อย่างไรเรียกว่า มรณะ [มรณนิทเทส]

 
JANYAPINPARD
วันที่  16 ก.ย. 2552
หมายเลข  13557
อ่าน  1,679

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ในมรณนิทเทส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ศัพท์ว่า ยํ หมายถึง มรณะ เป็นศัพท์แสดง นุปํสกลิงค์ (ไม่ใช่เพศชาย เพศหญิง ทางไวยากรณ์) . ในคำว่า ยํ นั้น พึงประกอบความดังนี้ว่ามรณะ ท่านเรียกว่า จุติ เรียกว่า จวนตา. ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า จุติแสดงถึงสภาพที่เป็นเอง. ศัพท์ว่า จวนตา แสดงถึงภาวะ คือ อาการ. เมื่อบุคคลถึงมรณะแล้ว ขันธ์ทั้งหลายย่อมแตก และหายไป แลไม่เห็น เพราะฉะนั้น มรณะนั้น จึงเรียกว่า ความแตก ความหายไป ความมอดม้วย. บทว่ามัจจุมรณะ คือ มัจจุมรณะ มิใช่ ขณิกมรณะ (ตายชั่วขณะ) . การทำกาละคือ ตาย ชื่อว่า กาลกิริยา. แม้ทั้งหมดนี้ กล่าวโดยสมมติทั้งนั้น. ส่วนบาลีว่า ขนฺธานํ เภโท นี้ เป็นการกล่าวโดยปรมัตถ์. ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเอง มิใช่ความแตกแห่งบุคคล. แต่เมื่อความประชุมพร้อมแห่งขันธ์มีอยู่ ก็สมมติเรียกว่า บุคคลตาย. การทอดทิ้งอัตตภาพ ชื่อว่าการทอดทิ้งซากศพ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลถึงความตาย อัตตภาพก็ตกเป็นเหมือนท่อนไม้ ไร้ประโยชน์ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณะนั้นท่านจึงเรียกว่า การทอดทิ้งซากศพ. ส่วนความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์โดยอาการทั้งปวงก็คือมรณะ. มรณะนั้นนั่นแหละ เรียกว่า สมมติมรณะ.ชาวโลกถือเอาความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เท่านั้น จึงพูดว่า ติสสะ ตาย ผุสสะตาย ดังนี้.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ