ราคะในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 
gavajidham
วันที่  12 ก.พ. 2551
หมายเลข  7341
อ่าน  1,439

จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตไม่มีราคะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีราคะ

ราคะที่กล่าวถึงนี้หมายถึงต้องการมีเพศสัมพันธ์ใช่หรือไม่ครับ หรือมีประการใดอื่นอีก


Tag  ราคะ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ยกเว้น นวโลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ นิพพาน ๑ แล้ว ทุกๆ อย่างสามารถเป็นอารมณ์ของราคะ (โลภะ) ได้ เพราะราคะมีลักษณะของความต้องการ ติดข้องในทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นี้ ก็มีการติดข้องในกามคุณ ๕ เช่น รูปสวยๆ เสียงที่ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสอันน่าใคร่ น่าปรารถนา เพราะฉะนั้นเวลาที่ตื่นขึ้นมา ทุกคนก็เต็มไปด้วยราคะ เพราะแสวงหาสิ่งที่ต้องการ ที่ติด ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ฯลฯ ส่วนความต้องการมีเพศสัมพันธ์ ก็เพราะมีความจำได้ในรูป.....สัมผัส ที่ติด ด้วยอำนาจที่น่าใคร่ น่าพอใจ น่าปรารถนาของรูปที่พอใจและจำได้นั้น อะไรก็ตามที่ราคะติดข้อง ผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานสติก็สามารถเกิดและระลึกได้ ปัญญาก็รู้ชัดในความเป็นจริงของราคะโดยความเป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามเหตุปัจจัย แต่ไม่ใช่เรามีราคะ หรือราคะของเรา ครับ

เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น...คลิกฟังที่นี่นะครับ -->

04726 อะไรบ้างที่ไม่เป็นอารมณ์ของโลภะ

04066 อารมณ์ที่ตั้งของโลภะ

04343 โลภะชอบทุกอย่างแม้ภวังคจิต

03573 โลภะมีแต่ความต้องการมากมาย

02280 จริงๆ แล้วทุกคนมีโลภะ

02260 ทำตามโลภะ ทำไมมันถึงทำตามได้ง่าย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ