ทุติยทวยสูตร - ทรงแสดงส่วนสอง - ๒๔ พ.ค. ๒๕๕๑

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 พ.ค. 2551
หมายเลข  8680
อ่าน  1,456

สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๒๔ พ.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

๑๐. ทุติยทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๔๑


[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๔๑

๑๐. ทุติยทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

[๑๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความ เป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุวิญญาณไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส.


[ ๑๒๕ ] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจงใจ สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านั้นก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความ ประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าชิวหาสัมผัส.


[๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวยเจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจงใจ สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่นธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่นส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรม๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส.

[ ๑๒๗ ] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวยเจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสอง ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ฉันนวรรคที่ ๔


อรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ในทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อิตฺเถตํ ทฺวยํ เป็น เอวเมตํ ทฺวยํ แปลว่า ทั้ง ๒ นี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า จลญฺเจว พฺยาธิญฺจ ความว่า ย่อมหวั่นไหวและเจ็บป่วย เพราะไม่เป็นไปตามสภาวะของตน. บทว่า โยปิ เหตุโยปิ ปจฺจโยความว่า วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย แก่จักขุวิญญาณ. บทว่า จกฺขุโต นิจฺจํ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นของเที่ยงเพราะเหตุไร. เหมือนอย่างว่าบุตรผู้เกิดในท้องของทาสีของชายผู้เป็นทาส ก็กลายเป็นทาสคนหนึ่งไป ฉันใด วัตถารมณ์ วัตถุและอารมณ์ ก็เป็นของไม่เที่ยงเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า สงฺคติ แปลว่า มาประจวบเข้า. บทว่า สนฺนิปาโต ได้แก่ประชุมรวมกัน บทว่า สมวาโย ได้แก่ มารวมเป็นอันเดียวกัน. บทว่า อยํ วุจฺจติจกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ความประจวบด้วยปัจจัยนี้ คือ ชื่อว่าประจวบกัน ประชุมกัน มาพร้อมกันโดยชื่อว่าปัจจัยนั่นเอง เพราะเกิดด้วยปัจจัย กล่าวคือ ความประจวบความประชุม และความมาพร้อมกัน นี้เรียกว่า จักขุสัมผัส. บทว่า โสปิ เหตุ. ความว่า จักษุและอารมณ์ ขันธ์ ๓ ที่เป็นสหชาตธรรม เป็นเหตุแห่งผัสสะ ธรรมดังว่ามานี้ เรียกว่า เหตุ. บทว่า ผสฺโส เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า เวทนาย่อมเสวย เจตนาย่อมคิด สัญญาย่อมจำได้ ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้วเท่านั้น บทว่าผุฏฺโฐ ได้แก่ บุคคลผู้พรั่งพร้อม ด้วยผัสสะ. เวทนาอันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งอารมณ์เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมคิดก็มี. ดังนั้นในพระสูตรนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์ ๓๐ ถ้วน. อย่างไร. คือ อันดับแรก ในจักขุทวาร วัตถุ (จักขุวัตถุ) และอารมณ์จัดเป็นรูปขันธ์, ขันธ์ใด เสวย อารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้นขันธ์นั้นชื่อว่า เวทนาขันธ์ ขันธ์ใด คิดอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้วเหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์. ขันธ์ใด จำได้ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสัญญาขันธ์, ขันธ์ใดรู้แจ้งซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่แม้ในมโนทวารวัตถุรูปจัดเป็นรูปขันธ์ โดยส่วนเดียว. เมื่ออารมณ์ คือ รูปมีอยู่ แม้อารมณ์ก็จัดเป็นรูปขันธ์ ดังนั้นจึงได้ขันธ์ ๕ ในทวาร ๖รวมเป็นขันธ์ ๓๐ ถ้วน. แต่เมื่อว่า โดยสังเขป สหชาตธรรมเหล่านี้ จัดเป็นขันธ์ ในทวารทั้ง ๖. เมื่อตรัสขันธ์ ๕ พร้อมด้วยปัจจัยให้พิสดารว่า ไม่เที่ยง เป็นอันทรงแสดง พระสูตรนี้ ตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้แล.

จบ อรรคกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 20 พ.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 20 พ.ค. 2551

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
spob
วันที่ 20 พ.ค. 2551

ทุติยทฺวยสุตฺตวณฺณนา

ฏีกาทุติยทวยสูตร

เอวเมตนฺติ เอวํ อนิจฺจาทิภาเวน เอตํ จกฺขุรูปญฺจาติ ทฺวยํฯ

ที่ว่า ทั้งสองอย่างนี้ คือ จักษุและรูป ทั้งสองอย่างนี้ หวั่นไหว และสั่นคลอน เพราะเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น

จลตีติ อนวฎฺฐาเนน ปจลติฯ

ที่ว่า จลติ ย่อมหวั่นไหว คือ ย่อมเคลื่อนออกไป เพราะเป็นธรรมไม่ตั้งมั่น

พฺยถตีติ ชราย มรเณน จ ปเวธติฯ

ที่ว่า พฺยถติ ย่อมสั่นคลอน หมายถึง ย่อมสั่นคลอนไป เพราะชราและมรณะฯ

เหตุ เจว อุปฺปตฺตินิมิตฺตตฺตาฯ

วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุ เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้น

สหคตีติ สหปฺปวตฺติ, ตาย คเหตพฺพตฺตา ‘‘สงฺคตี’’ติ ผสฺโส วุตฺโตฯ เอส นโย เสสปททฺวเยปิฯ

ที่ว่า สหคติ ประจวบกัน ได้แก่ เป็นไปพร้อมกัน, ผัสสะ เรียกว่า สงฺคติ ประจวบกัน เพราะเป็นสิ่งที่จะกำหนดได้ด้วยความเป็นไปพร้อมกันนั้นฯ แม้สองบทที่เหลือ คือ สนฺนิปาโต ประชุมเข้ากัน สมวาโย พร้อมเพรียงกัน ก็มีนัยนี้ ฯ

ยสฺมา จ สํคจฺฉมานธมฺมวิมุตฺตา สงฺคติ นาม นตฺถิ, ตถา สนฺนิปาตสมวายา, เตสํ วเสน นิพฺพตฺโต ผสฺโส ตถา วุจฺจตีติฯ เตนาห ‘‘อิมินา’’ติอาทิฯ

เพราะ ธรรมดาว่า ความประจวบกัน, ความประชุมกันและความพร้อมเพรียงกันที่พ้นไปจากธรรมที่เป็นไปร่วมกัน ย่อมไม่มี, ผัสสะซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของธรรมเป็นปัจจัยเหล่านั้น จึงตรัสเรียกไว้โดยชื่อนั้น แล, ดังนั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงได้กล่าวคำมีว่า อิมินา ดังนี้เป็นต้นไว้ฯ

(หมายเหตุ ข้อความเต็มมีว่า

อิมินา สงฺคติสนฺนิปาตสมวายสงฺขาเตน ปจฺจเยน อุปฺปนฺนตฺตา ปจฺจยนาเมเนว สงฺคติ สนฺนิปาโต สมวาโยติ อยํ วุจฺจติ จกฺขุสมฺผสฺโส ฯ

สามประการนี้ คือ ความประจวบกัน ความประชุมกัน ความพร้อมกัน เรียกว่า จักขุสัมผัสสะ โดยชื่อว่า ปัจจัยนั่นเอง เพราะเกิดขึ้นด้วยปัจจัยกล่าวคือความประจวบกัน ความประชุมกัน ความพร้อมกัน ฯ)

วตฺถูติ จกฺขุ นิสฺสยปจฺจยาทิภาเวนฯ

วัตถุ ได้แก่ จักษุ เป็นเหตุแห่งผัสสะ โดยความเป็นนิสสยปัจจัยเป็นต้นฯ

อารมฺมณนฺติ รูปํ อารมฺมณปจฺจยาทิภาเวนฯ

อารมมณ์ คือ รูป เป็นเหตุแห่งผัสสะ โดยความเป็นอารัมมณปัจจัยเป็นต้นฯ

สหชาตา ตโย ขนฺธา เวทนาทโย, เต สหชาตาทิปจฺจยภาเวนฯ

ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน คือเวทนาขันธ์เป็นต้น เป็นเหตุแห่งผัสสะ โดยความเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้นฯ

อยํ เหตูติ อยํ ติวิโธ เหตูฯ

ธรรมเป็นเหตุเหล่านี้ คือ ธรรมเป็นเหตุ ๓ ประการเหล่านี้

ผสฺเสนาติอาทีสุ อยํ สงฺเขปตฺโถ ยสฺมา รูปารมฺมเณ ผสฺเส อตฺตโน ผุสนกิจฺจํ กโรนฺเต เอวํ เวทนา อนุภวนกิจฺจํ, สญฺญา สญฺชานนกิจฺจํ กโรติ, ตสฺมา ‘‘ผสฺเสน ผุฎฺฐเมวา’’ติอาทิวุตฺตเมว อตฺถํ อิทานิ ปุคฺคลาธิฎฺฐาเนน ทสฺเสตุ ํ ‘‘ผุฎฺโฐ’’ติอาทิ วุตฺตํฯ

ในคำว่า เวทนาย่อมเสวยอารมณ์ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยสังเขปดังนี้ , ในขณะที่ผัสสะทำหน้าที่กระทบ ของตน ในรูปารมณ์อยู่นั่นเอง, เวทนาก็ทำหน้าที่เสวย (รู้สึก) , สัญญาก็ทำหน้าที่จำ, เพราะเหตุนั้น บัดนี้ ท่านอาจารย์ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยผัสสะ ดังนี้ไว้ เพื่อแสดงเนื้อความที่ได้กล่าวไปว่า เวทนาย่อมเสวยอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เป็นต้น โดยปุคคลาธิฏฐานฯ

ปญฺเจว ขนฺธา ภควตา สมติ ํสาย อากาเรหิ วุตฺตาฯ กสฺมาติ อาห ‘‘กถ’’นฺติอาทิฯ รุกฺขสาขาสุ รุกฺขโวหาโร วิย เอเกกธเมฺมปิ ขนฺธโวหาโร โหติเยวฯ เตนาห ภควา – ‘‘วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขโนฺธ’’ติ (ยม. ขนฺธยมก ๒) ฯ

อาจมีข้อสงสัยว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสขันธ์ทั้ง ๕ โดยอาการ ๓๐ พอดี ดังนี้ ท่านอาจารย์จึงกล่าว คำมีว่า กถํ อย่างไร ดังนี้ไว้ฯ

แม้ในธรรมข้อหนึ่งๆ ก็ได้ชื่อว่าขันธ์นั่นแหละ เหมือนอย่างชื่อว่าต้นไม้มีได้ในกิ่งแห่งต้นไม้ ฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า วิญฺญาณํ วิญฺญานกฺขนฺโธ วิญญาณ ชื่อ วิญญาณขันธ์ ฯ (มาในยมกปกรณ์ ขันธยมก เล่ม ๒)

ทุติยทฺวยสุตฺตวณฺณนา นิฎฺฐิตาฯ

ฏีกาทุติยทวยสูตร จบ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 21 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนา ท่าน Spob ที่แปลและนำข้อความจากฎีกามาเสริมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บักกะปอม
วันที่ 21 พ.ค. 2551

ขอบคุณค่ะ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 พ.ค. 2551
อนุโมทนาเช่นกันครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
arin
วันที่ 22 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
happyindy
วันที่ 22 พ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ