ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว

 
pirmsombat
วันที่  21 ม.ค. 2551
หมายเลข  7079
อ่าน  3,749

ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว

[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบคำทูลอาราธนาของ พรหมและทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสใน จักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์ อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอน ให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปรกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี. มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอก บุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่ พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

มีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมี ปรกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ ตรัสดาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์ เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูก่อน พรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์

ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน โอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ แล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

พรหมยาจนกถา จบ

แม้พระพุทธองค์ยังทรงรำพึงด้วยเหตุดังกล่าว ปุถุชนผู้มีปัญญา จึงควรมี มนสิการในการฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ ที่ทรงมีพระมหากรุณาแสดงไว้ ต่อสัตว์โลก ให้เข้าใจจริงๆ ก่อน จึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง อันแท้จริง

อรรถกถาพรหมยาจนกถา

ครั้งนั้นแล พอล่วงเจ็ดวัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น เสร็จกิจทั้งปวงมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล ออกจากโคนต้นไม้เกต เสด็จเข้า ไปยังต้นอชปาลนิโครธแม้อีก.

สองบทว่า ปริวิตกโก อุทปาทิ มีความว่า ความรำพึงแห่งใจนี้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพระพฤติกันมาเป็นอาจิณ เกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พอใจประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธนั้นเท่านั้น

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ความรำพึงแห่งใจนี้ จึงเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์?

ตอบว่า เพราะทรงพิจารณาชื่อที่พระธรรมเป็นคุณใหญ่ เป็นคุณเลิศลอย เป็นของหนัก และเพราะเป็นผู้ใคร่จะทรงแสดงตามคำที่พรหมทูลวิ่งวอน. จริงอยู่พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทราบว่า เมื่อพระองค์ทรงรำพึงอย่างนั้น พรหมจักมาทูลเชิญแสดงธรรม ที่นั้น สัตว์ทั้งหลายจักให้เกิดความเคารพในธรรมเพราะว่า โลกสันนิวาสเคารพพรหม ความรำพึงนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุ ๒ ประการนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล


ความรำพึงแห่งใจ ที่จะไม่แสดงธรรม เป็นการประพฤติกันมาเป็นอาจิณ ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เหตุที่รำพึงนี้

1. เพราะทรงพิจารณาชื่อที่พระธรรมเป็นคุณใหญ่ เป็นคุณเลิศลอย เป็นของหนัก

2. และเพราะเป็นผู้ใคร่จะทรงแสดงตามคำที่พรหมทูลวิ่งวอน จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทราบว่า เมื่อพระองค์ทรงรำพึงอย่างนั้น พรหมจักมาทูล เชิญแสดงธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ม.ค. 2551

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขอบคุฌครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 22 ม.ค. 2551

นับเป็นพระมหากรุณาคุณอันใหญ่ยิ่ง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นกิเลส ด้วยพระเมตตาอันยิ่งไม่มีประมาณ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ระลึกในพระคุณนั้น จวบจนชีวิตจะหาไม่

ขออนุโมทนาอีกครั้งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แช่มชื่น
วันที่ 22 ม.ค. 2551

เป็นพระสูตรที่ไพเราะ มีอรรถที่ลึกซึ้งกินใจจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 22 ม.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าไม่ทรงน้อมที่จะแสดงพระธรรมเพราะเหตุ 2 ประการคือ

1. เพราะสัตว์มากไปด้วยกิเลส

2. เพราะพระธรรมลึกซึ้งยากจะรู้ได้

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ข้อความบางตอนจาก.....

อรรถกถา ปาสราสิสูตร

ตอบว่าข้อนี้เป็นความจริง จิตของพระองค์น้อมไปอย่างนี้ด้วยอานุภาพแห่ง ปัจจเวกขณญาณ ก็พระองค์บรรลุสัพพัญุญุตญาณ พิจารณาถึงความที่สัตว์ยัง ยึดกิเลส และความที่ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง จึงปรากฏว่าสัตว์ยังยึดกิเลสและ ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง โดยอาการทั้งปวง เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงพระดำริ ว่า สัตว์เหล่านั้นเพียบไปด้วยกิเลสเศร้าหมองเหลือเกิน กำหนัดเพราะราคะ โกรธเพราะโทสะ หลงเพราะโมหะ เหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยน้ำข้าว เหมือน ตุ่มเต็มด้วยเปรียง เหมือนผ้าเก่าชุ่มด้วยมันข้น และเหมือนมือเปื้อนยาหยอด ตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจักตรัสรู้ได้อย่างไรเล่า จึงทรงน้อมจิตไปอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาถึงการยึดกิเลส ก็ธรรมนี้พึงทราบว่า ลึกเหมือนลำน้ำที่รองแผ่นดิน เห็นได้ยาก เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เอา ภูเขามาวางปิด รู้ตามได้แสนยากเหมือนปลายแห่งขนทรายที่แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน ชื่อว่า ทานที่เราพยายามเพื่อแทงตลอดธรรมนี้ไม่ให้แล้วไม่มี ชื่อว่า ศีลที่เราไม่ได้รักษาแล้วก็ไม่มี. ชื่อว่าบารมีไรๆ ที่เรามิได้บำเพ็ญ ก็ไม่มี เมื่อเรานั้น กำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ แผ่นดิน ก็ไม่ไหว เมื่อ ระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยามก็ไม่ไหว เมื่อชำระทิพยจักษุในมัชฌิม-ยามก็ไม่ไหว แต่เมื่อแทงตลอดปฏิจจสมุปบาท ในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุ จึงไหว ดังนั้น ผู้ที่มีญาณกล้าแม้เช่นเรายังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียว โลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร พึงทราบว่า ทรงน้อมจิตไป อย่างนี้แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาความลึกซึ้งแห่งพระธรรมด้วยประการ ดังนี้

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 28 มิ.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ