ตั้งจิตไว้ผิด ตั้งจิตไว้ชอบ [อรรถกถา ปณิหิตอัจฉวรรค]

 
khampan.a
วันที่  18 ม.ค. 2551
หมายเลข  7044
อ่าน  3,221

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ข้อความตอนหนึ่งจาก ...

อรรถกถา ปณิหิตอัจฉวรรค สูตรที่ ๒

กุศลมีจำนวนน้อย ไม่ว่าจะเป็นการให้ใบไม้ประมาณกำมือหนึ่ง หรือ กุศลใหญ่ๆ เช่นการให้ของเวลามพราหมณ์เป็นต้น ก็ตามเถิด ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิต ชื่อว่า ตั้งไว้ผิด ด้วยอำนาจอิงวัฏฏะ สามารถนำวัฏฏะเท่านั้นมาให้ หาสามารถนำวิวัฏฏะมา ให้ไม่

แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า "ขอทานของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้น อาสวะ" จิต ชื่อว่า ตั้งไว้ชอบ ด้วยอำนาจวิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัตต์ ย่อมสามารถให้ทั้งปัจเจกโพธิญาณทีเดียว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ม.ค. 2551

ในเรื่อง การตั้งจิตไว้ผิด ตั้งจิตไว้ชอบ นั้น

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ได้บรรยายในรายการ "แนวทางเจริญวิปัสสนา" มีข้อความดังนี้ :-

- กว่ากิเลสจะหมด ต้องเป็นผู้ที่ตั้งจิตไว้ชอบ คือ ไม่ได้ปรารถนาอย่างอื่น แม้ในขณะที่เจริญกุศล ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส

- การตั้ง ไม่ได้หมายความว่าไปตั้ง แต่หมายความว่า ไม่ได้หวังอะไร แต่ว่ามีการขัดเกลากิเลส
- ขณะที่โกรธ ขณะที่ติดข้องยินดีพอใจ ขณะที่หลงไม่รู้ความจริง ก็ชื่อว่าตั้งจิตไว้ผิด

เพียงขณะที่เจริญกุศลแล้วปรารถนาอย่างอื่น ขณะนั้นก็ชื่อว่าตั้งจิตไว้ผิดแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงขณะจิตที่เป็นอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

[๘๒๖] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญ อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้

ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 19 ม.ค. 2551

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓

ในปฏิปทาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มิจฺฉาปฏิปท ความว่า นี้เป็นปฏิปทา ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นอันดับแรก.

ถามว่า ก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง มิใช่หรือ. อภิสังขารทั้งสองนั้น เป็นมิจฉาปฏิปทาได้อย่างไร

แก้ว่า เพราะถือว่าวัฏฏะเป็นสำคัญ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลปรารถนาวัฏฏะกล่าวคือภพ ๓ ปฏิบัติ โดยที่สุดอภิญญา ๕ หรือ สมาบัติ ๘ สิ่งทั้งหมดเป็นไปในฝ่ายวัฏฏะ. จัดเป็นมิจฉาปฏิปทา เพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ.

สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือ พระนิพพาน ปฏิบัติ โดยที่สุดถวายทานเพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดี เพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี สิ่งทั้งหมดนั้นจัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดยแท้ เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ

บุคคลไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจะถึงที่สุดหาได้ไม่ ดังนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดงมิจฉาปฏิปทาด้วยอำนาจอนุโลม แสดงสัมมาปฏิปทาด้วยอำนาจปฏิโลม

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 19 ม.ค. 2551

การตั้งตนไว้ชอบ คือ จิตขณะนั้นเป็นในกุศล เช่น จากผู้ที่ไม่มีศรัทธา ก็ขวนขวายในการให้มีศรัทธา และมีศีลมากขึ้น เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อกรรมและผลของกรรม ฯลฯ

และที่สำคัญ กุศลทุกอย่างที่เจริญขึ้นต้องประกอบด้วยปัญญา เป็นไปเพื่อการดับกิเลส ค่ะ

ขอเชิญคลิกฟังที่นี่ค่ะ

การเจริญกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Idoitforyou
วันที่ 19 ม.ค. 2551

๑. เรียนถาม มศพ. ครับว่า

บุคคลที่เห็นผิดหรือนับถือศาสนาอื่นหรือไม่ได้เข้าใจหนทางการดับกิเลส ขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นก็ไม่ได้หวังอะไรก็ให้ไป เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ (สัมมาปฏิปทา) หรือไม่

เพราะ ไม่ได้หวัง กับบุคคลที่ฟังธรรม ขณะที่ให้ทานก็ไม่ได้หวังอะไร เป็นจิตตั้งไว้ชอบ (สัมมาปฏิปทา) หรือไม่ (ตามข้อความในพระไตรปิฎก) ทั้งสองบุคคลนี้แตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องการตั้งจิตไว้ชอบ (สัมมาปฏิปทา) ครับ?

๒. และสำหรับบุคคลที่ให้ทาน แล้วตั้งจิตปรารถนาเพื่อสิ้นกิเลสที่เกิดจากความเห็นถูกโดยเข้าใจการอบรมสติปัฏฐานด้วย

เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ (สัมมาปฏิปทา) หรือไม่ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 19 ม.ค. 2551

สัมมาปฏิปทา คือการเจริญกุศลทุกอย่างเพื่อออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ใช่เพื่อการเกิดในสวรรค์ แต่จุดประสงค์เพื่อดับกิเลสเพื่อพระนิพพานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 19 ม.ค. 2551

คนที่นับถือศาสนาอื่น แล้วให้ทาน ไม่หวังอะไร แต่ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อการออกจากวัฏฏะ ไม่ชื่อว่า สัมมาปฏิปทา แม้แต่คนที่นับถือศาสนาพุทธ ขณะที่ให้ทาน ไม่ได้หวังอะไร ถ้าไม่ปรารถนาเป็นไปเพื่อการสิ้นกิเลส ก็ไม่ใช้สัมมาปฏิปทา และไม่ใช่เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ

ตัวอย่างจากพระไตรปิฎกค่ะ ที่แสดงถึงพ่อค้าผู้พี่ ถวายน้ำผึ้งกับพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งจิตปรารถนาว่า ขอให้ได้บรรลุธรรมเหมือนธรรมที่ท่านบรรลุ อย่างนี้จึงเป็น สัมมาปฏิปทา ตั้งจิตไว้ชอบค่ะ ซึ่งต่อมา ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อคราวสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ชื่อ นิโครธสามเณร ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
devout
วันที่ 19 ม.ค. 2551

" ... ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิตชื่อว่าตั้งไว้ผิด แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า ขอทานของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ"

"จิตชื่อว่าตั้งไว้ชอบ"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 19 ม.ค. 2551

ขอบพระคุณมากค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Idoitforyou
วันที่ 20 ม.ค. 2551

เข้าใจขึ้นครับ ว่ากุศลที่เป็นสัมมาปฏิปทาหรือการตั้งจิตไว้ชอบ ต้องเป็นเรื่องของปัญญา เพราะเห็นโทษของกิเลสและสังสารวัฏฏ์อันเกิดจากปัญญาที่เข้าใจพระธรรมและหนทางที่ถูก จึงทำกุศลแล้วน้อมบุญไปเพื่อดับกิเลส จึงเป็นการตั้งจิตไว้ชอบ และเป็นสัมมาปฏิปทา ดังตัวอย่างที่คุณ wannee.s ยกมาในเรื่องการตั้งจิตไว้ชอบ เมื่อทำบุญในเรื่องของนิโครธสามเณร และข้อความในพระไตรปิฎก

ขอบพระคุณทุกท่านที่ทำให้เข้าใจขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตัวอย่างการตั้งปรารถนาเมื่อทำกุศลที่เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 521

" พี่ ถูกละ, ฉันถือเอาอ้อยมา ๒ ลำ, แต่ฉันเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จึงถวายรสแต่ลำอ้อยของฉัน แล้วถวายรสแต่ลำอ้อยแม้ของพี่ ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญ;' พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้นหรือจักรับเอาส่วนบุญ? "

พี่ชาย. ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ทำอะไร?

น้องชาย. ท่านดื่มรสจากลำอ้อยของฉันแล้ว ก็ถือเอารสจากลำอ้อย ของพี่ไปสู่เขาคันธมาทน์โดยอากาศ แล้วได้ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป.

พี่ชายเลื่อมใสขออนุโมทนาส่วนบุญ

พี่ชายนั้น เมื่อเขากำลังกล่าวอยู่นั้นแหละ, เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ ได้ทำความปรารถนาว่า

" การบรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเห็นแล้วนั่นแหละ พึงมีแก่เรา."

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ตัวอย่างการตั้งปรารถนาเมื่อทำกุศลที่เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 132

ทานที่ถวายไม่เหลือมีผลมาก

จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายไม่เหลือไว้เพื่อตน แม้แต่น้อยหนึ่ง ชื่อว่า ทานไม่มีส่วนเหลือ. ทานนั้นย่อมมีผลมาก. นายภัตตภติกะนั้น เมื่อทำอย่างนั้น จึงได้ถวายหมด ไหว้อีกแล้ว เรียนว่า " ท่านขอรับ ผมอาศัยถาดภัตถาดเดียว ต้องทำการรับจ้างในเรือนของคนอื่นถึง ๓ ปี ได้เสวยทุกข์แล้ว. บัดนี้ ขอความสุขจงมีแก่กระผมในที่ที่บังเกิดแล้วเถิด. ขอกระผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด. "

พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า " ขอจงสมคิด เหมือนแก้วสารพัดนึก ความดำริอันให้ความใคร่ทุกอย่าง จงบริบูรณ์แก่ท่าน เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น "

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ตัวอย่างการตั้งปรารถนาเมื่อทำกุศลที่เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 268

ส่วนบุญในเพราะบิณฑบาตนี้ อันนายให้แล้วแก่ข้าพเจ้า, ด้วยผลอันไหลออกแห่งส่วนบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมอันท่านเห็นแล้ว."

พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า

"ขอความปรารถนาที่ท่านตั้งไว้นี้ จงสำเร็จ" แล้วได้กระทำอนุโมทนาว่า :-

"สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลัน สำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม ดัง พระจันทร์ ซึ่งมีในดิถีที่ ๑๕.

สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลันสำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มดังแก้วมณี ชื่อว่าโชติรส."

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ตัวอย่างการตั้งปรารถนาเมื่อทำกุศลที่เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ

[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

ข้อความบางตอนจาก ...

อกิตติจริยา

ผิว่าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลผู้ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่งสองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้พึงให้ทานอันอุดม เมื่อให้ทานแก่พราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภ ก็หามิได้ เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ จึงได้ประพฤติธรรมเหล่านั้น ฉะนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

[๘๒๖] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญ อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
แช่มชื่น
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ถ้าปัญญายังไม่ถึง ถึงจะพร่ำบ่นว่าขอออกจากวัฏฏะเท่าไร หลังจากที่ให้ทาน ก็ย่อมไม่สำเร็จผล เข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ ช่วยอธิบายต่อทีครับ

เพราะว่าวันหนึ่งๆ ที่ให้อะไรกับใครก็น้อยมากที่จะเกิดความคิดออกจากวัฏฏะ อย่างนี้ คือคิดว่าให้ได้ก็ให้เลย ซึ่งความเป็นจริง สติก็ไม่ค่อยเกิด ก็กลายเป็นเราที่เป็นผู้ให้โดยตลอด

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 20 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ต้องเป็นเรื่องของปัญญาครับ ถ้าไม่เข้าใจหนทางการอบรมปัญญา หรือเข้าใจ หรือเห็นโทษของกิเลสและสังสารวัฏฏ์จริงๆ ก็เป็นการปรารถนาที่เลื่อนลอย ไม่ใช่จิตที่ตั้งไว้ผิด และไม่ใช่อธิษฐานบารมี เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญา เช่น ทำบุญแล้วปรารถนาพระนิพพาน แต่เข้าใจว่านิพพานคือสถานที่มีความสุข เป็นต้น ก็ไม่ใช่ชื่อว่าตั้งจิตไว้ชอบ เพราะเข้าใจผิด

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของปัญญา ดังเช่นผู้มีปัญญาย่อมเห็นโทษของกิเลสและสังสารวัฏฏ์ และโทษของกิเลสและการเกิด จึงปรารถนาการดับกิเลสและการไม่เกิด

นิพพานของท่านผู้มีปัญญาที่เข้าใจหนทาง คือ การไม่เกิด ดับ ซึ่งสภาพธรรมจึงทำกุศลและปรารถนาการดับกิเลสและนิพพาน ดังตัวอย่างในพระไตรปิฎก การตั้งจิตไว้ชอบ จึงเป็นเรื่องปัญญาครับ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
pornpaon
วันที่ 22 ม.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
suwit02
วันที่ 3 ธ.ค. 2551

สาธุ

ขอเรียนถามว่า

ถ้าบุคคลเจริญกุศล โดยไม่หวังผลในวัตถุกามใดๆ เพราะเห็นโทษในการติดวัตถุกาม แต่เจริญกุศลเพื่อมุ่งขัดเกลากิเลส เพราะเห็นโทษในกิเลส แม้ว่าจะไม่ได้ปรารถนาพระนิพพานอย่างชัดแจ้ง ก็ชื่อว่าตั้งจิตไว้ชอบใช่ไหม

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก็เพราะรู้ว่ากิเลสทำให้ต้องเกิด เพราะกิเลสเป็นสมุทัย การมุ่งเจริญกุศลทุกประการ ฟังพระธรรม เป็นต้น เพื่อน้อมไปเพื่อดับกิเลส สภาพธรรมที่ดับกิเลสไม่มีกิเลสเลย (นิโรธ) ก็คือนิพพานนั่นเอง แม้จะไม่ได้พูดว่าปรารถนานิพพาน แต่การที่ปัญญาเกิดเห็นโทษในกิเลส มุ่งดับกิเลสด้วยกุศลทุกประการอันเกิดจากความเห็นถูก ก็ชื่อว่าตั้งจิตไว้ชอบแล้วครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
suwit02
วันที่ 5 ธ.ค. 2551

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
pamali
วันที่ 6 ก.ค. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
nong
วันที่ 14 ก.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
boonpoj
วันที่ 23 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
chatchai.k
วันที่ 11 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
สิริพรรณ
วันที่ 26 ธ.ค. 2564

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศลทุกท่านด้วยความเคารพค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ