อุเบกขาบารมี...[๑]

 
พุทธรักษา
วันที่  15 เม.ย. 2552
หมายเลข  11963
อ่าน  945

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน จาก หนังสือ "บารมีในชีวิตประจำวัน"โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ (หน้าที่ ๒๒๖ - ๒๒๗)

อุเบกขาบารมี ชื่อว่า อุเบกขา เพราะว่า มีความเป็นกลาง ไม่เดือดร้อน ในความผิดปกติ ที่สัตว์และสังขาร กระทำแล้ว ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานก็ยากที่จะไม่หวั่นไหวไป ด้วยความรัก ความชัง ขณะที่กระทบกับอารมณ์ภายนอก จิตใจ จะไม่สงบ ถ้าอารมณ์ที่ปรากฏนั้น เป็นอารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย (และทางใจ) ก็เกิดความเศร้าโศก เสียใจ ความหม่นหมองใจต่างๆ


ฉะนั้น ผู้ที่จะไม่ทุกข์ คือ ผู้ที่ไม่หวั่นไหวไป ด้วยความรัก ความชังในบุคคลต่างๆ ในเหตุการณ์ต่างๆ จึงจะเป็น "ผู้อบรมเจริญอุเบกขาบารมี" ถ้าเห็น คนฆ่างู บางท่านเข้าใจว่า ท่านเมตตา สงสาร งูที่ถูกฆ่า แต่ จิตใจในขณะนั้น หวั่นไหวแล้ว ด้วยความรู้สึกโทมนัส และขอให้เข้าใจ "สภาพจิตใจ" ในขณะนั้น ว่า รู้สึกอย่างไร ต่อคนที่ฆ่างู. ถ้าเมตตาไม่ได้ ก็ควรเป็นอุเบกขาคือ ไม่หวั่นไหวทุกคน ย่อมเป็นไปตามกรรมของตน แต่ถ้ามีเมตตา ก็จะสงสาร คนที่กระทำอกุศลกรรมเพราะเขาย่อมได้รับ ผลของอกุศลกรรม นั้น

ขณะที่ (ใจ) เป็นกุศล จะไม่เดือดร้อนใจ และ จะไม่ใช้วาจาที่ไม่สมควร แก่บุคคลนั้น. เมื่อรู้ว่าผู้ที่ทำอกุศลกรรม ย่อมได้รับผลของอกุศลกรรม ก็อาจจะเกิด เมตตา หรือ อุเบกขา ต่อบุคคลนั้น ก็ได้ ฉะนั้น จึงไม่ควรเห็นว่า อกุศล เป็น กุศลหรือ เข้าใจว่า อกุศล เป็น ธรรมที่ดี ไม่จำเป็นต้องใช้ คำที่รุนแรง หรือ การกระทำที่รุนแรงกับผู้ที่ทำอกุศลกรรม

จิต ที่หวั่นไหวไปนั้น เป็นอกุศลแล้ว.!ฉะนั้น ถ้าอบรมเจริญปัญญาก็สามารถที่จะ "รู้ลักษณะ" ของ "ความคงที่ของจิต" ที่ไม่หวั่นไหวไป ด้วยความรัก ความชัง ซึ่งจะทำให้กุศลที่เป็น "อุเบกขาบารมี" เจริญขึ้นได้

การฟังพระธรรม และ พิจารณาให้เข้าใจ "ความจริง" ละเอียดขึ้นจะทำให้ "คิดที่จะละคลายกิเลส" ซึ่งยังไม่รู้ ว่า อีกไกลแสนไกล นานเท่าใดจึงจะดับกิเลสได้หมดสิ้น เป็นสมุจเฉท

การที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จะต้องมี "สติสัมปชัญญะ" อบรมเจริญกุศลทุกประการ "ด้วยความอดทน" ไม่ต้อง "หวัง" ว่า เมื่อไรจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม. ตราบใด ที่ยังมีอกุศลธรรมมาก และ บ่อยๆ แล้วอยากจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็จะห่างไกลมากทีเดียว ฉะนั้น จึงควรอบรมเจริญกุศล ทุกประการ เพื่อเป็น "บารมี"

ต่อ ... อุเบกขบารมี (๒)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

๗. สุพรหมสูตร

(๒๗๔) สุพรหมหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถา ว่า ...
จิตนี้ สะดุ้งอยู่ เป็นนิตย์ใจนี้ หวาดเสียวอยู่ เป็นนิตย์ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้น ทั้งเกิดขึ้นแล้ว ก็ตามถ้าความสะดุ้งกลัว มีอยู่ข้าพระองค์ ทูลถามแล้วโปรดตรัสบอก ความไม่สะดุ้งนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด

(๒๖๕) พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเรายังมองไม่เห็น ความสวัสดี แห่งสัตว์ทั้งหลายนอกจาก ปัญญา และ ความเพียรนอกจาก ความสำรวมอินทรีย์นอกจาก ความสละวาง ทุกสิ่งทุกอย่าง

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 15 เม.ย. 2552

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ... เรายังมองไม่เห็น ความสวัสดี แห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจาก ปัญญา และ ความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Komsan
วันที่ 15 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 15 เม.ย. 2552

อุเบกขาบารมี ในที่นี้หมายถึงกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น เช่น เราอยากจะช่วยคนที่ได้รับความลำบากเดือนร้อน แต่เราช่วยเขาไม่ได้ จิตขณะนั้นต้องไม่เป็นอกุศล เราก็วางเฉยพิจารณาว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 15 เม.ย. 2552
วางเฉยด้วยปัญญา ไม่ใช่วางเฉยด้วยเวทนาความรูสึกเฉยๆ ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 18 เม.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ