ความหมายของคำแปลพระสังคณี

 
Tawin
วันที่  14 ธ.ค. 2550
หมายเลข  5854
อ่าน  24,096

พระสังคณี

กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา โผฏฐัพพา รัมมะณัง วา ธัมมารัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา

ขอให้ผู้รู้ช่วยอธิบายคำแปลในพระสังคิณีหน่อย

พระสังคณี (แปล)

ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤตธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรูปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 14 ธ.ค. 2550

คำอธิบายทั้งหมดอยู่ในอรรถกถาเล่ม ๗๕-๗๖ มีตัวอย่างดังนี้

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ ๑

บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้นนี้ กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่าความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ กจฺจิ โภโตอนามยํ (ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ) ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราชกายสมาจาโร อนวชฺโช ...

(ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ) ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมีอาทิว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ กุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตาจตุริตฺถิโย (ท่านเป็นผู้ฉลาดในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง ๔ คนศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง) ใช้ในอรรถว่า สุขวิบากดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ กุสลสฺสกมฺมสฺส กตตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็นสุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง....

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 212

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล

บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลาย ที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท) ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่างๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา (ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจรกุศลนั้น มีมหาวาระ ๓ คือ .....

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 7 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 10 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
majweerasak
วันที่ 23 ส.ค. 2563

แปลผิดหรือไม่ครับ? กำลังกล่าวถึง ธรรมที่เป็นกุศล อะวิเข โป แปลว่า ฟุ้งซ่าน หรือว่า ไม่ฟุ้งซ่านครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
majweerasak
วันที่ 23 ส.ค. 2563

อวิกฺเขป (น+วิกฺเขป) สภาพที่จิตไม่ซัดส่าย ความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน ความสงบ สมาธิ.

วิกฺขิปนํ นานารมฺมณเปรณํ วิกฺเขโป จิตที่ฟุ้งไปสู่อารมณ์ต่างๆ ชื่อว่า วิกเขปะ.

โส นตฺถิ เอตฺถาติ อวิกฺเขโป สมาธิเป็นสภาพที่จิตไม่ซัดส่ายไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงชื่อว่าอวิกเขปะ (อาเทศ น เป็น อ) .

พุทฺธานุสฺสติวเสน จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจพุทธานุสติ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขอบพระคุณความคิดเห็นที่ ๔ และ ๕ ครับ ได้แก้ไขการพิมพ์ให้ถูกต้องแล้ว เป็น ความไม่ฟุ้งซ่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ