อภิธรรมในชีวิต [38] โมหมูลจิต

 
พุทธรักษา
วันที่  17 มี.ค. 2554
หมายเลข  18064
อ่าน  1,831

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 

โมหมูลจิต

ขณะใด ที่โมหะ เกิดขึ้น ... ขณะนั้น ก็อยู่ในความมืดบอด พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงธรรม ด้วยพระมหากรุณาคุณพระธรรม เป็น ดวงประทีป ซึ่งทำให้ "ความมืด" (โมหะ) หมดสิ้นไป ถ้าไม่เข้าใจ "สภาพธรรม" ... ก็ไม่เข้าใจ "โลก"ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจกุศลกรรม-อกุศลกรรมไม่เข้าใจ ผลของกรรมและ ไม่เข้าใจ "หนทางปฏิบัติ-ที่จะละกิเลส"

การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจ "ลักษณะของโมหะ" มากขึ้น ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมนีปกรณ์ จิตตุปาทกัณฑ์ พรรณาอกุสลปทภาชนีย์อธิบาย "โมหะ" ว่า โมหะ มีความมืดของจิต เป็นลักษณะหรือ มีความไม่รู้ เป็นลักษณะ มีความไม่แทงตลอด เป็นรสหรือ มีความปกปิดสภาวะของอารมณ์ เป็นรส มีความไม่ปฏิบัติชอบ เป็นปัจจุปัฏฐานหรือ อันธการ คือ มืดมน เป็นปัจจุปัฏฐาน มีการไม่กระทำไว้ในใจ โดยอุบายอันไม่แยบคาย เป็นปทัฏฐาน พึงเห็น ว่า เป็นมูลของอกุศลทั้งปวงฯ

เมื่อศึกษาพระอภิธรรม ก็จะรู้ว่าโมหะ เกิดกับอกุศลจิต ทุกดวง โลภมูลจิต มีโมหะ และ โลภะ เป็นมูล โทสมูลจิต มีโมหะ และ โทสะ เป็นมูล

อกุศลจิต ๒ ดวง ที่มีโมหะเป็นมูลอย่างเดียว คือ โมหมูลจิต ๒ ดวง โมหมูลจิตดวงหนึ่ง มี "ความสงสัย" (วิจิกิจฉา) เกิดร่วมด้วยและ โมหมูลจิต อีกดวงหนึ่ง มี "ความไม่สงบ" (อุทธัจจะ) เกิดร่วมด้วย

เวทนา (ความรู้สึก) ที่เกิดร่วมกับ โมหมูลจิตเป็น อุเบกขาเวทนา อย่างเดียว โมหมูลจิต ไม่มี โลภะ โทสะ โสมนัสเวทนา หรือ โทมนัสเวทนา เกิดร่วมด้วยและ โมหมูลจิต ทั้ง ๒ ดวง เป็น อสังขาริกจิต (คือ จิตที่มีกำลัง-ไม่ต้องอาศัยการชักจูง)

โมหมูลจิต ๒ ดวง ได้แก่

๑. โมหมูลจิต ที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา และ ประกอบด้วย "วิจิกิจฉา" (ความสงสัย) (อุเปกขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ)

๒. โมหมูลจิต ที่เกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา และ ประกอบด้วย "อุทธัจจะ" (ความไม่สงบ) (อุเปกขาสหคตํ อุทธจฺจสมฺปยุตฺตํ)

โมหะ และ ทิฏฐิ

ไม่ควรสับสน ระหว่าง "ลักษณะของโมหะ" (ความไม่รู้) กับ "ลักษณะของทิฏฐิ" (ความเห็นผิด) เพราะว่า ทิฏฐิ เกิดกับ โลภมูลจิต เท่านั้น เมื่อ ทิฏฐิ เกิดขึ้นก็มีความเห็นผิด ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่า เที่ยงหรือ ยึดถือ สภาพธรรม ว่า เป็นตัวตน โมหะ ไม่ใช่ ทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิดแต่ โมหะ เป็นความไม่รู้สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง โมหะ เป็นปัจจัยให้เกิด ทิฏฐิ แต่ "ลักษณะของโมหะ" ต่างกับ "ลักษณะของทิฏฐิ"


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prakaimuk.k
วันที่ 18 มี.ค. 2554

ทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง โมหะ กับ ทิฏฐิ ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chaiyut
วันที่ 18 มี.ค. 2554

พึงเห็นโมหะว่าเป็นมูลของอกุศลทั้งปวง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
intira2501
วันที่ 18 มี.ค. 2554

โมหะ เป็นความไม่รู้สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง.มีความสงสัยมีความไม่สงบ เป็นความมืดสนิทจริงๆ สำหรับตนเอง ขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
bsomsuda
วันที่ 18 มี.ค. 2554

" โมหะ เป็น ความไม่รู้สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง โมหะ เป็น ปัจจัยให้เกิด ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ก.ไก่
วันที่ 9 ก.พ. 2565

อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ