สัตบุรุษและอสัตบุรุษ ที่ยิ่งกว่า [อักฐังคิกสูตร]

 
longnight
วันที่  29 พ.ย. 2550
หมายเลข  5703
อ่าน  2,656

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 556

๕. อักฐังคิกสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษและสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงพึง ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นผู้มีความ เห็นผิด ฯลฯ ทำสมาธิผิด ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ทำสมาธิชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็น ชอบ ฯลฯ ทำสมาธิชอบ ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ

จบอัฏฐังคิกสูตรที่ ๕


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
longnight
วันที่ 29 พ.ย. 2550

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 460

อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือนคนมีจักษุ คนบอดย่อมมองไม่เห็น ทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอดด้วยกัน ฉันใดอสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้ง อสัตบุรุษฉันนั้น คนมีจักษุ ย่อมเห็นทั้งคนบอด ทั้งคนไม่บอดฉันใด สัตบุรุษ ย่อมรู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษฉันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แช่มชื่น
วันที่ 30 พ.ย. 2550

ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้ที่มีปัญญา ย่อมมองออกซึ่งสัตบุรุษด้วยกัน หรือ อสัตบุรุษก็ได้เปรียบเสมือน คนตาดี สามารถมองเห็นทั้งคนตาดีด้วยกัน และเห็นคนตาบอดด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 1 ธ.ค. 2550
ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้นอีก
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ