ความคุ้นเคย

 
wannee.s
วันที่  29 ส.ค. 2552
หมายเลข  13396
อ่าน  1,059

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในนครพาราณสีในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. ในกาลนั้น สุนัขตัวหนึ่งไปยังโรงช้างมงคล กินเมล็ดข้าวสุกแห่งภัตที่ตกอยู่ในที่ที่ช้างมงคลบริโภค สุนัขนั้นเติบโต

ด้วยโภชนะนั้นนั่นแล จึงเกิดความคุ้นเคยกับช้างมงคล บริโภคอยู่ในสำนักของ

ช้างมงคลนั้นเอง. สัตว์แม้ทั้งสองไม่อาจเป็นไปเว้นจากกัน. ช้างนั้น เอางวงจับสุนัข

นั้นไสไปไสมาเล่น ยกขึ้นวางบนกระพองบ้าง. อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ชาวบ้านคนหนึ่ง

ให้มูลค่าแก่คนเลี้ยงช้าง แล้วได้พาเอาสุนัขนั้นไปบ้านของตน ตั้งแต่นั้น ช้างนั้น

เมื่อไม่เห็นสุนัขก็ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่อาบ พวกคนเลี้ยงช้างจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา

พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า บัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะ

เหตุไร ช้างจึงกระทำอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ไปยังโรงช้าง รู้ว่าช้างเสียใจ คิดว่าโรค

ไม่ปรากฏในทั้งกายของช้างนี้ ก็ความสนิทสนมฐานมิตรกับใครๆ จะพึงมีแก่ช้างนั้น

ช้างนั้น เห็นจะไม่เห็นมิตรนั้น จึงถูกความโศกครอบงำ ครั้นคิดแล้ว จึงถามพวกคน

เลี้ยงช้างว่า ความคุ้นเคยกับใครๆ ของช้างนี้ มีอยู่หรือ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า

มีจ้ะนาย ช้างนี้ถึงความคุ้นเคยกันมากกับสุนัขตัวหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถามว่า บัดนี้ สุนัข

ตัวนั้นอยู่ที่ไหน? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ถูกมนุษย์คนหนึ่งนำไป พระโพธิสัตว์

ถามว่า ก็ที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์คนนั้น พวกท่านรู้จักไหม? พวกคนเลี้ยงช้าง

กล่าวว่า ไม่รู้จักดอกนาย. พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ อาพาธไรๆ ของช้างไม่มี แต่ช้างนั้นมีความคุ้นเคยอย่างแรงกล้า

กับสุนัขตัวหนึ่ง ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นสุนัขนั้นจึงไม่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่

สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า

ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทมาสำคัญว่า พระยา

ช้างตัวประเสริฐได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้

เห็นกันเนืองๆ .


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pornpaon
วันที่ 30 ส.ค. 2552

การได้อยู่ใกล้คน สัตว์ หรือวัตถุที่คุ้นเคย ย่อมมีความสุขและยินดีพอใจ

โดยไม่รู้ว่าความพอใจและความติดข้องในสิ่งที่พอใจนั้นเป็นโทษอย่างหนึ่ง

แต่มักเห็นโทษชัดเมื่อพบกับความพลัดพราก เกิดความเสียใจ

ไม่ชอบในโทสะที่เกิดขึ้น เพราะรักมากติดข้องมากก็เสียใจมาก

โลภะมีกำลังเท่าไร โทสะที่เกิดเพราะความติดในวัตถุนั้นๆ

ก็มีกำลังเท่ากันหรืออาจมีกำลังยิ่งกว่านั้นหลายเท่า

อ่านพระสูตรนี้แล้ว ดิฉันคิดนึกถึงโทษของโลภะและราคะได้ชั่วขณะหนึ่ง

แต่เหตุปัจจัยยังมี ความยินดีพอใจและติดข้องยังต้องเกิดอีกแน่

ซึ่ง...คงต้องขึ้นอยู่กับกำลังของปัญญาของแต่ละบุคคลจริงๆ

ว่าจะระลึกได้ ช้าหรือเร็ว บ่อยหรือนานๆ ที แค่ไหน

ขอบคุณและขออนุโมทนาคุณ wannee.s

คลิกอ่านเรื่อง ความคุ้นเคย โดยตรงได้โดยละเอียดที่

>>> อภิณหชาดก [ว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ ]

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Pongpat
วันที่ 30 ส.ค. 2552

พอคุ้นเคย ชอบพอกัน ก็มักจะเป็นแบบนี้ .. อคติ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 30 ส.ค. 2552

แม้เวลาล่วงมากว่า 2,500 ปี

สัจจะ

ความจริงแห่งชีวิต

เที่ยงแท้ และ น่าอัศจรรย์

ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรด

เป็นเรื่องแห่งชีวิตให้ไตร่ตรอง น้อมประพฤติ

ตั้งแต่ตื่น จนหลับเป็นปกติในชีวิตประจำวัน

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
fam
วันที่ 30 ส.ค. 2552

แต่มักเห็นโทษชัดเมื่อพบกับความพลัดพราก เกิดความเสียใจ

ไม่ชอบในโทสะที่เกิดขึ้น เพราะรักมากติดข้องมากก็เสียใจมาก

โลภะมีกำลังเท่าไร โทสะที่เกิดเพราะความติดในวัตถุนั้นๆ

ก็มีกำลังเท่ากันหรืออาจมีกำลังยิ่งกว่านั้นหลายเท่า

ขอกราบอนุโมทนาบุญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
hadezz
วันที่ 31 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ