ในชีวิตประจำวันขณะที่เข้าใจถูกเล็กน้อยมาก


    ผู้ฟัง อย่างนั้นในชีวิตเราก็จมอยู่ในกองกิเลสตลอดเลย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการฟังธรรม ให้เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง ถึงแม้เราฟัง ปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้สามารถที่จะช่วยตัวเองได้เลย ก็จมอยูในกองกิเลส

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เข้าใจถูก จมอยู่ในกองกิเลสไหน

    ผู้ฟัง อย่างเช่นขณะที่กิเลสเกิด คือจิตเราเป็นโลภะ โทสะ เราก็แค่รู้ว่าอันนี้เป็นลักษณะสภาพธรรมของโลภะหรือโทสะ

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นนึก

    ผู้ฟัง ใช่ แล้วก็คิด

    ท่านอาจารย์ ต้องยังมีปัญญาอีกระดับหนึ่งซึ่งกำลังเข้าใจถูกในลักษณะนั้น เพราะขณะนี้เป็นสภาพธรรมทั้งหมด สิ่งที่ได้ยินได้ฟังเป็นความจริงซึ่งวันหนึ่งผู้ที่ได้ยินได้ฟังก็จะประจักษ์ว่าจริงทุกคำ เช่นขณะนี้สภาพธรรมปรากฏ นี่ได้ยินอย่างนี้ แต่ว่าถ้าไม่ได้ฟังขณะไหนก็เป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังมีความเข้าใจถูกในขั้นฟังเป็นขณะที่เล็กน้อยมาก ถ้าเทียบกับขณะที่ไม่ได้ฟัง และไม่ได้คิด และไม่ได้เข้าใจตามที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้นก็เปรียบเทียบได้ว่าขณะที่ฟังเริ่มที่จะมีความเห็นถูก แต่ว่ายังไม่ได้ประจักษ์แจ้งจนกระทั่งสภาพธรรมนั้นปรากฏตามความเป็นจริง ตามลักษณะของสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า เกิดขึ้นแล้วดับไป นี่ก็ยังไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นก็ต้องรู้ว่าการฟัง โดยที่ว่าเพิ่มความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จะนำไปสู่การสามารถประจักษ์ความจริงได้แต่ต้องด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ด้วยความเป็นเราที่ฟังด้วยความเป็นเราฟัง อันนั้นไม่ถูกต้อง ฟังเพี่อให้เข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม เพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง สมมติว่าขณะที่เรามีความรู้สึกขุ่นมัว หรือโกรธ แล้วเร่าร้อนอยู่ในจิตยังไม่ได้ล่วงออกมาทางกาย และวาจา เราต้องแปลไหมว่าสิ่งที่มันเกิดมันคือปริยุฏฐานกิเลส

    ท่านอาจารย์ เราคิดถึงชื่อหรือว่าเราเข้าใจลักษณะนั้นว่าเป็นธรรมชนิดหนึ่ง เพราะว่าเราได้ยินว่าทุกอย่างเป็นธรรม คำนี้ก็ลืมไม่ได้อีก คือทุกคำที่ได้ฟังก็จะถึงกาลที่เข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นเวลาเกิดโกรธขึ้น ทำไมไปนึกถึงว่าเป็นปริยุฏฐาน ทำไมไม่รู้ว่าลักษณะที่โกรธก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งต่างกับเห็น เพราะขณะที่โกรธ ถ้าไม่หลับตาก็เห็นด้วยในสิ่งที่กำลังโกรธ เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ที่ต่างกัน

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 138


    หมายเลข 9315
    27 ม.ค. 2567