ความต่างของจิตและเจตสิก

 
เมตตา
วันที่  25 ธ.ค. 2566
หมายเลข  47138
อ่าน  524

สนทนาธรรม ณ แดนพุธภูมิ @มุมไบ วันพุธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ (ช่วงบ่าย)

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

อธิบายคำว่าจิตพึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่าย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์


ท่านอาจารย์: เรากำลังพูดถึงธรรมที่ละเอียดยิ่ง ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสี เกิดเป็นธาตุรู้ แต่รู้ต่างกัน เพื่อที่จะเข้าใจความต่างของจิต และเจตสิก เราจะกล่าวถึงเจตสิกทีละ หนึ่งเจตสิก เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภทใหญ่ๆ ไม่ใช่จำชื่อเจตสิก ๕๒ ชื่อ แต่เข้าใจเจตสิกแต่ละหนึ่ง ซึ่งมีชื่อ เพราะลักษณะของเจตสิกนั้นต่างกัน จึงชื่อต่างกัน

ไม่ทราบว่าทุกคนลืม อารัมมณะ หรืออารมณ์แล้วยังว่าคืออะไร

จิตเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ไหม?

ชาวอินเดีย: มี

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เจตสิกเป็นสภาพรู้ เกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่เจตสิกรู้ไหม เพราะฉะนั้น จิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน

จิตได้ยินเสียง เจตสิกเกิดพร้อมกัน รู้ เสียง จิตเป็นสภาพรู้ เจตสิกเป็นสภาพรู้ จิตเจตสิกเกิดพร้อมกันแยกกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิรู้อารมณ์ เจตสิกรู้อารมณ์ ต่างกันที่ จิตรู้อารมณ์โดยความเป็นใหญ่เป็นประธาน แต่เจตสิกที่เกิดกับจิตที่ได้ยิน มี ๗ ประเภท

ขณะนี้ อะไรเห็น?

ชาวอินเดีย: จิต

ท่านอาจารย์: มีเจตสิกเกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต เพราะฉะนั้น เจตสิกที่เกิดกับจิต รู้อะไร

เพราะฉะนั้น จิตได้ยินเกิดขึ้น เจตสิกที่เกิดกับได้ยิน รู้ อย่างอื่นได้ไหม? แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง จิตรู้ เจตสิกรู้สิ่งเดียวกัน แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่เป็นอารมณ์

เพราะฉะนั้น จิตต่างกันเป็นประเภทต่างๆ เพราะเจตสิกต่างๆ เกิดกับจิต จึงทำให้จิตต่างกันไป

เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ เกิดกับจิตไม่พร้อมกันทั้งหมด ๕๒ ทำให้จิตต่างกันเป็นประเภทใหญ่ๆ ๘๙ ประเภท

เรารู้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ถ้าเราไม่รู้ธรรมแต่ละหนึ่งๆ ก็ไม่สามารถที่จะละความเห็นที่ว่า เป็นเรา ได้ ถ้าไม่เข้าใจว่าธรรมเป็นธรรม จะเป็นวิปัสสนาได้ไหม?

ชาวอินเดีย: ถ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้เพิ่มขึ้นในรายละเอียดของจิตต่างๆ เจตสิกต่างๆ เพิ่มขึ้น ความเข้าใจก็ไม่เจริญ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าไม่เข้าใจอะไรเลย

ชาวอินเดีย: ต้องเข้าใจ


ข้อความจาก อ.คำปั่น กระทู้ 45794 ความเห็นที่ 1

สำคัญคือความเข้าใจว่า จิต คืออะไร? เจตสิกคืออะไร?

จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทุกขณะไม่เคยขาดจิตเลย เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย เป็นต้น เป็นจิต

เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และ สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็อาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต ด้วย ตัวอย่างเจตสิก เช่น โลภะ (ความโลภ,ความติดข้องต้องการ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความไม่รู้) ศรัทธา (ความเลื่อมใส,ความผ่องใสแห่งจิต) สติ (ความระลึกเป็นไปในกุศลธรรม) ปัญญา (ความเข้าใจถูกเห็นถูก) วิริยะ (ความเพียร) อโลภะ (ความไม่โลภ) อโทสะ (ความไม่โกรธ) สัญญา (ความจำ) เวทนา (ความรู้สึก) เป็นต้น เป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย กระทำกิจหน้าที่ของตนๆ แล้วก็ดับไปไม่เที่ยง ไม่ยังยืน

ตัวอย่างพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องจิต และ เจตสิก เช่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๑

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ ฉะนั้น

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น


ในอรรถกถาได้แสดงชัดเจนว่า ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้คือ เจตสิก ส่วนสภาพที่เป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้น ก็ได้แก่ จิต ครับ

ขอเชิญอ่านได้ที่ ...

ความหมายของเข้าใจจริงๆ กับจำได้ ต่างกันอย่างไร

ตัวจริง ... ?

ขอเชิญฟังได้ที่ ...

ต้องเป็นปัญญาของตนเอง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 26 ธ.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณ คุณเมตตา และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
swanjariya
วันที่ 27 ธ.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณยิ่งและยินดีในกุศลค่ะน้องเมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ