ธรรมปรปักษ์ของมานะ

 
WS202398
วันที่  15 ต.ค. 2553
หมายเลข  17361
อ่าน  2,441

ธรรมปรปักษ์ของมานะ คือ อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 ต.ค. 2553

ธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ ก็คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน การไม่ถือตัว

ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มที่

บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเป็นมงคล [อรรถกถา มงคลสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
WS202398
วันที่ 15 ต.ค. 2553
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ต.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า มานะ คือ อะไร ถึงจะเข้าใจถึงธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ ได้ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงเลย ทั้งมานะ และ ธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ มานะ ในทางโลกเข้าใจกันว่าเป็นความพยายามบากบั่นขยันหมั่นเพียร แต่ในทางธรรม มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง เป็นกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตเท่านั้น มานะ เป็นความถือตนทะนงตน ซึ่งไม่มีใครชอบอย่างแน่นอน ผู้ที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมี แต่ว่าความหยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป เมื่อศึกษาในเรื่องของมานะ ซึ่งเป็นกุศลเจตสิกประเภทหนึ่ง ทำให้เห็นว่ากุศลในชีวิตประจำวันมีมากจริงๆ แล้วแต่ว่าใครจะสะสมหนักมากไปในทางใด หรือว่า ใครจะสามารถขัดเกลาให้เบาบางลงได้ในแต่ละทาง ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ ก็จะต้องเป็นกุศลธรรมเท่านั้น ที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน มี ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น เพราะขณะนั้น จิตใจอ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง และประการสำคัญ การอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้สามารถไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้ รวมถึงกิเลสที่กำลังกล่าวถึง คือ มานะ ด้วยกิเลสทั้งหลายที่มีนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญา ถึงจะดับได้ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความต่อไปนี้เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ครับ

มานะ [ธรรมสังคณี]

โทษของมานะ [มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์]

ใจเจียม ด้วยไม่มีมานะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 3 พ.ย. 2553

สักกายทิฏฐิ กับมานะเป็นกิเลสคนละประเภท สักกายทิฏฐิละได้ด้วยโสตาปัตติมรรค ส่วนมานะ ละได้ด้วยอรหัตตมรรค สักกายทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่านามรูป ขันธ์ห้า ว่าเป็นอัตตา ตัวตน มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นการเปรียบเทียบเรากับคนอื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
WS202398
วันที่ 3 พ.ย. 2553

ที่ควร เราไม่ควรเปรียบเทียบเรากับคนอื่นไม่ว่ากรณีใดๆ ใช่หรือไม่ครับ เพราะเปรียบเมื่อใดก็เป็นมานะเมื่อนั้น ในเมื่อยังไม่เป็นพระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 5 พ.ย. 2553

1. ที่ควร เราไม่ควรเปรียบเทียบเรากับคนอื่นไม่ว่ากรณีใดๆ ใช่หรือไม่ครับ เพราะเปรียบเมื่อใดก็เป็นมานะเมื่อนั้น ในเมื่อยังไม่เป็นพระอรหันต์

2. ในชีวิตประจำวันเราก็ต้องมีกิจการงานแนวปฏิบ้ติการอยู่ร่วมกัน มีการกระทำระหว่างผู้น้อยผู้ใหญ่ หรือสถานะต่างๆ การจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องมีการประเมินสถานะ ขอให้ช่วยอธิบายด้วยครับว่า การประเมินลักษณะใดเป็นมานะ หรือไม่เป็นมานะ ยึดหลักว่าขณะใดมีสติ หรือขณะใดเป็นกุศลจิต ก็เป็นการประเมินสถานะที่มิใช่มานะได้หรือไม่ หากได้ก็เป็นการยากที่บุคคลที่สติยังไม่แก่กล้าจะรู้ชัดได้ถึงเพียงนั้น แล้วมีอุบายวิธีอื่นในการพิจารณาเรื่องนี้ได้หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chaiyut
วันที่ 5 พ.ย. 2553

1. ความจริงแล้ว ที่ควร คือ ควรเป็นกุศล ไม่ควรจะเป็นอกุศลครับ แต่ตามความจริงนั้น ไม่มีตัวตนของใครจะห้ามมานะไม่ให้เกิดได้ ถ้ามานะมีเหตุปัจจัยจะเกิด มานะก็ต้องเกิดเกิดเพราะยังไม่ได้ดับมานะ เกิดเพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์ เกิดเพราะความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อห้ามการเปรียบเทียบด้วยมานะที่เกิดแล้วไม่ได้ ก็ควรรู้ถูกว่า มานะ ก็เป็นธรรม ขณะที่เปรียบเทียบ ก็คือจิต เจตสิก กำลังคิด ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่ส่วนใหญ่ คือ เราหลงลืมสติ ในขณะที่มานะเกิด ขณะนั้นลืมว่าเป็นธรรม เพราะมานะไม่รู้ความจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรม จึงมีการเทียบเคียงเรากับเขาด้วยความสำคัญตน ยกตนขึ้นเพราะให้ความสำคัญในขันธ์ที่หลงยึดถือไว้ครับ

2. การจะรู้จักมานะตามความเป็นจริง ก็ต้องฟังพระธรรม อบรมปัญญา แต่จะรู้จริง ก็ต่อเมื่อมานะปรากฏกับสติสัมปชัญญะที่ระลึกตรงลักษณะของมานะครับ ส่วนเรื่องของการประเมินบุคคลอื่นในการทำงาน ประเมินด้วยมานะก็มี ไม่ใช่มานะก็มี ถ้าขณะนั้นประเมินผู้อื่นด้วยมานะ แล้วสติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่มีทางที่จะรู้เลยว่าขณะนั้นเ็ป็นอกุศล แม้เขาจะสูงกว่า เสมอกัน หรือต่ำกว่าเราก็จริง แต่ใจก็เป็นอกุศล ซึ่งต่างกับขณะที่คิดถึงผู้ถูกประเมินด้วยกุศล ขณะนั้นตรง จึงทำให้ประเมินตามความจริง ตามเนื้องานที่เขาทำได้ หรือไม่ได้ทำ ไม่มีอคติในขณะที่ประเมินด้วยกุศลจิต

การขัดเกลามานะนั้นเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยการฟังเพื่อเข้าใจธรรมมาก ธรรมเป็นอาหารให้ปัญญาและกุศลทั้งหลายเจริญขึ้น จนกว่าจะค่อยๆ ปรุงแต่งให้กุศลมีกำลังเพื่อถึงการน้อมประพฤติปฏิบัติตาม พระธรรมทั้งหมดเกื้อกูลให้ปัญญาเจริญขึ้น เพื่อละอกุศลแต่ละประการไปในตัวอยู่แล้ว แต่ต้องอาศัยระยะเวลานาน แล้วก็ละตามลำดับขั้นด้วยครับ ผู้ที่ดับมานะได้ คือ พระอรหันต์ แต่ก่อนหน้านั้นต้องอบรมขัดเกลากิเลส มีมานะเป็นต้น ไม่น้อยทีเดียวในแต่ละชาติๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ภัสร์
วันที่ 8 พ.ย. 2553

สาธุกับท่านผู้มีใจในธรรมทุกท่าน

ขอให้ปัญญาและความเพียรของทุกท่านจงถึงซึ่งจุดหมาย คือพระนิพพานเทอญ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
WS202398
วันที่ 8 พ.ย. 2553
ความอ่อนน้อมถ่อมตน ตรงกับเจตสิกตัวใหนครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 10 พ.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ ๑๐

ความอ่อนน้อมถ่อมตนไม่มีเจตสิกดวงใดดวงหนึ่งโดยเฉพาะ คือ มีโสภณเจตสิกหลายประเภทเกิดขึ้นในขณะแห่งกุศลจิตที่ไม่สำคัญตน ไม่ถือตน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
WS202398
วันที่ 10 พ.ย. 2553

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

1. หากขณะที่เรามีมานะ ก็รู้ว่ามีมานะ ขณะที่มีมานะชื่อว่าไม่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขณะที่รู้ว่ามีมานะ มีสติเกิดร่วมด้วย ขณะดังกล่าวชื่อว่าไม่มีมานะใช่หรือไม่ครับ

2. ในความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน โดยมากจิตที่มีมานะจะเกิดกับจิตที่รู้ว่าไม่มีมานะสลับกันไปมาอย่างรวดเร็วใช่หรือไม่ เพราะแม้ว่าจะรู้ว่ามีมานะแต่ขณะต่อไปมานะก็ยังปรากฏต่อไปเช่นกัน

3. ขณะที่เกิดสติ และสติเกิดกับกุศลจิตเท่านั้น ชื่อว่าขณะนั้นไม่มีมานะใช่หรือไม่

4. จากความเห็นที่ 11 แสดงว่าสภาวะที่เรียกว่าความอ่อนน้อมถ่อมตนนี้มีหลายลักษณะใช่หรือไม่ครับ เพราะโสภณเจตสิกที่ว่ามีหลายประเภทนั้น ก็มีการเกิดขึ้น มากดวงบ้าง น้อยลงมาบ้าง มากขึ้นไปบ้าง ในจิตแต่ละดวงแล้วแต่เหตุปัจจัย นอกจากนั้นบางดางก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย บางดวงก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย

5. การแสดงออกทางกาย วาจา ที่สังคมสมมติว่า เป็นลักษณะของการอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ทำไปเพราะจารีตบ้าง ธรรมเนียมบ้าง การอบรมบ้าง ความเคยชินบ้าง ด้วยความเป็นตัวตนเช่น ในทางปรมัตถ์ จะถือว่าเป็นความอ่อนน้อมถ่อมตนได้หรือไม่ เช่น ถ้าคิดว่าทำเช่นนี้ พูดเช่นนี้ คนอื่นจะได้เห็นว่าอ่อนน้อมถ่อมตน แต่จริงๆ คิดว่าตัวดีตัวเหนือตัวด้อย เป็นต้น ดังนี้ ในขณะที่พูดหรือทำซึ่งเป็นคนละขณะที่คิดต่างๆ นั้น จะเป็นกุศลได้หรือไม่ คือผมสงสัยว่า เช่น ขณะที่พูดจาไพเราะ ก็มีเจตนาจะพูดจาให้ไพเราะ แต่ขณะจิตก่อนหน้านั้นอาจเป็นอกุศลที่ปรุงว่าจะพูดจาออกมาให้ไพเราะด้วยโลภะเป็นต้น ขณะที่พูดนั้นในทางปรมัตถ์ ถือว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ผมจำมาผิดหรือเปล่าครับที่ว่า อกุศลก็อาจเป็นปัจจัยแก่กุศล หรือกุศลก็อาจเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chaiyut
วันที่ 10 พ.ย. 2553

1. กุศลทุกประเภทมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ไม่มีมานะเกิดร่วมด้วย ขณะที่เรารู้ตัวว่ามีมานะ ปกติเรารู้ด้วยความเป็นเรา ว่ามานะนั้นคือเรา แต่ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะที่ระลึกตรงลักษณะของมานะ จึงจะรู้ว่ามานะเป็นธรรม เป็นอกุศลธรรมอย่างหนึ่งครับ ขณะที่ระลึกได้ ไม่ใช่ขณะที่มีมานะ แต่กำลังมีมานะเป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะครับ

2. ชีวิตประจำวัน คือ ขณะนี้มีธรรม ธรรมใดปรากฏ ควรเข้าใจถูกว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมครับ มานะก็เป็นธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน ถ้าสติไม่ระลึก ที่รู้ว่ามีมานะ ก็เป็นเรารู้ ยังไม่ตรงที่จะรู้ว่าแม้มานะก็ไม่ใช่เราครับ

3. คำตอบเดียวกับข้อ ๑

4. ขอเรียนเชิญอาจารย์ประเชิญช่วยกรุณาตอบด้วยครับ

5. การแสดงออกทางกาย วาจา เพราะมีจิต,เจตสิกเป็นปัจจัย อกุศลจิตเป็นปัจจัยให้มีกาย วาจา เสมือนคล้ายจะมาจากกุศล แต่ความจริงคือเป็นอกุศลก็ได้ การเสแสร้งการหลอกลวง การไม่เป็นผู้ตรง เป็นลักษณะของอกุศลจิต ต้องเป็นผู้ที่ฟังธรรม ศึกษาธรรม มีปกติอบรมสติฯ นาม,รูปประเภทใดปรากฏ แล้วสติฯ ระลึกได้ จึงจะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริง ว่าการแสดงออกด้วยกาย วาจาอย่างนั้น กระทำด้วยจิตประเภทใด เป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต โดยปรมัตถ์ไม่มีสังคม ไม่มีบุคคล สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันมีแต่จิต เจตสิก และรูปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 23 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ