จิตกับเจตสิกต่างกันอย่างไร


        ผู้ฟัง จิตกับเจตสิกต่างกันอย่างไรครับ

        สุ. ขณะนี้เห็นไหมคะ

        ผู้ฟัง ขณะนี้เห็น

        สุ. เป็นจิต เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท ใช้คำว่า ๗ ดวง ได้ไหมคะ ได้หรือไม่ได้ ถ้าเข้าใจแล้ว ไม่ต้องไปคิดถึงวงกลม แต่คิดว่าเจตสิกแต่ละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน จึงต่างกันไป จะใช้คำว่า ประเภท จะใช้คำว่า ดวงก็ได้ ขณะที่กำลังเห็น จะรู้ถึงสภาพธรรมที่เกิดกับจิตได้ไหม เช่น ผัสสเจตสิก ไม่ได้ แต่มี

        เพราะฉะนั้นก็ให้ทราบตามความเป็นจริงว่า การศึกษาธรรม จะต้องรู้ความต่างของสภาพที่เป็นนามธรรม ๒ อย่าง

        สภาพนามธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน คือ จิต ส่วนสภาพนามธรรมที่เกิดกับจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้นเป็นเจตสิก

        เห็นสิ่งหนึ่ง ชอบ เห็นเป็นเห็น ชอบเป็นชอบ เห็นเป็นจิต ขณะที่ชอบก็ยังรู้สิ่งนั้นอยู่ ยังชอบในสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่ แต่ว่าลักษณะที่ชอบ ไม่ใช่ลักษณะที่กำลังรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่เป็นสภาพที่ติดใจ พอใจ ต้องการสิ่งที่กำลังปรากฏ

        เพราะฉะนั้นชอบเป็นเจตสิก แต่สภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ที่กำลังปรากฏเป็นจิต

        ชอบเสื้อผ้าที่เห็น ต้องมีจิตเห็นเสื้อผ้า และมีเค่ะ โดยทฤษฎี โดยการฟังทราบว่า เมื่อจิตเกิดต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง จิตที่เกิดแล้วต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท ๗ ดวง ได้ไหมคะ ได้ ถ้าเข้าใจ

        ทื่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 271


    หมายเลข 12072
    23 ม.ค. 2567