智慧之光 - 佛法線上討論(中泰文對照)33

智慧之光

แสงแห่งปัญญา


問: 在 “轉法輪經”(Dhammacakkappavattana Sutta),關於三轉十二行,佛陀為什麼在每一轉裡,都同樣的說,“眼” 生起、“知” 生起、“智” 生起、“明” 生起、“光” 生起,這五個字呢,這個順序有沒有什麼特別的意義?然後 “光” 是什麼意思是所謂的 “心生色” 嗎?是不是佛陀的身上所散發出的光?

ผู้ถาม: ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่เกี่ยวกับการรู้แจ้งอริยสัจ ๔ โดย ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ นั้น ทำไมพระพุทธองค์ ถึงกล่าวคำซ้ำๆ เหมือนกันว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว ในแต่ละรอบ การลำดับคำของทั้ง ๕ คำนี้มีความพิเศษ ความสำคัญอย่างไร?

แล้วคำว่า “แสงสว่าง” มีความหมายว่าอย่างไร? หมายถึงแสงที่เกี่ยวกับ "จิตตชรูป"ใช่ไหม? เป็นแสงสว่างที่เปล่งรัศมีออกมาจากพระวรกายของพระพุทธองค์ใช่หรือไม่?

Sarah: 這五個字,眼、知、智、明、光、生起了,這五個字指的是智慧。 這五個字一直在重複的是,這部經典裡面講的就是智慧體證四聖諦,苦、集、滅、道、每一轉的意義指的是不同層次的智慧。

ซาร่า: คำทั้ง ๕ คำนี้ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว คำทั้ง ๕ คำนี้มุ่งหมายถึงปัญญา ในพระสูตรนี้ได้กล่าวทั้ง ๕ คำนั้น หมายถึงรู้แจ้งอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งในแต่ละรอบแสดงถึงปัญญาแต่ละระดับที่แตกต่างกัน

初轉的智慧是(sacca nana)重複的說四聖諦,苦、集、滅、道。

二轉的智慧是(kicca nana)重複的說四聖諦,苦、集、滅、道。

三轉的智慧是(kata nana) 又再重複的說四聖諦的,苦、集、滅、道。

ปัญญารอบแรกคือ รอบรู้ในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยสัจจญาณ

ปัญญารอบที่สอง คือ รอบรู้ในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยกิจญาณ

ปัญญารอบที่สามคือ รอบรู้ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยกตญาณ

一轉說了四次,把三轉加起來,就等於說了十二次,這三轉的宣說,稱為三轉十二行相 或 三轉四聖諦。

這五個字 眼、知、智、明、光、其實指的都是智慧,光也是如此。

ที่กล่าวไว้ว่า วน ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ คือการรู้อริยสัจจ์ทั้ง ๔ ด้วยญาณ ๓ คือ สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ ฉะนั้นที่ว่าวน ๓ รอบ ก็คือ การรู้อริยสัจจ์ ๔ รู้ด้วยสัจจญาณ ๑ รู้ด้วยกิจญาณ ๑ และรู้ด้วยกตญาณ ๑ รอบ

คำทั้ง ๕ คำนี้ จักษุ ญาณ ปัญญา อวิชา แสงสว่าง ซึ่งทั้งหมดหมายถึงปัญญา รวมถึงคำว่า”แสงสว่าง”ด้วย

Ajhan Sujin: 現在我們自己可以瞭解的是什麼? 是沒有出現的光嗎? 我們可不可以說 “世界”? “世界” 是透過六個根門被知道,在日常生活中透過這六個根門去經驗的是什麼 “世界” 呢? 我們討論 “心生色” ,“心生色” 就是,心產生的色法,在日常生活中我們知不知道,“心” 是產生了哪些 “色法”? 所以, “心生色” 可以透過哪一個根門被知道?

อ.สุจินต์: เดี๋ยวนี้ สิ่งที่เราสามารถเข้าใจได้คืออะไร? คือแสงสว่างที่ไม่ได้ปรากฎใช่ไหม? เราเรียกว่า "โลก" ได้หรือเปล่า? "โลก" คือสภาพที่รู้ได้ ๖ ทาง ในชีวิตประจำวัน สภาพที่รู้ได้คือ "โลก" อะไร? เราสนทนากันเรื่อง "จิตตชรูป" จิตตชรูปคือ รูปที่เกิดจากจิต ในชีวิตประจำวัน เรารู้หรือเปล่าว่ามีรูปอะไรบ้างที่เกิดจากจิต? "จิตตชรูป" รู้ได้ทางไหน?

問: “心生色” 如果 沒有想要去拿一杯水,然後就不會產生那個 “風元素” 去握住杯子,杯子也是不能夠被舉起來的。

ผู้ถาม: "จิตตชรูป" สมมุติว่า ไม่ได้มีความต้องการที่จะไปจับแก้วน้ำ ธาตุลมที่เกิดขึ้นไหวไปจับแก้วน้ำก็ไม่มี แก้วน้ำก็ไม่ได้ถูกจับยกขึ้นมา

Ajhan Sujin: 在握住杯子的那一刻是什麼 “色法” ?有沒有 “心生色” 的法?

อ.สุจินต์: ขณะที่จับแก้วน้ำในขณะนั้นคือรูปอะไร? มีรูปที่เป็น "จิตตชรูป" ไหม?

問: 當我握住杯子的那一刻沒有 “心生色”,但那個時候感受到的是,杯子溫溫的,杯子硬硬的。

ผู้ถาม: ในขณะที่จับแก้ว ขณะนั้นไม่มี "จิตตชรูป" แต่ขณะนั้นรู้สึกว่าแก้วนั้นอุ่นๆ แก้วนั้นแข็งๆ

Ajhan Sujin: 是的,所以握住杯子的那一刻不是 “心生色” 對嗎?

อ.สุจินต์: เพราะฉะนั้นขณะที่จับแก้ว ขณะนั้นไม่ใช่ "จิตตชรูป"ถูกต้องหรือเปล่า?

問: 是的,對。

ผู้ถาม: ถูกต้อง

Ajhan Sujin: 所以 “心生色” 所產生的法,可以透過感官門被經驗嗎?如果不能夠瞭解每一個門所經驗的對象是什麼,我們就會不知道,會混淆不清楚,是什麼法出現在哪一個根門。 “心生色” 可以從哪一個根門被經驗?

อ.สุจินต์: เพราะฉะนั้น "จิตตชรูป" รูปที่เกิดจากจิต สามารถเกิดขึ้นรู้ได้ทั้ง ๖ ทางได้ไหม? ถ้าไม่เข้าใจการรู้อารมณ์ในแต่ละทางว่าคืออะไร เราก็จะไม่รู้ จะสับสนและไม่ชัดเจน ว่าสภาพธรรมอะไร เกิดได้ทางไหนบ้าง "จิตตชรูป" สามารถรู้ได้ทางไหน?

問: 意門。

ผู้ถาม: ทางใจ

Ajhan Sujin: 那,什麼是可以被 “身門” 被經驗?

อ.สุจินต์: แล้วอะไรที่สามารถรู้ได้ทางกาย?

問: 土元素、風元素、火元素。

ผู้ถาม: ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ

Ajhan Sujin: 倘若沒有 “四大”(mahabhuta rupa) ,“心生色” 能生起嗎?

อ.สุจินต์: ถ้าไม่มี มหาภูตรูป "จิตตชรูป" สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ไหม?

問: 不能。

ผู้ถาม: ไม่ได้

Ajhan Sujin: 因此,是什麼法能透過 “身門” 出現?

อ.สุจินต์: เพราะฉะนั้นอะไรที่สามารถรู้ได้ ปรากฎได้ "ทางกาย"?

問: 是 “四大” 裡的三個色法土界、火界、風界、除了水界 。

ผู้ถาม: มหาภูตรูป ๓ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ยกเว้น ธาตุน้ำ

Ajhan Sujin: 這就是我們要瞭解,是什麼法能同 “變化色”(vikararupa) 一起生起,每個色法的生起是不可或缺 “四大” 的。 所以 “變化色” (vikararupa) 能單獨的生起嗎?

อ.สุจินต์: นี่จึงเป็นเหตุผลที่ต้องเข้าใจว่าสภาพธรรมอะไรที่สามารถเกิดพร้อมกับ"วิการรูป" ซึ่งรูปทุกรูปจะขาดมหาภูตรูปไม่ได้ เพราะฉะนั้น วิการรูป เกิดขึ้นตามลำพังได้ไหม?

問: 不能。

ผู้ถาม: ไม่ได้

Ajhan Sujin: 色輕快性(lahuta) ,色柔軟性(muduta) ,色適業性(kammannata)這三個法叫作 “變化色”(vikararupa) ,它們生起的因緣條件一定有 “四大”。 我們知道這些那麼多不同色法的細節,其實也是為了瞭解,並不是有一個我的存在,因此,法的真相並不是在文字上,心生色,變化色...等等。 那只是在想着這些法而已,這些法它是不是真的能夠被經驗? 這些法在現在這一刻有出現嗎? 硬就是硬,所以心生色的土元素和日常裡一般所出現的土元素一樣嗎?

อ.สุจินต์: ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป ทั้งสามรูปนี้เรียกว่า วิการรูป การเกิดขึ้นของรูปทั้ง๓ รูปนี้ ต้องมีมหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยจึงเกิด เรารู้ความละเอียดของรูปมากมาย ก็เพื่อเข้าใจว่าไม่มีเรา ด้วยเหตุนี้ ความจริงของสภาพธรรมไม่ได้อยู่ที่ตัวพยัญชนะ เช่น จิตตชรูป วิการรูป ฯลฯ การคิดถึงสภาพธรรมเหล่านี้ จริงๆ แล้วสภาพธรรมเหล่านี้เกิดปรากฏเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ หรือเปล่า? แข็ง ก็คือแข็ง ดังนั้นธาตุดินในจิตตชรูป กับ ธาตุดินที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันเหมือนกันไหม?

問: 一樣,土元素就是土元素。

ผู้ถาม: เหมือนกัน ธาตุดินก็คือธาตุดิน

Ajhan Sujin: 沒有變化色的土元素,和一般的土元素一樣嗎?

อ.สุจินต์: ธาตุดินที่ไม่มีวิการูป กับ ธาตุดินทั่วๆ ไปเหมือนกันไหม?

問: 不一樣。

ผู้ถาม: ไม่เหมือนกัน

Ajhan Sujin: 當你碰觸杯子的那一刻,那一刻的 “身識” 是沒有心生色的,因此,當我們移動杯子時,移動的那一刻一定有 “變化色” ,倘若沒有 “變化色” 同 “四大” 一起生起,身體就不能夠移動的。 “變化色” 不是在 “身門” 出現而是在 “意門” 出現。 “變化色” 是很細微的色法,但是它也是可以被經驗。 我們認為自己的動作很輕快,很柔軟,這些都只是在想着而已,而不是真的經驗 “變化色” 這些色的法。 只有智慧才可以直接經驗 “變化色”,當然是蠻高的智慧才能夠直接經驗 “變化色” 這些色法。

อ.สุจินต์: ในขณะที่คุณกระทบกับแก้ว กายวิญญานขณะนั้นไม่มีจิตตชรูป ไม่มีรูปที่เกิดจากจิต แต่ในขณะที่เราเคลื่อนย้ายแก้ว ขณะนั้นต้องมี "วิการรูป" เพราะถ้าไม่มี "วิการรูป" ที่เกิดพร้อมกับมหาภูตรูป ๔ ร่างกายก็ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ "วิการรูป" ไม่ได้ปรากฎ "ทางกาย" แต่ปรากฎได้ "ทางใจ" "วิการรูป" เป็นรูปที่ละเอียด แต่ก็สามารถที่จะถูกรู้ได้ ที่เราเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวของเรา เบา อ่อน พริ้วไหว ทั้งหมดเป็นเพียงการคิดเท่านั้น ไม่ได้เป็นการรู้ตรงลักษณะสภาพธรรมของ"วิการรูป" ปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถรู้ตรง "วิการรูป" และต้องเป็นปัญญาในระดับที่สามารถรู้ตรงลักษณะสภาพธรรมของ " วิการรูป" ได้



敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠
น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享
กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย

By line group Just Dhamma

หมายเหตุ

ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน

สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)

แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)


Topic 392