Thai-Hindi 22 Jul 2023

 
prinwut
วันที่  22 ก.ค. 2566
หมายเลข  46285
อ่าน  494

Thai-Hindi 22 Jul 2023


- ไม่มีอะไรถามก่อนใช่ไหม (อยากให้สนทนาต่อเรื่องเดิมจากคราวที่แล้ว) ซึ่งเป็นเรื่องไหนก็ได้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่มีที่ไม่เคยรู้มาก่อน (ต้องเป็นเช่นนั้นเพราะมีธรรมตลอดเวลาแต่ความเข้าใจยังไม่มี จะคุยในนัยไหนก็เป็นประโยชน์)

- ดีค่ะ ถูกต้อง เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) มีเจตสิกไหม (มี) มีรูปไหม (มี) แล้วมีอะไรนอกจากนี้ไหม (นอกนี้ไม่มีแล้ว) มีคุณอาช่า คุณอาคิ่ลไหม (ไม่มี) แล้วมีอะไร (มีธรรม) แล้วมีธรรมอะไรบ้างที่รู้จัก (มีเราเห็นแต่เป็นภาษาทางโลก จริงๆ แล้วไม่มีเรา) มีความไม่รู้ไหม (มี) มากไหม (มาก) เดี๋ยวนี้มีไหม (มี) เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไร (มีเห็นแต่ไม่รู้จักเห็น) เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของความไม่รู้ทุกวันใช่ไหม (ใช่)

- เพราะฉะนั้น ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่ออะไร (เพื่อรู้ความจริง) จนกว่าจะรู้ว่า เห็นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยเป็น เป็นแต่ละ ๑ ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงแต่ละ ๑

- เพราะฉะนั้น ความจริงของทุกอย่างที่กำลังมีเดี๋ยวนี้คืออะไร ฟังคำถามดีๆ ความจริงของทุกอย่างที่มีเดี๋ยวนี้คืออะไร (ความจริงคือเกิดแล้วดับ) ดีมาก เป็นการเตือนให้รู้ว่า ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะหมดความไม่รู้ไหม เพราะฉะนั้น ต้องฟังจนกว่าจะรู้ความจริงอย่างนี้ใช่ไหม (ใช่)

- ถ้าไม่ฟังอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้จริงๆ โดยละเอียดอย่างยิ่ง สามารถที่จะถึงการรู้แจ้งสิ่งที่กำลังเกิดดับเดี๋ยวนี้ได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงสิ่งที่มีจริง “เพื่อเข้าใจ” ไม่ใช่เพื่อฟังแล้วจำเท่านั้น แต่เพื่อเข้าใจจริงๆ มั่นคงว่า สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ทั้งหมด “เกิดดับ”

- เมื่อคืนนี้คุณอาช่านอนหลับไหม (หลับ) ขณะหลับมีอะไร (มีภวังค์) ทำไมชอบเรียกชื่อ ภวังค์คืออะไร เพราะเวลาที่ถามและคุณอาช่าบอกว่ามีภวังค์ คุณอาช่าไม่ได้คิดถึง “จิต” แต่คิดถึงชื่อ“ภวังค์”

- เพราะฉะนั้น ขณะนอนหลับมีอะไร (ตอนนอนมีจิต) มีเจตสิกไหม (มี) เพราะอะไร (มีจิตที่ไหนต้องมีเจตสิกด้วยเพราะเป็นธรรมชาติของธรรมนี้) และมีรูปไหม (มี) และขณะนั้นมีอะไร รู้อะไรหรือเปล่า (ถ้ามีจิตต้องมีอะไรที่จิตรู้) เพราะฉะนั้นขณะนั้นมีจิตรู้อะไร (ตอนแรกสับสนเรื่องอารมณ์ที่จิตรู้แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าอารมณ์เดียวกับตอนเกิด) ไม่ได้ถามอะไรอย่างนั้นเลย ดิฉันต้องการที่จะให้เริ่มคุ้นเคยกับชีวิตจริงๆ ทุกขณะเป็นอย่างไรทีละ ๑ ขณะ แต่ไม่ใช่ให้เอาเรื่องมาเล่าให้ฟัง (มีจุดหนึ่งที่คุณอาช่าตอบว่า อารมณ์ไม่ปรากฏ)

- เริ่มเห็นความเป็นใหญ่ของจิตหรือยัง (เริ่มเข้าใจ) เพราะฉะนั้น เราได้ยินทุกคำทีละเล็กทีละน้อยแต่เราต้องเข้าใจลึกซึ้งขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้เราไปนึกถึงเรื่องราวมากมายแล้วจำคำจำเรื่องราว แต่เดี๋ยวนี้มีธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน เห็นความสำคัญหรือยังแม้แต่ขณะนอนหลับก็แล้วแต่จิตขณะนั้นเป็นอะไร รู้อะไร

- ทำไมจิตนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติเรียกว่า “ภวังคจิต” (เป็นจิตที่ทำหน้าที่ดำรงชีวิต) เพราะฉะนั้นเราพูดเรื่องยาวๆ จะทำให้เข้าใจความลึกซึ้งของธรรมที่มีเดี๋ยวนี้ที่ยังไม่สามารถรู้ได้เลยหรือเปล่า (ถ้าไม่เข้าใจว่าตอนนี้เป็นจิตก็ไม่มีประโยชน์)

- เพราะฉะนั้น ก็คิดแต่ชื่อ คิดแต่เรื่อง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ชื่ออย่างนั้น แต่ดิฉันพูดถึงขณะนอนหลับเพื่อให้ทุกคนคิดถึงขณะนอนหลับ ไม่ใช่ฟังแต่เรื่องนอนหลับแต่ให้ทุกคนเริ่มคิดถึงขณะที่นอนหลับ

- เพราะฉะนั้น ถามอะไรสั้นๆ ก็ตอบ ยิ่งสั้นยิ่งเข้าใจคำนั้น เพราะเป็นภาวะที่เข้าใจความจริงของขณะนั้น เพราะทุกคนพูดถึงภวังค์แต่ความเข้าใจจิตขณะนั้นมีไหม เพื่อ่เริ่มเข้าใจธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่จริงๆ เกิดขึ้นรู้

- เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเต็มไปด้วยเรื่องเต็มไปด้วยชื่อแต่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีแต่ละ ๑ ขณะไหม เพื่อเตือนให้เข้าใจจริงๆ ถึงธาตุรู้และธาตุอื่นๆ ที่มีในชีวิตประจำวันซึ่งเมื่อเข้าใจขึ้นขณะนั้นเอง “ละ” ทีละเล็กทีละน้อยว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แต่ถ้าจำชื่อ จำเรื่อง จะไม่รู้ลักษณะของจิตเลยเพราะเหตุว่า ขณะนั้นกำลังจำคำและเรื่องราว

- เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรากำลังจะค่อยๆ เริ่มกล่าวถึงธรรมที่มีแต่ละขณะเพื่อจะได้เข้าใจจริงๆ ว่าแต่ละขณะนั้นเป็นอะไรจริงๆ เพราะฉะนั้นขณะนั้นถามแล้วตอบเป็นชื่อ ไม่ได้เข้าใจลักษณะของธรรม

- เพราะฉะนั้น ดิฉันเริ่มคำถามจากการถามคุณอาช่าว่า “เมื่อคืนนี้นอนหลับหรือเปล่า มีหลับหรือเปล่า?” เพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงไม่ใช่ให้ตอบชื่อซึ่งใครๆ ก็ตอบได้

- เพราะฉะนั้น เมื่อคืนนี้หลับไหม (หลับ) หลับขณะนั้นคืออะไร (คือจิต) ตอบสั้นๆ อย่างนี้ถูกแล้วขณะนั้นมีจิตใช่ไหมแต่ว่าต้องถามต่อ ถ้าถามชื่อ ตอบเป็นชื่อว่าจิต จิตคืออะไร (เป็นธาตุที่มีจริงและรู้อารมณ์) เป็นธาตุรู้ ถ้าไม่ถามจะคิดถึงขณะหลับไหมว่า เป็นธาตุรู้ (ถ้าไม่ถามก็ไม่คิดอย่างนี้)

- เริ่มรู้ว่า มีธาตุรู้ คนตายมีธาตุรู้ไหม (ไม่มี) ต้นไม้มีธาตุรู้ไหม (ไม่มี) ไม่มี แต่ขณะนี้คิดถึงคำที่จะตอบหรือเริ่มคิดถึงขณะที่มีธาตุรู้ (คิดถึงความจริง) เดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดถึงชื่ออะไรเลยแต่คิดถึง“ภาวะ” ขณะที่หลับว่ามีธาตุรู้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง ใครจะรู้ว่า “หลับ” เป็นธาตุรู้ เมื่อไม่รู้ธาตุรู้ ตื่นขึ้นรู้ ตื่นขึ้นเห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ใช่ไหม (ใช่)

- ถ้าไม่รู้ว่ามีธาตุรู้ เวลาตื่นขึ้นเห็นจะรู้ไหมว่าเป็นธาตุรู้ (ไม่รู้) เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังละเอียดมากที่จะเริ่มรู้ “ธาตุรู้” ทีละเล็กทีละน้อยให้ “ถึง” ความเข้าใจธาตุรู้เดี๋ยวนี้

- เพราะฉะนั้นนอนหลับไม่รู้ว่า เป็นธาตุรู้ เห็นได้ยินเดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่าเป็นธาตุรู้ ขณะที่หลับสนิทมีธาตุรู้ ขณะที่เห็นเป็นธาตุรู้หรือเปล่า (เป็น) ขณะที่หลับเป็นธาตุรู้ ขณะที่ได้ยินก็เป็นธาตุรู้ใช่ไหม (อาช่าบอกว่าเป็นธาตุรู้เหมือนกัน ขณะหนึ่งก็เป็นธาตุรู้หนึ่ง) นั่นตอบตามที่เขาคิดแต่เขารู้ธาตุรู้หรือเปล่า

- เพราะฉะนั้นฟังแล้วฟังอีกเป็นประโยชน์กว่าฟังแล้วคิดว่าเข้าใจแล้วใช่ไหม (ต้องฟังต่อ) และคิดไตร่ตรองด้วยแล้วก็นึกถึง “ภาวะ” นั้นด้วยจึงจะรู้ว่า “ธาตุรู้” มีแต่ไม่ได้ปรากฏเลย มีแต่ชื่อที่ได้เข้าใจแล้ว

- ต้องไม่ลืมว่า ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลึกซึ้งเพราะกล่าวถึงสิ่งที่มีแต่ยังไม่มีใครรู้ตามความเป็นจริง เรารู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อฟังคำของพระองค์แล้วเข้าใจคำที่พระองค์กล่าวถึงเป็น “ปริยัติ” เพราะพระองค์กล่าวถึงสิ่งที่มีที่ลึกซึ้งแต่ต้องเข้าใจความลึกซึ้งตามลำดับ

- เดี๋ยวนี้ที่กำลังพูดมีจิตไหม (มี) พูดไปทุกวันเรื่องธรรมต่างๆ รู้จักจิตหรือยัง (ยังไม่รู้จัก) มีจิตทุกวันไม่เว้นเลยสักขณะเดียวรู้จักจิตหรือยัง (ยัง) เดี๋ยวนี้กำลังเห็นรู้จักจิตหรือยัง (ยัง) และถ้าเราไม่พูดให้เข้าใจขึ้นๆ จะรู้จักจิตได้ไหม (ไม่ได้)

- กำลังคิดมีเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่รู้จักจิต ลืมว่า ถ้าจิตไม่เกิดขณะนั้นจะมีเรื่องที่คิดไหม เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นมากมายแต่ลืมว่า ถ้าไม่มีจิตจะไม่มีสิ่งที่ปรากฏได้เลย เดี๋ยวนี้กำลังได้ยินก็ลืมว่า มีจิตเพราะได้ยินเสียง เสียงปรากฏให้รู้ได้ว่ามี

- ขณะที่โกรธมีจิตไหม (มี) จิตโกรธหรือเปล่า (เจตสิก) ไม่ได้ถามว่าเป็นอะไร เห็นไหม เขาคิดไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้จักจิตในขณะนั้นไหมที่โกรธ ในขณะที่ตอบว่า “โกรธเป็นเจตสิก” เขารู้จักจิตขณะนั้นหรือเปล่า (ไม่รู้จัก)

- นี่เป็นความละเอียดที่จะต้องรู้ว่า ไม่รู้จักจิตแม้ว่ามีจิตแต่ตอบได้ว่า ขณะนั้นจิตไม่ใช่เจตสิก แล้วความจริงจิตไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่โกรธหรือเปล่า (ใช่) เห็นความละเอียดไหมว่า ศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจธรรม ไม่ใช่ไปจำชื่อเยอะๆ เพราะฉะนั้นขณะที่ถามว่า โกรธเป็นจิตหรือเปล่า เขาตอบได้แต่ตอบว่า โกรธเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้นขณะนั้นเขาไม่รู้จักจิต

- เวลาโกรธ ขณะนั้นรู้ได้อย่างไรว่า โกรธเป็นเจตสิก (เพราะเคยได้ยิน) เพราะฉะนั้นที่ตอบว่ามีจิตก็เพราะเคยได้ยินใช่ไหม (เหตุผลอย่างเดียวกัน) เพราะฉะนั้นถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่จะรู้จักธรรมจริงๆ ไม่ใช่ชื่อ

- ผู้รู้คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราจะได้ยินได้ฟังคำที่พูดถึงสิ่งที่มีให้เข้าใจถูกต้องได้ไหม ถึงแม้ว่าพระองค์ตรัสแล้ว คนได้ฟังแล้วแต่จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจแล้วแต่บุคคลนั้นสามารถที่จะไตร่ตรองรู้ว่า สิ่งใดจริงสิ่งใดไม่จริงจึงสามารถที่จะรู้ความจริงได้

- พระองค์ทรงแสดงความจริงของทุกสิ่งทุกอย่างที่ลึกซึ้งถึง ๔๕ พรรษา เพราะฉะนั้น ทุกคำลึกซึ้งที่ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่จำคำและความหมายเท่านั้น พระองค์ตรัสถึงธาตุรู้ มีธาตุรู้จริงๆ เดี๋ยวนี้ก็มีธาตุรู้แต่รู้จักธาตุรู้หรือยัง

- ทุกคำต้องไตร่ตรองจนสามารถเข้าใจขึ้นทีละน้อยเพราะความไม่รู้มีมาก เดี๋ยวนี้ทุกคนรู้ว่า มีธาตุรู้ รู้จักธาตุรู้หรือยัง (ยังไม่รู้จัก) แล้วจะรู้จักได้อย่างไร (ต้องฟังและพิจารณา ฟังไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าใจเพิ่ม) นี่เป็นเหตุที่เราไม่ได้พูดแต่ชื่อ แต่พูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ที่จะให้เริ่มคิดถึง ไม่ลืม มีสิ่งที่มีจริงๆ แต่ไม่รู้

- การรู้จักธาตุรู้ ยากไหม (ยากมาก) เพราะเริ่มรู้ว่า มีธาตุรู้จริงๆ ทุกขณะแต่ไม่รู้เพราะไม่ได้คิดถึงใช่ไหม เพียงฟังเรื่องของธาตุรู้จะรู้จักธาตุรู้ไหม (ถ้าไม่พิจารณาและฟังต่อไป ไม่มีวันรู้แต่ยังลึกซึ้งกว่านั้น) เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืมเพราะความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า ความไม่รู้มีมากมายมหาศาลตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้รวมทั้งแสนโกฏิกัปป์ด้วย เพราะฉะนั้นจึงทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดตั้งแต่ต้น

- การที่จะรู้จักธาตุรู้ต้องเริ่มต้นจากการฟังแล้วเข้าใจธาตุรู้และหนทางที่จะรู้จักธาตุรู้ด้วย เพราะฉะนั้นขั้นต้นคือ ปริยัติ ต้องเข้าใจความหมายของ “ปริยตฺติ” ไม่ใช่ฟัง จำชื่อ แต่ฟังแล้วเริ่มเข้าใจความจริง แต่ฟังแล้วเริ่มรู้ว่า แม้เดี๋ยวนี้มีก็ยังไม่ประจักษ์เพราะฉะนั้นขั้นฟังนี้ถ้าไม่มีเลยไม่มีทางที่เข้าใจความจริงเดี๋ยวนี้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเริ่มต้นจาก “ปริยตฺติ”

- การฟังและเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ในขณะที่ฟังเป็นปริยัติหรือเปล่า (เป็นปริยัติ) ถ้าถามว่า“จิตเห็นเป็นอะไร?” “จิตได้ยินเป็นอะไร?” บอกว่าเป็นผลของกรรม เป็นปริยัติหรือยัง (อาช่าตอบว่า ถ้าตอบด้วยความเข้าใจก็เป็นปริยัติ) ความเข้าใจระดับไหน (ขั้นต้น) เพราะฉะนั้นเป็นปริยัติหรือยัง (บางครั้งก็น่าจะเป็นปริยัติ) “บางคราว” กับ “น่าจะ” หมายความว่าอย่างไร (บางทีก็ไม่ได้คิดด้วยความเข้าใจ บางทีก็คิดด้วยความเข้าใจ) นั่นแหละเป็นปริยัติหรือยัง (เป็น) ตอนไหนก็ได้ ถ้าคิดว่า นี่เป็นนาม นั่นเป็นรูป เป็นปริยัติหรือยัง (ถ้าคิดถึงนามกับรูป ไม่คิดว่าเป็นปริยัติ เป็นแต่ชื่อ)

- เพราะฉะนั้น ปริยตฺติ รอบรู้ในอะไร (ไม่แน่ใจว่าเข้าใจความหมายของปริยัติหรือยัง) “รอบรู้” ไม่ใช่ได้ยินชื่อ ไม่ใช่จำชื่อ (อาช่าเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ลืม เข้าใจอย่างนี้ คิดว่าเป็นปริยัติ) แล้วธรรมอยู่ไหน ทุกอย่าง (เดี๋ยวนี้) รอบรู้หรือยัง (ไม่แน่ใจว่าเข้าใจความหมายของรอบรู้)

- เพราะเหตุว่า เรารู้อย่างนี้แล้วจะถึงการรู้ลักษณะไหม ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ลืม โน่นก็เป็นธรรมนี่ก็เป็นธรรม แน่ใจว่าเป็นธรรม แค่นี้เราสามารถที่จะถึงการ ปฏิปตฺติ ถึงการที่จะเข้าใจธรรมนั้นได้ไหม (อาช่าหมายถึง คำนึงถึงทุกอย่างที่ปรากฏ รู้ว่าเป็นธรรม​หมายถึงอย่างนั้น)

- เพราะฉะนั้นคำถามมีว่า เป็นปริยัติหรือยัง จะได้รู้ว่า ปริยัติคืออะไร ถ้าเขาไม่รู้เหมือนเดี๋ยวนี้ก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นหรือเปล่าใช่ไหม (เพราะฉะนั้นปริยัติคืออะไร) ก็ถามเขาดูว่า เป็นอย่างนี้ใช่ไหมที่เขาไม่สามารถที่จะรู้แน่ได้ว่าเป็นปริยัติ เป็นความรอบรู้หรือยังเพราะเขายังไม่ได้รู้ว่ารอบรู้แค่ไหน อย่างไร (อยากให้อาจารย์อธิบายความหมายของปริยัติ) ต้องถามเขาก่อนเขาจะได้รู้ด้วยตัวเขาเองที่จะต้องคิด

- (คุณสุคินขอความเข้าใจจริงๆ ของความหมายของคำว่า รอบรู้) รู้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่มีแต่ขั้นบอกว่า นี่เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมแต่ต้องสามารถที่จะถึงการค่อยๆ รู้จักลักษณะของธรรมแต่ยังไม่รู้จัก เพียงแต่รู้ว่า จะรู้จักได้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 22 ก.ค. 2566

- (ตามที่คุณอาช่าเข้าใจคือระดับนั้นที่เรียกว่า รอบรู้) เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะสามารถมั่นคงจริงๆ ว่า เป็นระดับของความเข้าใจขั้นไหนเพราะการรอบรู้ต้องรู้ว่า รอบรู้ในอะไร ไม่ใช่ “รอบรู้ๆ ” รอบรู้ใน “อริยสัจจะ” ทั้ง ๔ รอบที่ ๑ เป็น “สัจจญาณ” จึงจะมั่นคงว่า เขาสามารถที่จะมั่นคงในธรรมที่กำลังปรากฏ ถึงจะยังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง แต่ก็รู้ว่า เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดแล้วแล้วก็ดับด้วย นี่คือสัจจญาณในอริยสัจ ๔ รอบที่ ๑ (เข้าใจประมาณนี้)

- เพราะฉะนั้น มีปริยัติ มีปฏิปัตติ มีปฏิเวธ ๓ รอบของอริยสัจจธรรม ไม่ใช่ไปที่อื่นเลย อยู่ที่ความจริงเดี๋ยวนี้ซึ่งลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น รอบที่ ๑ คือ ความรอบรู้ในอริยสัจจะทั้ง ๔

- เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า ขณะที่กำลังพูดเดี๋ยวนี้สามารถที่จะรู้ว่า เป็นสัจจญาณหรือเปล่า เป็นความรอบรู้หรือยังว่า ขณะนี้มีความไม่รู้และมีความติดข้องแล้วในสิ่งที่ปรากฏ เพราะแม้แต่การที่จะเข้าใจว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏเกิดดับ ก็ต้องอาศัยว่า เพราะไม่รู้จึงไม่ปรากฏตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์แจ้งว่า เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนั้นแต่ เพราะเหตุว่า ยังไม่ค่อยๆ เข้าใจเหตุที่ทำให้เกิดความไม่รู้ก็ยังละและประจักษ์แจ้งไม่ได้

- เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่รู้ว่า ถ้ายังไม่รู้ว่าเหตุที่จะทำให้ไม่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏที่เกิดดับก็เพราะติดข้องด้วยความไม่รู้ จึงเริ่มที่จะรู้ว่า ถ้ายังคงมีความไม่รู้ในความจริงมากมายก็ไม่สามารถที่จะละความติดข้องและความไม่รู้ซึ่งปิดบังการเกิดดับของธรรมที่กำลังเกิดดับเดี๋ยวนี้ได้

- ถ้ารู้ว่ามีความไม่รู้และความติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ และไม่รู้หนทางที่จะทำให้ประจักษ์ความจริงที่กำลังปรากฏก็ไม่สามรถที่จะเป็นปริยัติได้ เพราะฉะนั้นขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ ความไม่รู้และความติดข้องปิดบัง เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ก็จะรู้ว่า หนทางอื่นหรือใครพยายามจะทำให้ประจักษ์แจ้งการเกิดดับเป็นไปไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่รู้และยังติดข้องในสิ่งที่กำลังปรากฏ

- เพราะฉะนั้น จึงรู้หนทางที่ละเอียดที่จะทำให้ค่อยๆ ลดความไม่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏโดยการรู้ความละเอียดขึ้นของธรรมจึงเป็นการรอบรู้ในอริยสัจ ๔ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการรอบรู้ในอริยสัจทั้ง ๔ จะไม่สามารถที่จะมีการเริ่มต้นที่จะถึงความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อยได้

- เพราะฉะนั้น ถ้าเพียงตอบว่า เห็นเดี๋ยวนี้เป็นธาตุรู้ เป็นจิตและเจตสิกเกิดร่วมด้วย เท่านี้จะเป็นหนทางให้รู้ลักษณะที่เป็นธรรมได้หรือเปล่า

- ถ้าเพียงแต่พูด จิตเป็นธาตุรู้เจตสิกเกิดกับจิตดับพร้อมจิต เป็นการรอบรู้ในธรรมที่เข้าใจความจริงที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมหรือยัง (ถ้าเป็นอย่างนี้ไม่ได้เป็นปริยัติ) นี่สิคะเป็นการเริ่มเข้าใจอีกขั้นหนึ่งที่เราพูดถึงหลับตื่นทั้งหมดเพื่อให้ค่อยๆ รู้หนทางที่จะประจักษ์แจ้งความจริงของสภาพธรรมที่จะเริ่มรู้ไม่ใช่เพียงแต่ฟัง

- การเริ่มที่จะเข้าใจว่า อะไรเป็นทางที่จะให้เข้าใจความจริง ลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่ปรากฏก็คือ เราพูดถึงสิ่งที่ปรากฏเช่น หลับสนิทเป็นจิตหรือเปล่า เพื่อค่อยๆ เข้าถึงความจริงของแต่ละ ๑ ขณะของธาตุรู้ซึ่งจะเป็นทางให้รอบรู้ในอริยสัจที่ ๔ ขั้นแรกของปริยัติ

- ถ้าไม่พูดถึงแต่ละ ๑ ความเข้าใจของธรรมแต่ละ ๑ จะมีได้อย่างไร ก็ไม่ใช่ความรอบรู้ในหนทางที่จะทำให้รู้แจ้งในอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่า ทำไมเราพูดถึงขณะที่หลับว่ามีจิต เพราะแม้แม้ยังไม่เห็น ก็มีจิต ที่จะเริ่มรู้จักจิตจริงๆ เพราะเพียงรู้ว่าขณะนอนหลับก็มีจิต พอไหม (ไม่พอ) เพราะฉะนั้น ก็เริ่มต้นอีกๆ จนกว่าจะรู้ว่า กำลังพูดถึงจิตเพื่อจะเข้าใจจิต ไม่ใช่ชื่อกับเรื่องราวของจิต

- ขณะนอนหลับสนิทมีจิตแน่นอนใช่ไหม (แน่นอน) จิตเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่จิตรู้ใช่ไหม (ใช่) ที่นอนหลับสนิทสามารถที่จะรู้จิตที่นอนหลับสนิทในขณะที่นอนหลับสนิทได้ไหม (ไม่สามารถรู้ได้) เพราะอะไร (เพราะอารมณ์ไม่ปรากฏ) ทำไมอารมณ์ไม่ปรากฏ (ไม่ทราบคำตอบ) เพราะไม่ใช่อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

- เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า แม้มีจิตถ้าจิตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือทางจมูก หรือทางหูหรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจจะไม่มีการรู้เลยว่า ขณะนั้นมีจิตและจิตนั้นที่หลับสนิทเกิดจากอะไร มีเหตุให้เกิดจิตหรือเปล่า (ไม่ทราบ)

- คำถามว่าอย่างไร (ถามว่า จิตขณะนั้นไม่รู้อารมณ์ทาง ๖ ทวาร อะไรเป็นเหตุให้จิตนั้นเกิด) ถามว่าจิตที่หลับสนิทไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจแต่เกิดแล้วเป็นขณะนั้นเพราะอะไร (เพราะมีเหตุปัจจัย) ปัจจัยอะไรบ้าง (มีหลายปัจจัย) ปัจจัย ๑ ที่ทุกคนพูดเป็นปัจจัยสำคัญคืออะไร คุณอาช่าเองก็พูดบ่อยๆ (เป็นผลของกรรม)

- อันนี้แหละที่คุณอาช่าพยายาม เหมือนไม่รู้อะไรแต่ก็ตอบไปเรื่องอื่นแต่จริงๆ เขาพูดบ่อยๆ ใช่ไหมว่าเราจะต้องเริ่มเข้าใจจิตว่า จิตนั้นเกิดเป็นผลหรือเป็นเหตุ เป็นวิบากหรือเป็นกุศลอกุศล เพราะฉะนั้น เราก็ตรงไปตรงมาว่า นั่นเราเคยได้ยินแล้วแต่เวลาที่เรากำลังจะคิดก็ต้องตามที่เราเข้าใจใช่ไหม

- เพราะฉะนั้น ต้องตรงไปตรงมา นี่กำลังเป็น “ปริยตฺติ” เมื่อเรารอบรู้ไม่ว่าเราจะถามเรื่องอะไรที่เราเคยได้ยินได้ฟังมาเป็นชื่อแต่ความจริงเป็นทุกๆ ขณะ สำหรับคราวต่อไปเราก็จะพูดเรื่องอย่างนี้เพื่อให้เข้าใจจนกระทั่งเป็นอริยสัจจะข้อที่ ๔ แต่ต้องเป็นความรอบรู้ก่อนในอริยสัจทั้ง ๔

- เพราะฉะนั้น เราพูดถึงจิตบ่อยๆ น่าเบื่อไหม (ไม่เบื่อ) ถูกต้อง เพราะเป็นหนทางเดียวกว่าจะรู้จักจิต คราวหน้าเราก็จะพูดต่อไปเพื่อเป็น “ปริยตฺติ” ในอริยสัจ ๔ จริงๆ

-วันนี้ก็ยินดีอย่างยิ่งในกุศลของแต่ละกุศลที่เข้าใจเพิ่มขึ้น จะได้มั่นคงขึ้นจึงจะเป็น ปริยตฺติ สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 22 ก.ค. 2566

ขอขอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยความเคารพสูงสุด

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณสุคิน ผู้ร่วมสนทนาและสหายธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของพี่สา คุณอัญชิสา ในความอนุเคราะห์ตรวจทานข้อความ

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาในกุศลของอาจารย์คำปั่นและคณะอาจารย์ มศพ ทุกท่านทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 22 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 22 ก.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบบูชาคุณทอจ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณปริญญ์วุฒิค่ะ

ยินดียิ่งในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Selaruck
วันที่ 23 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ที่เคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณสุคินและคุณตู่ปริญญวุฒิอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siraya
วันที่ 26 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ