การศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุเป็นอริยบุคคลจะต้องอาศัยสมาธิระดับไหนครับ

 
apicha
วันที่  2 ส.ค. 2552
หมายเลข  13048
อ่าน  1,283

ไตรสิกขา มี ศิล สมาธิ ปัญญา ผมสงสัยว่าที่ว่าสมาธิที่ว่าต้องระดับไหนถึงจะเกิดปัญญาจนถึงขั้นอริยบุคคล ตั้งแต่ โสดาบัน ขึ้นไป สามารถใช้สมาธิตามธรรมชาติ ในชีวิตประจำวันในการพิจารณา เพียงพอหรือไม่ครับ หรือจะต้องปฏิบัติในวิธีการ ของสมถะกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน ทางเดียว เพื่อให้เกิดปัญญาดังกล่าว

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 3 ส.ค. 2552
ควรทราบว่าสมาธิมีหลายประเภทและมีหลายระดับ สมาธิที่จะเป็นเหตุให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นสมาธิในขั้นอบรมสติปัฏฐาน ขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นขณิกสมาธิสมาธิในขณะที่กำลังจะบรรลุ และขณะที่บรรลุเป็นอริยะ เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ หลังจากท่านสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ผู้ที่ไม่ได้ฌาน สมาธิในชีวิตประจำวันของท่านเป็นขณิกสมาธิ ดังนั้น ในขณะที่กำลังอบรมอยู่นั้นสมาธิของคนทั่วไปเป็นขณิกสมาธิ คือเกิดชั่วขณะจิต ที่สำคัญอยู่ที่ปัญญาครับถ้าปัญญาได้รับการอบรมจนบริบูรณ์แล้ว แม้สัมมาสมาธิระดับขณิกสมาธิก็ย่อม เป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นอริยะเกิดขึ้นได้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 3 ส.ค. 2552

ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ประเชิญครับว่า

ที่อาจารย์กล่าวว่า "สมาธิในขณะที่กำลังจะบรรลุ และขณะที่บรรลุเป็นอริยะ เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ" นั้น สมาธิดังกล่าวเกิดขึ้นจากเหตุและปัจจัยของขณิกสมาธิที่เกิดจากการเจริญสติอยู่บ่อยๆ เนื่องๆ ใช่หรือไม่ครับไม่จำเป็นต้องเจริญ "สัมมาสมาธิ" เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สมาธิในระดับดังกล่าวเกิดขึ้น ถูกต้องหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 3 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ ๒ ถูกต้องครับ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น สมาธิในขณะนั้น ก็เป็นสัมมาสมาธิ ไม่จำเป็นต้องไปอีกต่างหากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
apicha
วันที่ 3 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13048 ความคิดเห็นที่ 1 โดย prachern.sควรทราบว่าสมาธิมีหลายประเภทและมีหลายระดับ สมาธิที่จะเป็นเหตุให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นสมาธิในขั้นอบรมสติปัฏฐาน ขั้นวิปัสสนาญาณ เป็นขณิกสมาธิสมาธิในขณะที่กำลังจะบรรลุ และขณะที่บรรลุเป็นอริยะ เป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ หลังจากท่านสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ผู้ที่ไม่ได้ฌาน สมาธิในชีวิตประจำวันของท่านเป็นขณิกสมาธิ ดังนั้น ในขณะที่กำลังอบรมอยู่นั้นสมาธิของคนทั่วไปเป็นขณิกสมาธิ คือเกิดชั่วขณะจิต ที่สำคัญอยู่ที่ปัญญาครับถ้าปัญญาได้รับการอบรมจนบริบูรณ์แล้ว แม้สัมมาสมาธิระดับขณิกสมาธิก็ย่อม เป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นอริยะเกิดขึ้นได้ครับ

ขอบคุณในความกรุณาครับ ผมขอทราบต่อนะครับ เท่าที่ผมฟังธรรมมา เข้าใจว่า ตามคำสอน ปัญญามีอยู่ 3 ระดับ คือ สุตะมยปัญญา ปัญญาจากการอ่านการฟัง จินตมยปัญญา ปัญญาจากการคิดไตร่ตรอง ปัญญาที่ท่านว่าได้รับการอบรมมา บริบูรณ์แล้วหมายถึงจาก 2 ระดับที่ว่าใช่ไหมครับ ส่วนปัญญาที่เกิดขึ้นเข้าสู่อริยะ บุคคล คือปัญญาที่เรียกว่า ภาวนามะยะปัญญา ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยเพียงขณิกสมาธิ ซึ่งบางท่าน อาจมีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สมมติว่ามีคนๆ หนึ่ง เข้าใจ คำสอนโดยการอ่าน การฟัง การสนทนาธรรมเป็นอย่างดี ประกอบกับคิดพิจารณา คำสอนด้วยตนเอง จนเข้าใจเป็นอย่างดี แล้วก็มีโอกาสที่จะบรรลุเป็นโสดาบันได้ โดยใช้สมาธิที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ส.ค. 2552

สมาธิเป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง มีชื่อว่าเอกัคคตา ซึ่งเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภทอยู่แล้วค่ะ เมื่อเกิดกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาสมาธิ และเมื่ออารมณ์แนบแน่นอยู่ได้เป็นเวลานาน ความตั้งมั่นก็ปรากฏให้รู้ได้ เป็นสภาพของสมาธิค่ะ ดังนั้น การอบรมเจริญปัญญาเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จึงไม่จำเป็นต้องทำสมาธิขึ้น มาอีกค่ะ (นั่นเป็นเรื่องของสมถภาวนาแล้วล่ะค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันใหม่
วันที่ 3 ส.ค. 2552

จากความเห็นที่ 4

สมาธิที่ถูกต้องต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ คือต้องมีสัมมาทิฎฐิ สมาธินั้นจึงจะเป็น สัมมาสมาธิได้ดังนั้นต้องมีความเห็นถูกขั้นการฟัง ว่าไม่ใช่ไปทำสมาธิ เพราะสมาธิมีอยู่ แล้วในชีวิตประจำวัน หากมีปัญญาก็เป็นสัมมาสมาธิหากไม่มีปัญญาก็เป็นมิจฉาสมาธิ ดังนั้นประเด็นจึงไม่ใช่ว่าเมื่อฟังเข้าใจ พิจารณาไตร่ตรองถูกต้องจะต้องไปทำสมาธิ แต่ เพราะมีความเข้าใจถูกต้องนั่นเองจากขั้นการฟัง เมื่อปัญญาขั้นภาวนาเกิดคือขณะที่ สติปัฏฐานเกิด สมาธิที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นสัมมาสมาธินั่นเอง ดังนั้นขอให้กลับมาที่ความ เข้าใจถูกขั้นการฟังก่อนว่าปัญญารู้อะไร หากเบื้องต้นถูก ก็จะเข้าใจถูกในขั้นต่อไปอย่างแน่นอน แม้แต่ในเรื่องของสมาธิ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
apicha
วันที่ 5 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13048 ความคิดเห็นที่ 5 โดย ไตรสรณคมน์

สมาธิเป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง มีชื่อว่าเอกัคคตา ซึ่งเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภทอยู่แล้วค่ะ เมื่อเกิดกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาสมาธิ และเมื่ออารมณ์แนบแน่นอยู่ได้เป็นเวลานาน ความตั้งมั่นก็ปรากฏให้รู้ได้....เป็นสภาพของสมาธิค่ะ ดังนั้น การอบรมเจริญปัญญาเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จึงไม่จำเป็นต้องทำสมาธิ ขึ้นมาอีกค่ะ (นั่นเป็นเรื่องของสมถภาวนาแล้วล่ะค่ะ)

สรุปตามความเข้าใจของผมนะครับ ที่ว่าการอบรมเจริญปัญญาเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจ ธรรม จึงไม่จำเป็นต้องทำสมาธิขึ้นมาอีกค่ะ (นั่นเป็นเรื่องของสมถภาวนาแล้วล่ะค่ะ) แสดงว่า สมาธิตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าเอกัคคตา เพียงพอแล้วที่จะเจริญปัญญา เพื่อการรู้แจ้งอริยธรรม

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
apicha
วันที่ 5 ส.ค. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 13048 ความคิดเห็นที่ 6 โดย วันใหม่

จากความเห็นที่ 4

สมาธิที่ถูกต้องต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ คือต้องมีสัมมาทิฎฐิ สมาธินั้นจึงจะ เป็นสัมมาสมาธิได้ ดังนั้นต้องมีความเห็นถูกขั้นการฟัง ว่าไม่ใช่ไปทำสมาธิ เพราะ สมาธิมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หากมีปัญญาก็เป็นสัมมาสมาธิ หากไม่มีปัญญา ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ดังนั้นประเด็นจึงไม่ใช่ว่าเมื่อฟังเข้าใจ พิจารณาไตร่ตรองถูกต้อง จะต้องไปทำสมาธิ แต่เพราะมีความเข้าใจถูกต้องนั่นเองจากขั้นการฟัง เมื่อปัญญา ขั้นภาวนาเกิดคือขณะที่สติปัฏฐานเกิด สมาธิที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นสัมมาสมาธินั่นเอง ดังนั้นขอให้กลับมาที่ความเข้าใจถูกขั้นการฟังก่อนว่าปัญญารู้อะไร หากเบื้องต้นถูก ก็จะเข้าใจถูกในขั้นต่อไปอย่างแน่นอน แม้แต่ในเรื่องของสมาธิ ขออนุโมทนา เป็นไปไม่ได้เลยใช่ไหมครับ ว่าผู้ที่ไม่มีความรู้เบื้องต้นในขั้นการฟังอย่างดี จะสามารถ ข้ามขั้นไปเกิดปัญญาบรรลุธรรมในขั้นต่อๆ ไป

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 5 ส.ค. 2552

การอบรมเจริญปัญญาระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ค่อยๆ ขัดเกลา กิเลสจนบรรลุอริยสัจจธรรมนั้น หนทางคือการเจริญสติปัฎฐาน ๔ ซึ่งหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ มรรคองค์แรก คือ สัมมาทิฎฐิซึ่งเป็นปัญญาที่รู้ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริง ขณะที่ปัญญารู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฎตรงตามความเป็นจริง ขณะนั้นเอกัคคตา เป็นสัมมาสมาธิ ผู้ที่ไม่มีความรู้เบื้องต้นในขั้นการฟังอย่างดี จะไม่สามารถข้ามขั้นไปเกิดปัญญาบรรลุธรรมในขั้นต่อๆ ไป เพราะปัญญามีหลายขั้น ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ให้เข้าใจถูกในสภาพธรรมที่มีอยู่จริงๆ ในชีวิจประจำวัน ซึ่งไม่พันไปจากการเห็น การได้ยิน และการคิด ถ้าปัญญาขั้นปริยัติไม่มี ปัญญาขั้น ปฎิบัติก็มีไม่ได้

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
apicha
วันที่ 6 ส.ค. 2552

ขอบคุณในความกรุณาของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ