ขอความเห็น

 
แสงสว่าง
วันที่  3 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14460
อ่าน  1,408

1) การอยู่ป่าเป็นวัตรของภิกษุ เชื่อกันว่าเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ท่านเห็นด้วยหรือไม่?

2) การสมาทานธุดงค์วัตร เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ท่านเห็นด้วยหรือไม่?

3) ธุดงค์วัตร เหมาะกับบุคคลชนิดใด?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

๑. การอยู่ป่าเป็นวัตรของภิกษุ จิตเป็นกุศลก็มี จิตเป็นอกุศลก็มี จิตเป็นกิริยาก็มี

๒. การสมาทานธุดงค์วัตร ด้วยจิตเป็นกุศลก็มี จิตเป็นอกุศลก็มี จิตเป็นกิริยาก็มี

๓. ธุดงค์วัตร เหมาะกับผู้มีอัธยาศัย และเห็นประโยชน์ของการประพฤติธุดงค์..

ขอเชิญคลิกอ่าน

ภิกษุที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

...สาธุ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การอยู่ป่าเป็นวัตร การสมาธานธุดงค์หรือข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อการขัดเกลา ผู้ที่ทำด้วยจิตเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ครับ เพราะว่าผู้ที่ประพฤติตามข้อปฏิบัติเหล่านั้น ด้วยเหตุแห่งลาภ สักการะ สรรเสริญก็มี ทำกิริยามารยาทเรียบร้อย สมาธานธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตรด้วยเหตุแห่งลาภ เป็นต้น จิตเป็นอกุศลแน่นอนและย่อมมีอบายไปเบื้องหน้าส่วนผู้ที่อยู่ป่าเป็นวัตร สมาธานธุดงค์ หรือประพฤติข้อปฏิบัติทีขัดเกลาเพื่อเหตุเพื่อละกิเลส รู้แจ้งอริยสัจจธรรมจิตย่อมเป็นกุศลในขณะนั้นครับ

จะเห็นได้ว่าข้อปฏิบัติเพื่อลาภและข้อปฏิบัติเพื่อนิพพานนั้นต่างกัน ถึงแม้ดูภายนอกจะเหมือนกันก็ตามครับ จิตจึงต่างกันแม้การกระทำเหมือนกัน สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 280 "ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น, ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น (คนละอย่าง) . ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงตามเจริญวิเวก." ข้อปฏิบัติ ๒ อย่าง "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนั้นเป็นอย่างอื่น, ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึง พระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ก็อบาย ๔ มีประตูอันเปิดแล้วนั้นแลดังอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการสมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภด้วยการปฏิบัติอย่างนี้' ส่วนภิกษุผู้ละลาภ และสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน แล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้"

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

1. ถ้าเป็นอัธยาศัย เห็นโทษของการคลุกคลีกับหมู่คณะ เพราะทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่ สงบเป็นอกุศล ก็หลีกเร้นไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อขัดเกลากิเลสเป็นกุศลค่ะ

2. การสมาทานธุดงค์วัตร ต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจธรรมะจริงๆ มีปัญญาเห็นโทษ ของอกุศล ก็เจริญกุศลยิ่งขึ้นไป ด้วยความตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ เป็นกุศล

3. แล้วแต่ละบุคคล แล้วแต่อัธยาศัยที่สะสมอุปนิสัยมาไม่เหมือนกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
saifon.p
วันที่ 4 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Yongyod
วันที่ 7 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สามารถ
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ภิกษุที่อาศัยอยู่แถวนิคมบ้านถ้าหากประพฤติไม่เหมาะตามหน้าที่ของบรรพชิต ก็ย่อมไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเมื่ออยู่ป่า (เชิญฟัง เทปวิทยุแผ่นที่ 2 ประมาณครั้งที่ 95-103 ครับ)

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Komsan
วันที่ 20 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มี.ค. 2564

จากความเห็นที่ 9

(เชิญฟัง เทปวิทยุแผ่นที่ 2 ประมาณครั้งที่ 95-103 ครับ)

แนวทางเจริญวิปัสสนา แผ่นที่ ๒ (ครั้งที่ 61-120)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ