มิจฉาญาณและมิจฉาวิมุตติ


    ผู้ฟัง ญาณวิมุตติ และมิจฉาวิมุตติเป็นยังไง สองมรรคที่เป็นมรรค ๔นี่แหล่ะผิดจากพุทธศาสนาก็มีวิมุตติ เขาเข้าใจว่าเขาวิมุตติ แม้กระทั่งในโลกียจิตก็ยังถือว่าไม่วิมุตติใช่ไหม ในที่นี่ถือเป็นมิจฉาวิมุตติ

    อ.วิชัย คือผมเข้าใจอย่างนี้ คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่เป็นมรรคมี ๙ อย่างก็คือตั้งแต่สัมมาทิฏฐิคือปัญญา สัมมาสังกัปปะได้แก่วิตก สัมมาวาจาสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะก็ได้แก่วิรตี ๓ สัมมาวายามะได้แก่วิริยะ สัมมาสติได้แก่สติเจตสิก สัมมาสมาธิได้แก่เอกัคคตาเจตสิก และทิฏฐิเจตสิก ๑ ฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นมรรคหมายถึงหนทางที่ไปสู่ทุกขติ สุขติ หรือว่าพระนิพพาน มี ๙ องค์ แต่โดยการเกิดขึ้นของธรรมเหล่านี้ บางอย่างเป็นกุศลอย่างเดียวอย่างเช่นสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสติ เมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลอย่างเดียว ส่วนมรรคที่เป็นสัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ หรือว่าสัมมาสมาธิเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ฉะนั้นถ้าจำแนกโดยการเกิดขึ้นก็จะมี ๑๒ องค์ มิจฉาวิมุตติหมายถึงบุคคลที่ไม่พ้นแล้วสำคัญว่าตัวเองพ้นแล้ว

    ท่านอาจารย์ ที่คุณวิชัยกล่าวเมื่อสักครู่นี้ก็เพื่อที่จะแสดงให้เห็นความต่างเวลาที่ใช้คำว่า “มรรค” จะไปรวมถึงมิจฉาญาณ และมิจฉาวิมุตติไม่ได้ เพราะเหตุว่ามรรคคือหนทาง เพราะฉะนั้นก็จะมีมิจฉามรรคกับสัมมามรรค ส่วนผู้ที่เข้าใจผิด อบรมผิด ประพฤติผิด ผู้ที่เป็นผิดกับผู้ที่เป็นถูกคือเป็นถูกก็คือขณะนั้นสติที่เป็นสัมปชัญญะเป็นสติปัฏฐานเกิดพร้อมด้วยองค์อื่นๆ คือสัมมาทิฏฐิตลอดไปจนกระทั่งถึงสัมมาสมาธิ ๘ องค์ถ้าเป็นฝ่ายมิจฉาก็ ๘ เหมือนกัน แต่ว่าผู้ที่ปฏิบัติผิดเข้าใจผิดว่าปัญญาเกิดแล้ว อันนั้นก็เป็นมิจฉาญาณ เพราะว่าบางคนเข้าใจว่าเห็นการเกิดดับ ขณะนั้นไม่มีเหตุที่ปัญญาจะอบรมจนกระทั่งสามารถที่จะคลายความไม่รู้ได้ในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันเลย แต่ว่ามีความต้องการ โลภะ ทำให้มีการปฏิบัติที่ผิด เพราะฉะนั้นเวลาที่มีอะไรเกิดขึ้นก็เข้าใจว่าขณะนั้นเป็นวิปัสสนาเป็นญาณ ขณะนั้นก็เป็นมิจฉาญาณ เพราะฉะนั้นมิจฉาญาณไม่ใช่มรรค แต่กล่าวถึงความเป็นผิดสิบอย่าง และความถูกสิบอย่าง ถ้าเป็นฝ่ายสัมมาก็เป็นสัมมาญาณด้วย สัมมาวิมุตติด้วยแต่ถ้าเป็นทางฝ่ายอกุศลแสดงให้เห็นว่าคนที่มีความเห็นผิด ประพฤติปฏิบัติผิด ถ้าไม่ได้ฟัง และก็เทียบเคียง และผู้ที่มีสัจจะจริงๆ ที่จะอบรมเจริญปัญญาเพื่อละคลายความไม่รู้ ละคลายกิเลสก็จะทำให้หลงทาง เช่น เข้าใจว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นเป็นหนทางที่ถูก รวมทั้งสิ่งที่ไม่ใช่ปัญญาก็เข้าใจว่าเป็นปัญญา และบางท่านก็จะกล่าวว่าท่านรู้แจ้งอริยสัจจธรรมแล้ว พ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเป็นวิมุตติแล้วแต่ก็เป็นมิจฉาวิมุตติ เพราะฉะนั้นก็ต้องทราบว่าสำหรับมรรคจะเกินกว่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าพูดถึงสิบก็คือว่ารวมมิจฉาญาณ และมิฉาวิมุตติด้วย

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 126


    หมายเลข 9126
    26 ม.ค. 2567