Thai-Hindi 31 December 2022

 
prinwut
วันที่  31 ธ.ค. 2565
หมายเลข  45448
อ่าน  478

Thai-Hindi 31 December 2022


- (ช่วงที่แล้วเรากำลังพูดคุยถึงกิจของจิต เริ่มจาก ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ อาวัชชนจิต อยากจะรู้ความหมายของอาวัชชนะ) ถูกต้อง ธรรมดาปฏิสนธิจิตเกิดไม่ได้รู้อารมณ์ของโลกนี้เลยกรรมทำให้จิตเกิดขึ้น จิตนั้นเป็นผลของกรรมเกิดพร้อมเจตสิกและรูป

- เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดขึ้นทำปฏิสันธิกิจเพราะว่าจิตทุกขณะต้องมีกิจหน้าที่เกิดขึ้นเพื่อทำกิจไม่ใช่เกิดขึ้นมาเฉยๆ เกิดขึ้นมาทำกิจแล้วดับ

- จิตเกิดขึ้นไม่ทำกิจได้ไหม จิตเกิดขึ้นทำกิจนี้จะไปทำกิจอื่นได้ไหม

- เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นขณะแรกของชาตินี้ชื่อว่า ปฏิสันธิจิตหมายความว่า “ปฏิ” (เฉพาะ) “สันธิ” (สืบต่อ) จากจุติจิตของชาติก่อนแสดงว่า ทันทีที่จุติจิตของชาติก่อนดับจะไม่มีปฏิสนธิจิตไม่ได้เว้นจิตของพระอรหันต์ที่ไม่มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นไม่มีคุณอาช่าเกิด ไม่มีคุณอาช่าตาย แต่มีจิตที่เกิดขึ้นตามปัจจัย

- เพราะฉะนั้นจิตขณะแรกเกิดขึ้นยังไม่ได้ทำกิจอื่นนอกจากทำกิจเกิดขึ้นสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน

- จิตทุกขณะเกิดขึ้นทำกิจแล้วดับทันที ชาติหนึ่งมีปฏิสนธิจิตกี่ขณะ แต่กรรมให้ผลทำให้ผลของกรรมซึ่งเป็นวิบากเกิดขึ้น ๑ ขณะ ไม่พอเลยกับกรรมที่ได้ทำแล้ว กรรมทำให้จิตเกิดขึ้นดับไปสืบต่อจนกว่าจะสิ้นกรรมที่จะทำให้เกิดเป็นคนนี้

เกิดแล้วไม่ตายได้ไหม ตายแล้วไม่เกิดได้ไหม เป็นผู้ที่เข้าใจความละเอียดไม่รีบตอบ เพราะฉะนั้นกรรมให้ผลระหว่างที่ยังไม่จุติยังไม่ตาย เพราะฉะนั้นต้องรู้ว่า ผลของกรรมตั้งแต่เกิดก่อนตายคือ อะไร

- ปฏิสนจิตทำกิจเกิดขึ้นสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนแล้วดับทันที

- จิตทุกขณะมีอายุ ๓ อนุขณะ ขณะเกิดขึ้นไม่ใช่ขณะที่ดับไป เพราะฉะนั้นจิตเกิดขึ้นยังไม่ดับต้องทำกิจของจิตนั้นแล้วจึงดับ

- กรรม ๑ ไม่ได้ทำให้เพียงปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแต่ต้องให้ผลต่อไปอีก กรรมทำให้เกิดปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับและกรรมก็ทำให้เกิดจิตสืบต่อจากปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกัน

- ยังตายไม่ได้เพราะฉะนั้นทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับกรรมทำให้จิตเกิดสืบต่อ ไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิแต่ทำภวังคกิจคือ ดำรงภพชาติจนกว่าจะสิ้นสุดกรรมนั้นหมดกรรมนั้น

- จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิต เพราะฉะนั้นความต่างของปฏิสนธิจิตกับจิตที่สืบต่อซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกันต่างกันตรงไหน

- ดีมาก เข้าใจดี ต้องคิด ต้องละเอียด ต้องตรง ปฏิสนธิจิตกับภวังคจิตมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า

- ปฏิสนธิจิตกับภวังคจิตมีเจตสิกประเภทเดียวกันเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า

- นี่เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เราละเอียดขึ้นจึงจะรู้ว่า แต่ละขณะเป็นจิตเท่านั้นและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย

- เจตสิกที่เกิดกับจิตเป็นชาติอะไร ปฏิสนธิกับภวังคจิตมีเจตสิกเกิดจำนวนเท่ากันเป็นผลของกรรมเดียวกันใช่ไหม เพราะฉะนั้นเจตสิกที่เกิดกับจิตเป็นชาติอะไร (วิบาก)

- เพราะฉะนั้นสำหรับปฏิสนธิจิต ภวังคจิต ยังไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลยเพราะมีอารมณ์ใกล้จุติของชาติก่อน

- จิตเกิดขึ้นไม่รู้อะไรได้ไหม เพราะฉะนั้นสิ่งที่จิตรู้ภาษาบาลีใช้คำว่า “อารมฺมณ”

- จิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้นรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่จิตรู้ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดเป็นอารัมมณะคือเป็นสิ่งที่จิตรู้

- จิตเกิดขึ้นไม่รู้อารมณ์ได้ไหม ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์หรือไม่รู้

- ภวังคจิตเกิดขึ้นไม่มีอารมณ์ได้ไหม อารมณ์ของปฏิสนธิจิตกับอารมณ์ของภวังคจิตเหมือนกันไหม

- เพราะฉะนั้นต้องมั่นคง เดี๋ยวนี้มีปฏิสนธิจิตไหม เวลานี้มีภวังคจิตไหม

- ขณะใดที่ไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นไม่มีภวังค์ได้ไหม

- เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตเป็นแมว เป็นคน เป็นนก หรือเปล่า แมวเกิด นกเกิด ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วไม่เป็นภวังค์ได้ไหม

- เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นนก เป็นคนเป็นมนุษย์ ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับจิตที่เกิดต่อไปเป็นอะไร จิตอื่นเกิดไม่ได้เลยนอกจากภวังคจิต

- เริ่มรู้จักจิตค่อยๆ รู้ว่า ไม่มีเราเลยแต่มีแต่จิต เจตสิก รูป

- เริ่มรู้ความต่างกันของสิ่งที่เราเรียกว่า คน สัตว์ เทพ พรหม เป็นสภาพธรรมของสิ่งที่ต่างกันด้วยผลของกรรมที่ต่างกัน

- ถ้าไม่เริ่มเข้าใจถูกต้องว่าไม่มีเราตั้งแต่เกิดก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงใดๆ ได้เลย

- เดี๋ยวนี้มีภวังคจิตแต่ไม่รู้ว่าขณะไหนเป็นภวังค์เพราะฉะนั้นจะรู้ได้มั้ยว่า ขณะไหนเป็นภวังค์ (ตอนหลับสนิท)

- ถูกต้อง เพราะฉะนั้นนอนหลับสนิทเกิดแล้วก็เหมือนหลับสนิทเกิดไป จนกว่าจะมีการรู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของปฏิสนธิและภวังค์

- ปฏิสนธิเกิดแล้วดับไป ภวังคจิตเกิดต่อหลายๆ ขณะดับไป ไม่รู้เลยสักนิดเดียวว่า เกิดและอยู่ในโลกไหน

- เพราะฉะนั้นเริ่มรู้สึกตัว มีจิต ๑ เกิดขึ้นคิดถึงหรือจะใช้คำว่า “เริ่มรู้สึกตัว” ก็ได้เป็นมโนทวาราวัชชนจิต “มโน” หมายความว่าใจ “ทวาระ” คือ ทวาร “อาวัชชน” จะใช้คำแปลว่า “รำพึงถึง” ก็ยาวมากเพียงแต่ว่า เริ่มรู้สึกตัวทางใจ

- ขณะนั้นต่างกับภวังค์ ต่างกับปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นเป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจ ไม่ใช่ภวังคกิจไม่ใช่ปฏิสนธิกิจ

- ขณะเริ่มรู้สึกตัวครั้งแรกของทุกชาติ ไม่ว่าจะเกิดเป็นพรหม เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นใครก็ตาม จากภวังค์ที่ดำรงภพชาติก็จะเริ่มรู้สึกตัวเป็นกิจแรก คือ อาวัชชนกิจทางใจ

- ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง มีใครรู้บ้าง แต่สภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับ

- ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นดับเกิดดับๆ ถ้ามีอย่างนี้เท่านั้นโลกจะปรากฏไหม

- (ถ้าเกิดมาแล้วไม่รู้อะไรอีกเลยก็เป็นไปไม่ได้) ยังมีเหตุผลอื่นไหม ถูกต้องเพราะว่าต้องเป็นเรื่องที่ไตร่ตรอง ถ้าไม่รู้อะไรเลยแล้วตายไป จะเกิดเป็นอะไรและกรรมอะไรจะให้ผล

- เพราะฉะนั้นตายหมายความว่า พ้นจากการที่กรรมที่ทำให้เกิดหมดสิ้นแล้วที่จะให้เป็นคนนี้

- ปฏิสนธิแล้วเป็นภวังค์ ยังไม่ทันทำอะไร ยังไม่รู้อะไรเลยแล้วก็ตายแล้วต้องเกิดจะเป็นผลของกรรมอะไร

- เพราะฉะนั้นก่อนตายต้องมีจิตที่เกิดขึ้นเป็นกุศลหรืออกุศลซึ่งเมื่อตายแล้วปฏิสนธิต้องมีจิตนั้นนั่นเองเป็นอารมณ์โดยเป็นผลของกรรมนั้นที่จะทำให้เกิด

- เพราะฉะนั้นตายเดี๋ยวนี้ได้ไหม แล้วจิตที่เกิดเป็นผลของกรรมอะไร (เป็นผลของกรรมที่เกิดก่อนจุติจิตของชาตินี้)

- ไม่ใช่ คำตอบคือไม่ใช่ที่เขาตอบ (ผิดอย่างไร) กรรมเป็นสภาพที่ปกปิด ผลของกรรมเป็นสภาพที่ปกปิดเพราะขณะที่ทำกรรมก็ไม่รู้ว่า กรรมนี้จะให้ผลเมื่อไหร่ และขณะที่ผลของกรรมคือปฏิสนธิเกิดขึ้นก็ไม่รู้ว่า เป็นผลของกรรมอะไร

- เพราะฉะนั้นการเกิดเป็นผลของกรรม ๑ ที่ทำนานมาแล้วก็ได้ หรือเป็นผลของกรรมที่ทำชาตินี้ก็ได้ หรือขณะที่กำลังจะตายก็ได้

- เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริง กรรมเป็นสภาพที่ปกปิดไม่รู้ว่า จะให้ผลเมื่อไหร่ ขณะไหนและอย่างไร และผลของกรรมที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ที่เห็นที่ได้ยินก็ไม่รู้ว่า เป็นผลของกรรมอะไร ในชาติไหน

- เพราะฉะนั้นเกิดแล้ว เป็นภวังค์แล้ว ให้ตายเลยได้ไหม เพราะฉะนั้นเกิดแล้วเป็นภวังค์ๆ ต้องมีการที่รู้สึกตัว เริ่มรู้

- เพราะฉะนั้นศึกษาธรรมทีละคำเพื่อเข้าใจความเป็นจริงของธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

- ปฏิสนธิเกิดแล้วเป็นภวังค์ตลอดเวลาไม่ได้ นั่นคือการรับผลของกรรมส่วนหนึ่งแต่ยังต้องรับผลของกรรมส่วนอื่นด้วยทางอื่นด้วย เพราะฉะนั้นเกิดแล้วเป็นภวังค์แล้ว วิถีจิตหมายความว่า ต้องเป็นจิตที่รู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์

- ด้วยเหตุนี้เราจึงจะต้องรู้จิตที่เกิดขึ้นเป็นไปตั้งแต่เกิดจนตายว่า เป็นธรรมที่มีจริงเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่เราเลยเพราะทันทีที่เกิดก็ดับ

- เพื่อรู้ความจริงของธรรมเพื่อที่จะได้เข้าใจถูกต้องว่า ไม่มีเราก่อนในขั้นต้นคือ ฟังจนกระทั่งมั่นคงเข้าใจถูกต้อง

- ถ้าเรียนแล้วเข้าใจว่า “เป็นเราที่เรียน” ไม่ใช่สัจจะ ไม่ใช่สัจจบารมี

- สัจจะ คือการรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ความจริงของสิ่งที่มีจริงทั้งหมดทุกขณะคือ เป็นธรรมแต่ละ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่มีเรา ไม่ใช่เรา

- ขณะนี้กำลังเป็นอย่างนี้แต่ยังไม่รู้จริงอย่างนี้ เพียงแต่ฟังให้เข้าใจว่า ความจริงเป็นอย่างนี้

- เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้มีสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ทรงแสดง ถ้าไม่ฟังให้เข้าใจจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามั้ย

- จะรู้ไหมว่า ทุกคำที่ได้ฟังที่เป็นความจริงที่เริ่มเข้าใจเป็นคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้ความจริงแล้ว

- เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มเข้าใจธรรมถูกต้อง เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นพระคุณสูงสุดที่ทำให้เราสามารถเจ้าใจสิ่งที่ไม่เคยเข้าใจมาเลยในสังสารวัฏฏ์

- เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกหลังจากที่เกิดแล้วก็ต้องเป็นทางใจที่รู้สึกตัว ต่างกับขณะที่เป็นภวังค์ไหม เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดหลังจากภวังค์ที่เป็นวิถีจิตไม่ได้ทำกิจภวังค์

- เพราะฉะนั้นจิตที่เริ่มรู้สึกตัวทางใจเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร ทุกครั้งที่เป็นการรู้อารมณ์ทางใจขณะนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งใดๆ ที่กระทบกายทั้งหมด

- เพราะฉะนั้นขณะที่เริ่มรู้สึกตัว ๑ ขณะ ทำไม ๑ ขณะ เพราะเพียงเริ่มรู้สึกตัว นี่คือ กิจ ๑ ที่กระทำทางใจเป็นจิตแรกทางใจที่เกิดขึ้น ถ้ายังเป็นภวังค์จะรู้สึกตัวได้ไหม

- เพราะฉะนั้นเพียง ๑ ขณะที่รู้สึกตัวดับ แล้วมีจิตเกิดต่อไหม เป็นภวังคจิตเกิดต่อได้ไหม

- ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการสะสมของจิตตลอดมาแสนโกฏิกัปป์ รวมทั้งชาติที่แล้วด้วยเป็นปัจจัยทำให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดขึ้นแต่ปกติเป็นอกุศลเพราะมีอกุศลจึงเกิด

- ถ้าเป็นมโนทวารวาระอื่นๆ จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเกิดต่อจากมโนทวาราวัชชนะได้ แต่เมื่อเป็นมโนทวาราวัชชนะวาระแรกตั้งแต่เกิดจิตที่เกิดต่อเป็นโลภมูลจิต

- เมื่อยังมีกิเลสไม่ว่าจะทำกรรมใดๆ ทั้งสิ้น เป็นปัจจัยทำให้หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิด ภวังคจิตเกิด มโนวาราวัชชนจิตเกิดแล้วดับ วิถีจิตแรกที่ไม่ใช่มโนทวาราวัชชนจิตต้องเป็นความติดข้องในความเป็น คือ โลภมูลจิต

- เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่อย่างที่เราคิด แต่ต้องเป็นผู้ที่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรึกตรองค่อยๆ เข้าใจความเป็นจริงในเหตุในผล

- กุศลจิตหรืออกุศลจิตทำกิจอาวัชชนะได้ไหม เพราะฉะนั้นกุศลจิตหรืออกุศลจิตไม่ได้เกิดเพียง๑ ขณะ แต่เกิดซำ้ๆ จนปรากฏเป็นความยินดีหรือความไม่ยินดี หรือเป็นกุศลแล้วแต่ขณะนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร ทำ “ชวนกิจ” หมายความว่า จิตนั้นเกิดขึ้นอย่างเร็วมากซ้ำถึง ๗ ครั้ง

- เพราะฉะนั้นต่อไปจะเข้าใจความละเอียดยิ่งขึ้น นี่เพียงเบื้องต้นเพราะเราจะกล่าวถึงสิ่งเดียวโดยละเอียดเป็นไปไม่ได้เพราะเราจะกล่าวให้เข้าใจ ๑ ก่อน

- เพราะฉะนั้นแม้แต่จิตจะเกิดขึ้นทำกิจมากหรือน้อยไม่ว่าจิตอะไรก็ต้องเป็นไปตามปัจจัยที่ทำให้จิตนั้นๆ เกิดขึ้น

- เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า จิตที่เกิดมากกว่า ๑ ขณะ ได้แก่ จิตที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ กุศลหรืออกุศลทำชวนกิจ ทันทีที่ดับก็เป็นปัจจัยให้เกิดอีกซ้ำอีกตามปกติ ๗ ขณะ แต่จะเกิดมากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้นตามเหตุตามปัจจัยได้

- แต่การเกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ทำให้ไม่รู้เลยว่า จิตไหน ขณะไหน เกิดขึ้นทำกิจไหน นอกจากจิตที่ทำกิจเดียวซ้ำหลายขณะ เช่น กุศลและอกุศลเป็นต้น

- ที่เคยเข้าใจว่า เป็นเรา เป็นนก เป็นคน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความจริงก็เป็นสภาพของจิตที่เกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้และทำกิจต่างๆ

- เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการฟังคำจริงของสิ่งที่มีจริงจากผู้ที่ตรัสรู้จริงคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจถูกต้องไม่มีวันที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ได้ เพราะฉะนั้นฟังสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้เพื่อเข้าใจถูกต้องในความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติ

- สิ่งที่มีจริงไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใครแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและดับสืบต่อไม่จบสิ้น นี่คือ “สังสารวัฏฏ์”

- นี่คือ ปฏิจสมุปบาท อายตนะ ธาตุ ขันธ์ ต่างๆ ที่พระองค์ทรงแสดงความจริงโดยประการทั้งปวงเพื่อให้รู้ว่า ไม่มีเราและไม่ใช่เรา

- สิ่งที่มีจริงขณะนี้ที่เกิดดับสามารถที่จะประจักษ์ได้เพราะว่า องค์ทรงแสดงให้มีการเข้าใจถูกในการเกิดดับของสภาพธรรมที่กำลังมี

- ถ้าไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังมีก็ไม่มีทางเข้าใจอะไรได้เลยทั้งสิ้น

- คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิสูจน์ได้รู้ได้ในขณะที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นเกิดแล้วเป็นภวังค์แล้วก็เป็นอาวัชชนกิจถ้าเป็นทางใจก็เป็น “มโนทวาราวัชชนกิจ”

- ขณะที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่ได้รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นมีจิตไหม จิตทำกิจอะไร จิตนั้น

- ถามว่า ขณะใดที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กำลังกระทบ ไม่ต้องคิดนึก มีจิตหรือเปล่า จิตอะไร

- เพราะไม่ใช่จะมีเหตุผลอื่นเลยนอกจากจิตเท่านั้นที่เกิดขึ้นทำกิจ ถ้าไม่ทำกิจนี้ๆ ก็ต้องทำกิจ๑ เพราะจะขาดจิตไม่ได้เลย เพราะเมื่อจิตใดดับไปจะเป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดขึ้นจนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์

- เดี๋ยวนี้มีภวังคจิตมั้ย นี่แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สามารถที่จะมีความเห็นถูกตามความเป็นจริงว่า จิตเกิดขึ้นทำกิจแล้วก็ดับไปแต่ละ ๑ กิจเปลี่ยนไม่ได้

- เพราะฉะนั้นความรวดเร็วของจิตเริ่มเข้าใจถูกต้องว่า ขณะใดที่ไม่เห็นต้องมีภวังค์ก่อนแล้วจึงมีได้ยิน และได้ยินดับไปก็ต้องมีภวังค์ก่อนที่จะเห็นหรือได้ยินคั่นตลอดแต่ละทวาร

- ถ้าไม่ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหม เพราะฉะนั้นเข้าใจอย่างนี้มั่นคงหรือยัง

- มั่นคงขึ้นตามความเข้าใจ ถ้าเข้าใจน้อยกับเข้าใจมาก ความมั่นคงก็ต่างกันใช่ไหม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

- เพราะฉะนั้นการฟังเข้าใจแต่ยังไม่ประจักษ์จริงๆ เป็นความเข้าใจขั้น “ปริยัติ” รอบรู้ในพระพุทธพจน์ไม่เข้าใจผิด

- เพราะฉะนั้นเราเริ่มฟังที่จะมั่นคงในความเข้าใจขั้นปริยัติก่อน

- ก่อนเห็นมีจิตไหม จิตอะไรก่อนเห็น (อาวัชชนจิต) ดีมาก อาวัชชนจิตทางไหนก่อนเห็น (จักขุทวาราวัชชนะ) ดีมากที่รู้แต่ว่าตอบเร็วไปหน่อยแต่ว่าไม่เป็นไร หมายความว่า ก่อนเห็นต้องมีจิตที่ทำอาวัชชนกิจจึงชื่อว่าทางตาเป็นจักขุทวาราวัชชนจิต

- ก่อนเห็นเป็นภวังค์ได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้อง ก่อนเห็นเป็นอะไร (อาวัชชนจิต) กี่ขณะ ก่อนเห็นเป็นมโนทวาราวัชชนจิตได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตที่ทำอาวัชชนกิจมีกี่ดวงกี่ประเภท แต่โดยจิต โดยกิจ โดยประเภทของจิต กี่จิต กี่ดวง

- มโนทวาราวัชชนจิตทำหน้าที่อาวัชชนะทางปัญจทวารได้ไหม (ไม่ได้) เพราะฉะนั้นก็เข้าใจแล้ว ลองลำดับกิจที่เข้าใจว่าเข้าใจกี่กิจแล้ว (ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ มโนทวาราวัชชนะ ปัญจทวาราวัชชนะ ชวนทั้งหมดกี่กิจ (๖)

- กิจทั้งหมดมีกี่กิจ (๑๔) จิตทั้งหมดมีมากกว่า ๑๔ ใช่ไหม (มี ๑๔ กิจ จิตมี ๘๙ ถ้าไม่รวมถึงโดยพิเศษ) เพราะฉะนั้นจิตต้องทำกิจใช่ไหม แต่จิตมีถึง ๘๙ แล้วกิจมีแค่ ๑๔ กิจ หมายความว่าอย่างไร

- เพราะฉะนั้นจิตที่ทำปฏิสนธิกิจมีเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นนี่เป็นความละเอียดที่จะต้องเข้าใจขึ้น ด้วยเหตุนี้จะต้องศึกษาตามลำดับว่า จิตมีตั้ง ๘๙ แต่กิจมี ๑๔ กิจก็แสดงว่า ไม่ว่าเป็นจิตใดก็ตามต้องทำ ๑กิจซึ่งอาจจะเป็นปฏิสนธิกิจ ภวังค์ ฯลฯ แต่ว่าจิตไหนสามารถทำปฏิสนธิได้ จิตไหนสามารถทำภวังคกิจได้ จิตไหนสามารถทำกิจต่างๆ ได้ตามประเภทของจิต นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องศึกษาให้ละเอียดจึงจะไม่ผิด คิดเองไม่ได้

- ต่อไปก็จะได้ทราบว่า ผลของกรรมทำกิจไหนได้บ้าง อาวัชชนกิจมีจิตที่ทำกิจนี้ได้กี่ประเภท

- เพราะฉะนั้นอาวัชชนกิจ มีจิตอะไรที่ทำอาวัชชนกิจได้ (ถึงตอนนี้ยังไม่รู้) เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า จิตนี้เป็นจิตที่เกิดขึ้นหลังจากที่มีการกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายหรือแม้จะไม่ใช่สิ่งที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย การสะสมมาก็ทำให้จิตรู้สึกที่จะนึกถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด

- เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจนี้ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศลเพราะจิตนี้สามารถที่จะรู้สิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ทั้งที่ดีหรือไม่ดีก็ได้แต่มีหน้าที่เดียวคือ เมื่ออารมณ์กระทบแล้วจิตนี้ทำกิจรู้

- จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ดีเป็นกุศลวิบาก จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ไม่ดีเป็นอกุศลวิบากแต่ปัญจทวาราวัชชนจิตหรืออาวัชชนกิจทำกิจรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กระทบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม

- จิตทำภวังคกิจเกิดดับเป็นภวังค์ไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้นแต่เมื่อมีสิ่งที่สามารถกระทบตา ภวังคจิตก็จะทำหน้าที่ภวังค์ต่อไปไม่ได้เพราะมีสิ่งมากระทบ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อเมื่อมีสิ่งกระทบคือจิตที่รู้ว่า มีสิ่งกระทบ

- จิตที่เป็นภวังค์เหมือนแมงมุงซึ่งมีใยแมงมุงแต่ยังไม่มีอะไรกระทบ อารมณ์กระทบตาแมงมุมก็เริ่มรู้ว่า มีอารมณ์กระทบตาแต่ยังไม่เห็นว่าเป็นอะไรทางไหน รู้แต่ว่ามีอารมณ์กระทบ

- เสียงกระทบหู แมงมุมก็เริ่มรู้ว่า มีการกระทบทางหูแต่ไม่ต้องพูดว่าทางหู ทางตา ทางอะไรเลยทั้งสิ้นแต่กรรมทำให้มีรูปพิเศษที่สามารถกระทบสิ่งที่กระทบตาได้เรียกว่า “จักขุปสาท” กรรมทำให้มีรูปพิเศษที่สามารถที่จะทำให้จิตรู้เสียงที่จะกระทบหูได้เป็น “โสตปสาท” ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเป็นปสาทรูป ๕ ที่สามารถจะกระทบสิ่งที่สามารถกระทบได้

- อาวัชชนะเกิดขึ้นเพียงรู้ว่ามีสิ่งที่กระทบทางไหน ถ้าเป็นทางตาอาวัชชนะยังเห็นไม่ได้แต่รู้ว่ามีสิ่งที่กระทบตา เพราะฉะนั้นจิตนี้เปรียบเหมือนทวารที่รู้ว่า อารมณ์กระทบทางไหน ทวารไหน เพราะฉะนั้นอาวัชชนะทำกิจเหมือนประตูที่เปิดให้อารมณ์นั้นเข้าสู่จิต เป็นปัจจัยให้จิตอีกขณะ ๑ เกิดขึ้นเห็น เพียงเห็น

- เพราะฉะนั้นไม่ต้องจำเรื่องแมงมุม ไม่ต้องจำเรื่องใยแมงมุม ไม่ต้องจำเรื่องทวารแต่ให้รู้ความเป็นไปว่า เร็วอย่างนี้และต่างกันอย่างนี้ แต่ถ้าไม่มีทางที่จะให้กรรมให้ผล กรรมก็ให้ผลไม่ได้

- เพราะฉะนั้นเกิดแล้วผลของกรรมก็คือ เห็นสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายโดยนัยเดียวกัน

- จิตที่เห็นทำกิจเห็นไม่ใช่ทำกิจอาวัชชนะ จิตที่เกิดขึ้นได้ยินทำกิจได้ยินทำกิจเห็นไม่ได้

- เพราะฉะนั้นวันนี้ก็เพิ่มความเข้าใจกิจของจิตขึ้นซึ่งเป็นชีวิตประจำวันทุกขณะซึ่งไม่เคยรู้เลยว่า เป็นจิตที่เกิดดับสืบต่อเร็วแล้วก็ดับไม่กลับมาอีกเลย

- ฟังความจริงเพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ค่อยๆ รู้ความจริงจนกระทั่งสามารถประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่ไม่ใช่เราเลย แต่เป็นสภาพรู้และสภาพที่ไม่รู้เป็นนามธรรมและรูปธรรม

- เริ่มรู้จักพระพุทธศาสนา เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมีความเข้าใจขึ้น เป็นคำสอนที่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงๆ โดยผู้ที่ทรงตรัสรู้ความจริงและทรงพระมหากรุณาให้คนอื่นได้รู้ด้วยเพื่อเข้าใจความจริงว่าขณะนี้สิ่งที่มีเกิดเพราะสิ่งที่เคยมีแล้วเป็นปัจจัย และสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ก็จะทำให้สิ่งข้างหน้าเกิดขึ้นตามปัจจัยจากนี้

- เพราะฉะนั้นก็ยินดีอย่างยิ่งในกุศลของทุกคนที่ได้เริ่มเห็นประโยชน์และฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง

- ความจริงลึกซึ้งกว่านี้มาก นี่เป็นเพียงเริ่มต้นเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นก็หวังว่า ทุกคนจะเข้าใจถึงประโยชน์สูงสุดในชีวิตทุกชาติและก็จะมั่นคงในการที่จะรู้ความจริง สำหรับวันนี้ก็สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
lokiya
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ธ.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siraya
วันที่ 1 ม.ค. 2566

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ