การจำแนกรูปและนาม

 
จั่น
วันที่  25 ต.ค. 2548
หมายเลข  466
อ่าน  4,226

ตามที่ได้ศึกษามาว่าธรรมชาติสามารถจำแนก 2 พวก คือ รูป (สิ่งที่ไม่มีสภาพรู้) และนาม (สิ่งที่เป็นสภาพรู้) ดังนั้น "คน" และ "ต้นไม้" เป็นรูปหรือนาม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 ต.ค. 2548

คำว่า "คน" และ "ต้นไม้" เป็นบัญญัติ คือ ชื่อที่ใช้เรียกให้รู้ว่าหมายถึงสิ่งใด แต่ในตัวของคนมีปรมัตถธรรมทั้งรูปธรรม (สภาพไม่รู้) และนามธรรม (จิต -เจตสิก) ที่ต้นไม้มีเพียงรูปธรรมอย่างเดียว

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ต.ค. 2548

ปรมัตถ์ธรรมมี ๔ ประเภท

จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่ปรากฏ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น จิตทั้งหมดมี ๘๙ ประเภท หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ

เจตสิก เป็นสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้สิ่งเดียวกับจิต ดับพร้อมจิตและเกิดที่เดียวกับจิต เจตสิกแต่ละเจตสิกมีลักษณะและกิจต่างกันตามประเภทของเจตสิกนั้นๆ เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท

รูป เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป

นิพพาน เป็นธรรมที่ดับกิเลส ดับทุกข์ นิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น นิพพานจึงไม่เกิดดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ต.ค. 2548

จิตซึ่งเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์นั้น มิใช่มีแต่ในพระพุทธศาสนาหรือเฉพาะมนุษย์เท่านั้น

จิตเป็นปรมัตถธรรม ไม่ว่าจะเป็นจิตเห็นของสัตว์ใดบุคคลใด จิตเห็นที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะต้องเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตได้ยินก็ต้องได้ยินเสียง จิตเห็นจะรู้เสียงไม่ได้และจิตที่ได้ยินจะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้

ไม่มีผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้ปรมัตถธรรมเปลี่ยนลักษณะและสภาพของปรมัตถธรรมนั้นๆ เป็นอย่างอื่นได้

จิตซึ่งเป็นปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เมื่อไม่มีปัจจัยจิตก็เกิดไม่ได้ เช่น เมื่อเสียงไม่เกิดขึ้นกระทบหู จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อกลิ่นไม่เกิดขึ้นกระทบจมูก จิตรู้กลิ่นก็เกิดขึ้นไม่ได้

จิตแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทนั้นๆ ฉะนั้นจิตที่เกิดขึ้นจึงต่างกันเป็น ๘๙ ประเภท หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทหนึ่งๆ นั้น ก็ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว แต่ต้องมีหลายปัจจัย เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยคือตา ซึ่งได้แก่จักขุปสาท และรูปคือสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ต.ค. 2548

ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ มีนามปรมัตถ์อีกประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับจิตและรู้อารมณ์เดียวกับจิต นามปรมัตถ์นั้น คือ เจตสิก

เจตสิก ได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเจตสิกปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตปรมัตถ์ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ เป็นต้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต ถ้าไม่มีจิต เจตสิก คือ ความโกรธ, ความรัก ความทุกข์ เป็นต้น ก็เกิดไม่ได้

เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ประเภท หรือเรียกว่า ๕๒ ดวง เช่น ความโกรธ (โทสะ) ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง มีลักษณะหยาบกระด้างดุร้าย ความรักก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง คือ โลภเจตสิกมีลักษณะยึดติด ไม่สละ และปรารถนาอารมณ์

เจตสิกแต่ละประเภทเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน นอกจากมีลักษณะต่างกัน กิจของเจตสิกแต่ละอย่างก็ต่างกัน ผลคืออาการที่ปรากฏก็ต่างกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 25 ต.ค. 2548

รูปปรมัตถ์เป็นสภาวะธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นและดับไปเช่นเดียวกันกับจิตและเจตสิก

รูปปรมัตถ์มี ๒๘ รูป หรือ ๒๘ ประเภท มีความหมายไม่เหมือนที่เข้าใจกันว่า โต๊ะเป็นรูปหนึ่ง เก้าอี้เป็นรูปหนึ่ง หนังสือเป็นรูปหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น

รูปปรมัตถ์ ๒๘ ประเภทนั้น มีรูปที่จิตรู้ได้ทางตา คือ มองเห็นได้เพียงรูปเดียว คือ สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น

อีก ๒๗ รูปนั้น จิตเห็นไม่ได้แต่รู้ได้ทางอื่น ตามประเภทของรูปนั้นๆ เช่น เสียงที่รู้ได้ทางหู เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 16 พ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 2 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ก.พ. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sea
วันที่ 4 พ.ย. 2564

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ