ไม่เห็น ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน ขณะนี้ก็ละไม่ได้


        บง จากที่เราศึกษาอภิธรรม ก็บอกว่า ถ้าทั้ง ๕ ทวารเกิดขึ้น ดับไปแล้ว ทางมโนทวาร ทางใจก็เกิดต่อเสมอ ทีนี้อย่างเวลาที่คิดนึกขึ้นมาว่า ได้ทานของเปรี้ยวๆ ขณะนั้นเหมือนปรากฏอยู่ที่ลิ้นด้วย ตรงนี้คงเป็นสัญญา ความจำ ใช่ไหมคะ จากที่เคยจำไว้ พอรสปรากฏ แล้วมีความรู้สึกที่ลิ้น ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร

        สุ. ก็เหมือนกรอบเมื่อวานนี้ รับประทานอร่อยกรอบแล้ว มันทางไหน นี่ก็คือสภาพธรรมเกิดแล้วดับแล้ว แต่เพราะไม่รู้ ขณะต่อไปก็คิดติดตามด้วยความติดข้อง ซึ่งขณะนั้นก็ไม่รู้ว่า มีโลภะแล้ว ที่ต้องการเข้าใจ ต้องการรู้ เพราะฉะนั้นเรื่องของการละโลภะ เรื่องของการละความเห็นผิด ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ

        ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม ก็จะศึกษาเรื่องของจิตประเภทต่างๆ ไม่ใช่มีจิตประเภทเดียว และจิตแต่ละประเภทที่เกิดขึ้น ก็มีเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งให้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเจตสิกที่เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต ก็ทำให้จิตหลากหลายเป็นประเภทต่างๆ เราก็ฟังไป แต่วันนี้สิ่งที่ได้ฟังแล้ว สามารถมีการตรึก ไม่ใช่ตัวตน แต่การปรุงแต่งของการฟังที่ละเอียด ก็ทำให้เริ่มค่อยๆ เข้าใจว่า ตั้งแต่ตื่นมาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ เราอยู่ที่ไหน ถ้ายังเป็นเราอยู่อย่างมากมาย ก็แสดงว่า สิ่งที่ได้ฟังก็น้อย ยังไม่สามารถทำให้ตรึกคิดในความละเอียดของธรรม ที่จะทำให้เห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น

        เพราะฉะนั้นแม้แต่ความคิด ก็บังคับบัญชาไม่ได้ เราเผิน เราไม่ละเอียด แต่เราไม่รู้ว่า แม้แต่การฟังแต่ละครั้งก็ยังไม่ถึงความสมบูรณ์ที่ทำให้ใคร่ครวญธรรมโดยละเอียด แล้วเข้าใจประโยชน์ของการเข้าใจธรรมโดยละเอียด เพื่อที่จะละความเป็นตัวตน

        กรอบ ยังอยู่ไหมคะ เปรี้ยวๆ ยังอยู่หรือเปล่า น้ำลายที่ออกมา ยังอยู่หรือเปล่า

        บง เวลาที่เราเรียนถามคำถาม ขณะนั้นลักษณะของโลภะปรากฏแล้วหรือคะ ไม่รู้สึกเลย

        สุ. ทำไมถึงอยากรู้เรื่อง “กรอบ” เห็นไหมคะ

        บง อ๋อ ตรงนี้เอง

        สุ. มีความติดข้อง

        บง มันซ่อนมากเลย

        สุ. ถ้าไม่เห็นโลภะแล้ว ละโลภะไม่ได้ ถ้าไม่เห็นความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ขณะนี้ ก็ละไม่ได้ ต้องละด้วยความรู้เท่านั้น ความรู้ก็คิดเองไม่ได้อีก ต้องเพราะได้ฟังพระธรรม

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 310


    หมายเลข 12294
    24 ม.ค. 2567