กรุณาอธิบายตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก

 
udomjit
วันที่  25 พ.ค. 2551
หมายเลข  8709
อ่าน  6,759

ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกมีลักษณะหรืออาการหรือหน้าที่อะไร มีในชีวิตประจำวันหรือไม่คะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 พ.ค. 2551

ลักษณะเป็นต้น ท่านอธิบายไว้ดังนี้ครับ ความเป็นกลางในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตตา ตัตรมัชฌัตตตานั้น มีการทรงไว้ซึ่งจิตและเจตสิกให้เสมอกันเป็นลักษณะ มีการห้ามจิตและเจตสิกไม่ให้ยิ่งและหย่อนเป็นรส หรือมีการตัดขาดจากการตกไปในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน ด้วยอำนาจแห่งความวางเฉยต่อจิตและเจตสิก (และมีสัมปยุตตธรรมเป็นปทัฏฐาน) ตัตรมัชฌัตตตานี้พึงเห็นเหมือนสารถีผู้วางเฉยต่อม้าอาชาไนยทั้งหลายที่วิ่งไปเรียบร้อย ฉะนั้น ในชีวิตประจำวันตัตรมัชฌัตตา เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 25 พ.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 25 พ.ค. 2551

ลักษณะของตัตรมัชฌัตตตา คือ การวางเฉย มีใจเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวในความสุขความทุกข์ของสัตว์ เช่น ขณะที่เห็นคนฆ่าปลา เราไม่สามารถช่วยเขาได้ เราวางใจ เป็นกลาง จิตไม่เศร้าหมอง และคิดถึงเป็นกรรมของสัตว์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
natnicha
วันที่ 25 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 25 พ.ค. 2551

ตัตรมัชฌัชตตาเจตสิก มีในขณะที่เป็นโสภณจิต คือเป็นจิตฝ่ายดี ได้แก่ กุศลจิตมหาวิบากจิต และมหากิริยาจิตครับ ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่จิตเป็นไปในทาน ศีลภาวนา ขณะนั้นเป็นกุศลจิต มีตัตรมัชฌัชตตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ส่วนขณะที่จิตทำภวังคกิจของผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ด้วยกุศลเหตุอย่างน้อย ๒ คือ อโลภเหตุ และอโทสเหตุ ขณะนั้นก็มีตัตรมัชฌัชตตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เป็นชาติวิบากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
baramees
วันที่ 25 พ.ค. 2551

สิ่งใดมีจริง สิ่งนั้นเป็นธรรมและที่สำคัญอยู่ในชีวิตประจำวัน ตัตรมัชฌัตตาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีจริงมีความเป็นกลางและความเสมอกันเป็นลักษณะ ขณะใดที่เป็นอกุศลจะเห็นถึงความไม่เสมอกันและความไม่เป็นกลางที่เอนเอียงจึงเป็นอกุศล แต่แม้สภาพธรรมที่เป็น ตัตรมัชฌัตตาเจตสิกเป็นสิ่งที่มีจริง แต่การจะรู้ลักษณะความจริงของสภาพธรรมนั้น ต้องเป็นสติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นจึงรู้ได้ ซึ่งในการอบรมปัญญานั้น ย่อมรู้ในสิ่งที่ปรากฏ สิ่งใดไม่ปรากฏให้สติและปัญญารู้ในชีวิตประจำวัน สติและปัญญาก็ไม่สามารถรู้ได้ ขณะนี้กำลังเห็น ได้ยิน หรือมีเสียงปรากฏหรือคิดนึก ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง จึงแล้วแต่สติและปัญญาว่าจะรู้หรือไม่ว่าเป็นธรรมโดยไม่เลือกเพราะสติเป็นอนัตตา รวมทั้งตัตรมัชฌัตตาเจตสิกก็เช่นกัน แม้มีจริงแต่รู้ด้วยสติสัมปชัญญะ (สติปัฏฐาน) แต่ไม่เลือกที่จะรู้เพราะไม่ใช่เราที่จะไปเลือกแต่เป็นหน้าที่ของธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 26 พ.ค. 2551

กราบขอบพระคุณค่ะ

คำว่า รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ในความคิดเห็นที่๑ มีความหมายว่าอย่างไรค่ะเคยเห็นคำเหล่านี้ประกอบในการอธิบายดูเหมือนจะเข้าใจ แต่จริงๆ แล้วดิฉันไม่เข้าใจ ขอความเมตตาอธิบายความหมายด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
บักกะปอม
วันที่ 26 พ.ค. 2551

ต่างกับ อุเบกขาเจตสิก อย่างไรคะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ค. 2551

ขออธิบาย ความเห็นที่ 7 ตามความเข้าใจดังนี้.-

คำว่า รสะ นั้น หมายถึงกิจ (หรือ หน้าที่) สภาพธรรมแต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นปรากฏย่อมกระทำกิจหน้าที่ของตนๆ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ทำกิจหน้าที่ คือ ตัดขาดความลำเอียงในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะมีความเป็น กลางในจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ปัจจุปัฏฐานะ หมายถึง อาการปรากฏ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เป็นกลางไม่เอนเอียง ปราศจากอคติ ดังนั้น อาการปรากฏของตัตรมัชฌัตตาเจตสิกคือ มีความป็นกลาง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นกลางต่อจิตและเจตสิก ปทัฏฐานะ หมายถึง เหตุใกล้ให้เกิด ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก มีสัมปยุตตธรรม คือสภาพธรรมที่ประกอบพร้อมกัน ซึ่งไม่พ้นจิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้นเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ครับ

ขออธิบาย ความเห็นที่ 8 ตามความเข้าใจดังนี้ .-

ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เป็นกลาง เป็นเจตสิกฝ่ายดี เกิดร่วมกับโสภณจิตทุกประเภท ต่างกับ อุเบกขาเวทนา (อทุกขมสุขเวทนา) ซึ่งเป็นเวทนาเจตสิก จิตบางประเภท มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย บางประเภท ไม่มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย แต่จิตทุกประเภทจะมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง อุเบกขาเวทนา เป็นความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่นิยมกล่าวว่า อุเบกขาเจตสิกเพราะเป็นที่รู้กันว่า ไม่ว่าจะเป็นเวทนาประเภทใด ก็เป็นเวทนาเจตสิก ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
baramees
วันที่ 26 พ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จาก ความคิดเห็นที่ ๗

คำว่า รส หมายถึง กิจ หน้าที่ของสภาพธรรมนั้น เช่น เมตตาเมื่อเกิดขึ้น หน้าที่ของเมตตา คือพยายามน้อมนำประโยชน์เข้าไปให้ นี่คือกิจ หน้าที่ของเมตตา

คำว่า ปัจจุปัฏฐาน หมายถึง อาการที่ปรากฎเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น เช่น เมตตาเมื่อเกิดขึ้น อาการที่ปรากฏที่แสดงออกมาคือ เป็นความอ่อนโยน สุภาพ หรือ กำจัดความอาฆาตที่เกิดขึ้น

และอีกนัยหนึ่งคำว่า ปัจจุปัฏฐาน ยังหมายถึง ผล คือเมื่อมีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ผลของสภาพที่เกิดขึ้นย่อมมี เช่น การบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า ปัจจุปัฏฐานหรือผลของการบำเพ็ญบารมีคือ ความเป็นพระพุทธเจ้า

คำว่า ปทัฏฐาน หมายถึงเหตุใกล้ให้เกิด สภาพธรรมทุกอย่างย่อมมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นอย่างเช่น การบำเพ็ญบารมมีของพระพุทธเจ้า เหตุใกล้ให้เกิดการบำเพ็ญบารมี คือความกรุณาเพราะพระองค์เห็นสัตว์ทั้งหลายต้องประสบทุกข์เวียนว่ายตายเกิดจึงมีความกรุณาในสัตว์ พระองค์จึงทรงบำเพ็ญบารมีซึ่งพระองค์สามารถบรรลุเป็นสาวกได้ แต่พระองค์ทรงมีกรุณาจึงบำเพ็ญบารมี ดังนั้นเหตุใกล้ของการบำเพ็ญบารมีก็คือกรุณา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
baramees
วันที่ 26 พ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากความเห็นที่ ๘

ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี เกิดกับจิตฝ่ายดี จะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย

ส่วนอุเบกขา นั้นมีหลายความหมาย อุเบกขาที่เป็นความรู้สึก (เฉยๆ ) ก็มี เป็นเวทนาเจตสิก เป็นกลาง เพราะไม่เป็นไปในสุขในทุกข์ซึ่งอุเบกขาเวทนาเกิดกับอกุศลก็ได้ ต่างกับตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกเกิดกับอกุศลไม่ได้เลย อีกนัยหนึ่งอุเบกขา ก็หมายถึง ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกด้วย อย่างเช่น คงเคยได้ยิน อุเบกขาพรหมวิหาร อุเบกขาในที่นี้ต้องเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีแน่นอนเพราะเป็นพรหมวิหาร อุเบกขาในพรหมวิหารก็ คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกนั่นเองไม่ใช่เวทนาความรู้สึก (เฉยๆ)

แสดงให้เห็นว่า อุเบกขา บางนัย ก็หมายถึง ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก อุเบกขาบางนัยก็หมายถึง ปัญญาเจตสิก เช่น วิปัสสนูเบกขา เป็นต้น ดังนั้น อุเบกขาจึงมีหลายความหมาย ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ พระไตรปิฎก เล่ม ๗๕ หน้า ๔๗๕ ฉบับบมหามกุฏราชวิทยาลัย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 27 พ.ค. 2551

ที่นี่น่ารื่นรมย์

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Guest
วันที่ 28 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาในทุกคำตอบ และขอเสริมเพิ่มเติมดังนี้ ตัตรมัชฌัตตตาในชีวิตประจำวัน ที่พอจะเข้าใจได้ ก็เช่นในขณะที่ไม่ลำเอียงด้วยความรัก ความชัง ความกลัวหรือความไม่รู้ในเหตุผลความเหมาะควร แต่มีความเป็นกลาง มีความเที่ยงธรรม ขณะนั้นจิตเป็นกุศล ซึ่งต้องมีตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย และปรุงแต่งจิตเจตสิกในขณะนั้น ให้มีความเป็นกลาง เสมอกัน ไม่เอนเอียงนี่ก็เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น เพราะตัตรมัชฌัตตตามีหลายระดับ ตั้งแต่ที่เกิดกับกุศลขั้นต่างๆ คือ ทาน ศีล สมถะ วิปัสสนา จนถึงที่เกิดร่วมกับมหากิริยาจิตของพระอรหันต์ซึ่งมีความมั่นคงไม่หวั่นไหวจริงๆ เนื่องจากได้ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทแล้ว จึงเป็นความละเอียดลึกซึ้งของสภาพธรรม ที่ยากจะเข้าใจในขั้นประจักษ์แจ้งตรงลักษณะตามความเป็นจริง แต่ปัญญาจากการฟังการสนทนา ในเรื่องสภาพธรรม (อย่างเช่น ตัตรมัชฌัตตตา) ก็จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลให้ค่อยๆ สะสมความเห็นถูกในสภาพธรรมเพิ่มขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
opanayigo
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
saifon.p
วันที่ 17 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
sumek
วันที่ 4 พ.ย. 2555
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 11 ม.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
peem
วันที่ 28 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
Jiratchapan
วันที่ 15 ก.ย. 2564

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ