อุเบกขาบารมี...[๒]

 
พุทธรักษา
วันที่  15 เม.ย. 2552
หมายเลข  11964
อ่าน  1,215

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน จาก หนังสือ "บารมีในชีวิตประจำวัน" โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ (หน้าที่ ๒๒๗ - ๒๔๐)

ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกายเถรคาถานิทานกถาวรรณนามีข้อความตอนหนึ่ง ที่แสดงถึง ทุกบารมี ประกอบกัน เกื้อกูลกัน ส่งสริมกัน ดังนี้ ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญ มี ทาน เป็นต้น เพื่อ ปัจเจกโพธิญาณ หรือ สาวกโพธิญาณ นี้ชื่อว่า "วิริยะ"

ความอดทน ต่อความโกรธ นั้นใดนี้ชื่อว่า "ขันติ" การให้ทาน การสมาทานศีล เป็นต้นและการไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ชื่อว่า "สัจจะ" การอธิษฐานใจ ที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันสำเร็จประโยชน์ ในที่ทั่วไปนั้นแหละ ชื่อว่า "อธิษฐาน"


การมุ่งประโยชน์ ในหมู่สัตว์อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่งทาน และ ศีลนี้ชื่อว่า "เมตตา" การวางเฉย ในประการที่ไม่เหมาะสม ที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้วชื่อว่า "อุเบกขา" ดังนั้น เมื่อ ทาน ศีล ภาวนา และ ศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่บารมีทั้งหลาย มี วิริยะบารมี เป็นต้นย่อมชื่อว่า สำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้ การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่ง ทาน และ ศีล เป็นต้น นี้ชื่อว่า "เมตตา"

"เมตตา" อีกความหมายหนึ่ง คือ การมุ่งประโยชน์ ในหมู่สัตว์ เป็นพื้นฐานของ ทาน และ ศีล. ผู้ที่ให้ทาน อาจจะไม่ได้พิจารณาจิตใจของตนเอง ในขณะนั้นว่า เป็นเพราะ "เมตตา" เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยที่จะให้ จึงให้ (ขณะที่) ท่านสละวัตถุ เพื่อประโยชน์สุข ของบุคคลอื่นถ้าพิจารณา "พื้นฐาน" ที่ทำให้เกิดการกระทำนั้น ก็คือ "เมตตา" หรือ ผู้ที่วิรัติทุจริต ทั้งกาย และ วาจา "พื้นฐาน" ที่ทำให้วิรัติทุจริตนั้น ก็คือ "เมตตา" ด้วย ไม่ต้องการที่จะให้คนอื่นเดือดร้อน เป็นทุกข์เพราะ กาย หรือ วาจา ของท่าน

อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก ปกิณณกกถา มีข้อความที่แสดง กุศลบารมี แต่ละบารมีว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อ อกุศล อย่างไรบ้าง คือ ทาน เป็นปฏิปักษ์ต่อ โลภะ โทสะ โมหะเพราะประกอบด้วย คุณ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ใน ไทยธรรม คือ วัตถุทาน ใน ปฏิคาหก คือ ผู้รับทาน และ ผู้รับผลของทาน ศีล เป็นปฏิปักษ์ต่อ โลภะ เป็นต้นเพราะปราศจากความคด คือ โทษ มีกายทุจริต เป็นต้น เนกขัมมะ เป็นปฏิปักษ์ต่อหมวด ๓ แห่งโทษเพราะ เว้นจากกามสุข การเบียดเบียนผู้อื่น และ การทำตนให้ลำบาก

ปัญญา เป็นปฏิปักษ์ต่อ โลภะ เป็นต้นเพราะ ทำความมืดมนแก่โลภะ เป็นต้น และ ทำความไม่มืดมนแก่ญาณ เมื่อปัญญาเกิด ก็สามารถรู้ สามารถเข้าใจสิ่งที่ปรากฏถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ว่า กุศล เป็นกุศล อกุศล เป็น อกุศลและ เมื่อปัญญา อบรมเจริญยิ่งขึ้น จนกระทั่ง "รู้ลักษณะ" ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงก็ทำความไม่มืดมนแก่ญาณประจักษ์ "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ได้

วิริยะ เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ เป็นต้น ด้วยไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน และ ปรารภเพื่อความรู้ ขันติ เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ เป็นต้นเพราะ การยอมรับ (อดทน) ได้ ซึ่ง "ความเป็นสิ่งว่างเปล่า" ของสิ่งที่น่าปรารถนา และ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา บารมีทุกบารมี มีประโยชน์มาก เพียงแต่จะค่อยๆ ระลึกได้ และ บำเพ็ญต่อไป หากมีเหตุการณ์ ที่จะทำให้เกิดความไม่อดทนเมื่อคิดถึง "ขันติ" ความอดทน ในขณะนั้นได้. ก็จะเป็นการสะสมความอดทน ต่อสภาพอารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจ หรือ แม้แต่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ ก็ตาม


สัจจะ เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ เป็นต้นเพราะ เป็นไปตามความเป็นจริง เมื่อผู้อื่นทำความอุปการะ หรือ ผู้อื่นทำความเสียหาย. ผู้มีสัจจะ ย่อมมีความจริงใจ รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิดไม่ว่าจะป็นเหตุการณ์ใด ก็เป็นผู้จริงใจเสมอ อธิษฐาน เป็นปฏิปักษ์ต่อความโลภ เป็นต้น เพราะ ครอบงำโลกธรรม แล้วไม่หวั่นไหว ในการสั่งสมบารมี ตามที่สมาทานแล้ว กว่าจิตใจจะมั่นคง หนักแน่นจริงๆ ในการเจริญกุศลก็จะรู้ตัวเองดี ว่า ขณะนั้น เป็นไปตามอธิษฐาน ความตั้งใจมั่นจริงๆ หรือ เปลี่ยนใจง่าย กลับกลอกง่ายศรัทธา ก็หวั่นไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่ายด้วย

เมตตา เป็นปฏิปักษ์ต่อความโลภ เป็นต้นเพราะ สงบจากนิวรณ์ นิวรณ์ ๕ ได้แก่ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ ที่กล่าวว่า เมตตา เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ เป็นต้น เพราะ สงบจากนิวรณ์ต้องมี ปัญญา รู้ ในขณะนั้น ว่า เป็นนิวรณ์ หรือไม่ มิฉะนั้นแล้ว อาจเข้าใจผิด ว่า เป็น เมตตาแต่ความจริง เป็นโลภะ ซึ่งได้แก่ กามฉันทนิวรณ์ นั่นเอง ดังนั้น ต้องเป็น ปัญญา ที่จะทำให้กุศลทั้งหลายเจริญขึ้นได้


อุเบกขา เป็นปฏิปักษ์ต่อความโลภ เป็นต้น เพราะ กำจัดความคล้อยตาม และ ความคับแค้น ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา และ เพราะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งในสิ่งที่น่าปรารถนา และ สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา จะเห็นได้ว่า บารมีทั้ง ๑๐ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อ อกุศล ฉะนั้น จึงควรพิจารณา "ลักษณะ" และ "เห็นประโยชน์" ของ บารมี ๑๐

สำหรับอุเบกขาบารมี คือ ความเป็นผู้เป็นกลาง วางเฉยไม่หวั่นไหว ในสัตว์ ในสังขารทั้งหลาย และ ในโลกธรรมทั้งหลายทั้งที่น่าปรารถนา และ ที่ไม่น่าปรารถนา. ปัจจุบันนี้ ที่มีความทุกข์ เพราะหวั่นไหวแต่ถ้ามี "ใจที่มั่นคงในเรื่องของกรรม" ก็จะเป็นผู้ที่ไม่หวั่นไหว ได้

สภาพธรรม เป็นอนัตตาไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาสภาพธรรมได้ แต่ สามารถอบรมความรู้ ความเข้าใจการสะสมของแต่ละคน ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป สืบต่อเป็นชีวิตของแต่ละคน ซึ่งต่างกัน ทั้งในเรื่องกรรม ผลของกรรม และ ความคิดนึกต่างๆ

ผู้ที่อบรมเจริญอุเบกขาบารมี ไม่สนใจในโทษผิดของผู้นั้นอรรถกถา ใช้คำว่า "ในโทษผิดของผู้นั้น" คือ ผู้ที่ทำความผิดนั้น.ผู้ที่เจริญอุเบกขาบารมี เป็นผู้วางเฉย ไม่เดือดร้อน ด้วยรู้ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน.บางท่านอาจคิดสมน้ำหน้า แต่ ผู้ที่มีอุเบกขาบารมี จะไม่เป็นเช่นนั้น.เพราะ เข้าใจ และ รู้ ในความเป็นปรมัตถธรรม (คือ) เป็นสภาพธรรม ที่เป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้

บารมีทั้งหมดนี้ จะขาดไม่ได้เลย ต้องมีครบทั้ง ๑๐ บารมี แม้แต่ ความจริงใจในการขัดเกลากิเลส ก็เป็น สัจจบารมี ระลึกได้ ที่จะคิดถึงความไม่ดีของผู้อื่น ด้วย เมตตา นอกจาก ความจริงใจ ที่เป็นสัจจบารมีแล้ว ยังต้องมี อธิษฐานบารมี คือ ความมั่นคง ไม่หวั่นไหว

แม้ว่ามีความจริงใจแล้ว แต่ว่า บางครั้งก็ยังหวั่นไหวไปจึงต้องมี อธิษฐานบารมี คือ มีความมั่นคง จริงใจ ต่อการขัดเกลากิเลสด้วย นอกจากนั้น ยังต้องมี ขันติบารมี คือ ความอดกลั้น และก็จะต้องมี อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ง่าย ที่จะสามารถเป็นกลาง ในสรรพสัตว์ทั้งปวงได้ ทุกบารมีนั้นจะต้องอบรมจริงๆ จึงจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

อรรถกถา ชฏาสูตร

อธิบายว่าภิกษุ อาศัยแผ่นดิน คือ ศีล แล้วยกศาสตรา คือ วิปัสสนาปัญญา อันตนลับดีแล้ว ด้วยศิลา คือ สมาธิด้วยมือ คือ ปาริหาริยปัญญาอัน กำลัง คือ ความเพียร ประคับประคองแล้ว.พึงถาง พึงตัด พึงทำลาย ซึ่ง ชัฏ คือ ตัณหา อันประจำอยู่ ในสันดานแห่งตนนั้น แม้ทั้งหมด.เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ยืนบนแผ่นดิน ยกศาสตราอันตนลับดีแล้ว พึงถางกอไผ่ ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส เสกขภูมิ ด้วยคำ มีประมาณเท่านี้แล้วบัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงพระมหาขีณาสพ ผู้ถางชัฏ (ตัณหา) แล้วดำรงอยู่ จึงตรัสคำว่า เยสํ ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตาขีณาสวา อรหนฺโต เตสํ วิชฺชิตา ชฏา ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี อันบุคคลเหล่าใด กำจัดได้แล้วบุคคลเหล่านั้น มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหา เป็นเครื่องยุ่ง อันบุคคลเหล่านั้น สางได้แล้ว

ฯลฯ

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Komsan
วันที่ 15 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 15 เม.ย. 2552

วางเฉยในความผิดของสัตว์ทั้งหลาย แต่ไม่วางเฉยในประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 18 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สิริพรรณ
วันที่ 3 ก.ย. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผู้มีปัญญา จึงเห็นคุณค่าของพระธรรม ชีวิตที่เป็นไปจึงเพื่อสะสมความเข้าใจความจริง ละความไม่รู้ ขัดเกลากิเลส เจริญกุศลทุกประการ

อนุโมทนาขอบพระคุณกุศลจิตทุกท่านด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ