เข้าใจ-เข้าใจขึ้น-ไตร่ตรองมากขึ้น-รู้ตรงลักษณะ


        ผู้ถาม ในชีวิตประจำวัน เมื่อฟังแล้วยังมีเรา ยังมีเราก็มีคิด

        สุ. เพราะมีเราจึงมีคิด หรือเมื่อคิดแล้วไม่รู้จึงเป็น เรา เพราะว่าคนที่แม้รู้ว่าไม่ใช่เราก็ยังต้องคิด เพราะคิดว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็มีหลายระดับ คนที่ไม่รู้ ไม่ว่าจะเห็น จะได้ยิน จะคิดหรือไม่คิดก็ตาม ก็เป็นเราหมดเพราะไม่รู้ แต่คนที่รู้แล้วว่าไม่ใช่เราเป็นสภาพธรรมก็ยังคิด

        ผู้ถาม ก็ยังคิดอยู่ เพราะขณะที่ฟังแล้วก็ไปพิจารณา เมื่อมีสภาพธรรมปรากฏ ก็จะมีลักษณะต่างๆ ขณะที่มีสภาพธรรมปรากฏ แล้วก็มีสภาพที่เรารู้ ขณะที่รู้ๆ ตรงลักษณะกับลักษณะที่ปรากฏรู้ มันไม่มีความแตกต่างกันเลย อย่างยกตัวอย่างแข็ง ที่เราเคยฟังธรรมก็รู้แข็ง ลักษณะแข็งอย่างนั้นก็มีเรารู้แข็ง ขณะที่เราคิดแข็ง ลักษณะที่แข็งก็ยังเป็นแข็งอย่างนั้น และขณะที่สภาพธรรมปรากฏว่าก็ยังเป็นแข็ง ก็เหมือนกับคิด

        สุ. เพราะฉะนั้นเปลี่ยนแข็งเป็นอย่างอื่นได้ไหม

        ผู้ถาม ไม่ได้

        สุ. และเปลี่ยนคิดเป็นอย่างอื่นได้ไหม

        ผู้ถาม ไม่ได้

        สุ. แต่ต้องรู้ตามความจริงว่าคิดไม่ใช่เรา และแข็งก็ไม่ใช่เรา นี่คือความค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมว่าทั้งหมดขณะนี้เป็นธรรมทั้งหมดเลย ลักษณะต่างๆ กัน ทางตาก็เป็นลักษณะของธรรมอย่างหนึ่ง ทางหูก็เป็นลักษณะของธรรมอย่างหนึ่ง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเป็นธรรมหมดเลย ฟังเข้าใจแต่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง แต่ขั้นเข้าใจก็จะทำให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เมื่อฟังมากขึ้น ไตร่ตรองมากขึ้น ก็มีปัจจัยที่จะทำให้รู้ตรงลักษณนั้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้

        ผู้ถาม สภาพที่คิดกับสภาพที่รู้ลักษณะ การที่รู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ในขณะที่รู้ลักษณะกับในขณะที่คิดลักษณะ เป็นลักษณะเหมือนกันหรือไม่

        สุ. คิดเป็นคำหรือเปล่า เวลาที่ใช่คำว่า “คิด”

        ผู้ถาม เป็นคำเรื่องราว

        สุ. เพราะฉะนั้นขณะที่คิดเป็นคำ ขณะนั้นมีลักษณะของแข็งด้วยหรือเปล่า หรือขณะที่คิดคำไหนก็มีคำนั้นที่จิตกำลังรู้หรือคิด จิตเกิดดับเร็วมาก แต่จิตทุกขณะที่เกิดขึ้นเป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์ที่กำลังปรากฏ

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 220


    หมายเลข 11034
    25 ม.ค. 2567