เคยพิจารณาความคิดของตัวเองบ้างไหม?

 
แล้วเจอกัน
วันที่  30 ส.ค. 2550
หมายเลข  4687
อ่าน  1,711

ถ้าอ่านแล้วสามารถคิดอย่างนั้นได้ก็จะเป็นการกรุยทางให้ "เมตตา" เกิดง่ายขึ้น ชีวิตในแต่ละวันก็จะเป็นสุขได้ไม่ยากเย็นครับ ขอเชิญอ่านข้อความบางตอนว่าด้วย "เอาใจเขาใส่ใจเรา"

เอาใจเขามาใส่ใจเรา [มูลปัณณาสก์]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

คิดบ้างหรือไม่ว่า สิ่งที่เป็นสาระที่สุดในชีวิตคือ ความเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้อง คิดที่จะอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้วบ้างหรือไม่ คิดที่จะเห็นอกุศลของตัวเองมากกว่าอกุศลของคนอื่นบ้างหรือไม่ คิดที่จะเป็นผู้อ่อนน้อมต่อบุคคลอื่นบ้างหรือไม่ คิดบ้างไหมว่าตัวเราจะต้องตายอีกไม่นานและไม่รู้ตอนไหน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

คิดที่จะยอมหรือเอาชนะ คิดที่จะช่วยเหลือคนอื่น ทางกายหรือวาจา โดยไม่เลือกบุคคลที่จะช่วยคิดที่จะพอในสิ่งที่มีมากอยู่แล้วหรือไม่ คิดให้อภัยบ้างหรือยังหรือยังผูกโกรธ ไม่ชอบคนนั้นเหมือนเดิม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

คิดถึงความดีของคนอื่นแล้วอนุโมทนาบ้างไหม คิดถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยความเข้าใจและเห็นใจคนนั้นไหม คิดที่จะให้บ้างไหม คิดที่จะเห็นใจและให้อภัย เมื่อคนอื่นทำผิดหรือซ้ำเติมโดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

คิดที่จะพูดด้วยความหวังดี มีไมตรีจิต โดยไม่เลือกบุคคลที่พูด คิดบ้างไหมว่าเราเป็นเพื่อนร่วมกันในสังสารวัฏฏ ควรช่วยเหลือและมีเมตตากัน คิดหรือเปล่าว่า ความคิดเป็นสิ่งที่มีจริง แต่สิ่งที่คิด เรื่องราวไม่มีจริง ที่สำคัญที่สุด คิดบ้างไหมว่า ขณะที่คิดถึงสภาพธัมมะ ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะไม่รู้ลักษณะสภาพธัมมะในขณะนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

ไม่คิด ไม่ทำ คิดแต่ไม่ทำ คิดด้วยทำด้วย

ลองสำรวจดูว่าท่านมีความคิดในทางไหนอย่างไรบ้าง ประโยชน์คือ เห็นโทษของอกุศลและประโยชน์ของกุศลพร้อมๆ กับการเจริญสติปัฏฐาน ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

เรื่อง พิจารณาอกุศลของตนแล้วอบรมด้วยการฟังพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

ข้อความบางตอนจาก อนุมานสูตร

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้นทั้งหมด หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 ส.ค. 2550

เรื่อง ควรพิจารณากิเลสของตนในชีวิตประจำวัน ไม่พิจารณาเลยไม่ควร

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ... พิจารณาตนเอง [อนุมานสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
panee.r
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ตุลา
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย

ขออนุโมทนากับคุณแล้วเจอกันค่ะ ที่มีรูปแบบและแนวคิดใหม่ๆ มาเชื่อมโยงกับการศึกษาพระธรรมในปัจจุบัน จริงๆ แล้วก็เป็นบุคคลหนึ่ง ที่พยายามทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ไม่ว่าในครอบครัวหรือสังคม แต่พอมาได้ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง จึงทำให้ระมัดระวัง และไม่ประมาทกับชีวิตที่เป็นปรกติมากขึ้น ไม่ว่าการคิดหรือการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล บางครั้งการกระทำบางอย่างเราคิดแต่ไม่ได้ทำ หรือทำแล้วไม่ทันคิดน่ะค่ะ ความคิดเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน แต่จะเป็นไปในทางไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับการถูกอบรม และการสะสมของบุคคลนั้นมาอย่างไรด้วยค่ะ

ขอขอบคุณและอนุโมทนาที่ให้แนวคิดที่ดีเพิ่มขึ้นอีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
shumporn.t
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ควรพิจารณากิเลสของตนในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
natnicha
วันที่ 31 ส.ค. 2550

"ที่สำคัญที่สุด คิดบ้างไหมว่า ขณะที่คิดถึงสภาพธัมมะ ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐานเพราะ

ไม่รู้ลักษณะสภาพธัมมะในขณะนั้น" "รู้" กับ "คิด" ต่างกันอย่างไรคะ รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถ้าอ่านแล้วสามารถคิดอย่างนั้นได้ก็จะเป็นการกรุยทางให้ "เมตตา" เกิดง่ายขึ้น

ชีวิตในแต่ละวันก็จะเป็นสุขได้ไม่ยากเย็นครับ

ขอเชิญอ่านข้อความบางตอนว่าด้วย "เอาใจเขาใส่ใจเรา"

เอาใจเขามาใส่ใจเรา [มูลปัณณาสก์]

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถึงบุคคลที่ยกตนข่มผู้อื่นก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่

ก็หากเราจะพึงเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่

พอใจของคนอื่น

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธอันความโกรธครอบงำ ก็หาเป็นที่

รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ

ครอบงำบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า จักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงำ.

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ

เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธมักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด

เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า. เราก็คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิด

ขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ.

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจา

ใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง

กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิด

ให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่โต้เถียงโจทก์. ถึงบุคคล

ที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ

ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้องกลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า

เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถึงบุคคลที่เป็นคนลบหลู่ตีเสมอ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่

ก็หากเราจะพึงเป็นคนลบหลู่ตีเสมอบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของ

คนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิด

ขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของ

เราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รัก

ใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิด

ขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่.

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ครูโอ
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ถึงบุคคลที่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเรา

ไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่

พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น

ว่า เราจักไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเรา

ไม่ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่

พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น

ว่าเราจักไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รัก

ใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น

ถอนได้ยากบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น

ว่าเราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ขอนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
พุทธรักษา
วันที่ 31 ส.ค. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
wannee.s
วันที่ 31 ส.ค. 2550

เคยพิจารณาและตั้งใจจะเป็นคนดี ทำดี แต่พอเจอเหตุปัจจัยไม่ดีก็โกรธง่าย โกรธเร็วค่ะ ก็รู้ตัวว่ายังไม่ดี พยายามศึกษาธรรมเพื่อขัดเกลาความไม่ดีทางกาย ทางวาจาค่ะ


ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
h_peijen
วันที่ 1 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 1 ก.ย. 2550
ปัญญารู้ว่าไม่ใช่ตนจึงเข้าที
 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 ก.ย. 2550

ผู้มีปัญญา ย่อมพิจารณา อกุศลของตน ตราบใดไม่ใช่พระอนาคามี ก็ต้องมีโกรธเป็น

ธรรมดา แล้วแต่ว่า เมื่อเกิดโกรธขึ้น จะพิจารณาให้เป็น กุศลหรืออกุศล.

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
wannee.s
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ผู้มีปัญญารู้ว่าแม้อกุศลก็ไม่ใช่ของตน เพราะหักประโยชน์ เช่น กระเป๋าเงินหาย เป็น

ผลอกุศลกรรม ชื่อว่าไม่ใช่ตน กุศลชื่อว่าเป็นของตน เพราะให้ผลเป็นสุข เช่น ได้สิ่ง

ของต่างๆ ที่น่าชอบใจ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
Jaruwan
วันที่ 2 ก.ย. 2550

ศึกษาธรรมมะไป เรื่อยๆ ๆ เลยรู้ว่าวันๆ เราคิดแต่เรื่องอกุศลเต็มเลย แต่ก็ดีกว่าเมื่อ

ก่อนที่ไม่รู้เลยว่าความคิดของเราเป็นกุศลหรืออกุศล

ฟังธรรมมะแล้วทำให้ไม่ค่อยโกรธคนอื่นที่มาทำให้เราโมโห......ตอนแรกก็นึกโกรธ

แต่พอนึกได้ก็ปล่อยไป เพราะมันทำให้เราร้อนใจเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 3 ก.ย. 2550

รู้ทั้งรู้ว่าโกรธไม่ดี แต่เมื่อมีเหตุเกิดก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ทำให้เห็นถึงการสั่งสมอกุศลที่

มีกำลังมากในอดีต แน่นอนว่าไม่ได้มีความวิตกกังวลใดในอกุศลแรงกล้านั้น เพราะไม่

สามารถบังคับไม่ให้เกิดได้ แต่รู้ว่าความเพียรในกุศลที่มีมากขึ้นในทุกๆ วัน เช่นการฟัง

พระธรรม และ มีความเข้าใจขึ้นๆ ในทุกๆ ครั้งที่ฟัง มีการพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นใน

แต่ละขณะ บ่อยๆ เนืองๆ มีความมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ทั้งนี้ย่อมรู้แม้ในขณะที่ความเพียรนั้นๆ เกิดขึ้นว่า ไม่ใช่เราที่เพียร แต่เป็นธรรมะ ทีละ

เล็กทีละน้อยในทุกๆ วันสะสมไป สมดังคำกล่าวที่ว่า "เราไม่พัก ไม่เพียร" นั้นแล

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
olive
วันที่ 3 ก.ย. 2550

พิจารณาแล้วละวาง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ย. 2550

การเพ่งโทษผู้อื่น เป็นเรื่องที่ทำให้หนักใจ เกิดอกุศลวิตก เดือดร้อนในภายหลัง.เลือกที่จะเมตตาดีกว่ารัก......เพราะจะไม่ทุกข์หนักในภายหลัง.จะรู้ดีรู้ชั่ว อย่ที่ตัว "ปัญญา".

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
orawan.c
วันที่ 3 ก.ย. 2550

ทั้งหมดคือ ธรรมะ และเป็น อนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
ตุลา
วันที่ 4 ก.ย. 2550

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
เซจาน้อย
วันที่ 25 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ