ที่นี่ยากจริงหนอ

 
prasopsuk
วันที่  20 ม.ค. 2554
หมายเลข  17766
อ่าน  1,952

จากที่เข้ามาศึกษาธรรมะ ทำให้พบว่าธรรมะของพระพุทธองค์นั้นละเอียดละออมาก ทำให้ยากต่อการศึกษามาก และเมื่องฟังคำอธิบายของท่าน อ.สุจินต์หลายๆ รอบก็ออกจะยังไม่ซึ้งสักที ออกจะงงๆ ไปหลายรอบว่า ถ้าไม่มีเราแล้วใครล่ะรู้ปรมัตถธรรมขณะนี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ขอเรียนว่า ความจริง เรา ไม่มี มีเพียงรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น

ปัญญาย่อมรู้ปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง ปัญญาเกิดขึ้นได้เพราะการฟังครับที่ท่านเข้าใจว่ายากถูกแล้วครับ พระธรรมจริงๆ ไม่ง่าย เมื่อศึกษามากขึ้นจะรู้ว่า ยังไม่เข้าใจ ยังไม่รู้อะไรอีกมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ถ้าไม่มีเราแล้วใครล่ะรู้ปรมัตถธรรม ขณะนี้ ปัญญาไงครับ ปัญญาย่อมรู้ปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง ขออนุโมทนาในกุศลจิตอ.prachern;s @prasopsuk ครับ [ขอเพียงอย่าขาดการฟังพระธรรม]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ไม่มีเรา.....แสดงว่าต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดใช่มั้ยค่ะ

ไม่ใช่ว่า.....ไม่มีอะไรเลย

แล้วสิ่งนั้นคืออะไร?

ลองฟังไปและพิจารณาไปนะคะ....จะได้คำตอบ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prasopsuk
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ปัญญาที่รู้ปรมัตถธรรมเป็นปัญญาของใคร? หรือ? แล้วใครล่ะกำลังศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ช่วงแรกดิฉันก็เป็นเหมือนกัน แต่คงด้วยกุศลเคยสะสมมามั้งคะ ถึงทำให้อดทนฟังมาเรื่อยๆ พยายามพิจารณาตามที่ฟัง จนกระทั่งตอนนี้ก็เป็นปีๆ แล้ว ก็รู้สึกว่าเข้าใจมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีอะไรอีกมากมายที่ต้องศึกษา ถึงแม้ศึกษาแล้ว การประจักษ์สภาพธรรมก็ยังไม่เท่าที่ศึกษา ยังคงต้องค่อยๆ ศึกษาไป

ที่เราไม่มีนั้นเพราะถ้าย่อยลงไปจริง มีแต่จิตเกิดดับสืบต่อกัน แต่เนื่องจากจิตมีหลายประเภทหลายลักษณะแตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ปรุ่งแต่ง และจิตที่เกิดขึ้นก็ทำกิจต่างๆ กัน

การที่มีการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง (ปรมัตธรรม) ก็คือจิตที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ทำกิจรู้สิ่งที่ปรากฎนั่นเองค่ะ ไม่มีเรา เป็นเพียงจิตทำกิจของตนนั่นเอง และไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ เมื่อปัจจัยปรุงแต่งพร้อมให้เกิดจิตประเภทนี้ก็เกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yupa
วันที่ 21 ม.ค. 2554

เห็นด้วยค่ะว่า ยากมาก ฟังมาเกือบ 10 ปี เพิ่งจะเข้าใจว่า สภาพธรรม เกิดขึ้น ก็ อาศัยรูป และ นาม เท่านั้น แต่ผลจากการฟังมีมากมหาศาล ต่อชีวิตประจำวัน เหมือนกับเราจับด้ามมีดจริงๆ มันสึกโดยที่ไม่รู้ตัวเลย ดิฉันไปฟังธรรม ที่มูลนิธิฯ ไม่บ่อยนัก 1 ปี สัก 4 - 5 ครั้ง เท่านั้น ดิฉันตั้งใจไปกราบอาจารย์สุจินต์ และ บริจาคเงิน ให้กับมูลนิธิฯ มากกว่า เพระว่า ทุกวันนี้ดิฉันก็มี MP3 มากกว่า 60 แผ่น และที่ทำงานก็ฟัง วิทยุออนไลน์ ตั้งแต่เช้าจนเลิกงานทุกวัน อาจารย์สุจินต์ ท่านให้ความสำคัญของความเข้าใจ มากกว่า ที่จะไปรู้อย่างอื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chaiyut
วันที่ 21 ม.ค. 2554

ปัญญามีหลายระดับ ปัญญาขั้นฟัง รู้เรื่องของปรมัตถธรรม สั่งสมเป็นสจญาณ แต่ยังไม่รู้ความจริงของปรมัตถธรรม แม้ว่าขณะนี้กำลังมีปรมัตถธรรม แต่ยากแสนยากที่จะรู้เพราะเราเพียงแต่เริ่มฟัง เริ่มรู้เรื่องของปรมัตถธรรม เริ่มไตร่ตรอง พิจารณา สวนทางกับความไม่รู้และกิเลสทั้งหลายที่เราได้สะสมมานาน แต่เมื่อใด ที่ฟังธรรมแล้วสามารถที่จะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจความจริงที่ได้ฟังเพิ่มขึ้นได้ ปัญญาที่อบรมสมควรดีแล้ว จะค่อยๆ น้อมไปรู้ความจริงของปรมัตถธรรมในขณะนี้เองโดยไม่ต้องทำอะไร หน้าที่อย่างเดียวของเรา ก็คือ ฟังธรรม ศึกษาธรรมที่ถูกต้องต่อไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 21 ม.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 4 (ขอแสดงความคิดเห็น เพิ่มเติม ครับ)

ธรรม ทั้งปวง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืน (ยกเ้ว้นพระนิพพาน ที่ไม่เกิดไม่ดับ) ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร แม้แต่ปัญญา ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เข้าใจถูก เห็นถูก ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นก็ำทำกิจหน้าที่ของปัญญา โดยที่ไม่มีตัวตนที่เข้าใจ แต่เมื่อว่าโดยสมมติแล้ว แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ปัญญาของใคร ก็เป็นของผู้นั้นเพราะเหตุว่า บุคคลผู้นั้น เข้าใจ ก็เป็นปัญญาของผู้นั้น ไม่ใช่ของผู้อื่น เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไป จึงกล่าวอย่างนั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
มกร
วันที่ 21 ม.ค. 2554

เห็นด้วยกับท่านkhampan.a ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prasopsuk
วันที่ 21 ม.ค. 2554

@khampan.a เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่เมื่อมีใครมีคนนั้นมีผู้นั้นฯ แล้วทำไมจึงไม่มีเรา (ตัวเอง) ?

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 21 ม.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ 11

ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง เพราะทั้งหมดแสดงถึงความเป็นจริง ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เมื่อศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน ทุกขณะของชีวิต เป็นธรรม เพราะมีธรรม เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อประมวลแล้ว คือ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม เท่านั้น จริงๆ เมื่อเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ จึงหาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ไม่ได้ หาความเป็นเรา ไม่ได้ ซึ่งก็คือ ไม่ใช่เรา เพราะเป็นธรรม แต่เวลาพูด เวลาสนทนากัน ก็จำเป็นต้องใช้คำ เพื่อให้รู้ว่ามุ่งถึงอะไร มุ่งถึงใคร เป็นต้น แต่แท้ที่จริงแล้ว มีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน สิ่งที่่จะรู้ จะเข้าใจตามความเป็นจริง คือ ปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น จากการฟัง การศึกษาพระธรรม พิจารณาไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 ม.ค. 2554

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 17766 ความคิดเห็นที่ 11 โดย prasopsuk

โดยสมมติบัญญัติของชาวโลก มีเรา มีเขา มีสัตว์ มีวัตถุต่างๆ มากมาย ตามแต่ จะสรรหาชื่อมาเรียก เลยทำให้เข้าใจจริงๆ ว่ามีสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีคนนั้นคนนี้ค่ะ แต่โดยปรมัตถ์แล้ว ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีใครหรือสิ่งใดทั้งสิ้น มีเพียงแต่ "นามรูป" ที่มาประชุมรวมกัน ทำให้เกิดการยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดค่ะ เพราะฉะนั้นควรพิจารณาแยกแยะให้ถูกต้องว่า สิ่งใดมีจริงโดยบัญญัติ (สมมติของ ชาวโลก) และสิ่งใดมีจริงโดยปรมัตถ์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ม.ค. 2554

ขออนุโทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
intira2501
วันที่ 22 ม.ค. 2554

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่ายากจริงแท้ ทำให้เข้าใจคำว่าจับด้ามมีดค่ะก็ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
prasopsuk
วันที่ 24 ม.ค. 2554

@ไตรสรณคมน์ ผู้คนส่วนใหญ่ยังต้องเกี่ยวข้องกับสมมติบัญญัติ หากจะใช้การอธิบายที่เชื่อมโยงจากสมมติบัญญัติไปหาปรมัตถ์ให้แจ่มจัดในเป้าหมาย ก็จะทำให้ผู้ด่ำต้อยปัญญาอย่างข้าพเจ้าเกิดปัญญาในปรมัตถ์ได้บ้าง ดั่งที่ท่านได้อธิบายมา ไม่ใช่บอกแต่ส่วนที่เป็นปรมัตถ์เท่านั้น เท่าที่เข้าใจนี่ คำว่า ไม่ใช่เราฯ นั้นหมายถึง เรานั้นเป็นอนิจจัง (เกิดจากเหตุปัจจัย ตั้งอยู่ และต้องดับไป) จึงเป็นทุกข์ ไม่ทราบว่าตรงตามปรมัตถ์หรือไม่ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
akrapat
วันที่ 24 ม.ค. 2554

ที่จริงความเป็นเรา มันไม่มีอยู่แล้ว แต่ที่มันมีอยู่ก็เพราะ "ความคิด" (สังขาร หรือ ความปรุงแต่ง หรือ สิ่งสมมติ หรือ จะเรียกอะไรก็แล้วแต่)

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 ม.ค. 2554

เรียนท่าน prasopsuk ค่ะ,

คำว่า "เรา" ก็คือสมมติบัญญัติ ที่ใช้เรียก "สภาพธรรมที่มีจริง" (ที่มาประชุมรวมกัน)

การจะมีชีวิตอยู่ได้ จำเป็นต้องมีการสื่อสารกันใช่มั้ยค่ะ ถ้าไม่มีการบัญญัติคำที่ใช้เรียก

ชื่อบุคคลหรือสิ่งต่างๆ แล้วเราจะสื่อความหมายถึงกันและกันได้อย่างไร.....ในเมื่อ

ทุกอย่างเป็น "ธรรม" .........เห็นเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม กระทบสัมผัสเป็นธรรม

คิดนึกก็เป็นธรรม แม้แต่คำว่า "ธรรม" ก็เป็นบัญญัติที่ใช้เรียก "สิ่งที่มีจริง" ค่ะ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า......สิ่งใดมีจริง สิ่งใดไม่มีจริง?

รู้ได้โดย "สติสัมปชัญญะ" ค่ะ

เพราะสิ่งที่มีจริงนั้น "มีจริงเมื่อปรากฎ"

"สภาวลักษณะ" ที่กำลังปรากฎนั้น "ชัดเจน" ในตัวมันเองอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องนึกถึง

ชื่อค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
สมศรี
วันที่ 24 ม.ค. 2554

ขอคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ ที่ว่าแต่ละขณะจิตเป็นสภาพธรรมที่มีอยู่จริง เป็นเพียงรูปธรรม กับนามธรรมเท่านั้น รูปธรรมและนามธรรมเกิดพร้อมกันหรือเปล่าคะ ทวิปัญจวิญญาณ เช่น จักขุวิญญาณเป็นนาม สิ่งที่ปรากฏ (สี) เป็นรูป .........กายวิญญาณเป็นนาม โผฏฐัพพารมณ์ (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว) เป็นรูป ถ้าทางมโนทวาร มีโทสะเกิด ซึ่งเป็นนาม ส่วนรูปจะพิจารณาจากอารมณ์หลังทวิปัญจวิญญาณหรืออย่างไร กรุณาอธิบายด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
prasopsuk
วันที่ 24 ม.ค. 2554

ขอบคุณ ท่านไตรสรณคมน์ มาก ที่อธิบายมาก็พอจะมองเห็น แต่ในความเป็นจริงขณะนี้เดี๋ยวนี้ สิ่งที่มีจริง (ตัวเรา) เกี่ยวข้องกับโลกียะและโลกุตระอย่างแยกออกจากกันให้เด่นชัดได้ยาก จนกว่าจะประจักษ์เอง ซึ่งการจะประจักษ์ได้ก็ต้องได้วิปัสนาญาณ ดังนั้นคนหมู่มากจึงจำเป็นต้องอาศัยคำอธิบายที่จะเชื่อมโยงโลกียะกับโลกุตระ เพื่อจะได้ค่อยๆ เข้าใจ (เกิดปัญญาทีละน้อยๆ ) จนกระทั่งมีวิริยะบารมีเข้าถึงวิปัสนาญาณได้ ก็จะเห็นอริยสัจจ์ เอ!เข้าใจถูกต้องไหมหนอ??

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 ม.ค. 2554

^

^

และต้องเป็นการรู้ด้วย "ปัญญา" ค่ะ ไม่ใช่รู้ด้วย "สัญญา" ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
akrapat
วันที่ 25 ม.ค. 2554

ธรรมะเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตัว เมื่อรู้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครรับรอง ว่าใช่หรือไม่ ถ้ายังสงสัยอยู่ว่า นี้ใช่หรือไม่ ยังแสดงว่า ยังไม่รู้ หรือยังไม่ใช่ เพราะในยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าที่ท่านจะรับรองให้ เหตุที่ฟังธรรมะบ่อยๆ ก็เพื่อให้รู้ว่า สภาพธรรมะแต่ละอย่างไม่ใช่เรา เพื่อความละคลายความเป็นตัวตน ไม่ใช่ฟังธรรมะเพื่อให้รู้ธรรมะ หรือ รู้ความหมายแต่ละคำเยอะๆ การรู้เยอะ บางทีก็เพิ่มอัตตา แต่ถ้าจำชือ หรือความหมาย อะไรไม่ได้เลย แต่รู้อย่างเดียว คือ ขณะปัจจุบันนี้ก็เป็น ธรรมะ ท่านก็จะเลิกสงสัยเอง ว่าอะไร คือ ปรมัตถ์ อะไรคือ สมมติ ท่านก็จะเห็นว่า อะไรคือ สาระ ของชีวิต มุมมอง ความเห็นต่อโลกก็จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
choonj
วันที่ 25 ม.ค. 2554

ยังไม่มีคำตอบของความเห็นที่ ๒๒ ผมเลยถือโอกาสออกความเห็นว่า รูปก็เกิดตามปัจจัยของรูป นามก็เกิดตามปัจจัยของนาม รูปเกิดก็มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะจิต เมื่อรูปเกิด นามเกิด จึงมีการประชุมกัน เรียก อายตนะ ในขณะประชุมจึงทำให้เข้าใจว่าเกิดพร้อมกัน ความจริงต่างก็เกิดตามเหตุและปัจจัยของตนๆ ถ้าทางมโนทวารมีโทสะเกิด ปัญจทวารมีรูปใดเป็นอารมณ์ รูปนั้นก็จะเป็นอารมณ์ตลอดวิถี ในที่นี้รูปนั้นเป็นปัจจัยให้โทสะเกิด เพราะสังสมโทสะ ผิดถูกอย่างไรผู้รู้ช่วยแนะนำ.....ฯ

นานๆ ก็จะมีกระทู้ฮ้อดๆ อย่างนี้สักที่มีผู้ออกความเห็นถึงตอนนี้ ๒๓ ขยันออกความเห็นเข้าไว้ผิดถูกเป็นการสนทนา ขอเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่แค่วิริยะเท่านั้น แต่ต้องเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่มีอารมณ์อันเลิศ ไม่ใช่ของง่ายเลย ....ฯ (ที่นี่ยากจริงหนอ)

มีเรา ไม่มีเรา ถ้าไม่มีเราก็อริยบุคคล....ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
kosol.pa
วันที่ 25 ม.ค. 2554

เห็นด้วยครับกับคำว่า "ต้องรู้ด้วยปัญญา" และก็เห็นด้วยครับกับคำว่า "ธรรมมะเป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตัว"

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ม.ค. 2554

เรียน คุณสมศรี ความเห็นที่ ๒๒
ถ้าถามว่า " รูปธรรมและนามธรรมเกิดพร้อมกันหรือเปล่าคะ"
จากการศึกษาพระธรรม เข้าใจว่า...รูปธรรม เมื่อเกิดก็ต้องดับ ตามเหตุ ตามปัจจัย นามธรรม ก็เช่นเดียวกันเพราะว่า "สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"
แต่ว่า "รูปธรรม-ที่ยังเกิด-ดับ-อย่างรวดเร็ว-เสมือนไม่ดับ" นั้นเองเป็น "ปัจจัย" ให้เกิดการรับรู้-อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง-ทางใดทางหนึ่งใน ๖ ทวาร.
ขอยกตัวอย่าง "การได้ยิน ๑ ขณะ"
"จิตได้ยิน" โดย "สภาพธรรม" หมายถึง จิตได้ยิน ภาษาบาลี คือ "โสตวิญญาณ"
"การได้ยิน ๑ ขณะ" ขาด "ปัจจัย" ๓ ประเภทนี้ไม่ได้เลยค่ะ
ปัจจัยทั้ง ๓ ได้แก่๑. จิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) ซึ่งเป็น นามธรรม คือ สภาพรู้และ ขณะที่ได้ยินนั้น ต้องไม่อยู่ในสภาวะที่หลับสนิท เพราะขณะที่กำลังหลับสนิทนั้น จิตเป็นภวังค์"ภวังคจิต" คือ จิตที่ดำรงภพชาติซึ่งเกิด-ดับ-สืบต่อ ขณะที่ยังไม่ตาย แต่ กำลังหลับสนิท และไม่ฝันขณะที่ จิตเป็นภวังค์จะไม่มีการรับรู้-อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง-ทางทวารใดทวารหนึ่ง-ในทวารทั้ง ๖.
๒. เสียง (สัททารมณ์) ซึ่งเป็น รูปธรรม คือ สภาพที่ไม่รู้ ขณะที่ได้ยิน หมายความว่า เสียงนั้น ต้องกำลังเกิด-ดับ-สืบต่อ เสียง ที่ดับไปแล้ว...เป็นอารมณ์ของจิตได้ยิน ไม่ได้ เสียงที่ไม่สามารถได้ยิน เช่น เสียงที่ดังอยู่ในป่า หรือในที่ไกลๆ เกินกว่าจะได้ยิน เป็นต้นแม้เสียงนั้นจะกำลังเกิด-ดับ-สืบต่ออยู่ก็ตามแต่ เสียงนั้น ก็ไม่สามาถเป็นอารมณ์ของจิตได้ยินได้.
๓. รูปธรรม-ที่อยู่ตรงกลางหู (โสตปสาทรูป) ซึ่งเป็น รูปธรรม คือ สภาพที่ไม่รู้ และ โสตปสาทรูป ในบุคคลนั้น จะต้องกำลังเกิด-ดับ-สืบต่อหมายความว่า ยังมีชีวิตอยู่ และ หูไม่หนวก..
การรับรู้อารมณ์ทางตา...ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็โดยนัยเดียวกัน.
.
สำหรับ การรู้อารมณ์ทางใจ คือ ทางมโนทวาร นั้น"ตามปกติ" จะต้องเกิดขึ้น รับรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร-สืบต่อจากทางทวารทั้ง ๕.
ในกรณีที่เห็น หรือ ได้ยิน (ซึ่งเป็น "จิต" ที่เกิดขึ้น และ ดับไปแล้ว) ........แล้ว "จิตขณะต่อไป"....มี "โทสะ" เกิดร่วมด้วย (โทสะ ซึ่งเป็น "เจตสิก" ที่มี ลักษณะไม่พอใจ) สิ่งที่ควรเข้าใจ คือ สติเจตสิก สามารถ ระลึก-ตรง-"ลักษณะของโทสะ"-ที่กำลังเกิดในขณะนั้น" ทันทีและ ปัญญาเจตสิก สามารถ "ศึกษา-พิจารณา-ลักษณะของโทสะ-ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น"
ในขณะที่จิตและเจตสิกเกิดขึ้น "คิดถึง-เรื่องของโทสะ"....................ไม่ใช่ ขณะที่จิตและเจตสิก กำลังระลึก-ตรงลักษณะ-ของ "สภาพธรรม" .......ที่เรียกว่า "โทส-เจตสิก".
พระสัทธรรม ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงแก่เรา นั้น ละเอียด ลึกซึ้งมาก.............................การศึกษาเรื่องของจิต "อย่างละเอียด"จึงควรศึกษาเรื่อง "วิถีจิต" ประกอบด้วย.
"วิถีจิต" คือ การเกิด-ดับ-สืบต่อ-รับรู้-อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งของจิต-หลายขณะ-หลายประเภทมีทั้งวิถีจิต-ทางปัญจทวาร และ วิถีจิต-ทางมโนทวารซึ่งจะมีรายละเอียดอีกมากหากศึกษาเข้าใจ ก็จะได้คำตอบที่ชัดเจน และ กระจ่างมากขึ้น..
ในฐานะที่ข้าพเจ้า ยังศึกษาอยู่เช่นกัน ยังไม่ค่อยเข้าใจ เรื่อง "วิถีจิต" แจ่มแจ้งนักจึงขออธิบาย ตามความเข้าใจ แค่นี้ก่อนค่ะ..
ขออนุโมทนา คุณสมศรี และ ขอเป็นกำลังใจในการศึกษาพระธรรมในขั้น "ปริยัติ" ต่อไปนะคะเพราะว่า ความเข้าใจ........จนกระทั่ง"รอบรู้" ในขั้น "ปริยัติ"จะเป็นปัจจัย-เกื้อกูลแก่ การศึกษาในขั้น "ปฏิบัติ" ต่อไปค่ะ.
โดยส่วนตัวแล้ว...เมื่อทราบว่า พระธรรมละเอียด ลึกซึ้งยิ่งนัก ไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ จึงมีความเห็นว่า การศึกษาพระธรรม อย่างค่อยเป็นค่อยไป...ตามลำดับและ เข้าใจ...เท่าที่สามารถจะเข้าใจได้...แต่ไม่ขาดการศึกษาพระธรรมเป็น "สิ่งที่ควรสั่งสมไว้" เป็นอย่างยิ่งค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2554

ธรรมทั้งหลาย (สังขารธรรม) = ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

สังขารธรรม เป็นธรรมะที่เกิดดับ จึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

นิพพาน (วิสังขารธรรม) = เที่ยง เป็นสุข เป็นอนัตตา

นิพพาน (วิสังขารธรรม) เป็นธรรมะที่ไม่เกิดไม่ดับ จึงเที่ยง เป็นสุข และเป็นอนัตตา

สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยที่สุดแล้วก็ดับไปหมดสิ้น

สังขารธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป

ปรมัตถธรรมมี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิตเจตสิก รูป เป็น สังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ชั่วขณะที่สั้นมากแล้วก็ดับไป นิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานจึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิดดับ นิพพานเป็นวิสังขารธรรม

ดาวน์โหลดหนังสือ -->

ปรมัตถธรรมสังเขป

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2554

[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใครๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็นไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.


จักขุ และ สังขารธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา

การบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน ไม่เป็นไปตามอำนาจ ชื่อว่า อนัตตา

บังคับไม่ได้ แม้ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา ความไม่สบายใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ห้ามหรือบังคับไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ แม้รูปร่างกายของเรา บังคับไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ก็ไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2554

ธรรมทั้งหลาย (สังขารธรรม) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา

สิ่งที่ไปเที่ยงจะเป็นสุขได้อย่างไร?

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๒

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดรูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ฯลฯ

เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เช่นเดียวกันกับรูป

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ฯลฯ

เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เช่นเดียวกันกับรูป

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2554

ตัวตนไม่มี แต่มีนามธรรมและรูปธรรม (จิต เจตสิก รูป)

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
kosol.pa
วันที่ 26 ม.ค. 2554

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตท่าน chatchai.k ท่านอธิบายได้แจ่มชัดนัก

ในพระไตรปิฎกระบุว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์... นั่นไม่ใช่ของเรา" ในพระไตรปิฎกไม่ได้บอกว่า "สิ่งที่ไม่ใช่ของเรา จึงมีผลทำให้เราเป็นทุกข์ " ความหมายในคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องการให้พ้นทุกข์ คือ หากสิ่งใดไม่เที่ยงแล้ว เราเอาจิตเข้าไปปรุงแต่งยึดติดในสิ่งนั้นเราก็จะทุกข์ เช่น เราไปยึดติดกับรูปสวย ต่อมาเมื่อรูปไม่เที่ยงคือไม่สวยเราก็จะเป็นทุกข์ หรือเรายึดติดกับยศตำแหน่ง เมื่อยศตำแหน่งเสื่อมไปเราก็จะเป็นทุกข์ สุดท้ายก็เพื่อให้พ้นทุกข์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 ม.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ ๓๕โปรดพิจารณาอีกครั้ง.........

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือ เป็นสุข เล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ฯลฯ
ทุกข์ ในที่นี้ ควรจะหมายถึง ความแปรปรวน-สภาพธรรมที่เกิดดับจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ได้แก่ สังขารธรรม คือ จิต เจตสิก-รูป.
สุข ในที่นี้ ควรจะหมายถึง ความไม่แปรปวน-สภาพธรรมที่ไม่เกิด-ดับจึงชื่อว่า เที่ยง ได้แก่ วิสังขารธรรม คือ พระนิพพาน.
.....................................
ไม่มีเรา ไม่มีใครสามารถที่จะ "เอาจิตไปปรุงแต่งยึดติด"..... (ตามที่ท่านกล่าว) มีแต่ "สภาพธรรมที่เรียกว่า "อวิชชา" คือ "ความไม่รู้" ซึ่ง ทำให้เกิดความความยึดถือ ว่า เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวของเรา.ยึดถือโลกธรรม ว่า เป็นลาภ-ยศ-ของเรา ฯ... ยึดถือ ว่า งามในสิ่งที่ไม่งาม เป็นต้นและเพราะความยึดถือ-ด้วยความเป็นเรา เป็นของเรา ฯเป็นเหตุให้เกิด สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง ฯ
ความพ้นจากทุกข์ ต้องด้วย "วิชชา" (ปัญญา) หมายถึง การเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง...ตามลำดับ-กำลังของปัญญายิ่งปัญญามากขึ้น อวิชชายิ่งลดลง กิเลสก็ยิ่งลดลง...จนไม่เหลือเลย จึงจะพ้นทุก (ใจ) ผู้ไม่ทุกข์ใจเลย คือ ผู้ที่มีปัญญาระดับพระอรหันต์.
ผู้ศึกษาพระธรรม ควรเริ่มต้นด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจและค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาไปทีละเล็ก ทีละน้อย...สะสมปัญญาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับอวิชชา (ความไม่รู้) และ ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งจะไม่เกิดอีก.
ไม่เกิดอีก...ก็ไม่มีจิต เจตสิก รูป ซึ่งเกิด-ดับ-ไม่เที่ยง (ที่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา) นั่นคือ "การพ้นทุกข์ที่แท้จริง"....ซึ่งคำว่า "ยาก" ก็ยังน้อยไป.

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
kosol.pa
วันที่ 27 ม.ค. 2554
ขอบพระคุณท่านพุทธรักษาที่ให้คำแนะนำครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
prasopsuk
วันที่ 28 ม.ค. 2554

สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ดังนั้น เรา มีจริงก็เป็นธรรมด้วย ซึ่งเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แต่เกิดมาจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง จึงเกิดมีเรา)

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
akrapat
วันที่ 28 ม.ค. 2554

โปรดพิจารณาอีกครั้ง.........

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือ เป็นสุข เล่า?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? ฯลฯ
ทุกข์ ในที่นี้ ควรจะหมายถึง ความแปรปรวน-สภาพธรรมที่เกิดดับจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง ได้แก่ สังขารธรรม คือ จิต เจตสิก-รูป.
สุข ในที่นี้ ควรจะหมายถึง ความไม่แปรปวน-สภาพธรรมที่ไม่เกิด-ดับจึงชื่อว่า เที่ยง ได้แก่ วิสังขารธรรม คือ พระนิพพาน.ขออนุโมทนา กับทุกๆ ท่าน นะครับ

ชัดเจนครับ ไม่ได้อวด ภูมิธรรม นะครับ แต่ขอแสดงความเห็น อีกครั้งอย่าไปตีความ ทุกข์ในแง่ของ คือทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนา นะครับ ท่านหมายถึง จิตเจตสิก รูป ซึ่งเป็น สังขารธรรม คือ สภาพธรรมที่ปรุงแต่ง เป็นของไม่เที่ยงจึงเป็น ทุกข์หรือ พูดให้ง่ายก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น ของไม่เที่ยง แต่การที่จะรู้ว่า เป็นของไม่เที่ยง แล้วเป็นทุกข์ นั้น ลำพังปัญญาขั้นการคิด หรือจินตามย-ปัญญาน่ะ ไม่พอครับ ต้องเป็นระดับ วิปัสสนา ก็คือ ต้องมี สติ ที่เป็น สัมมาสติ หรือ สติสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นเพื่อ ที่จะให้ จิตนั้นเห็น ว่า รูปกับนามมันแยกกัน แต่ถ้าสติไม่เกิด แม้ จะพยายามคิดว่า ไม่ใช่เรา หรือของเรา มันก็ยังเป็นเราที่คิดว่าไม่ใช่เรา สุดท้ายก็ยังเป็นเราทีทุกข์

แต่เมื่อ สามารถเห็นว่า รูปนามแยกกันแล้ว ซึ่งเป็น วิปัสนาญาณ ขั้นต้นแล้ว หรือ นามรูป ปริเฉทญาณ แล้ว เมื่อ สติเกิดบ่อย และมีกำลัง มากขึ้นหรือตั้งมั่นมากขึ้น คือมีสัมมาสมาธิ ปัญญาก็จะค่อยเจริญขึ้น รู้ต่อไปอีกว่า นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือปัจจย-ปริคหญาณ คือ คือ รูปธรรม เป็น ปัจจัยให้ เกิดนาม นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป หลังจากนั้น ก็จะเห็น ทั้งรูป กับนาม นั้น ล้วน ไม่เที่ยง คือ เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ดับ ไป เห็นในที่นี่เห็นด้วยสติปัญญา นะครับ คืิอ สัมมสนญาณ หรือ ธรรมวิจย ในโพฌชงค์ ๗ นั้นแหละครับ ที่จริง ในขั้นนี้ มรรคมีองค์ ๕ มีกำลังขึ้น แต่ไม่พอที่จะประหารกิเลส เป็นพระโสดาบันบุคคล คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการยังไม่บริบูรณ์พอ เมือ สติปํญญาเจริญมากขึ้น ก็จะเห็น สภาวะธรรมฝ่ายดับ บ่อยขึัน คือ พอเห็นรูปทางตา ยังไม่ใส่ชื่อ ว่าเป็นอะไรมีสติเกิดขั้น รูปนั้นก็ดับ ทางหู หรือ ทางอื่นก็เช่นเดียวกัน ที่พระ พุทธเจ้า เรียกว่า สักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่าลิ้มรส หรือที่ท่าน อาจารย์ บอกว่าเห็น ไม่ใช่ โต๊ะ เก้าอี้ี้ คน สัตว์ สิ่งของ พูดสั้นๆ ก็คือ คือเห็น รูปปรมัตถ์ ต่อไป ไม่ว่า เวทนา สัญญา หรือ ความคิดปรุงแต่ง ต่าง เช่น โทสะกำลังเกิด สติเกิดขั้น เป็นต้น เมื่อเห็นมากเข้าๆ ก็เริ่มเห็นความจริง เมื่อเห็นความจริง ก็เริ่มเบื่อหน่าย หรือ นิพิทาญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ก็เริ่ม คลายกำหนัด คือหมดอยาก เมื่อหมดอยาก จิตไม่ดิ้นรน คือปรุงแต่ง เมื่อ หมดความปรุงแต่ง ก็หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่า หลุดพ้น (จากสังโยชน์หรือกิเลส) แล้ว นั่นคือ จิตเข้าไปเห็นสภาวะธรรม ที่ไม่ปรุงแต่ง นั้นคือ นิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
คุณ
วันที่ 28 ม.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
kosol.pa
วันที่ 29 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณท่าน Akrapat และขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านครับ ที่ได้อธิบายเพิ่มเติม การสนทนาธรรมในหัวข้อนี้ทำให้ผมได้เข้าใจอะไรๆ เพิ่มขึ้น และผมก็เชื่อว่าท่านไม่ได้อวด ภูมิธรรม บางทีการอ่านพระไตรปิฎกมา ฟังธรรมมาก็มาก แต่ไม่ได้สนทนาธรรมกับผู้รู้ บางทีทำให้สิ่งที่ผมคิดว่าคิดถูกแล้ว เข้าใจถูกแล้ว ก็ผิดได้จริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
prasopsuk
วันที่ 29 ม.ค. 2554

@kosol.pa "ทำให้สิ่งที่ผมคิดว่าคิดถูกแล้ว เข้าใจถูกแล้ว ก็ผิดได้จริงๆ " แล้วที่บอกว่า"ผิดได้จริงๆ " ท่านแน่ใจอย่างนั้นจริงๆ รึ??

 
  ความคิดเห็นที่ 47  
 
chatchai.k
วันที่ 29 ม.ค. 2554

สิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ดังนั้น เรา มีจริงก็เป็นธรรมด้วย ซึ่งเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แต่เกิดมาจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง จึงเกิดมีเรา)

เรา ไม่มีจริง แต่มีปรมัตถธรรม

ขอเชิญคลิกฟัง.. ปรมัตถธรรมมีจริงแม้ไม่ต้องเรียกชื่อ

ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวัน (ในแต่ละภพในแต่ละชาติ) ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับไป ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงขณะที่จุติเกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ นั้น เป็นความประพฤติเป็นไปของขันธ์ แต่ละขันธ์ จริงๆ (ขันธ์ หมายถึงทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่า คือ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ไม่มีเรา มีแต่ธรรม) ถ้ายังไม่ได้ศึกษาก็ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ศึกษาแล้ว ก็จะมีความเข้าใจว่า ทุกขณะเป็นความประพฤติเป็นไปของขันธ์ เพราะทุกขณะเป็นธรรม มีธรรมอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่พ้นหกทางนี้เลย จึงต้องอดทนที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไปอย่างไม่ท้อถอย เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่า เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่มีจริงและกำลังปรากฏ (ซึ่งเป็นความประพฤติเป็นไปของขันธ์) โดย.. khampan.a

 
  ความคิดเห็นที่ 48  
 
 
  ความคิดเห็นที่ 55  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 4 ก.พ. 2554

ไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถรู้ได้

รู้ได้ ตามกำลังของปัญญา ที่ได้สะสมมา

ฟังและเข้าใจธรรมที่ท่านบรรยายไว้มากมายในเวปนี้ ให้มากๆ ดีกว่าครับ

ความสงสัยต่างๆ จะคลายลงไปได้ ครับ

ฟังๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ และ "เข้าใจ" ในสิ่งที่ได้ฟัง นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 57  
 
prasopsuk
วันที่ 7 ก.พ. 2554

ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้ให้ความเห็น นับเป็นการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญาแตกฉานจริงๆ ขอสรุปว่า "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ .... พระธรรมเป็นสิ่งที่ผู้รู้จะรู้ได้เฉพาะตัว

จึงขออนุญาตปิดกระทู้นี้ครับผม..........

 
  ความคิดเห็นที่ 59  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ขอแสดงความคิดเห็น ง่ายๆ สั้นๆ ท่านจะหาความเป็นเราได้ที่ไหนกัน. ก็สภาพเห็น ไม่ใช่สภาพรูป จะยึดถือว่าเป็นเราไหม?

 
  ความคิดเห็นที่ 61  
 
เมตตา
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ประโยชน์ของการฟังพระธรรมนั้น ควรฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟัง เป็นผู้ตรงที่จะเป็น ผู้พิจารณาตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมะ ที่กำลังปรากฏขณะนี้ ปัญญาขั้นสูงจะเกิดชึ้นได้อย่างไร การพูดแต่เรื่องราวของ ธรรมะโดยที่ไม่มีความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ก็เป็นแต่เพียงผู้บ่นเพ้อธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 62  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 11 ก.พ. 2554
ขณะที่รู้ว่าสภาพที่เห็นต่างกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ไม่เป็นเพียงผู้บ่นเพ้อธรรม
 
  ความคิดเห็นที่ 64  
 
เจริญนคร
วันที่ 13 ก.พ. 2554

ถึงคุณเมตตา ผมพอจะเข้าใจคำว่า"บ่นเพ้อธรรม"ขึ้นมานิดหน่อยแล้วครับ ผมว่าทุกคนที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง ก็เป็นผู้บ่นเพ้อธรรมกันทั้งนั้น แต่ผมมีความคิดเห็นว่า ที่ท่านๆ บ่นเพ้อธรรมกันนั้น เช่นในเวบๆ นี้ เป็นประโยชน์อย่างมาก ที่จะทำให้ผู้ผ่านมาอ่านได้สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กละน้อย เพราะการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ใช่ของง่าย ไม่ใช่สิ่งที่เห็นตามได้ง่าย ผู้ที่บ่นเพ้อธรรม แม้จะไม่ได้เข้าใจสิ่งที่ตัวเองกำลังพิมพ์หรือพูดบรรยายก็ตาม แต่ผู้ฟังเมื่อได้ฟังก็ย่อมมีการพิจารณา และสะสมการฟังพระธรรมต่อไปในภายภาคหน้า จึงคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่น่าจะตำหนิแต่อย่างใด

 
  ความคิดเห็นที่ 66  
 
prasopsuk
วันที่ 14 ก.พ. 2554

@คุณเจริญนคร ขอบคุณที่ได้ชี้ให้เห็นถึงเกณฑ์หนึ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่า ท่านใด?ประจักษ์แล้วจริงๆ ไม่ใช่แค่คิดไปเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 68  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.พ. 2554

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เช่น แข็งมีจริงเป็นธรรมะกำลังปรากฏกับสติ ซึ่งต่างกับ ขณะที่หลงลืมสติ ยึดถือแข็งว่าเป็นเราแข็ง ถ้าปัญญาเกิดก็รู้ได้เฉพาะตนจริงๆ ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ