Thai-Hindi 17 December 2022

 
prinwut
วันที่  17 ธ.ค. 2565
หมายเลข  45349
อ่าน  475

Thai-Hindi 17 December 2022


- (คราวที่แล้วพวกเราเริ่มด้วยการพูดถึงกิจแรกคือปฏิสนธิกิจ ควรจะสนทนาเรื่องนี้ต่อไหม)

- ดีมากเลย มีอะไรสงสัยไหม อย่าลืมว่าเรากำลังพูดถึงธรรม ไม่ได้พูดถึงใครเลย ถ้าไม่มีธรรมเกิดขึ้นก็ไม่มีใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นคนเกิดมาต่างกันไหม

- ต่างกันตั้งแต่เป็นคนตัวใหญ่ ตัวเล็กจนกระทั่งเป็นสัตว์ตัวใหญ่ ตัวเล็กตั้งแต่ช้างจนถึงมดต่างกันไหม

- ที่ต่างกันมากคือ การเป็นคนกับเป็นสัตว์ในโลกนี้ คุณอาช่าอยากเกิดเป็นสัตว์หรือเป็นคน เพราะอะไร (คุ้นเคยเป็นมนุษย์ก็อยากจะเป็นมนุษย์ต่อ)

- แสดงว่าถ้าเกิดเป็นสัตว์คุ้นเคยกับการเป็นสัตว์ก็อยากจะเป็นสัตว์ต่อใช่ไหม

- สัตว์อยากจะเกิดเป็นมนุษย์ไหม มีสัตว์ตัวไหนไหมที่คิดว่ามนุษย์ดีกว่า (สุนัขอาจจะคิดอย่างนั้น) แต่ว่าสัตว์รักสัตว์มากกว่ามนุษย์ใช่ไหม

- นี่แสดงให้เห็นความต่างกันของมนุษย์กับสัตว์เพราะมนุษย์ก็เห็น สัตว์ก็เห็น มนุษย์ได้ยิน สัตว์ก็ได้ยินมนุษย์ได้กลิ่น สัตว์ก็ได้กลิ่น มนุษย์รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส สัตว์ก็รู้และสัตว์ก็คิดมนุษย์ก็คิดแต่ต่างกันมากเพราะว่า สัตว์ไม่สามารถที่คิดและเข้าใจความจริงได้

- มนุษย์เห็น สัตว์เห็น มนุษย์โกรธ สัตว์โกรธ ต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้วตลอดที่เป็นอกุศล ไม่มีอะไรที่ต่างกันใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าไม่ถือรูปร่างใดๆ เลย โกรธเกิดขึ้น ไม่ใช่มุษย์ ไม่ใช่สัตว์แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

- เพราะฉะนั้นจึงมีมนุษย์ที่เหมือนสัตว์เดรัจฉาน มีมนุษย์ที่เหมือนเปรต มีมนุษย์ที่เหมือนเทวดา แล้วแต่ขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหนเพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ามนุษย์ได้สะสมความไม่ดีมามาก ทำกรรมไม่ดีมากมากแต่กรรมหนึ่งที่ดีกุศลกรรมทำให้เกิดเป็นมนุษย์

- เพราะฉะนั้นกรรมอะไรทำให้เกิดเป็นมนุษย์ และกรรมอะไรทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

- เพราะฉะนั้นกุศลอกุศลเป็นเหตุหนึ่งที่ได้กระทำแล้วเป็นกรรมต่างๆ แต่กรรมหนึ่งทำให้เกิดต่างกัน ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมจิตนั้นที่เกิดเกิดจากกรรมจึงเป็นกุศลวิบากจิตทำกิจปฏิสนธิ

- เกิดมาเป็นผลของกุศลที่ต่างกันมากทำให้แต่ละคนต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ทรัพย์สมบัติ ฐานะ ตระกูล

- กุศลจิต กุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิดับไหม เมื่อปฏิสนธิจิตที่เป็นวิบากดับแล้ว การดับไปของจิตนั้น นตฺถิปจฺจย (นัตถิปัจจยะ) เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดได้ ถ้าปฏิสนธิจิตยังไม่ดับจิตอื่นเกิดได้ไหม

- นี่เป็นปัจจัยหนึ่งตั้งแต่ขณะแรกเมื่อมีสภาพธรรมเกิดแล้วยังไม่ดับจิตต่อไปเกิดไม่ได้ แต่เมื่อปฏิสนธิจิตดับการดับไปของจิตนั้นทำให้จิตอื่นเกิดต่อทันที

- กรรมที่ได้ทำแล้วไม่ใช่เพียงทำให้จิตเกิดขึ้นเป็นปฏิสนธิจิตเท่านั้น กรรมที่ทำให้เกิดยังทำให้จิตเกิดต่อไปเป็นผลของกรรมจนกว่าจะหมดกรรมจะเป็นคนนั้นอีกต่อไปไม่ได้

- (คุณมานิชถามว่า เขาโดนตบหน้า เป็นผลของกรรมของเขาเองหรือและว่าคนที่ตบหน้าจะได้รับผลทีหลัง)

- ยังตบหน้าไม่ได้ ยังไม่มีหน้า เพิ่งเกิดหนึ่งขณะจิตคือปฏิสนธิจิตแล้วดับไป จะได้กล่าวถึงจิตต่อไปทีละหนึ่งขณะ ถ้าเป็นแบบคุณมานิชไม่มีทางที่จะเข้าใจ คิดอยู่นั่นแหละ

- เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจนละเอียดจึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเข้าใจถูกต้องว่า พระองค์ตรัสรู้ทุกอย่างซึ่งเราไม่สามารถที่จะรู้จิตที่เกิดสืบต่อแต่ละหนึ่งขณะได้เลย

- เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมในโลกที่มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีสิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นให้ทราบว่ากรรมที่ได้ทำไม่ว่ากุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็หลากหลายต่างกันมากเพราะฉะนั้นจึงต้องให้ผลต่างกัน

- โลกที่เป็นที่เกิดของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นโลกที่มีรูปทางตา มีเสียงทางหู มีกลิ่นทางจมูก มีรสทางลิ้น มีการคิดนึกเรื่องต่างๆ เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผลของกุศลมีเท่าไหร่ตามที่เคยทราบหรือยังไม่ทราบเลย มีใครเคยทราบมาก่อนไหม

- นี่เป็นการทบทวน บางคนก็เคยอ่านมาแล้วบ้างแต่ว่าความเข้าใจต้องเข้าใจทุกคำที่ได้อ่าน เพราะฉะนั้นเขาเคยได้ยินชื่อสวรรค์ เคยได้ยินชื่อดุสิต เคยได้ยินชื่อต่างๆ แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร ให้ทราบว่าที่เกิดของผลของกรรมที่ดีมีทั้งหมด มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น

- ยังไม่ต้องจำทั้งหมดเลยก็ได้เพียงแต่ให้ทราบว่า ผลของกุศลไม่ใช่ทำให้เกิดแต่เฉพาะในโลกนี้แต่ยังเกิดในโลกที่มีรูปมีเสียงอีก ๖ โลก เพราะฉะนั้นให้ทราบว่า ผลของกรรมดีอย่างต่ำที่สุดทำให้เกิดเป็นมนุษย์ สูงกว่านั้นมากกว่านั้นก็เป็นสวรรค์แต่ละชั้นอีก ๖ ชั้นเป็นที่เกิดที่เป็นผลของกรรมที่ทำให้ได้รับรูป เสียง กลิ่น รส พวกนี้มีทั้งหมด ๗ ภูมิและสำหรับผลของอกุศลกรรมทั้งหมดเป็นอบายภูมิ ๔

- เคยพูดบ้างเช่น นรก เคยพูดบ้างเช่น สวรรค์ ก็หมายถึงที่เกิดของกุศลกรรมอกุศลกรรมที่ต่างกัน

- ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนปฏิสนธิจิตเป็น ๑ ขณะซึ่งกรรมเป็นเหตุให้เกิดขึ้นทำหน้าที่เกิดขึ้นในภพภูมินั้น

- ถ้าไม่มีกรรม ปฏิสนธิจิตเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายดับกรรม เมื่อปรินิพพานแล้วก็ไม่มีการเกิดอีกเลย

- เพราะฉะนั้นอรหันต์คือใคร (ผู้ที่จะไม่เกิดอีก) ทำไมไม่เกิด อยู่ดีๆ ก็ไม่เกิดหรือ เดี๋ยวนี้อยู่ดีๆ ก็เกิดเป็นพระอรหันต์หรือ (ตอบไม่ได้)

- เพราะฉะนั้นต้องฟังให้เข้าใจตั้งแต่ต้น อรหันต์คือใคร พระโสดาบันคือใคร พระสกทาคามีคือใคร พระอนาคามีคือใคร ปุถุชนเป็นใคร กัลยาณปุถุชนเป็นใคร ทั้งหมดไม่รู้ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง เพราะพระองค์ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง

- ถ้าไม่ไตร่ตรองทีละคำ จะไม่สามารถรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะธรรมอย่างซึ่งกำลังมีเดี๋ยวนี้ลึกซึ้งมั้ย

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม จิตเกิดดับรึเปล่า เดี๋ยวนี้เป็นปัญญาหรือเป็นอวิชชาความไม่รู้ (เป็นปัญญา) ปัญญารู้อะไร (ตอบไม่ได้) ตอบไม่ได้เป็นปัญญารึเปล่า (ที่ตอบว่าเป็นปัญญาเพราะดูจากสถานการณ์) แล้วเข้าใจอะไรที่ฟังแล้ว (เข้าใจว่าตอนที่ตอบคำถามตอบว่ามีจิตก็น่าจะมีปัญญาด้วย) “น่าจะ” หมายความว่าอะไร เขาเข้าใจไหม มีปัญญารึเปล่า

- หมายความว่า รู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าจำชื่อ เขาจำชื่อว่ามีจิต แต่ยังไม่รู้จักจิต เพราะจิตเกิดดับแล้วดับแล้วเร็วมากลึกซึ้งอย่างยิ่ง

- เรากำลังพูดถึงสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีนานมากจึงตรัสรู้สิ่งที่พระองค์ได้ทรงแสดงให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นศึกษาด้วยความเคารพถึงที่สุด ต้องเข้าใจทีละคำ เพราะกำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ได้ปรากฏตามที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เพราะลึกซึ้งยิ่ง

- พูดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ขณะนี้เป็น ปฏิสนธิจิตหรือเปล่า ถ้าไม่มีปฏิสนธิจิตจะมีจิตเดี๋ยวนี้ไหม ต้องเข้าใจจริงๆ มั่นคง เพราะฉะนั้นเมื่อปฏิสนธิจิตดับ จะมีจิตเห็นอย่างนี้ไหม ฟังคำถามดีๆ พอปฏิสนธิจิตดับ จะมีจิตเห็นอย่างนี้ได้ไหม

- นี่คือสิ่งที่เราไม่รู้ แต่เข้าใจตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดยิ่งว่า ทันทีที่จิต ๑ ดับไป จิตอะไรเกิดต่อ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ตามปจฺจย เพราะฉะนั้นเริ่มเข้าใจความเป็นปัจจัยของธรรมซึ่งเปลี่ยนไม่ได้

- ปฏิสนธิจิตดับไป กรรมให้ผลที่เกิดเพียง ๑ ขณะไม่ได้ ไม่พอ กรรมที่ทำให้เกิด จะต้องทำให้ดำรงอยู่จนกว่าจะหมดกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนี้จึงตาย เพราะฉะนั้นตายขณะนั้นเป็นอะไร อะไรตาย (เป็นจิต) เป็นจิตประเภทไหน ชาติไหน

- (เป็นวิบาก) ถูกต้อง เพราะฉะนั้นอยากตาย ตายได้ไหม ไม่อยากตายแต่ตายได้ไหม เพราะอะไร เพราะกรรม ๑ ที่ทำให้เกิด สามารถให้มีชีวิตต่อไปจนถึงขณะที่สิ้นกรรมนั้นจึงมีจิตที่เป็นวิบากที่เกิดจากกรรมนั้นทำให้จิตนั้นเกิดขึ้นทำกิจพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ยังสงสัยอะไรไหม

- (คุณมานิชรู้สึกตัวว่าไม่เข้าใจ มาได้ฟังแล้วก็รู้ว่ายังไม่เข้าใจอะไรอีกมาก) นั่นก็เป็นปัญญาที่เห็นถูก

- ถ้าไม่มีปัญญาอย่างนี้จะไม่สามารถมีปัญญาได้เลย

- ตอนนี้รู้จัก ๒ กิจแล้วใช่ไหม ทั้งหมดมีกี่กิจ จะไม่พูดถึงกิจที่ยังไม่พูดถึง แต่เราพูดเพื่อให้เขาจำและเข้าใจ ไม่ใช่จำแต่ไม่เข้าใจ

- เขาจำชื่อปัญจทวาราวัชนนจิต มโนทวาราวัชชนจิต แต่ไม่เข้าใจ ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้เขารู้จัก ๒ กิจอะไรบ้าง

- (ปฏิสนธิกับจุติ) ดีมาก ทั้งหมดมี ๑๔ กิจ ไม่ว่าโลกไหน บนสรรค์ บนมนุษย์ ในเปรต อสุรกาย ในนรกทั้งหมดของจิตมีทั้งหมด ๑๔ กิจแล้วแต่ว่าจิตไหนทำกิจอะไร

- มดมีกี่กิจ เพราะฉะนั้นบอกจำนวนก่อนจะได้รู้ว่าเขาได้รู้จักกี่กิจแล้ว เพราะฉะนั้นมดก็มีเกิด มดก็มีตาย ตามกรรม ช้างก็มีเกิด ช้างก็มีตาย ตามกรรม สิ่งที่เกิดขณะแรกเป็นปฏิสนธิและขณะสุดท้ายก็คือเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นปฏิสนธิเป็นวิบากจิต จุติจิตเป็นวิบากจิตของกรรมเดียวกัน

- ทันทีที่ปฏิสนธิจิตเกิด ดับไหม เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดมีปัจจัย ๑ คือ อนันตรปัจจัย หมายความว่า ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตที่เป็นปฏิสนธิเป็นปัจจัยให้เกิดจิตขณะต่อไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prinwut
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

- พอที่จะคิดไตร่ตรองได้ไหมว่า จิตต่อไปขณะที่เกิดเป็นจิตประเภทไหน เป็นจิตอะไร เป็นผลของกรรมอะไร

- จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตทำกิจปฏิสนธิได้ไหม (ไม่ได้) ถูกต้อง เพราะปฏิสนธิจิตเกิด ๑ ขณะทำกิจและจุติจิตก็เกิดเพียงขณะเดียวไม่เกิดอีกเลยต้องทำกิจเดียว กิจสุดท้ายที่ทำให้พ้นจากความเป็นบุคคลนี้เท่านั้น

- เพราะฉะนั้นกรรมที่ทำให้เกิด กรรมเดียวกันนั้นเป็นปัจจัยทำให้จิตขณะต่อไปเกิด เป็นผลของกรรมนั้นที่ดำรงภพชาติยังตายไม่ได้

- เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจสืบต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิต แต่ไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ แต่ทำกิจดำรงภพชาติจนกว่าจะหมดกรรม

- ภวังคจิตเหมือนกับปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมที่ทำให้มีผลของกรรมอื่นๆ เกิดได้ เพราะฉะนั้นจิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตเห็นอะไรรึเปล่า เพราะฉะนั้นรู้จักกี่กิจของจิต

- (๓ กิจ) ดีมาก ทุกคนเกิด ทุกคนยังไม่ได้เห็นอะไร ยังไม่ได้ยินอะไร แต่กรรมทำให้วิบากจิตเกิดดำรงภพชาติจนกว่าจะมีผลของกรรมอื่นเกิดขึ้น

- เพราะฉะนั้น เราไม่รู้หรือใครก็ไม่รู้ แต่ว่าสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตอื่นเกิดต่อไม่ได้นอกจากจิตที่เป็นผลของกรรมนั้นดำรงรักษาให้มีจิตเกิดสืบต่อไปจนกว่าจิตอื่นๆ จะเกิดขึ้นทีหลัง

- ในสวรรค์ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ ช้างเกิดปฏิสนธิจิตเกิดดับ จิตอะไรเกิดต่อ

- เพราะฉะนั้นเรารู้ ๒ ปัจจัย อนันตรปัจจัย ทันทีที่จิตเกิดดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดและอีกปัจจัย ๑ สมนันตรปัจจัย จิตอื่นต่อจากปฏิสนธิจิตไม่ได้ต้องเป็นภวังค์ นี่เป็นการที่จิตจะต้องเกิดดับสืบต่อเป็นไปตามปัจจัย

- เพราะฉะนั้นภวังคจิตเกิดนานไหม (จนกว่าจะมีจิตอื่นเกิด) เพราะฉะนั้นนานไหมกว่าจะมีจิตอื่นเกิด (แล้วแต่ปัจจัย) สั้นก็ได้นานก็ได้ แล้วแต่ปัจจัย แล้วแต่ภพภูมิด้วย

- ขณะที่เป็นภวังค์ ภวังค์ ภวังค์ มีอะไรปรากฏให้รู้ไหม

- ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่พอจะรู้ได้ไหมว่า ขณะไหนเป็นภวังค์

- ขณะที่นอนหลับสนิท สนิทคือไม่มีอะไรปรากฏ เพราะฉะนั้นเราถึง ๓ กิจแล้วใช่ไหม

--ต่อไปเราจะพูดถึงกิจที่ ๔ ซึ่งต่างกับ ๓ กิจ ขณะที่ปฏิสนธิ ขณะที่เป็นภวังค์ ขณะที่จุติ ไม่มีอะไรปรากฏเลย กรรมให้ผลเพียงเท่านั้นพอไหม

- เพราะฉะนั้นจิตขณะต่อไปเป็นขณะที่เริ่มรู้สึกตัว เป็นจิตที่เริ่มคิดแต่ไม่มีความเข้าใจอะไรเลย ขณะนั้นเพียงแต่เริ่มรู้สึกตัว เป็นกิจ ๑ ของจิตที่ไม่ใช่ภวังค์ เป็นการตื่นจากภวังค์เป็นมโนทวาราวัชชนจิต มาจากคำว่า มโน ทวาร และ อาวัชนนะ ๑ ขณะสั้นมาก เพราะมโนทวาราวัชชนจิตเกิดเพียงขณะเดียว เพราะฉะนั้นขณะนั้นไม่ปรากฏอารมณ์ที่ชัดเจน

- มโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตขณะแรกที่เริ่มคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้ามโนทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ ไม่มีใครรู้ แต่จิตที่เกิดต่อจากมโนทวาราวัชชนจิตเกิดเพราะการสะสมการที่ไม่รู้ความจริง การติดข้องต่างๆ การสำคัญว่าเป็นเราสะสมมา

- เพราะฉะนั้นขณะที่เป็นมโนทวาราวัชชนจิตเริ่มรู้สึกตัวแล้วดับ เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับเป็นจิตที่รู้อะไรอย่างหนึ่ง รู้ว่ามีอะไรคือรู้ว่า มีเรา จากไม่รู้อะไรเลยพอเริ่มรู้สึก เรารู้ เป็นเรา เพราะฉะนั้นความเป็นเราอย่างเบาบางที่สุดลึกที่สุดเกิดต่อจากทันทีที่รู้สึกตัวหลังจากที่เกิดแล้ว

- เพราะฉะนั้นขณะที่เริ่มรู้สึกตัวไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่ผลของกรรมอย่างปฏิสนธิและภวังค์ เพราะฉะนั้นเราจะต้องให้เขาเริ่มเข้าใจทีละขณะ ขณะนั้นไม่ใช่ผลของกรรม เพราะอะไร (ถึงเวลาจะต้องเกิดก็ต้องเกิด ต้องเป็นอย่างนี้คือเป็นอกุศล)

- เพราะฉะนั้นจะเกิดกุศลหรืออกุศลทันทีได้ไหม (ได้) ฟังดีๆ กำลังเป็นภวังค์แล้วให้รู้สึกตัวทันทีที่เป็นกุศลและอกุศลได้ไหม เราจะไม่บอกชื่อก่อนไม่อย่างนั้นเขาจะจำชื่อและตอบชื่อและคิดว่าเขาเข้าใจ แต่จะต้องเข้าใจจริงๆ ว่าธรรมละเอียดลึกซึ้ง (ไม่น่าจะได้) ไม่น่าจะ เพราะยังไม่มั่นใจใช่ไหม คิดเองได้ไหม

- เป็นความละเอียดความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรมที่ต้องเริ่มต้น เห็นความลึกซึ้งที่จะเข้าใจว่าไม่มีเราได้ไหม

- กำลังเป็นภวังค์ไม่รู้อะไรเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน โลกไหน เป็นใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเป็นกุศลหรืออกุศลที่สะสมมาแล้วเกิดได้ต้องมีขณะจิต ๑ ซึ่งทำกิจรู้สึกตัว

- ทันทีที่รู้สึกตัวคือ ขณะนั้นเป็นจิตที่รู้สึกหลังจากนั้นก็พอใจในสิ่งที่มีที่รู้สึกโดยไม่รู้ว่าเป็นอะไร

- เพราะฉะนั้นทันทีที่รู้สึกตัวดับ ก็มีความติดข้องในตัวทันที จึงมีคำว่า "ภวาสวะ" ความติดข้องในภพในขณะนั้น

- ติดข้องใน"ความเป็น (ภวะ) "ไม่ว่าจะอะไรทั้งสิ้น พอใจทันทีใน"ความเป็น" หลังจากที่รู้สึกตัวเพียง ๑ ขณะดับไปพอใจใน"ความมีความเป็น"ไม่ว่าอะไรหมด เพราะขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นอะไร

- พอจะเข้าใจไหมในความลึกซึ้ง ในความละเอียด ในความเป็นไปแต่ละ ๑ ขณะ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้จะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหม

--เข้าใจธรรมเมื่อไหร่ รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อนั้น เข้าใจนิดเดียวก็รู้จักพระองค์นิดเดียว แต่พระองค์ทรงประสูตร ทรงตรัสรู้ ทรงแสดงธรรม และปรินิพพานที่ประเทศที่คุณอยู่ และสิ่งที่ได้ฟังเดี๋ยวนี้เป็นคำที่พระองค์ตรัสเมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องเข้าใจทุกคำในความลึกซึ้งในความละเอียด

- เข้าใจในความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม ไม่ใช่จำเป็นคำๆ

- ปฏิสนธิจิตมีกี่ขณะ แต่ละชาติ ๑ ชาติปฏิสนธิจิตมีกี่ขณะ ภวังค์กี่ขณะ (๑ ขณะแล้วมโนทวาราวัชชนจิตเกิดต่อ) ไม่ใช่ค่ะ ภวังค์ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิดับไปแล้วอะไรเกิดต่อ (หลังจากภวังค์แรกเกิดแล้วดับต้องเป็นมโนทวาราวัชชนจิต) ผิดค่ะ (หลังจากภวังค์ดับมโนทวาราวัชชนะเกิดต่อ) หลังจากภวังค์แรกดับไปมโนวทาราวัชชนะเกิดทันทีหรือ (คุณมธุยืนยัน) ผิดค่ะ เพราะฉะนั้นธรรมคิดเองไม่ได้

- หนึ่งขณะสั้นแค่ไหน ใครรู้ความต่างของปฏิสนธิกับภวังค์ (เมื่อกี้เข้าใจคำถามผิด ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า ภวังค์เกิดขณะเดียวไม่ได้) หลายขณะ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ แล้วแต่แต่ละคน แล้วแต่การเกิดแต่ละภพภูมิ

- ขณะเป็นภวังค์ไม่รู้ใช่ไหม แล้วมีมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะจะรู้ไหม เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะเป็นชาติอะไร (เป็นกิริยา) ไม่ใช่วิบากด้วยใช่ไหม

- นี่เรากำลังพูดให้เข้าใจจิต ๑ ขณะเป็นชาติอะไร ทำกิจอะไร แต่ว่าไม่มีเรา ไม่มีความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย แต่เป็นธรรมที่เกิดตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ

- อะไรเป็นปัจจัยให้มโนทวาราวัชชนจิตเกิด (อนัตตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย) ทั้ง ๒ อย่างแยกกันไม่ได้เลย

- เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตเป็นชาติอะไร (กิริยา) เพราะอะไร (เพราะเป็นกุศลอกุศลไม่ได้) แล้วเป็นวิบากไม่ได้ เพราะฉะนั้นมีจิตที่เป็นวิบากเป็นผลของกุศลอกุศล และมีจิตซึ่งเป็นกิริยาไม่ใช่กุศลอกุศลและไม่ใช่วิบาก

เพราะฉะนั้นก็ชัดเจน ตอนนี้ได้จิตกี่ชาติและกี่จิต (มี ๒ ชาติและ ๔ กิจ) เพราะฉะนั้นทันทีที่มโนทวาราวัชชนจิตดับเป็นกุศล ๑ หรืออกุศล ๑ หรือเป็นกิริยา ๑ สำหรับพระอรหันต์

- นี่คือสิ่งที่เราต้องรู้ว่า จิต ๑ เป็นชาติอะไร กุศลเป็นอกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้นกุศลเป็นชาติหนึ่งและอกุศลเป็นอีกชาติหนึ่ง เพราะทันทีที่มโนทวาราวัชชนจิตดับ การสะสมมาที่จะไม่รู้และที่จะยินดีใน"ความเป็น" เพราะเริ่มรู้สึกเมื่อเป็นมโนทวาราวัชชนะ ต่อจากนั้นก็ยินดีใน"ความเป็น"อย่างนั้น ครบ ๔ ชาติแล้วใช่ไหม

- นี่เราพูดถึงกิจ กุศลจิต อกุศลจิตเป็นวิบากหรือเปล่า เป็นชาติวิบากหรือเปล่า ทำกิจปฏิสนธิได้ไหม ทำภวังคกิจได้ไหม ทำจุติกิจได้ไหม ทำอาวัชชนะกิจได้ไหม เพราะฉะนั้น กุศล อกุศล ไม่ได้ทำกิจ ๔ กิจ แต่ทำ “ชวนกิจ” หมายความว่า เป็นจิตที่ไม่ได้เกิดครั้งเดียว แต่เกิดหลายครั้งในขณะที่เป็นกุศลหรืออกุศล ๗ ครั้งอย่างธรรมดา

--เพราะฉะนั้นสามารถจะรู้ได้ว่า ในขณะที่เป็นโลภหรือเป็นโกรธ เพราะไม่ได้เกิดขณะเดียว แต่เกิดต่อกันตามปกติ ๗ ขณะ

- จิตที่เป็นโลภะหรือโทสะหรือโมหะที่เกิดร่วมด้วย เกิดต่อกัน ๗ ครั้งเพราะอารมณ์ปรากฏ ขณะที่อารมณ์ปฏิสนธิไม่ปรากฏ อารมณ์ภวังค์ก็ไม่ปรากฏ สำหรับมโนทวาราวัชชนะมีอารมณ์ปรากฏแต่ ๑ ขณะ เพราะฉะนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่ว่าสำหรับโลภะ โทสะ โมหะ อกุศลหรือกุศลเกิดสืบต่อกันตามปกติ ๗ ขณะจึงปรากฏว่า ชอบหรือไม่ชอบ ทำอาเสวนกิจเกิดซ้ำกัน ๗ ขณะเสพหรือรู้อารมณ์นั้นถึง ๗ ขณะ

- วันนี้ก็เข้าใจว่าเขาจะต้องไตร่ตรอง ไม่ใช่เป็นเรื่องของการจำชื่อ แต่เป็นความเข้าใจความหมายของแต่ละคำแต่ละกิจด้วย สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prinwut
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ยินดีในกุศลของทุกท่านทุกประการ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของพี่ตู่ ปริญญ์วุฒิ เป็นอย่างยิ่ง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
siraya
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลด้วยความขอบคุณน้องตู่ ปริญญ์วุฒิ ด้วย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thidajoy
วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

กราบอนุโมทนากุศลวิริยะของคุณตู่ ปริญญ์วุฒิ อย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ