Thai-Hindi 15 Jul 2023

 
prinwut
วันที่  15 ก.ค. 2566
หมายเลข  46266
อ่าน  534

Thai-Hindi 15 Jul 2023


- แล้วมีอะไร (มีแต่ธรรม เช่น เห็น) จะรู้ความจริงของเห็นจริงๆ ได้ไหม (สามารถรู้ได้) อีกนานเท่าไหร่ (ไม่สามารถกำหนดได้แต่รู้ว่านานมาก) เพราะฉะนั้น ฟังไว้ ฟังไว้ เพื่อไม่ลืมและเพื่อจะเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

- สิ่งที่มีจริงทุกขณะลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้นฟังเพื่อที่จะมีความเข้าใจที่มั่นคงว่า “ไม่มีเรา”

- ไม่มีเรา อะไรจริง (เห็น) ถามว่า “มีเรา” กับ “ไม่มีเรา” อะไรจริง (ไม่มีเรา) ทั้งๆ ที่มีเห็นเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นเราแสดงว่า ไม่รู้ความจริงของเห็น นานมากกว่าจะรู้ความจริง ลึกซึ้งมาก

- เห็นขณะนี้เกิดดับ จริงไหม (จริง) ถ้าไม่รู้อย่างนี้จะรู้ความจริงอะไร (ถ้าไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะให้รู้) นี่เป็นความมั่นคงเพราะฉะนั้นมีชีวิตอยู่เพื่อค่อยๆ เข้าใจเห็นที่กำลังเกิดดับจนกว่าจะประจักษ์จริงๆ ว่า เห็นเกิดดับจึงจะละความเป็นตัวตนได้

- เพราะฉะนั้นยังไม่ตาย มีชีวิตอยู่เพื่อเข้าใจพระธรรมทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง

- คุยกันเรื่องอะไร (คุยเรื่องหสิตุปปาทคราวที่แล้วเป็นจิตของพระอรหันต์ทำกิจอะไร อธิบายเรื่องกิจของจิตมี ๑๔​ กิจ)

- เดี๋ยวนี้มีหสิตุปปาทไหม (ไม่) ทำไม (เพราะเป็นจิตเฉพาะพระอรหันต์) มีเหตุเกิดร่วมด้วยไหม (ไม่มี) ทำไมไม่มี (เพราะเป็นกิริยาจิต) กิริยาจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีไหม (นึกไม่ออก) เพราะฉะนั้นเราไปให้เขาจำๆ แต่ไม่เข้าใจ เราจะต้องละเอียดมากให้เขาเห็นความไม่ใช่ตัวตนและมีความเข้าใจทุกคำที่ได้ยิน ไม่ลืม

- วันนี้คุณอาช่าอยากจะพูดเรื่องกิจของจิตไหม หรือ อยากจะพูดเรื่องจิตที่ประกอบด้วยเหตุและจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ (ควรเข้าใจทั้งสองอย่างแต่แล้วแต่ท่านอาจารย์)

- เพราะฉะนั้นถ้าไม่เข้าใจจริงๆ เราได้ยินคำ เราจำ เรารู้ แล้วเราลืม แต่ถ้าเราไปช้าๆ เข้าใจมั่นคงทุกคำที่จะไม่ลืมจะเป็นประโยชน์ว่า เริ่มเห็นความลึกซึ้งและค่อยๆ เข้าใจว่า “ไม่ใช่เรา”

- จิตทั้งหมด จิตที่ไม่มีเหตุทั้งหมด มีเท่าไหร่ (๑๘) แล้วกิจทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๘๙) ฟังคำถามก่อน กิจทั้งหมดมีกี่กิจ (๑๔)

- เพราะฉะนั้น อเหตุกจิต ๑๘​ ทั้งหมดทำกิจได้กี่กิจ (๑๒) คำถามว่าอย่างไร (ถามว่า อเหตุกจิต ๑๘ ​ทั้งหมดมีกี่กิจ) คำตอบคือ (๑๒) เห็นไหม เราไม่ให้เขาไปจำชื่อ บอกชื่อเขาไปหมด แต่ให้เขาเข้าใจละเอียดเพราะว่า ถ้าไม่เข้าใจอเหตุกะจริงๆ อย่างอื่นก็จะเข้าใจไม่ได้ที่จะละความเป็นเราเพราะอย่างอื่นต้องมาจากอเหตุกะทั้งนั้น

- (ถามใหม่ใช่ไหม) แน่นอนเพราะคำตอบไม่ถูก (ยังนับได้ ๑๒ จะให้ทวนทีละ ๑ ไหม) ไม่ใช่เลย เราพูดมาทั้งหมดทั้งกิจทั้งอเหตุกจิตทุกดวงแล้วเพื่อเป็นการทดสอบว่า เข้าใจหรือจำหรือไม่รู้เรื่องว่า เข้าใจแค่ไหน จึงมีคำถามที่ยังไม่ไปที่ไหนเลยจนกว่าจะมีความเข้าใจมั่นคงในอเหตุกจิต

- จุดประสงค์ของการฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่เข้าใจความเป็นไปของจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ต้องเข้าใจทุกคำว่า ไม่ประกอบด้วยเหตุ เหตุมี ๖ เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖ มี ๑๘​ ดวง เพราะฉะนั้นเราไม่พูดยาว ไม่ให้เขาจำ ไม่บอกเขาหมดแต่ถามแล้วเขาตอบว่าอย่างไร แล้วค่อยๆ เพิ่มให้ทีละน้อย

- เขารู้เรื่อง อเหตุกจิตทั้งหมดแล้วใช่ไหม (ใช่) ไม่มีคำถามเลย (ใช่) เพราะฉะนั้นดิฉันจะถาม อเหตุกจิต ๑๘ คุณอาช่ามีอเหตุกจิตเท่าไหร่ (๑๗) จิตของคุณอาช่าสามารถที่จะทำกิจของอเหตุกะได้กี่กิจ (๑๑) จิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) อเหตุกจิตที่เป็นคุณอาช่าทำได้กี่กิจ (๑๑) จิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) และอเหตุกจิตทั้งหมดทำได้กี่กิจ (๑๒) ทำไมทำกิจอะไรไม่ได้ จิตทั้งหมดทำ ๑๔ ​กิจ

- เราไม่พูดถึงอะไรเลยแต่เรากำลังพูดเฉพาะอเหตุกจิตไม่ได้บอกว่าของใครอะไรทั้งหมด แต่พูดถึงจิตที่เป็นอเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๘) จิตที่เป็นอเหตุกจิต ๑๘ ทำได้กี่กิจ (ยังจำได้แค่ ๑๒) เพราะฉะนั้นอเหตุกจิตทำกิจอะไรไม่ได้ ๒ กิจที่เหลือ (โวฏฐัพพนะ ๑) เป็นอเหตุกจิตหรือเปล่า (จำได้ว่าโวฏฐัพพนะมีเหตุ) โวฏฐัพพนะได้แก่จิตอะไร (กิริยาจิต) อเหตุกกิริยาจิตมีเท่าไหร่ (๓ คือ ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะ และ หสิตุปปาท)

- เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องพูดว่า อเหตุกจิตทำกิจอะไรได้บ้าง เพราะฉะนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อเหตุกจิต ๑ คืออะไร ขอโทษ ฟังคำถามใหม่ อเหตุกจิตทั้งหมดมี ๑๘ พูดมาทีละ ๑ เราจะต้องพูดทีละ ๑ ให้มั่นคง (เห็น)

- เห็นเป็นอเหตุกะ หมายความว่าอะไร (เป็นผลของกรรมและไม่มีเหตุ ๖) พูดถึงเห็น จักขุวิญญาณ ใช่ไหม (ใช่)

- วันนี้เป็นวันที่เราจะเข้าใจความละเอียดของจิตทีละ ๑ วิบากจิตคืออะไร (เป็นจิตที่ไม่ใช่กุศล อกุศล กิริยา) แล้วเป็นอะไร (วิบาก) วิบากคืออะไร (เป็นผลของกรรม)

- ผลของกรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยและไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย มี ๒ อย่างใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้นผลของกรรมเกิดขึ้นไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี และผลของกรรมเกิดขึ้นมีเหตุเกิดร่วมด้วยก็มี แต่เรากำลังเริ่มต้นพูดเฉพาะผลของกรรมที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

- เพราะฉะนั้นจักขุวิญญาณ จิตเห็นเป็นผลของกรรม มีเหตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย (ไม่มี) จักขุวิญญาณเกิดกี่ขณะ (๑) ๑ ขณะ เดี๋ยวนี้กำลังเห็นจักขุวิญญาณเกิด ๑ ขณะหรือเปล่า (เห็นหลายขณะ) เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ว่า เห็นเกิดขึ้น “เห็น” เท่านั้นเองน้อยมากแค่ไหน ลึกซึ้งไหม

- การเกิดดับของสภาพธรรมเร็วสุดที่จะประมาณได้เพราะฉะนั้นเห็นขณะนี้ก็ไม่ใช่เห็น ๑ ขณะที่ปรากฏ ทุกอย่างเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้แต่ปรากฏเพียง ๑ คือ เห็น แต่ขณะนั้นหลายเห็นจึงเป็น “นิมิต” ของเห็นที่เกิดดับ

- ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ใครจะรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดดับเร็วปรากฏเป็น “นิมิต” ของแต่ละธรรม

- กว่าจะรู้ว่าอยู่ในโลกของนิมิตทั้งหมดจนกว่าจะรู้ว่า แต่ละนิมิตเกิดดับเป็นอริยสัจจธรรมที่ประจักษ์แจ้งได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อย่างนี้ใช่ไหม พระองค์จึงตรัสว่า ธรรมทั้งหมดเกิดดับ ไม่ใช่ใครและไม่ใช่ของใครเป็น “อนัตตา”

- ถ้าไม่มีการรู้ความจริงของการเกิดดับของสภาพธรรมที่เป็นนิมิตจะละความเป็นเราหรือละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นฟังธรรมไม่ใช่สำหรับรีบจำรีบรู้เยอะๆ แต่สามารถเข้าใจว่า ลึกซึ้งแม้หนทางที่จะรู้ความจริงก็ลึกซึ้ง

- ขณะนี้รู้หนทางที่จะประจักษ์การเกิดดับของเห็นและสภาพธรรมหรือยัง (ทั้งหมดที่ทำอยู่ตอนนี้ทั้งหมดคือหนทาง คือ ต้องได้ฟังก่อนและมีผู้รู้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น) คนอื่นจะบอกได้ไหมว่า เขาเข้าใจเท่าไหร่ (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นต้องตรงต่อความเป็นจริงเป็นสัจจธรรมว่า เข้าใจแค่ไหนหรือเพียงแต่ได้ยินชื่อเยอะ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ฟังธรรมต้องรู้ว่า กำลังฟังเรื่องของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ให้ค่อยๆ เข้าใจความจริงขึ้นเพื่อประจักษ์แจ้ง

- ความไม่เข้าใจไม่รู้ความจริงของธรรมมีมากในแสนโกฏิกัปป์ เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ตรงที่จะค่อยๆ เข้าใจว่า กำลังฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่เป็นเรื่องเป็นชื่อ

- ธาตุรู้เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ จะเป็นคนหรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไหมในขณะที่กำลังเห็นเท่านั้น (ไม่เห็นสัตว์ บุคคล) ไม่เห็น เห็นแต่สิ่งที่กระทบตา เพราะฉะนั้นเราไปช้าๆ ละเอียดเพื่อให้เริ่มเข้าใจว่า เห็นเป็นอย่างนี้จนกว่าจะรู้ตรงเห็น

- เพราะฉะนั้นตลอดชีวิตมีธรรมมากมายนับไม่ถ้วนเกิดขึ้นทุกวันทุกขณะ เพราะฉะนั้นต้องเริ่มเข้าใจความจริงแต่ละอย่างที่มีในชีวิต

- ธาตุรู้ไม่ใช่ใคร เกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของธาตุนั้นๆ กำลังเห็นเป็นธาตุรู้เกิดขึ้นทำกิจเห็นไม่ใช่เราเพราะฉะนั้นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นทำ “ทัสสนกิจ” ทำกิจอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจักขุวิญญาณเป็นวิบากจิต เป็นอเหตุกจิตทำ ๑ กิจจนกว่าทุกครั้งที่เห็นจะเริ่มรู้ว่า ไม่ใช่เรา เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น

- มีข้อสงสัยในเรื่องจิตเห็นไหม (คุณอาช่ามีคำถามซึ่งได้คำตอบจากการสนทนาครั้งที่แล้วว่า บางครั้งก็รู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงหน้าแต่ไม่ได้นึกถึงสิ่งนั้นแต่คิดถึงเรื่องอื่น แต่เข้าใจว่าสีก็กระทบ แต่ทำไมไม่รู้เพราะบางครั้งรูปกระทบปสาทรูปแต่ไม่ครบ ๑๗​ ขณะจิต บางครั้งถึงโวฏฐัพพนะ บางครั้งถึงชวนก็ได้คำตอบตรงนี้)

- แต่จริงๆ ไม่สำคัญเลยเพราะว่า ตราบใดที่ยังไม่รู้ธาตุรู้ที่เห็น ความเข้าใจธรรมยังไม่พอ เพราะขณะที่คิดอย่างนั้นไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้นยังไม่ทันรู้ความจริงของจิตเห็นก็คิดเรื่องจิตเห็นก็ไม่มีวันจะรู้เพราะคิด

- รู้ไหมขณะนั้นมีความติดข้อง ต้องการ พอใจที่จะคิดเรื่องอื่นแล้วซึ่งไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจจิตเห็นได้เลยเมื่อคิดอย่างนั้น แต่ขณะที่ฟังเรื่องจิตเห็นมี “ฉันทะ” ที่จะเข้าใจเรื่องจิตเห็นโดยการฟังเรื่องจิตเห็น ไม่ลืมที่จะคิดถึงจิตเห็นที่กำลังเห็น

- หนทางที่จะรู้จริงในจิตเห็นที่กำลังเห็นก็คือ พูดเรื่องจิตเห็น เข้าใจจิตเห็นเพิ่มขึ้นๆ จนสามารถที่จะแม้ไม่พูดถึงก็สามารถรู้ว่า ขณะนั้นเป็นเพียงขณะเห็นเท่านั้น เพราะฉะนั้นต้องรู้หนทางจริงๆ ลึกซึ้ง มิฉะนั้นโลภะก็พาไปทางอื่น

- เพราะฉะนั้นตอนนี้เขาเริ่มไม่พูดถึงอย่างอื่น นอกจาก “จิต” และ “กิจ” ของอเหตุกจิตเพื่อที่จะรู้ว่า คำตอบว่า อเหตุกจิต ๑๘ ทำกิจ ๑๒ กิจนั้นถูกหรือผิดอย่างไร ไม่ใช่จำชื่อ จำเรื่องแต่กำลังเข้าใจจริงๆ ว่าแต่ละ ๑ เป็นอย่างไรเพิ่มขึ้น

- เพราะฉะนั้นตอนนี้เขาก็พอรู้ มั่นคง ไม่ต้องไปทบทวนหรือจำว่า นอกจากจิตเห็นที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น ยังมีอเหตุกะอื่นที่เขาสามารถจะบอกได้ว่า นอกจากจิตเห็นมีจิตอะไรที่เป็นอเหตุกะที่ทำกิจอื่น

- เพราะฉะนั้นบอกมาเลยว่า อเหตุกะอะไรทำกิจอะไรอีก (ได้ยินเป็นอเหตุกะทำกิจได้ยิน) เพราะฉะนั้นทั้งหมดกี่ดวง (๒) เท่าที่เขารู้ไม่ใช่แค่ ๒ ต่อไปอีกเลย นับไปด้วยแต่ละกิจ นับเป็น ๑ จิต ๑ กิจ เมื่อกี้นี้มีจักขุวิญญาณทำทัสสนกิจ ต่อไปโสตวิญญาณทำสวนกิจและต่อไป (ได้ยิน ๒ ได้กลิ่น ๓) ไม่ค่ะหมายความว่า เห็นทำทัสสนกิจ ได้ยินทำสวนกิจ ๒ กิจ ๒​ จิตแล้ว เพราะฉะนั้น ๕ จิต ๕ กิจใช่ไหมที่เราพูดถึง (๕ จิตแล้ว)

- ๕ จิต ๕ กิจ ต่อไปจิตอื่น (สัมปฏิจฉันนะ ๖) สัมปฏิจฉันนะทำกิจอะไร จะรวมกันทีละ ๑ เพราะฉะนั้นเป็นกี่กิจแล้ว (๖) ต่อไปอีก ๑ (สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจ) แล้วสันตีรณะทำกิจอะไรได้อีก (ทั้งหมด ๕กิจ) อะไรบ้าง (จำได้ ๔ แต่รู้ว่ามี ๕ แต่นึกไม่ออก ที่จำได้คือ ๑ สันตีรณะ ๒ ปฏิสนธิ ๓ ภวังค์ ๔ จุติ อันที่ ๕​ จำไม่ได้) ตทาลัมพนกิจ

- ตทาลัมพนกิจคืออะไร (แค่จำได้ว่าเกิดหลังจากชวนแต่ไม่ทราบความหมายของตทาลัมพพนะ ไม่รู้ว่าเกิดเพราะอะไร)

- “ตทาลัมพนะ” เป็นคำรวมของคำว่า “ตัง” นั้น “อารัมมณะ” บางครั้งใช้คำว่า “อาลัมพนะ” เพราะฉะนั้นตทาลัมพพนะหมายความถึง จิตที่รู้ “อารมณ์นั้น” ที่ยังไม่ดับหลังจากที่ชวนเกิดแล้วหมายความว่า สำหรับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ทันทีที่เกิดมีอารมณ์เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้นขณะที่ชวนะถึง ๗ แล้วยังไม่ดับ ความติดข้องพอใจในรูปเสียง กลิ่น รส ที่เป็นกรรมที่เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับต่อจากชวน

- ถ้าอารมณ์ที่มากระทบก่อนที่วิถีจิตจะเกิดเพราะฉะนั้นเมื่อชวนะ ๗ ขณะดับแล้ว อารมณ์นั้นดับตทาลัมพนะเกิดได้ไหม (ไม่ได้) ขณะนี้บอกได้ไหมว่า ขณะเห็นมีตทาลัมพนะหรือเปล่า (ไม่ได้) เพราะทั้งเหมดปรากฏเป็น “นิมิต” ของเห็นเท่านั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 15 ก.ค. 2566

- ทั้งหมดที่พูดมาเป็นอเหตุกจิตกี่ดวงและทำไปแล้วกี่กิจ (๗ ดวงทำ ๑๑ กิจ) ๗ เท่านั้นหรือ (เริ่มจากเห็นปัญจวิญญาณ ๕) มีกี่ดวงเห็น เห็นเป็นอเหตุกจิตกี่ดวง

- (ขอเริ่มต้นถามใหม่) ถามว่า อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ทำกิจอะไรบ้างกี่กิจ (๑๕ จิตทำ ๑๑​ กิจ) ๑๕ จิตทำกิจอะไรบ้าง (๕ กิจคือ เห็น ได้ยิน ลิ้มรส สัมผัสทางกายและได้กลิ่น และหลังจากสัมปฏิจฉันนะและสันตีรณะมี ๕ กิจรวมกันแล้ว ๑๑)

- แล้วอเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่ (๑๕) ๑๕ จิตทำกิจได้กี่กิจ (๑๑) เพราะฉะนั้นเหลือจิตอีกเท่าไหร่ (เหลืออเหตุกจิต ๓ และกิจของจิต ๓) ถูกต้องบอกมาเลยเหลือจิตอะไร เหลือกิจอะไร (ปัญจทวาราวัชชนะ ๑ มโนทวาราวัชชนะ ๑ และ หสิตุปปาท) ทำกิจอะไร (ปัญจทวาราวัชชนะทำกิจอาวัชชนะ) อีก ๒ ดวงเหลืออีกกี่กิจ (มโนทวาราวัชชนะทำกิจอาวัชชนะ) อาวัชชนะหมายความว่าอย่างไร (รับอารมณ์เปิดทางให้จิตต่อไปที่จะรู้)

- ขณะนี้เรากำลังพูดถึงจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่รู้อารมณ์ทางทวารหนึ่งๆ เพราะฉะนั้นรูปยังไม่ดับใช่ไหม รูปยังไม่ดับแล้วมโนทวาราวัชชนจิตจะไปเปิดทางให้มโนทวารได้ไหม ต้องมีเหตุผล ต้องไตร่ตรอง คำตอบว่าอย่างไร (รู้แต่ว่าเป็นกิจโวฏฐัพพนะเป็นกิจที่ ๑๓ ก่อนที่จะพูดถึงหสิตุปปาทซึ่งทำกิจชวน)

- ทำไมเป็น ๑๓​ (โวฏฐัพพนกิจแต่เป็นจิตอะไรตรงนั้นยังไม่แน่ใจ) อเหตุกจิตมีเท่าไหร่ (๑๘) เป็นวิบากเท่าไหร่ (๑๕) เป็นกิริยาจิตเท่าไหร่ (๓) เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนะทำกิจอะไร (อาวัชชนะ) มโนทวาราวัชชนะทำกิจอะไร (อาวัชชนะ)

- วิถีจิตยังไม่หมดเพราะเหตุว่า รูปยังไม่ดับจะเป็นมโนทวาราวัชชนะเปิดทางให้มโนทวารได้ไหม​ (คุณอาช่าถึงตอนนี้ยังคิดว่า ชวนจิตเกิดเฉพาะทางมโนทวาร พอพูดถึงชวนจิตแล้วน่าจะเป็นทางมโนทวาร) ไม่ได้เลยเพราะเหตุว่า รูปยังไม่ดับมโนทวารจะเกิดไม่ได้ จะต้องเป็นทางทวารนั้น จักขุทวารรูปยังไม่ดับ โสตทวารรูปยังไม่ดับจะไปรู้ทางมโนทวารไม่ได้

- นี่เป็นความละเอียด เราข้ามความละเอียดไม่ได้เลย จะไปจำจำนวนว่า อเหตุกจิตมี ๑๘ เป็นจิตอะไรบ้างเท่านั้นไม่ได้ แต่ต้องเป็นความเข้าใจความเป็นไปเดี๋ยวนี้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสรู้ไม่ทรงแสดงใครจะไปรู้ถึงจิตแต่ละ ๑ ที่ทำกิจแต่ละ ๑ ไม่ได้

- เพราะฉะนั้นเรากำลังจะบอกเขาเพิ่มเติมทีละน้อยๆ ให้เขาได้เข้าใจ ให้เขาคิดแต่ไม่ได้ไปบอกชื่อบอกเรื่องเพราะว่าไม่สำคัญคือจำเท่านั้น ชื่อเท่านั้นแต่เรากำลังให้เขารู้ว่า แม้ทางปัญจทวารวิบากจิตต้องเป็นวิบากจิต จบแล้วจะเป็นวิบากจิตต่อไปไม่ได้เพราะฉะนั้นต่อไปจะเป็นอะไร อารมณ์ยังไม่ได้ดับ

- เพราะฉะนั้นเราเรียนละเอียด จิตที่เป็นวิบากเป็นผลของกรรมจะเป็นเหตุไม่ได้และเมื่อกรรมทำแล้วให้ผลเป็นวิบากที่ประกอบด้วยเหตุก็มี ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุก็มีแต่เราไม่รู้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจิตทุกขณะให้รู้ว่า ไม่ใช่เรา

- เพราะฉะนั้นทรงแสดงว่า วิบากทางทวารไหน ๕ ทวารมีอะไรและจะได้รู้ว่า เราเข้าใจผิดหมด เราคิดว่า กุศลอกุศลต้องเกิดทางใจเท่านั้น ไม่ใช่เลย การที่สะสมมามากในกุศลอกุศลพร้อมที่จะไหลไปทันทีเมื่อถึงเวลา

- เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาที่วิบากจบแล้วจากนั้นก็เป็นกิริยาจิตคือ “โวฏฐัพพนะ” แต่เมื่อกล่าวถึงอเหตุกะเราใช้คำว่า “มโนทวาราวัชชนะ” แสดงว่า จะเรียกชื่อจิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจว่า “โวฏฐัพพนจิต”​ ก็ได้แต่จิตนี้ทำโวฏฐัพพนกิจเฉพาะทางปัญจทวารแต่ถ้าใช้คำว่า “มโนทวาราวัชชนจิต”​ เราจะรู้ว่าจิตนี้เกิดก่อนกุศลและอกุศลถ้าทางปัญจทวารไม่ได้ทำอาวัชชนกิจแต่ทำโวฏฐัพพนกิจ

- นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องเรียนละเอียด จิตอะไรทำกิจอะไรได้กี่กิจ เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไร (ทำอาวัชชนกิจ) ทางทวารไหน (๕ ทวาร) แต่ทำกิจได้กี่กิจ (๑ กิจ) ๑ กิจแต่ ๕ ทวารใช่ไหม (ใช่) สัมปฏิจฉันนจิตทำได้กี่กิจ สันตีรณจิตทำได้กี่กิจ (สัมปฏิจฉันนะทำได้ ๑ กิจ สันตีรณะทำได้ ๕ กิจ)

- มโนทวาราวัชชนจิตทำได้กี่กิจ (๒) กิจอะไร ๒ กิจ (ทางมโทวารทำกิจอาวัชชนะ ทางปัญจทวารทำกิจโวฏฐัพพนะ) ทำได้กี่กิจ (๒) และมโนทวาราวัชชนจิตดับแล้วอะไรต้องเกิด (ชวน) ทางปัญจทวารทำกิจอะไร (เป็นกุศลหรืออกุศล) ถามใหม่ มโนทวาราวัชชนจิตทำกิจอะไรทางปัญจทวาร (ทำโวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนจิตดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (ชวน) กุศลหรืออกุศลสำหรับคนธรรมดา กิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์

- ทางมโนทวาร มโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจหรือเปล่า (ไม่) ทำกิจอะไร (ทำกิจอาวัชชนะ) เพราะฉะนั้นแสดงว่า จิต ๑ เกิดขึ้นทำ ๑ กิจแต่จิตนั้นทำกิจอื่นได้ด้วยก็มี

- มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร ทำกิจโวฏฐัพพนะทางมโนทวารได้ไหม (ไม่ได้) มโนทวาราวัชชนะทางปัญจทวารทำอาวัชชนกิจได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น “มโนทวาราวัชชนจิต” เราใช้ชื่อนี้เพราะว่า ต้องเป็นจิตที่ทำกิจนี้ประจำทางใจ

- มโนทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจทางมโนทวารดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ (ชวนเกิดต่อ) แล้วเวลาที่มโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจดับแล้วทางปัญจทวารจิตอะไรเกิดต่อ (ชวนเกิดต่อ)

- เพราะฉะนั้นอีกชื่อหนึ่งอีกความหมายหนึ่งของมโนทวาราวัชชนะซึ่งทำได้ ๒ กิจแต่ว่า มโนทวาราวัชชนจิตหรือโวฏฐัพพนจิตดับแล้วกุศลหรืออกุศลสำหรับคนธรรมดา กิริยาจิตของพระอรหันต์ต้องเกิดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ชวนปฏิปาทกมนสิการ” กระทำทางให้ชวนวิถีซึ่งเป็นกุศลหรืออกุศลเกิดขึ้น

- จิตอื่นนอกจากกุศล อกุศล และกิริยาจิตของพระอรหันต์นี่ทั่วๆ ไปความละเอียดยังมีอีก ถ้ามโนทวาราวัชชนจิตไม่ทำชวนวิถีปฏิปาทกเกิดได้ไหม เพราะฉะนั้นอเหตุกจิต ๑๘ ทำได้กี่กิจ (๑๔) ครบทั้ง ๑๔

- เพราะฉะนั้นคราวหน้าเราจะพูดถึงอเหตุกะอีกดีไหม (คราวหน้าสนทนาเรื่องนี้ต่อ) ดีมากเพราะถ้ายังไม่แจ่มแจ้งเรื่องนี้ เรื่องอื่นแจ่มแจ้งไม่ได้แน่เพราะเป็นการเริ่มเข้าใจธรรมจริงๆ ในชีวิตประจำวันทั้งหมด

- คราวหน้าพร้อมที่จะตอบคำถามของดิฉันนะคะ สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 15 ก.ค. 2566

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณสุคิน คุณอาช่าและผู้ร่วมสนทนา

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลของคุณอัญชิสา (คุณสา) และ คุณจิรัชพรรณ์ (คุณซี) ในความอนุเคาระห์ตรวจทานข้อความ

กราบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Junya
วันที่ 15 ก.ค. 2566

กราบยินดีในกุศลวิริยะของคนตู่เป็นอย่างยิ่งค่ะ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง

และกราบยินดีในกุศลของสหายธรรมชาวอินเดียค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
siraya
วันที่ 18 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 19 ก.ค. 2566

ยินดียิ่งในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ