ถอดจิต

 
natpe
วันที่  9 พ.ค. 2549
หมายเลข  1205
อ่าน  5,931

ผมได้ฟังสนทนาธรรมที่บ้านธัมมะ มีเรื่องเกี่ยวกับสมาธิ ซึ่งมีผู้สนทนาได้บอกว่า นั่งสมาธิสามารถถอดจิตได้ แต่อาจารย์นิภัทรบอกว่า ในภูมิที่มีขันธ์ 5 กายกับจิตจะจากกันไม่ได้ รูปธรรมต้องอยู่กับนามธรรม โปรดชี้แนะด้วยนะครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 10 พ.ค. 2549

ตามหลักคำสอนพระพุทธองค์ได้แสดงความเป็นไปของนามธรรมและรูปธรรมตามความเป็นจริงไว้ว่า ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือ ในกามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ) รวมเป็น ๒๖ ภูมิ เมื่อมีการเกิดขึ้นต้องมีทั้งนามธรรมและรูปธรรมอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไปจะแยกกันไม่ได้ (เว้นผู้เข้านิโรธสมาบัติ) ฉะนั้น การถอดจิตจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และไม่มีใครทำได้ถ้าผู้ใดอ้างว่านั่งสมาธิถอดจิตไปเที่ยวสวรรค์หรือเที่ยวนรกก็ให้ทราบว่าเป็นเรื่องการพูดไม่จริง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prapas.p
วันที่ 11 พ.ค. 2549

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 574

[๗๔๑] สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ท่านกล่าวว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ในอุเทศว่า ทิฏฺิวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ... เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ... เห็นสังขารโดย ความเป็นตน... เห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามี วิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ทิฏฐิ เห็นปานนี้ ทิฏฐิไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยน หนาม ทิฏฐิกวัดแกว่ง ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่ง เดียรถีย์ ความถือด้วยความแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือ วิปลาส ความถือผิด ความถือว่าจริงในเรื่องอันไม่จริง ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม.

ธรรมดาของปุถุชน เมื่อไม่ได้ฟังธรรมของพระอริยะ (อภิธรรม) ย่อมละทิ้งความเห็นผิด (ทิฏฐิ) ไม่ได้ เพราะมีอวิชา คือ ความไม่รู้จริงในอภิธรรมย่อมไม่เห็นสัจจะ จึงมีความรู้แทงตลอดในอริยสัจจะ ดับทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนามในจิตไม่ได้ก็เลยสับสน จึงเกิดความถือมั่น ความลูบคลำทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความแสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่าจริงในเรื่องอันไม่จริง ว่ามีจิต (วิญญาณ) ในตน หรือ นอกตน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 พ.ค. 2549

รูปที่มีใจครอง คือ มีจิตเกิดกับรูปนั้น จิตทุกขณะจะต้องเกิดที่รูปตามประเภทของจิตนั้นๆ คือ จักขุวิญญาณทำกิจเห็น เกิดที่จักขุปสาทรูป โสตวิญญาณทำกิจได้ยิน เกิดที่โสตปสาทรูป ฆานวิญญาณทำกิจได้กลิ่น เกิดที่ฆานปสาทรูป ชิวหาวิญญาณทำกิจลิ้มรส เกิดที่ชิวหาปสาทรูป กายวิญญาณทำกิจรู้โผฏฐัพพะ (ธาตุดิน ไฟ ลม) เกิดที่กายปสาทรูป จิตอื่นๆ นอกจากนี้เกิดที่รูปๆ หนึ่ง เรียกว่า หทยรูป เพราะเป็นรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornchai.s
วันที่ 3 มิ.ย. 2549

ขันธ์ 5 คือ

1.รูปขันธ์ มี 28 รูป

2.เวทนาขันธ์ เป็น เวทนาเจตสิก 1

3.สัญญาขันธ์ เป็น สัญญาเจตสิก 1

4.สังขารขันธ์ เป็น เจตสิก ที่เหลือ อีก 50 รวมเป็นเจตสิกทั้งหมด 52 ประเภท

5.วิญญาณขันธ์ เป็น จิต 89 ประเภท

รูปขันธ์ เป็นรูปธรรม เวทนา. สัญญา. สังขาร. วิญญาณ. เป็นนามธรรม

พระนิพพานว่างจากขันธ์ห้า

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
spob
วันที่ 7 ก.พ. 2550

มีอยู่มากมายครับ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kchat
วันที่ 7 ก.พ. 2550

ถ้าศึกษาตามหลักคำสอนพระพุทธองค์ได้แสดงความเป็นไปของนามธรรมและรูปธรรมตามความเป็นจริงไว้ว่า ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือ ในกามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตาภูมิ) รวมเป็น ๒๖ ภูมิ เมื่อมีการเกิดขึ้น ต้องมีทั้งนามธรรมและรูปธรรมอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไป จะแยกกันไม่ได้ (เว้นผู้เข้านิโรธสมาบัติ) ฉะนั้น การถอดจิตจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครทำได้ และ ไม่ตรงกับพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นะครับ ได้โปรดสอบทานเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ก.ไก่
วันที่ 23 มี.ค. 2565

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ