นิสสยปัจจัย


        วิ. นิสสยปัจจัยหมายถึงธรรมะที่เป็นที่อาศัย คือ จิตเมื่ออาศัยสิ่งนี้ จิตจึงสามารถจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ จิตไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้เลย เช่น จิตเห็นอาศัยจักขุปสาทเป็นที่เกิดของจิตเห็น ฉะนั้นจักขุปสาทเป็นที่อาศัยโดยเป็นที่เกิดของจิตเห็นๆ จึงเกิดขึ้นได้ จักขุปสาทนั้นโดยความเป็นจักขุวัตถุ ก็เป็นนิสสย คือเป็นที่อาศัยของจิตเห็นจึงเกิดได้ แต่บางอย่างอาศัยโดยการเกิดพร้อมกันก็มี อย่างเช่น จิตต้องอาศัยเจตสิกไหม อาศัยด้วย ฉะนั้นถ้าไม่มีเจตสิก จิตก็ไม่สามารถจะเกิดได้เลย ฉะนั้นจิตก็ต้องอาศัยเจตสิกด้วยโดยเจตสิกนั้นเป็นนิสสยปัจจัยแก่จิตด้วย ถ้าในปัญจโวการภูมิ จิตเกิดต้องอาศัยรูปเป็นที่เกิด ดังนั้นรูปที่เป็นที่เกิดของจิตมี ๖ รูป ดังนั้นจักขุวัตถุเป็นนิสสยปัจจัยแก่จิตอะไร

        ผู้ฟัง จิตเห็น

        วิ. ครับ โสตวัตถุเป็นนิสสยปัจจัยแก่จิตอะไร

        ผู้ฟัง ได้ยิน

        วิ. ครับ หทยวัตถุเป็นที่อาศัยของจิตอะไร

        ผู้ฟัง นึกคิด

        วิ. เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเห็นได้ไหม

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. จิตได้ยิน

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. ได้กลิ่น

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. ลิ้มรส

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. ถูกต้องรสสัมผัส

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. โลภมูลจิต

        ผู้ฟัง ได้

        วิ. ดังนั้นรูปก็เป็นที่อาศัยแก่จิตได้โดยความเป็นที่เกิดของจิต เมื่อกี้คือกล่าวถึงจิตอาศัยรูปเกิดได้ ทีนี้ถามกลับกันว่ารูปอาศัยจิต รูปจึงเกิดขึ้นได้ไหม

        ผู้ฟัง ได้ ปฏิสนธิจิต

        วิ. ถ้าไม่กล่าวถึงขณะปฏิสนธิ ถ้ากล่าวถึงขณะนี้ รูปอาศัยจิต รูปจึงเกิดขึ้นได้ไหม ที่กำลังพูดเกิดจากจิตไหม

        ผู้ฟัง เกิดจากจิต

        วิ. เป็นรูปอะไรที่เกิดจากจิต

        ผู้ฟัง เป็นจิตตชรูป

        วิ. ถ้าไม่มีจิต จิตตชรูปเกิดได้ไหม

        ผู้ฟัง ไม่ได้

        วิ. ดังนั้นจิตตชรูปต้องอาศัยจิตเกิด นิสสยปัจจัยก็คือโดยความเป็นที่อาศัยจิต เจตสิก รูป อาศัยจิต เจตสิก รูป เกิดขึ้น นิสสยไม่จำเป็นต้องเกิดพร้อมหรือว่าต้องเกิดทีหลัง แต่ว่าเมื่อธรรมะอาศัยสิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่ธรรมะนั้น อย่างเช่นจิตอาศัยเจตสิกเกิดขึ้น เจตสิกก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่จิต เจตสิกอาศัยจิตเกิดขึ้น จิตก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่เจตสิก รูปใดก็ตามเช่นรูปอาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น มหาภูตรูปก็เป็นนิสสยปัจจัยแก่รูปคืออุปทายรูปนั้นๆ

        ผู้ถาม ไม่ใช่เป็นปุเรชาตปัจจัยหรือครับ ส่วนนามที่เกิดทีหลังเป็นปัจฉาชาตปัจจัย

        สุ. เป็นปัจจัยอื่นก็ได้ หรือว่าเป็นปุเรชาตนิสสยปัจจัยก็ได้ ยังมีแตกย่อยไปอีก วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ทั้งหมดนี่เป็นชื่อที่ฟังดูเหมือนเราไม่รู้จัก แต่ความจริงทั้งหมดที่เราได้เรียนมาทรงแสดงโดยความเป็นปัจจัย ก็ย่อมมีชื่อที่ต่างออกไปว่าเป็นปัจจัยโดยปัจจัยใด วันนี้ก็ทบทวนกันได้ และคงไม่ลืมใช่ไหม นิสสยปัจจัย พูดถึงปัจจัยไหนก็ขอให้เข้าใจปัจจัยนั้น พูดถึงธรรมะอะไรก็คือว่าเข้าใจขึ้นในธรรมะที่ได้ยินได้ฟัง อย่างได้ยินคำว่า “นิสสย” ไม่ต้องไปคิดถึงอุปนิสสย ทั้งๆ ที่ก็มีคำที่เหมือนกัน คือนิสสยแต่เพิ่มความหมายขึ้น เพราะฉะนั้นสภาพธรรมะก็ต่างกันไปได้ แต่ยังไงก็ตามถ้าพูดถึงคำใดขอให้เข้าใจคำนั้น เช่นคำว่า ปัจจัย ก็หมายความถึงสภาพใดก็ตามที่ทำให้สภาพธรรมะอื่นเกิดหรือว่าตั้งอยู่ ดำรงอยู่ก็แล้วแต่ อาศัยสภาพธรรมะนั้นเมื่อไหร่ สภาพธรรมะที่ถูกสภาพธรรมะอื่นอาศัยก็เป็นนิสสยปัจจัยของสภาพธรรมะนั้น ซึ่งเมื่อจิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกไม่ได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าถ้ามีคนบอกว่าจิตไม่ใช่นิสสยปัจจัย เราจะปฏิเสธหรือเราจะรับรอง ความจริงก็เป็นความจริง เราจะไปเปลี่ยนความจริงนั้นได้ยังไง ถ้าเรามีความเข้าใจจริงๆ ว่านิสสยปัจจัยคืออะไร คนอื่นจะถามยังไงก็ตามแต่ เราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนความเป็นจริงของสภาพธรรมะนั้นได้ นี่คือความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่ได้ฟัง ถ้ายังไม่เข้าใจก็ถามคุณวิชัยอีกได้ สำหรับวันนี้นิสสยปัจจัย

        วิ. มีธรรมะใดบ้างไหมที่ไม่เป็นนิสสยปัจจัย

        ผู้ฟัง คิดว่าเป็นพระนิพพาน

        วิ. นิพพานเกิดกับจิต เกิดกับเจตสิก เกิดกับรูปไหม

        ผู้ฟัง ไม่เกิด

        วิ. โดยสภาพของนิพพานเป็นสภาพที่ไม่เกิด แต่ว่าสามารถเป็นอารมณ์ได้ แต่ว่าไม่เกิด เป็นอารมณ์แก่จิตบางประเภทเท่านั้น แต่ว่าไม่เกิดกับจิต ไม่เกิดกับเจตสิก ไม่เกิดกับรูป ฉะนั้นโดยความเป็นที่อาศัย ไม่ใช่โดยความเป็นอารมณ์ อาศัยโดยการเกิดพร้อมกันหรือว่าเกิดก่อนอย่างนี้ แต่ว่าไม่ได้โดยความเป็นอารมณ์ และนิพพานก็ไม่ได้เป็นนิสสยปัจจัยแก่จิต เจตสิก และรูป แต่ว่าเป็นอารมณ์ได้

        ที่มา ...

        พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 187


    หมายเลข 10346
    25 ม.ค. 2567