Thai-Hindi 01 July 2023

 
prinwut
วันที่  1 ก.ค. 2566
หมายเลข  46107
อ่าน  608

Thai-Hindi 01 July 2023


- (คุณอาช่ารอสนทนาเรื่องสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ และโวฏฐัพพนะ) ดีมากเลย วันนี้เราจะพูดถึงความจริงในชีวิตตั้งแต่เกิด

- เมื่อคืนนี้นอนหลับสนิทเหมือนตอนเกิดไหม (ไม่เหมือน) ไม่เหมือนอย่างไร (ต่างกันที่เป็นจิตคนละขณะแต่เป็นจิตประเภทเดียวกันและรู้อารมณ์เดียวกัน) ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ตอนตื่นเหมือนกับตอนที่เกิดแล้วใช่ไหม จึงมีการตื่น (เป็นแบบเดียวกัน)

- เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เข้าใจความจริงตั้งแต่เกิดจนถึงตอนที่หลับสนิทว่า ยังไม่มีอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ยังไม่ได้คิดนึกอะไร

- เพราะฉะนั้น การตื่นเป็นการที่ไม่เหมือนหลับเพราะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง เพราะฉะนั้น วันที้คุณอาช่า “ตื่น”แล้วรู้อารมณ์อะไรทางไหน (เห็น) ตื่นแล้วเห็น แล้ววันอื่น? (วันอื่นอาจจะได้ยินเสียง) แล้ววันอื่นอีก? (เป็นอารมณ์อารมณ์หนึ่งใน ๖ ทวาร) ดีมาก

- เพราะฉะนั้น ก่อนจะรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดทาง ๖ ทวาร จิตแรกที่เกิดหลังจากภวังค์เป็นอะไร (อาวัชชนะ) มีกี่ดวง ทางไหนบ้าง (มี ๒ ประเภท ทางปัญจทวารและทางมโนทวาร)

- ถ้าไม่มีจิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้น โลกนี้จะปรากฏไหม (ไม่) เก่งมาก ต้องเข้าใจชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้รู้ว่า ถ้าไม่มีจิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นจะไม่มีอะไรปรากฏเลยทั้งสิ้นตั้งแต่เกิดและหลับทุกขณะ

- ขณะนี้กำลังเห็น จิตอะไรเกิดก่อนเห็น (จักขุทวาราวัชชนะ) และก่อนคิดจิตอะไรเกิด (มโนทวาราวัชชนะ) เพราะฉะนั้น จิต ๒ ดวงนี้ต่างกันตรงไหน (ต่างกันตรงทางที่รู้อารมณ์)

- มโนทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนจักขุวิญญาณได้ไหม (ไม่ได้) ปัญจทวาราวัชชนจิตหรือจักขุทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนคิดได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจว่า ไม่มีคุณอาช่า ไม่มีอะไร แต่มีจิตที่เกิดสืบต่อหยุดไม่ได้เลยโดยปัจจัยที่เป็น “อนันตรปัจจัย” และ “สมนันตรปัจจัย” ๒ ปัจจัยนี้ยังสงสัยไหม (อนันตรปัจจัยหมายถึงจิต ๑ ดับเป็นปัจจัยให้มีอีกจิตหนึ่งเกิดต่อ ส่วนสมนันตรปัจจัยต้องมีจิตเฉพาะเกิดต่อเป็นลำดับ ไม่ได้มีคำถามแต่รู้ว่า ถ้าได้ฟังเพิ่มก็จะเป็นประโยชน์)

- เพราะทำไมเราพูดถึงจิตเห็น ปัญจทวาราวัชชนะ มโนทวาราวัชชนะทุกครั้ง เพราะเหตุว่า เพื่อให้เข้าถึงความ “ไม่ใช่เรา” เพื่อไม่ลืมจิตขณะนี้ว่า เดี๋ยวนี้มีจักขุทวาราวัชชนจิตไหม ถ้าไม่พูดถึงเลยจะไม่นึกถึงเลย “ธรรม” คือพูดให้รู้ขณะนี้เดี๋ยวนี้

- ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดทางมโนทวารไม่ได้ มโนทวาราวัชชนจิตยังไม่พูดถึงแต่ทำอาวัชชนกิจทางปัญจทวารไม่ได้ เพราะฉะนั้น เพราะเหตุนี้จิตนี้ต้องเกิดก่อนทางมโนทวารจึงชื่อว่า “มโนทวาราวัชชนจิต” เพราะทำอาวัชชนกิจ

- เพราะฉะนั้น ขณะนี้รู้ไหมว่า มีปัญจทวาราวัชชนจิต รู้ไหมว่า มีมโนทวาราวัชชนจิต (ได้ยินและรู้แต่ยังไม่ปรากฏให้รู้) ถูกต้องที่สุด แสดงว่า เริ่มเข้าใจความลึกซึ้งของสิ่งที่เกิดแล้วดับเร็วมากจนปรากฏเพียง “นิมิต” ของธาตุรู้ ถ้าไม่มีการเข้าใจอย่างนี้สามารถจะเข้าใจไม่ว่าอะไรปรากฏ เป็น “นิมิต” ทั้งหมดเพราะการเกิดดับสืบต่อเร็วมาก

- ถ้าไม่มีการเกิดดับสืบต่อจะไม่ปรากฏให้รู้ว่า “มี” เพราะแต่ละ ๑ ดับไปเร็วมากแต่ก็มีการเกิดให้รู้ว่ามีสิ่งนั้นเกิดอีก ยังสงสัยคำว่า “ นิมิตฺต” ไหม (เริ่มเข้าใจ ไม่มีคำถามแต่อยากจะฟังเพิ่มขึ้น)

- เพราะฉะนั้น ลองคิดจะได้หัดคิด อะไรไม่มีนิมิต (ปฏิสนธิไม่มีนิมิต อาวัชชนะไม่มีนิมิต) แต่ความจริง“นิมิตของธาตุรู้” ต่อกันเร็วมากใช่ไหม ไม่รู้ว่าเป็นจิตเกิดหรือภวังคจิต หรือภวังคจิตนี้ไม่ใช่ภวังคจิตที่เกิดต่อ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดไม่สามารถที่จะปรากฏเพียง ๑ แน่นอน เพราะฉะนั้นจึงปรากฏเป็น “นิมิต” ทั้งหมด

- เพราะฉะนั้น มีอะไรไหมที่ไม่เกิด (เท่าที่จำได้ไม่มี) เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ว่า ทุกอย่างเกิดเมื่อมีเหตุ เมื่อไม่มีเหตุก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้า “ดับเหตุ” ให้เกิดสิ่งนั้นแล้ว สิ่งนั้นก็เกิดไม่ได้ เมื่อสิ่งนั้นไม่เกิดแล้วจึงเป็น “นิพพาน” ถ้าไม่มีอะไรเกิดเลยก็ไม่มีอะไรนิพพาน แต่เมื่อมีสิ่งที่เกิดเพราะเหตุใดและดับเหตุนั้นแล้วสิ่งนั้นเกิดไม่ได้ สิ่งนั้นจึงนิพพาน ไม่เกิดอีกเลย

- เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเบื้องต้น ลึกซึ้งใน “อริยสัจ” ทั้ง ๔ ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย เพียงแต่พูดว่า“อริยสัจ ๔” ไม่สามารถที่จะรู้ได้ถึงได้ จะเป็นประโยชน์ไหม (ถ้าไม่เข้าใจก็ไม่สามารถเจริญความเข้าใจ ไม่สามารถดับกิเลส)

- เพราะฉะนั้น จึงรู้ว่า กำลังอยู่ในโลกของนิมิต ไม่ใช่โลกที่เป็นจริงตามที่เป็นแต่ละ ๑ เพราะฉะนั้นทุกคนเดี๋ยวนี้กำลังอยู่ในโลกของนิมิตใช่ไหม แต่ละ ๑ ไม่ได้ปรากฏเป็นอริยสัจจะที่เกิดดับ เพราะไม่รู้จึงติดข้องในสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

- ถ้ารู้จริงๆ อยู่ในโลกที่ปรากฏชั่วคราวแสนสั้น เกิดแล้วดับและไม่กลับมาอีกเลยก็จะสามารถทำให้ถึง “การดับเหตุ” ที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดต่อไปไม่ได้ เป็นความหมายของพระธรรมที่เป็น “อริยสัจจะ” ความจริงถึงที่สุด

- เพราะฉะนั้น ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงความลึกซึ่งของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ แต่เมื่อไม่เข้าใจก็เป็นเพราะ “ความไม่รู้” นั่นเองที่ทำให้ติดข้องในทุกอย่างในทุกชาติไม่จบสิ้น

- ทุกคนกำลังเริ่มเข้าใจความจริงซึ่งเป็น “ปริยัติ” ต้องเข้าใจอย่างมั่นคงว่าเป็นธรรมแต่ละ ๑ ที่เกิดดับค่อยๆ ละความเป็นเราในทุกอย่างที่ปรากฏ มีความอดทนที่จะเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งทีละเล็กทีละน้อย เป็นผู้ตรงจึงรู้ว่า อีกนานไหมกว่าจะรู้ความจริงแต่ละ ๑ ได้

- เดี๋ยวนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตไหม (ไม่) เดี๋ยวนี้มีมโนทวาราวัชชนจิตไหม (ไม่) ถ้าไม่ฟัง ไม่รู้ ไม่เข้าใจก็เป็นคุณอาช่าและไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ที่เกิดมาชาตินี้อะไรมีค่าที่สุด (การเข้าใจธรรม) เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงเป็น “อธิษฐานบารมี” ทุกอย่างที่ได้ฟังเป็นความจริงที่ต้องประจักษ์แจ้งอย่างนี้อีกนานไหมกว่าจะประจักษ์ความจริงนี้ (อีกนาน) นานเท่าไหร่ (ไม่สามารถรู้ได้จนถึงเวลา) เพราะฉะนั้น เริ่มมั่นคงใน “ขันติบารมี” ใช่ไหม

- เพราะฉะนั้นการ “ฟังทุกคำ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเริ่มเข้าใจขึ้นนั่นกำลังเป็นบารมี เพราะฉะนั้น เพียงคำเดียว “วิถีจิต” คืออะไร (เป็นจิตที่รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง) ถ้ายังไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น “วิถีจิต” ได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น บอกอีกครั้ง อะไรเป็นวิถีจิตทีละ ๑ (หลังจากอาวัชชนะอย่างเช่น เห็น) อาวัชชนะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (เป็น) เป็นวิถีจิตแรก เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของ “อาวัชชนะ” เป็นจิตที่ “เปิดทาง” หรือ “กระทำทาง” ให้จิตอื่นๆ เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กระทบทางนั้นๆ

- เพราะฉะนั้น จิตทุกดวงทุกขณะต้องมีกิจของจิตเฉพาะจิตนั้นๆ เพราะฉะนั้น อาวัชชนจิตหรือปัญจทวาราวัชชนจิตกระทำทางหรือเปิดทางให้จิตอื่นเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบเป็น “วิถีจิตแรก”

- เพราะฉะนั้น ความหมายของ “มนสิการ” ที่ไม่ใช่เจตสิกก็เป็นจิต เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชน ชื่อว่า“วิถีปฏิปาทกมนสิการ” เป็นจิตที่กระทำทางให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ปัญจทวาราวัชชนจิตรู้ (ขออาจารย์ทวนใหม่)

- ปัญจทวาราวัชชนะเป็นวิถีจิตแรกเป็นจิตที่ “กระทำทาง” เปิดทางให้จิตอื่นเกิดได้ที่จะรู้อารมณ์ที่กระทบทวารนั้นๆ ซึ่งปัญจทวาราวัชชนะเกิดก่อน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นจิตที่กระทำทางก็เป็น “วิถีปฏิปาทกมนสิการ”

- มนสิการเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท แต่คำว่า “วิถีปฏิปาทกมนสิการ” ไม่ได้หมายถึงมนสิการทั่วๆ ไป เพราะว่า ต่อไปจะมีคำอื่นเยอะๆ แต่ว่าเราจะเริ่มเข้าใจแต่ละคำที่สามารถจะเข้าใจเดี๋ยวนี้เป็นพื้นฐาน

- จักขุวิญญาณเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการหรือเปล่า (ไม่) ต้องเข้าใจ เห็นไหม ธรรมละเอียดมากไม่ใช่เราเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ว่า เราสะสมความไม่รู้มานานเท่าไหร่ ความเป็นเรา เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานเท่าไหร่ ถ้าไม่อาศัยคำของพระองค์จนกระทั้งไม่ลืมจนกระทั้งเข้าใจขึ้น ไม่มีทางที่จะพ้นจากความไม่รู้ความจริง

- ถ้าได้ยินคำนี้เข้าใจแล้ว เวลาคุณอาช่าได้ยินใครพูดว่า “วิถีปฏิปาทกมนสิการ” ก็เข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร

- สัมปฏิจฉันนะเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการหรือเปล่า (ไม่) แล้วสัมปฏิจฉันนะเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (เป็น) ต้องไม่ลืมเลย วิถีจิตหมายความถึงจิตที่ไม่ใช่ ภวังคจิต ปฏิสนธิจิต จุติจิต เพราะฉะนั้นจิตอื่นทั้งหมดเป็นวิถีจิตทางปัญจทารหรือมโนทวารทั้งหมดมี ๖ ทวาร

- สันตีรณจิต เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการหรือเปล่า (ไม่) แล้วเป็นวิถีจิตหรือเปล่า (เป็น) ทำกิจอะไร (สันตีรณกิจ) แล้วทำกิจอะไรอีกหรือเปล่า (ทั้งหมดมี ๕ แต่จำได้ ๔ คือ สันตีรณะ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ) เพราะฉะนั้น ดีนะที่เรายังไม่พูดถึงแม้เขาเคยได้ยินชื่อ ๕ แต่เราพูดแค่ ๔ ก็ต้องเข้าใจให้ละเอียดแค่ ๔ จนกว่าจะถึง ๕​ มิฉะนั้นก็ได้ยินแต่ชื่อจบ ไม่มีความหมายอะไร ไม่เข้าใจอะไร

- กิจใน ๔ กิจ สันตีรณะทำทีละกิจใช่ไหม (ใช่) เพราะฉะนั้น ทำกิจสันตีรณะเมื่อไหร่ทางไหน (ทำสันตีรณะตอนที่รู้อารมณ์ทาง ๖ ทวาร) เท่าที่เขารู้ทำกิจอะไรทางไหนเท่าที่เรากล่าวถึงแล้ว (ทำกิจเดียวจะเป็นทางไหนก็ทำกิจเดียว) แต่เขารู้ ๔ กิจแล้วใช่ไหมว่าทำกิจไหนทางไหน (ทำสันตีรณะ ๖ ทาง) ทำสันตีรณะ ๖ ทางได้หรือ

- เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรีบ คิดช้าๆ ฟังดีๆ คิดช้าๆ จะได้ไม่ลืม จะได้ไม่คลาดเคลื่อน จะได้ไม่ผิด กำลังพูดถึง “สันตีรณจิต” เพราะฉะนั้นเขาทำกี่กิจและทำกิจไหนทางทวารไหน (ปัญจทวารและมโนทวาร) มโนทวารทำกิจอะไร (มโนทวารกระทำทางให้เกิดอาวัชชนะจิต) เรากำลังพูดถึงจิตอะไร สันตีรณจิตดวงเดียว เห็นไหมต้องฟังดีๆ (คิดว่าต้องเริ่มต้นใหม่)

- เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าฟังแล้วคิดเองแล้วปนกันไปหมดแต่ไม่เข้าใจว่า เป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย เปลี่ยนไม่ได้ต้องเป็นอย่างนี้คืออย่างไร ตามลำดับขั้นทีละ ๑ เพราะฉะนั้นฟังดีๆ แล้วตอบให้ตรงคำถาม สันตีรณจิตทางปัญจทวาร “ปัญจ” แปลว่า ๕ ทำกิจอะไร (ทำกิจสันตีรณะ) ทำสันตีรณกิจทางทวารอื่นได้ไหม (ไม่ได้) ต้องมั่นคง เพราะฉะนั้นสันตีรณจิตทำปฏิสนธิทางปัญจทวารได้ไหม (ไม่ได้)

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจได้กี่ทวาร (๒) ฟังดีๆ ฟังดีๆ สันตีรณจิตทำสันตีรณกิจได้กี่ทวาร (ทางปัญจทวาร) แล้วทำปฏิสนธิกิจทางทวารไหน (ปฏิสนธิจิตเป็นทวารวิมุตติเพราะฉะนั้นไม่ต้องมีทวาร) เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า ทำปฏิสนธิกิจทางทวารหนึ่งทวารใดไม่ได้เลยเพราะจิตที่ทำกิจปฏิสนธิจิตไม่ต้องอาศัยทวารใดเลย

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตเกิดทำกิจสันตีรณะทางทวารไหน (ทางปัญจทวาร) ทำสันตีรณกิจทางมโนทวาราได้ไหม (ไม่ได้) ต้องไม่ลืมต้องไม่ปะปนกันเรื่องกิจ ทำกิจอะไรทางทวารไหนแม้ว่าจะเป็นจิตประเภทเดียว

- เพราะฉะนั้น ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ จิตต่อไปคืออะไรทางปัญจทวารก่อน (โวฏฐัพพนะ) โวฏฐัพพนะเป็นชาติอะไร (ไม่แน่ใจ เดาว่าเป็นกิริยา) เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ผลของกรรมที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น โวฏฐัพพนะเป็นจิตที่กระทำทางให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดเมื่อไม่ใช่วิบาก ถ้าจิตนี้ไม่เกิดขึ้นกุศลจิตหรืออกุศลจิต หรือกิริยาจิตเกิดขึ้นไม่ได้เลยที่เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์

- เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม เห็นเดี๋ยวนี้เกิดแล้วดับแล้วกุศลจิตเกิดได้ไหม (ไม่ได้) สัมปฏิจฉันนจิตเกิดต่อรู้อารมณ์ต่อจาก “จักขุวิญญาณ” จิตเห็นแล้วกุศลจิตเกิดต่อได้ไหม (ไม่ได้)

- ผลของกรรมทางทวาร ๕ ไม่ว่าเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมสิ้นสุดเมื่อสันตีรณกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากเกิดจบเรื่องของกรรม

- กรรมที่ได้กระทำไปแล้วไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมใดๆ ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทางเท่าที่เป็นสันตีรณจิตเท่านั้นมากกว่านั้นไม่ได้ แต่กุศลจิตและอกุศลจิตที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดเมื่อวิบากจิตจบแล้ว

- ระหว่างที่กรรมให้ผลเป็นวิบากจิตเกิดขึ้นเป็นจักขุวิญญาณ เป็นสัมปฏิจฉันนะ เป็นสันตีรณะจบแล้วต่อจากนั้นพร้อมที่กุศลจิตอกุศลจิตจะเกิดขึ้นตามปัจจัยแต่ เกิดทันทีไม่ได้ต่อจากผลของกรรมไม่ได้ต้องมีจิต ๑ ซึ้งเป็นกิริยาจิตทำกิจ “เปิดทาง” หรือ “กระทำทาง” ให้กุศลหรืออกุศลออกมาได้ จิตนั้นทำ “โวฏฐัพพนกิจ” ทันทีที่จิตนี้กระทำทางแล้วดับไปกุศลหรืออกุศลจึงเกิดแล้วแต่จะเป็นประเภทใด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 1 ก.ค. 2566

- (คุณอาช่าอยากถามให้แน่ใจว่า โวฏฐัพพนะเป็นชาติอะไร) เป็นผลของกรรม ไม่ได้ เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศลไม่ได้ แต่เป็นกิริยาจิต (อยากจะแน่ใจว่า โวฏฐัพพนะทำกิจอาวัชชนะใช่ไหม) เดี๋ยวก่อนนะคะ โวฏฐัพพนะะทำกิจโวฏฐัพพนะทางปัญจทวาร หมายความว่า กระทำทางให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตที่สะสมมาเกิดต่อ

- จบปัญจทวารหรือยัง (เรื่องปัญจทวารไม่มีคำถาม) แต่ว่า ทันทีที่จิตที่กระทำทางดับไปแล้วกุศลหรืออกุศลที่สะสมมาเกิดไม่ใช่ขณะเดียว ๗ ขณะ ถ้าเป็นโลภะก็ ๗ ขณะ โทสะก็ ๗ ขณะ จะเป็นจิตอะไรประเภทไหนก็ตามที่สะสมมาสามารถเกิดได้ ๗ ขณะมากกว่าจิตอื่น

- เพราะฉะนั้น กุศลหรืออกุศลถึงเวลาที่จะเกิดเกิดซ้ำกัน ๗ ขณะซึ่งต่อไปจะรู้ว่า จิตขณะนี้ต่างกันตามกำลังของจิตที่เกิดขณะแรกกับจิตที่เกิดขณะสุดท้ายแต่ให้รู้ว่า จิตที่เกิดทั้งหมดเป็นกุศลหรืออกุศลประเภทเดียวกัน

- รูปมีอายุมากกว่าจิต จิตเกิดดับเร็วกว่า รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เสียง ๑ เสียงเกิดมีอายุเท่าไหร่ (อายุเท่ากับจิตเกิดับ ๑๗ ขณะ) กลิ่น? (เท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ) สิ่งที่กระทบตา? (ก็ ๑๗ขณะ) สั้นมากไหม (สั้นมาก) ๑ รูปปรากฏให้รู้ได้ไหม (จิต ๑ รู้รูป ๑ แต่ที่ปรากฏไม่ใช่รูปเดียว) เพราะฉะนั้นทุกอย่างปรากฏโดยนิมิต

- ลองนับอายุของรูปดูว่า รูปๆ หนึ่งจะดับเมื่อไหร่ รูปที่เกิดพร้อมกับภวังค์ที่ถูกกระทบ “อตีตภวังค์” ๑ขณะแล้วนับไปเรื่อยๆ รูปดับหรือยัง (ถ้าจบที่ชวนดวงสุดท้ายก็ ๑๕ ขณะ) รูปดับหรือยัง (ยัง)

- เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่ติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นกามบุคคลเกิดในกามภูมิเมื่อรูปใดปรากฏให้เห็นแล้วยังไม่ดับทำให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นอีก เป็นผลของกรรมเป็นวิบากจิต ไม่ใช่กุศลหรืออกุศลที่เป็นชวน ๗ ขณะ

- นี่เป็นเหตุที่จิต ๑๕ ขณะที่รู้รูปที่เกิดไปยังไม่หมดมีอายุเหลืออีก ๒ ขณะเป็นเหตุให้กรรมที่ทำให้ติดข้องเป็นบุคคลนี้ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ทิ้งอารมณ์นั้นเลย เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นอีกแต่จิตอะไรจะรู้ “สันตีรณจิต” เกิดขึ้นทำกิจ “รับรู้อารมณ์ต่อจากชวน” ทำ “ตทาลัมพนกิจ” หมายความว่า รู้อารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับ

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตที่เกิดต่อจากชวนทำกิจรู้อารมณ์นั้น อารมณ์เดียวกับชวน อารมณ์เดียวกับจักขุวิญญาณ ฯลฯ ทั้งหมด ๒ ขณะแล้วดับไป นี่เป็นชีวิตเดี๋ยวนี้หรือเปล่า (เป็น) นี่เป็นชีวิตทุกวันๆ ตั้งแต่เกิดจนตายหรือเปล่า (เป็นอย่างนี้)

- มีเราหรือไม่มีเรา มีแต่ธรรมหลากหลายมากเกิดดับแต่ยังไม่รู้เลยใช่ไหม (ใช่) เดี๋ยวนี้ความรู้ทีละน้อยอย่างนี้จะเริ่มค่อยๆ เข้าใจความจริงจนกว่าจะประจักษ์แจ้งตามลำดับขั้นจึงสามารถที่จะ “ละความเป็นเรา” ได้

- เรากำลังพูดถึงชีวิตประจำวันซึ่งขาดไม่ได้เลย มีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแต่ยังมีอย่างอื่นซึ่งเรายังไม่ได้กล่าวถึง เรากล่าวถึงเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทาง ๕ ทวารเท่านั้น

- (คุณอาช่าถามเพื่อความแน่ใจเรื่อง ตทาลัมพนกิจ) เพราะฉะนั้น เขาสามารถที่จะรู้แล้วว่า สันตีรณะทำ๕ กิจแล้วถ้ารูปดับไปก่อนเพราะกระทบภวังค์แต่ยังไม่ไหว เพราะฉะนั้นรูปดับไปตอนที่ชวน ๗ ขณะดับจะมีตทลัมพนะได้ไหม (ถ้ารูปดับแล้วก็ไม่มีตทาลัมพนะ)

- เพราะฉะนั้น ธรรมลึกซึ้งไหม เราไม่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะนี้การเห็นแต่ละครั้งมีตทาลัมพนะหรือเปล่า เพราะฉะนั้น วิถีจิตวาระ ๑ ตั้งแต่รูปเกิดจนกระทั่งรูปดับมีจิตชาติอะไรบ้าง (มี ๔ ชาติ วิบาก กิริยากุศล อกุศล) บังคับให้เกิดกุศลอกุศลได้ไหม (ไม่ได้) บังคับให้จิตแต่ละขณะไม่ให้เป็นไปอย่างนี้ได้ไหม (ไม่ได้) นี่คือการปลูกฝังความเข้าใจมั่นคงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่เรา

- จิตอะไรเกิดก่อนตทาลัมพนะ (ชวนจิต) ตทาลัมพนะเกิดก่อนชวนได้ไหม (ไม่ได้) อะไรเกิดก่อนชวน (โวฏฐัพพนะ) อะไรเกิดก่อนโวฏฐัพพนะ (สันตีรณะ) อะไรเกิดก่อนสันตีรณะ (สัมปฏิจฉันนะ) อะไรเกิดก่อนสัมปฏิจฉันนะ (ปัญจวิญญาณ) อะไรเกิดก่อนปัญจวิญญาณ (อาวัชชนะ) อะไรเกิดก่อนอาวัชชนะ (ภวังคุปเฉท) อะไรเกิดก่อนภวังคปเฉท (ภวังคจลนะ) อะไรเกิดก่อนภวังคจลนะ (อตีตภวังค์) อะไรเกิดก่อนอตีตภวังค์ (ภวังค์)

- เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินเสียงและหมดแล้วขณะนั้นมีจิตอะไรบ้าง (เข้าใจว่าจิต ๑๗ ขณะที่เริ่มจากอตีตภวังค์ไปจนถึงตทาลัมพนะเกิดดับ)

- คุณอาช่านอนหลับสนิทแล้วมีคนมาปลุก รู้สึกเหมือนกับว่ามีคนปลุกแต่ยังไม่เห็นมีไหม (มี) เพราะฉะนั้นแสดงว่า ภวังค์หลายขณะ เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นชวนไม่เกิดก็ได้เพราะอารมณ์ดับแล้ว บางครั้งเรากำลังสนใจอย่างหนึ่งแล้วมีคนเรียกแล้วไม่ค่อยจะได้ยินมีไหม (มี) เพราะฉะนั้น ความเป็นไปของธรรมเปลี่ยนไม่ได้แล้วแต่ว่า วิถีจิตจะเกิดกี่วาระถึงตทาลัมพนะก็ได้ไม่ถึงก็ได้ เพราะฉะนั้นธรรมลึกซึ้งมากทุกขณะไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้จนกว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นเท่านั้นเอง

- โลภะเกิดขึ้นทำกิจอะไร (ติดข้อง) ทำกิจอะไร (ทำกิจติดในอารมณ์) นั่นเป็นลักษณะของโลภะแต่จิตทำกิจอะไรใน ๑๔ กิจ กิจทั้งหมดมีเท่าไหร่ (แค่รู้ว่าทำหน้าที่รู้อารมณ์เดียวกับจิต นั่นเป็นลักษณะของสภาพรู้ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดถึงกิจของธาตุรู้ทั้งหมด

- (คุณอาช่าขอทวนความเข้าใจเรื่องรูปที่ดับก่อนโดยไม่มีตทาลัมพนะ ตอนนี้เข้าใจแล้ว) เพราะฉะนั้น ต้องคิด ถ้าสงสัยต้องถามเลยอย่าทิ้งไว้เพราะว่าทุกอย่างชัดเจน ต้องเข้าใจเพื่อเขารู้แน่ว่า ไม่ใช่เราเพราะอะไร ต่อไปนี้เราจะพูดเรื่อง “กิจของจิต” ไม่ได้พูดถึงเจตสิก

- เขารู้ไหมว่า จิตทั้งหมดเกิดขึ้นทำกิจเดียวทีละกิจ จิตมีมากมายหลายประเภท กุศลก็มี อกุศลก็มีวิบากก็มี กิริยาก็มี ทำกิจต่างๆ ตามหน้าที่ทั้งหมดซึ่งกิจทั้งหมดมี ๑๔ กิจ

- จิตทั้งหมดทำกิจ ๑​ ใน ๑๔ กิจทีละ ๑ กิจ ขณะหนึ่งจิตเกิดทำ ๒-๓ กิจได้ไหม จิตอยู่ไหน (อยู่ที่ทวารที่เกิด) อยู่ที่ทวารหรือ (ไม่ได้อยู่ มาทางทวาร) ไม่ได้มาทางทวารมีจิตไหม (มี เช่น ภวังค์) เดี๋ยวนี้มีจิตไหม (มี) จิตเดี๋ยวนี้ทำกิจอะไรทีละกิจ (เห็น) ก่อนเห็นเป็นกิจอะไร (อาวัชชนะ) ก่อนอาวัชชนะเป็นกิจอะไร (ภวังค์) ก่อนภวังค์เป็นกิจอะไร (เป็นจิตใดจิตหนึ่งซึ่งไม่รู้ถ้าไล่ไปๆ ก็เป็นปฏิสนธิ)

- เพราะฉะนั้น “ปฏิสนธิ” เป็นกิจหรือเปล่า (เป็น) เราจะนับกิจทั้งหมด ๑๔ กิจ คราวต่อไป เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึงจิตต้องพูดถึงกิจด้วย เพราะฉะนั้น จิตทำอะไร เดี๋ยวนี้คุณอาช่ามีปฏิสนธิจิตไหม (ไม่มี) ถูกต้องเพราะปฏิสนธิจิตในชาติ ๑ ทำกิจนี้เพียงขณะเดียว

- อย่าลืมนะคะทบทวนกิจของจิตพร้อมทั้งจิตที่ทำกิจนั้นๆ ด้วยค่ะ สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 1 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณ กราบยินดีในกุศลของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีด้วยในกุศลคุณสุคิน คุณอาช่าและผู้ร่วมสนทนาธรรมชาวอินเดียทุกท่าน

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลคุณอัญชิสา (คุณสา) คุณจิรัชพรรณ์ (คุณซ๊) ในความอนุเคราะห็ช่วยเหลือตรวจทาน

การบขอบพระคุณและกราบอนุโมทนาอาจารย์คำปั่นในกุศลทุกประการครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ค. 2566

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดี
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ที่ถอดคำสนทนาของท่านอาจารย์ ทุกคำ เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง
และยินดีในกุศลของผู้ช่วยตรวจทาน และยินดีในกุศลของทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Junya
วันที่ 1 ก.ค. 2566

กราบยินดีในวิริยะกุศลของคุณตู่และกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Wiyada
วันที่ 3 ก.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siraya
วันที่ 3 ก.ค. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ