว แม้ขณะที่คิดว่าจะไม่ทำอะไรเลย

ขณะนั้นก็ทำแล้ว จิตที่คิดนึก คิดอย่างนั้นแล้วทำแล้ว แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา

บังคับบัญชาไม่ได้ ทำให้มีการคิดอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ การเข้าใจธรรมจึงเข้าใจว่า เป็น

ธรรมที่ทำหน้าที่ เมื่อมีเหตุก็เกิดธรรมนั้นครับ ดังนั้นจึงไม่มีตัวเรา บังคับบัญชาไม่ได้

เพราะต้องอาศัยเหตุปัจจัยคือธรรมประการอื่นๆ เกิดขึ้นครับ นี่คือสัจจะความจริงครับ

บางครั้งก็ฟังธรรม ใครฟัง จิตและเจตสิกทีเกิดฟังและเข้าใจ ขณะนั้นธรรมทำหน้าที่

แล้ว เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้คิดว่าก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ธรรมทำหน้าที่แล้ว สุดท้ายก็

ฟังธรรม นี่คือสะสมเหตุที่ดีและ ไม่มีเราที่จะทำ หรือ เราเฉยๆ ที่จะไม่ทำ เพราะธรรมทำ

หน้าที่อยู่ทุกขณะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

และจากคำกล่าวที่ว่า แล้วปัญญาที่เกิดจากการฟัง ก็จะเกิดเพราะถูกกำหนดไว้แล้ว

แก้ไขไม่ได้ การอบรมตนจะมีอย่างไร เพราะเกิดแต่กรรมครับ

การกระทำอะไรก็ตามไม่วาจะเป็นกุศล หรือ อกุศลจะไม่หายไปไหน สะสมต่อไปที่

จิตแต่ละขณะที่สืบต่อกันไปครับ ปัญญาที่สะสมมาก็เช่นกัน จากขั้นการฟัง ขณะที่เข้า

ใจก็สะสมปัญญาต่อไป ความเข้าใจเกิดขึ้น ปัญญาก็เจริญขึ้น ทีละเล็กละน้อย ดังนั้น

การอบรมตน คือ อบรมจิตด้วยการฟังพระธรรม อันเกิดจากกรรม ที่เป็นกุศลกรรมที

ประกอบด้วยปัญญาครับ ดังนั้นจึงเป็นไปตามเหตุปัจจัยของธรรม คือ ปัญญาเจริญขึ้น

จากการฟังพระธรรม เพราะมีการคบสัตบุรุษ จึงมีการฟังพระธรรม ขณะที่เข้าใจพระธรรม

ก็ทำกรรมที่เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาครับ

ส่วนการได้รับผลของกรรมทีเกิดขึ้น เพราะกรรมเป้นปัจจัย ก็สามารถอบรมปัญญา

ได้ เพราะมีการสะสมเหตุใหม่ คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมครับ ดังนั้นไม่ได้

หมายความว่าเมื่อจะต้องได้รับผลของกรรมแล้วจะอบรมปัญญาไม่ได้ เพราะสะสม

เหตุใหม่คือการกระทำที่เป็นกุศลที่ประอบด้วยปัญญาคือการฟังพระธรรม ซึ่งขณะที่

เข้าใจ ก็ไม่ใช่เรา เป็นธรรมคือปัญญาครับ

ความเข้าใจเบื้องต้นที่ถูกต้องย่อมจะทำให้เราเดินทางถูกครับ โดยเริ่มจากการฟังพระ

ธรรมให้เข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรมทำหน้าที่ครับ ค่อยๆ เข้าใจไปครับ ทีละเล็กละน้อย

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Van01
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอขอบพระคุณครับที่กรุณาอธิบาย แก้ข้อสงสัย เนื่องจากความรู้ผมคงยังน้อยอยู่ ทำให้

ยังคงไม่เข้าใจในบางเรื่องครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวน อยากขอถามเพิ่มเติมครับ กรรมเก่า

พอนึกภาพออกครับ ส่วนกรรมใหม่ จะเกิดยังไงครับ เพราะรูปนามเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

เราทำเหตุไม่ได้เพราะ เราบังคับอะไรไม่ได้ เราก็ไม่ได้ทำกรรมใหม่ ดูเหมือนกรรมใหม่

เกิดเพราะวิบากกรรมเก่า การเลือกคบสัตตบุรุษ ทำได้อย่างไร เราบังคับอะไรไม่ได้ เจอ

คนก็เพราะวิบาก การทำดี ทำได้อย่างไร เราบังคับอะไรไม่ได้ การละชั่วทำอย่างไร ถ้า

ปัญญาเกิดจากการเข้าใจ ในเบื้องต้นคือการฟัง เราจะได้มีโอกาสฟังได้อย่างไร เพราะ

เป็นวิบาก ทุกอย่างดูเหมือนเป็นลูกโซ่ ทำอะไรไม่ได้เลย มันจะไม่เป็นผลของกรรมเก่า

ทั้งหมดหรือปล่าวครับ เจตนาอยู่ที่ไหน เพราะเราบังคับไม่ได้ ชีวิตทุกวันนี้ก็พัฒนาไม่

ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องขออภัยในเนื้อหาที่เขียนถาม ไม่ได้มีเจตนาเขียนเพื่อโต้

แย้ง แต่ในใจจะมีคำถามพวกนี้ตลอดเวลา อยากขอความกรุณาไขข้อข้องใจ เพื่อที่จะ

ได้มีความก้าวหน้าในการเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้นครับ ขออนุโมทนาครับ (ขอโทษครับ

คำนี้ใช้ตอนไหนครับ ผมใช้ไม่ค่อยถูกจังหวะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

เรียนอธิบายดังนี้ครับ ที่กล่าวว่า เราทำเหตุไม่ได้เพราะบังคับบัญชาไมได้ จริงๆ

ก็คือไม่มีเรา แต่มีธรรมครับ ดังนั้นเมื่อมีธรรม คือ จิต เจตสิก ขณะที่ทำกุศลกรรม

มีการฟังธรรม การให้ทาน เป็นต้น ไม่มีเรา แต่มีธรรม ซึ่งขณะนั้นทีเป็นกุศลกรรมที่ทำ

เป็นเหตุ แต่ไม่ใช่เราทำเหตุใหม่ แต่เป็นสภพาธรมที่เป็นจิต เจตสิกทำหน้าที่ครับ

จึงไม่ได้หมายความว่าเมื่อเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมได้แล้ว จะไม่มีการทำเหตุใหม่

มีการทำเหตุใหม่ แต่ธรรมทำครับ คือ จิต เจตสิก ทำหน้าที่ ขณะใดที่เป็นอกุศลกรรม

หรือ กุศลกรรมก็เป็นการทำเหตุใหม่แล้วครับ เป็นกรรมใหม่นั่นเอง ดังนั้นคำว่าอนัตตา

บังคับบัญชาไมได้ ไมได้หมายถึงทำเหตุใหม่ไม่ได้ครับ เพราะในเมื่อมี จิต เจตสิกก็ยัง

มีการทำกรรมใหม่ มีกุศลกรรมและอกุศลกรรมครับ แต่เป็นธรรมที่ทำเหตุใหม่ ไม่ใช่

เราครับ ส่วนกรรมเก่า บุญเก่า ทำให้ได้พบสัตบุรุษ ได้ฟังพรธรรม การได้ฟังพระธรรม

คือ ขณะทีได้ยิน เป็นผลของกรรมเก่าที่ได้ทำไว้ แต่เมื่อได้ยินธรรม เข้าใจ ขณะนั้นเป็น

กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นเหตุใหม่ กรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าใจธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ดังนั้นจึงต้องแยกระหว่าง ผลของกรรมที่เป็นวิบาก กับขณะที่เหตุที่เป็นกรรม เช่น

ขณะที่ได้ยิน เป็นผลของกรรม เป็นวิบากอันเกิดจากกรรมเก่า แต่เมื่อได้ยินพระธรรม

แล้ว เข้าใจพระธรรม เป็นกุศล เป็นเหตุใหม่ ไม่ใช่ผลของกรรมครับ ดังนั้นก่อนจะ

เข้าใจธรรมว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรม บังคับบัญชาไมได้ ชีวิตก็เป็นไปตามเหตุปัจจุบัน

ในชีวิตประจำวัน เป็นปกติ มีการเห็น มีการได้ยิน มีการดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไป

ทุกขณะ ดังนั้นชีวิตก็พัฒนาอยู่แล้ว เกิดขึ้นและดับไปตามธรรมที่ทำหน้าที่ จะรู้ความ

จริงหรือ ไม่รู้ความจริงก็ตาม และเมื่อค่อยๆ รู้ความจริงว่ามีแต่ธรรมที่ทำหน้าที่ ไม่มีเรา

มีแต่ธรรม บังคับบัญชาไม่ได้ ชีวิตก็มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย มีการ

เกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม มีการเห็น ได้ยิน มีการทำกุศล หรือ อกุศลเป็นปกติ

เพียงแต่เราเข้าใจความจริงขึ้น ว่าความจริงเป็นอย่างไรครับ เพียงแต่ความจริงที่เรา

เข้าใจ สวนกระแสกับกิเลสที่เราเคยเข้าใจว่ามี เรา มีสัตว์ บุคคล สวนกระแสกับความ

ไม่รู้ที่เคยสะสมมา พระธรรมทีพระพุทธเจ้าทรงแสดง จึงทวนกระแสกิเลสที่เคยเห็นผิด

แต่ค่อยๆ เข้าใจถูกได้ แต่ไม่ทันทีทันใดครับ เพราะเราสะสมความมรู้ ความยึดถือวามี

เรา ไม่เข้าใจธรรมมามาก จึงต้องค่อยๆ อาศัยเวลา ฟังพระธรรมทีละเล็กละน้อย แล้วก็

จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพียงแต่อย่างทิ้งการฟังพระธรรมครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

ถ้าสงสัยข้อไหนก็สนทนาสอบถามได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Van01
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอขอบพระคุณมากครับ อาจเป็นว่าต้องใช้เวลาฟังอีกนานๆ กว่าจะเข้าใจ แต่ก็จะไม่ละทิ้งการฟังครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Van01
วันที่ 2 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชีวิตประจำวัน เป็นการเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม คือ นามธรรม กับ รูปธรรม ไม่เคยปราศจากธรรมเหล่านี้เลย และที่ควรพิจารณา คือ จิต (รวมเจตสิก ด้วย) เกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่มีเพียงแค่วิบากจิต เท่านั้น ยังมีจิตขณะอื่นๆ ด้วย ทั้งที่เป็นกุศลจิต อกุศลจิต และ กิริยาจิตด้วย (ถ้าได้ศึกษาไปตามลำดับ) ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเลย ตามความเป็นจริงแล้ว ผลของกรรมเก่า (ซึ่งเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้ว) ได้แก่ วิบากจิต วิบากเจตสิก และกัมมชรูป (รูป ที่เกิดจากกรรม เช่น จักขุปสาท โสตปสาท เป็นต้น) ส่วนกรรมใหม่หรือเหตุใหม่ นั้น ได้แก่ กุศลเจตนา กับ อกุศลเจตนา ที่เป็นในทางกาย วาจา และใจ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดผลข้างหน้า วิบากจิตในชีวิตประจำวัน คือ ขณะที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย รวมถึง ขณะที่เป็นภวังคจิต ด้วย

เมื่อเห็นแล้วเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ อย่างนี้ไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ผลของกรรม เนื่องจากว่าเป็นจิตชาติอกุศล ซึ่งถ้าเป็นเพียงอกุศลจิต ไม่ถึงการก้าวล่วงอกุศลกรรม-

บถ ก็เป็นการสะสมเป็นอุปนิสัยที่ไม่ดีเท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยที่จะำทำให้เกิดวิบากข้างหน้า แต่ถ้าสะสมมากขึ้นมีกำลังมากขึ้น ถึงขั้นล่วงเป็นอกุศลกรรมบถ ขณะนั้นเป็นกรรมใหม่แล้ว ซึ่งเป็นอกุศลกรรม, ส่วนในทางฝ่ายกุศล ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นต้น เป็นเหตุใหม่หรือกรรมใหม่ ที่ดี การมีโอกาสได้คบสัปบุรุษซึ่งเป็นผู้ที่มีปัญญา พร้อมกับได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน นั้น ไม่ไร้ผลอย่างแน่นอน เป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้น และจะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลให้กุศลธรรมประการอื่นๆ เจริญขึ้นด้วย อันเป็นการสะสมเหตุใหม่ที่ดีให้กับตนเอง เป็นที่พึ่งให้กับตนเอง ต่อไป เพราะสิ่งที่สัตว์โลกจะพึ่งได้จริงๆ คือ กุศลธรรม ไม่ใช่อกุศลธรรม ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ (ให้้ข้อคิดเตือนใจดีมาก) กรรมเก่าให้ผลในชาตินี้ได้หรือไม่ จะแก้กรรมได้หรือไม่

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Van01
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Yongyod
วันที่ 2 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ความมีตัวมีตนติดตัวเราทุกคนมานานแสนนานแล้วในสังสารวัฎนี้ ถ้าไม่มีการอุบัติของพระพุทธเจ้า พวกเราทุกคนก็คงจะหนาแน่นไปด้วยความไม่รู้ ไปด้วยความมีอัตตาตัวตนอยู่ร่ำไป หลักอนัตตา เป็นสิ่งเดียวที่เป็นจุดเด่นที่สุดในพุทธศาสนา ไม่มีในศาสนาอื่นใดในโลก คิดว่าเป็นหัวใจเลยก็ว่าได้ ถ้าใครประจักษ์ความเป็นอนัตตาได้จริงๆ ก็จะละกิเลสได้หมด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก ยากที่จะทำความเข้าใจแม้ขั้นการฟัง เพื่อที่จะพิจารณาไตร่ตรองอยู่เนื่องๆ ทุกเมื่อที่สติจะระลึกได้ ดังนั้น พวกเราจึงจำเป็นต้องเจริญปัญญาอยู่เนื่องๆ เพื่อค่อยๆ ไถ่ถอนความเห็นผิดก่อนเลยเป็นอันดับแรก ด้วยการฟังธรรมครับ

แต่ ทุกท่านก็อย่าท้อครับ เพราะมนุษย์ทุกคนเป็น เวไนยสัตว์ กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกได้ มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมกันทุกคน ถ้ายากจนใครไม่สามารถสอนแล้ว พระพุทธองค์คงไม่ประกาศศาสนา ให้สาวกได้รู้ตาม ให้เสียเวลาหรอกครับ พวกเราถ้าได้ระลึกแล้วก็จะเห็นพระเมตตา พระมหากรุณาคุณยิ่งของพระพุทธองค์ที่มีต่อเหล่าเวไนยสัตว์เช่นเราครับ

สัพเพ ธรรมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

คำบรรยายของทั้ง อ เผดิม และอ คำปั่น นั่นแจ่มแจ้งดีแล้วครับ สมควรที่จะนำมาอ่านทบทวน ต้องเริ่มฟังตั้งแต่เริ่มต้นเลยว่า ธรรมะ คืออะไร ให้เข้าใจจริงๆ แล้วจึงจะค่อยๆ นำไปสู่ ทุกอย่างเป็นธัมมะ และ ธัมมะทุกอย่างเป็นอนัตตา อบรมให้เข้าใจ แล้วความเข้าใจจะนำเราให้เข้าถึงธัมมะ ถึงความเป็นอนัตตาไม่วันใดก็วันหนึ่ง ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ถามคำถามนึ้ และคำชี้แจงของ อเผดิม และอ คำปั่นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วินิจ
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขอเรียนถามเสริมกับอ.เผดิมนิดเดียวครับ,ก็สงสัยเหมือนกันคือเข้าใจอยู่ว่า"การเห็น"ใน

ระบบภายใน"จิต"น่ะ,ในภาพรวมคือเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่เป็นมา เช่น มีดวงตาที่ปกติ

(เฉพาะลูกตา) ,มี"จักขุปสาทะ" (ประสาทตา) ,จิต"ตื่น"อยู่ (ไม่ได้"ตกภวังค์") ,และมีจิต

"เจตนา"ที่จะเห็น (ถ้าไม่มี"เจตนา"ก็เช่น"เหม่อลอย",จิตไปสร้างจินตนาการถึงเรื่องอื่น) ,

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เข้าใจอยู่ว่าโดยภาพรวมคือควบคุมบังคับ (บัญชา) ไม่ได้แม้โดย"เจตนา"ก็

บังคับไม่ได้,เพราะมีเหตุปัจจัยให้"เจตนา",แต่คนทั่วไปรวมถึงผมจะเข้าใจว่า,ณปัจจุบัน

ที่ระบบต่างๆ มีปัจจัยปรากฏให้พร้อมที่จะ"เห็น",ถ้าเราจะ"หลับตา","เรา" (สภาพธรรมที่

สมมติว่าเป็น"เรา") ก็ควบคุมได้โดยการสั่ง"ระบบประสาท" (ที่มีเหตุปัจจัยให้ใช้งานได้ณ

ปัจจุบัน) ให้หลับ (เปลือก) ตาลงก็คือ"ไม่เห็น",หรือเปิด (เปลือก) ตาขึ้นก็คือ"เห็น"ณสถา-

นะสภาพตามเหตุปัจจัยในปัจจุบัน,หมายความว่าควบคุมได้ในระบบหยาบๆ (แต่ในระบบ

ละเอียดว่า"สัญญาเจตสิก"ตัวไหนเบิกความจำ,"สังขาร"ตัวไหนเบิกความคิด,ถ้าเป็น

ส่วนนี้ก็ควบคุมไม่ได้ก็เข้าใจอยู่) ,หรือเช่น"เราคิดจะไปมูลนิธิบ้านธรรมะ"ตรงนี้ควบคุม

ไม่ได้,แต่ตัว"เรา"โดยสมมติที่ยัง"หลงยึดมั่นว่าเป็น"เรา"อยู่ (จริงๆ หมายถึง"จิต") มันก็ใช้

"สัญชาตญาณ" (ความเคยชิน) บอก (หรือสั่ง) ให้เท้าพาร่างกายเดินไปที่มูลนิธิบ้านธรรมะ

ดังกล่าว (สมมติบ้านอยู่ใกล้นะ) ,ตรงนี้แหละที่บางท่านอาจไม่เข้าใจรวมทั้งผม,คือเข้าใจ

ว่าบางอย่างมันก็สั่งหรือควบคุมได้นี่นา,จึงอยากขอคำอธิบายจากอ.เผดิมเพิ่มเติมอีก

หน่อย,ขอบคุณครับ... (ตรง"เหม่อลอย"แม้เห็นบ้างก็คือเห็นไม่ชัด,เห็นลางๆ แบบไม่

ตั้งใจ,ผมก็เลยตีความเอาเองว่า"ถือว่า=ไม่เห็น") ...

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
วิริยะ
วันที่ 3 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
WS202398
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนากับทั้งผู้ถามและผู้ตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

คิดได้ครับ แต่จะเป็นไปตามที่คิด แล้วแต่เหตุปัจจัยอื่นด้วยครับ ดังนั้นการอาศัยเหตุ

ปัจจัยอื่น สภาพธรรมอื่นๆ ก็แสดงแล้วว่าบังคับบัญชาไมได้ มีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น การ

เห็น จะไม่ให้เห็นก็หลับตา แต่ก็ยังเห็น แม้เพียงเล็กน้อย จะบอกว่าไม่เห็นไม่ได้ครับ มี

เหตุที่ต้องเห็นนั่นคือเป็นเรื่องของวิบากที่เป็นผลของกรรม คือ ทำให้เห็น คนตาบอด

จะทำให้เห็นก็ไม่ได้ เพราะไม่มีผลของกรรมทางตาให้เห็นและไม่มีจักขุปสาท อันเป็น

เหตุปัจจัยให้การเห็นเกิดขึ้นครับ ดังนั้น ตาก็เป็นธรรม เห็นก็เป็นธรรมและเมื่อเกิดขึ้นก็

ต้องดับไป หากบังคับได้จริงเราก็คงอยากจะเห็นสิ่งที่ดีนานๆ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

ตามกรรมที่ทำมาและอยากให้สภาพธรรมที่ดี อย่าดับไปได้ไหม ก็ไม่ได้ครับ เป็นไป

ตามเหตุปัจจัย ดังนั้นเวลาพิจารณาเรื่องบังคับบัญชาไมได้ เราก็มักพิจารณายาวๆ

คือ พิจารณาเป็นเรื่องราวที่เป็นระยะเวลานานๆ เช่น จะไปมูลนิธิก็ไปได้ แต่ขณะที่คิด

ว่าจะไป คิดนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไปแล้ว คิดก่อนไหมครับว่าจะคิดแบบนี้ แต่คิดนั้นก็เกิด

แล้ว บังคับบัญชาไมได้เลย และคิดนั้นบังคับไมให้ดับไปได้ไหมก็ไมได้อีกครับ และ

เหตุการณ์ต่อไปใครจะรู้ว่าเป็นอย่างไร จิตอะไรจะเกิดต่อรู้ไหมครับ ก็ไม่รู้อีก เป็นไปตาม

สภาพธรรม ตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น คิดว่าจะไป ได้ไปก็มี ไม่ได้ไปก็มี เพราะอะไร เพราะ

ตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรม ตามกรรมที่ทำมาว่าจะได้เห็น จะได้ยินสภาพธรรมที่

บัญญัติว่ามูลนิธิ เป็นเรื่องของสภาพธรรมทั้งสิ้น เมื่อเป็นเรื่องของสภาพธรรมก็ย่อมเป็น

อนัตตาทั้งหมดครับ ดังนั้นตราบใดที่ปัญญาขั้นการฟังยังน้อย ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ย่อม

ค้านกับความรู้สึกเดิมว่ามีเรา บังคับได้ ค้านกับกิเลสคือความไม่รู้ที่สะสมมานั่นเองครับ

แต่อาศัยการฟังพระธรรมก็ย่อมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย คือขณะที่ค่อยๆ เข้าใจ

ครับ ดังนั้นการเห็นถึงควาเป็นอนัตตาจริงๆ จึงไม่ใช่การคิดเป็นเรื่องราวว่าบังคับไมได้

เพียงขั้นฟังเท่านั้น ขณะนี้มีสภาพธรรม มีลักษณะที่ไม่ใช่เรา การจะรู้ความเป็นอนัตตา

จึงต้องเป็นปัญญาระดับสูงที่ประจักษ์สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ อันแสดงถึงความไม่มีเรา

มีแต่ธรรมในขณะนั้นเท่านั้นครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

จิตดีหรือไม่ดี มีเหตุมีปัจจัยก็เกิด เช่น ถ้ามีคนมาทำร้าย หรือมาด่า มีเหตุปัจจัย

ก็โกรธ หรือขณะที่รับประทานอาหาร ขณะนั้นก็เป็นไปด้วยอกุศล ด้วยความพอใจ

ถ้าไม่มีการฟังธรรม ไม่ได้คบบัณฑิต ฯลฯ ก็ไม่มีเหตุให้ปัญญาเกิด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วินิจ
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

ขอบคุณสำหรับอ.เผดิมที่ให้คำแนะนำเพิ่มเติม,และคุณวรรณีที่เสริม,ผมได้อ่านของคุณ

วรรณีทุกครั้งที่เห็น,ส่วนมากเป็นข้อความสั้นๆ ,แต่ก็มีสาระแก่นซึ่งสัมผัสได้ถึงความเมตตา

และจริงใจ...ขออนุโมทนาอย่างสูงสำหรับความเอื้อเฟื้อ,ความตั้งใจและคุณความดีของทั้ง

2ท่านครับ,หวังว่าทุกคนจะได้เพิ่มพูนความเข้าใจในการเรียนรู้"ธรรม"ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
สมศรี
วันที่ 6 มิ.ย. 2554

การเข้าใจลักษณะสภาพธรรมต่างๆ จะขาดความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพระ

อภิธรรมไม่ได้เลย หากมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเบื้องต้น เรื่องปรมัตถธรรม เกี่ยวกับจิต

เจตสิก รูป เป็นต้น ซึ่งหาฟังได้จากสื่อซึ่งทางมูลนิธิฯ เผยแพร่มีจำนวนมาก คำบรรยาย

และการสนทนาของท่านอาจารย์ วิทยากรและเพื่อนกัลยาณมิตร จะเกื้อหนุนให้มีความรู้

ความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น ขออย่าท้อต้องสู้ (ให้กำลังใจตนเองด้วย) แล้วความเข้าใจ

พระธรรมที่ถูกต้อง ก็จะบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ขออนุโมทนาในกุลศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
peem
วันที่ 8 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ