ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปรมัตถธรรมสังเขปโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
รวม อวินิพโภครูป ๘ และ ลักขณรูป ๔
เป็น ๑๒ รูป ... นอกจากนี้ยังมี "ปริจเฉทรูป" คือ "อากาสรูป"
ซึ่ง คั่น อยู่ ระหว่าง "กลาป" ทุกๆ กลาป.ทำให้ "รูปแต่ละกลาป" ไม่ติดกันไม่ว่า รูป จะปรากฏ เล็ก ใหญ่ ขนาดไหนก็ตาม.
ให้ทราบว่ามี "อากาสรูป" คั่นอยู่ ระหว่าง รูป ทุกๆ กลาปอย่าง ละเอียด ที่สุด.!
ทำให้ รูป แต่ละ กลาปแยก ออก จากกัน ได้.
ถ้า ไม่มี "ปริจเฉทรูป"คั่น รูป แต่ละ กลาปรูป ทั้งหลาย ก็จะ ติดกันหมดและแตก แยก ออกจากกัน ไม่ได้เลย.!
แม้ รูป ที่ปรากฏ ว่า ใหญ่ โตก็สามารถที่จะแตก ย่อยออก อย่างละเอียดที่สุดนั้นก็เพราะ มี "อากาสธาตุ"
คือ "ปริจเฉทรูป" คั่นอยู่ ทุกๆ กลาป นั่นเอง.
ฉะนั้น"ปริจเฉทรูป" จึงเป็น "อสภาวรูป" อีกรูปหนึ่ง.ซึ่ง ไม่มี "ลักษณะเฉพาะของตน"
ที่เกิดขึ้น ต่างหากแต่ เกิดคั่นอยู่ ระหว่าง กลาปต่างๆ ที่เกิดพร้อมกัน นั่นเอง ...
คำถามที่ ๑.
(แม้จะเป็น "อสภาวรูป" เหมือนกับ "ลักขณรูป ๔"แต่ว่า ต่างจาก "ลักขณรูป ๔" ตรงที่ "ปริจเฉทรูป" ไม่มีลักษณะ และ สภาวะแต่ "ลักขณรูป ๔" มีลักษณะ แม้ไม่มี สภาวะ ... ยังไม่เข้าใจว่า ... "คำว่า "สภาวะ" ในที่นี้ ... หมายความว่าอย่างไรคะ ...?)
... รวม ... อวินิพโภครูป ๘
ลักขณรูป ๔
ปริจเฉทรูป ๑ ... เป็น ๑๓ รูป ...
ไม่ว่า "รูป" จะเกิดที่ใด ภพภูมิใด ... ก็ตามจะเป็น "รูป" ที่มีใจครอง หรือ ไม่มีใจครอง ก็ตามจะ ปราศจาก "รูป" ทั้ง ๑๓ รูป นี้ ... ไม่ได้เลย.!
ส่วน
"รูปที่มีใจครอง"เป็น รูปของสัตว์ บุคคลต่างๆ ใน ภูมิที่มี "ขันธ์ ๕" นั้น ...
... มี "ปสาทรูป"ซึ่ง "เกิดจากกรรม"คือ "กรรม" เป็น "สมุฏฐาน" (ปัจจัย)
ได้แก่ ... จักขุปสาทรูป
เป็น "รูป" ที่กระทบกับ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ได้ เท่านั้น.๑ รูป. โสตปสาทรูป เป็น "รูป" ที่กระทบกับ "เสียง" ได้ เท่านั้น.๑ รูป. ฆานปสาทรูป
เป็น "รูป" ที่กระทบกับ "กลิ่น" ได้ เท่านั้น.๑ รูป. ชิวหาปสาทรูป
เป็น "รูป" ที่กระทบกับ "รส" ได้ เท่านั้น.๑ รูป. กายปสาทรูป
เป็น "รูป" ที่กระทบกับ "เย็น-ร้อน" (ธาตุไฟ) ๑ "อ่อน-แข็ง" (ธาตุดิน) ๑ "ตึง-ไหว" (ธาตุลม) ๑
... รวม ... อวินิพโภครูป ๘ ลักขณรูป ๔ ปริจเฉทรูป ๑ ปสาทรูป ๕
... เป็น ๑๘ รูป ...
"รูปที่มีใจครอง"หมายถึง มี "จิต" เกิดกับ "รูป" นั้น.คือ "จิต" ทุกขณะจะต้อง เกิด ที่ "รูป" ... ตามประเภทของ "จิตนั้นๆ "
คือ
"จักขุวิญญาณ" ทำกิจ "เห็น"เกิด ที่ "จักขุปสาทรูป""โสตวิญญาณจิต" ทำกิจ "ได้ยิน"
เกิด ที่ "โสตปสาทรูป"
"ฆานวิญญาณจิต" ทำกิจ "ได้กลิ่น"เกิด ที่ "ฆานปสาทรูป"
"ชิวหาวิญญาณจิต" ทำกิจ "ลิ้มรส"เกิด ที่ "ชิวหาปสาทรูป""กายวิญญาณจิต"
ทำกิจ "รู้โผฏฐัพพะ" (คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม) เกิด ที่ "กายปสาทรูป"
ส่วน
"จิตอื่นๆ " นอกจากนี้
เกิด ที่ "รูปๆ หนึ่ง" เรียกว่า"หทยรูป"
"หทยรูป" เป็น "รูป" ... ซึ่ง เป็น "ที่เกิดของจิต" ... คำถามที่ ๒.
(เข้าใจว่า ... "หทยรูป" เป็นที่เกิดของ "จิต อื่นๆ ทั้งหมด"ที่ไม่ใช่ "ปัญจวิญญาณจิต" ถูกต้องหรือเปล่าคะ ...?)
... รวม ... อวินิพโภครูป ๘
ลักขณรูป ๔
ปริจเฉทรูป ๑ ปสาทรูป ๕
หทยวัตถุ ๑ ... เป็น ๑๙ รูป ...
.
.
.
... ขออนุโมทนา ... "เรื่องของรูป" มีความละเอียดมากจึงขออนุญาต เรียนถามสหายธรรมตามคำถาม จากข้อความในวงเล็บเพื่อ "ความเข้าใจที่ถูกต้อง"และ ป้องกัน "ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน"ด้วยนะคะ.
.
ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาสำหรับคำอธิบาย ค่ะ
...
ขออนุญาตเรียนถามเพื่มเติมสักนิดนะครับว่า
ปริจเฉทรูป หรือ อากาสรูป เป็นอสภาวะ และไม่มีลักษณะ
ดังนั้น รูปประเภทนี้ จะไม่มีเกิด เจริญขึ้น เสื่อม ดับ อันเป็นลักขณรูป
แต่ยังจะมีการเกิดและดับ อย่างไร โดยเงื่อนไขใด ครับ
เรียนความเห็นที่ ๔
ปริจเฉทรูป มีการคั่นซึ่งรูป เป็นลักษณะ มีการประกาศที่สุดของรูป เป็นกิจ มีขอบเขตของรูป เป็นอาการปรากฏ มีรูปอันอากาศคั่นไว้ เป็นปทัฏฐาน ปริจเฉทรูป มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมไปเช่นเดียวกับรูปอื่นที่ตนคั่นอยู่ดังนั้นที่ว่าปริจเฉทรูป ไม่เกิด ไม่ดับจึงไม่ถูกต้องครับ